กระถินเทศ
เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่นพุ่มกลม สีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม ผลเป็นฝัก ผิวหนาโค้งงอเล็กน้อย

กระถินเทศ

ชื่อสามัญ คือ Cassie, Cassie Flower, Huisache, Needle Bush, Sponge Tree, Sweet Acacia, Thorny Acacia[1],[3],[5],[7] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acacia farnesiana (L.) Willd. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[7]
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เกากรึนอง (กาญจนบุรี), บุหงาอินโดนีเซีย (กรุงเทพฯ), บุหงาละสะมะนา บุหงาละสมนา (ปัตตานี), กระถินเทศ กระถินหอม คำใต้ ดอกคำใต้ (ภาคเหนือ), กระถิน (ภาคกลาง), ถิน (ภาคใต้), กะถิ่นเทศ กะถิ่นหอม (ไทย), มอนคำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บุหงาเซียม (มลายู-ภาคใต้), อะเจ๋าฉิ่ว (จีน-แต้จิ๋ว), ยาจ้าวซู่ จินเหอฮวน (จีนกลาง)[1],[2],[4],[5]

ลักษณะของกระถินเทศ

  • ลักษณะของต้น [1],[2],[5],[7]
    – เป็นพรรณไม้พุ่มผลัดใบขนาดย่อม
    – กิ่งมักคดไปมาแต่จะยืดจนเกือบตรงเมื่อต้นเจริญเติบโตขึ้น
    – ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง
    – มีความสูงได้ถึง 2-4 เมตร
    – ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม
    – กิ่งจะออกในลักษณะซิกแซ็ก
    – เปลือกต้นเป็นสีคล้ำน้ำตาล
    – สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
    – เติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี
    – ต้องการน้ำในปริมาณปานกลาง
    – ควรปลูกในที่มีแสงแดดทั้งวัน
    – มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
    – สามารถพบได้เป็นวัชพืชทั่วไปในเขตร้อน
  • ลักษณะของใบ [1],[2],[5],[7]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ
    – แกนกลางใบประกอบยาว 4-6 เซนติเมตร
    – ก้านใบประกอบยาว 1-1.3 เซนติเมตร
    – มีต่อมบนก้านใบ
    – เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-0.4 มิลลิเมตร
    – ไม่มีต่อมบนแกนกลางใบ
    – ช่อใบย่อยมี 4-7 คู่ มีความยาว 1.5-3 เซนติเมตร
    – ก้านใบประกอบย่อยยาว 2 มิลลิเมตร
    – ใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน มีประมาณ 10-20 คู่
    – ใบย่อยเป็นรูปดาบ หรือรูปขอบขนาน
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบตัด ไร้ก้าน
    – ใบย่อยเป็นสีเขียวแก่ มีความยาวประมาณ 2-7 มิลลิเมตร
    – โคนก้านใบมีหูใบแปลงรูปเป็นหนามแหลมตรงและแข็ง 1 คู่ ยาว 3-5 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก [1],[5],[7]
    – ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น เป็นพุ่มกลม
    – มีหลายช่อออกเป็นกระจุก
    – ก้านช่อยาว 1.5-4.5 เซนติเมตร
    – ช่อดอกเป็นทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6-1 เซนติเมตร
    – ที่โคนช่อจะมีใบประดับขนาดเล็ก 4-5 ใบ
    – ดอกย่อยไร้ก้าน
    – มีใบประดับ 1 ใบ มีความยาว 1 มิลลิเมตร
    – กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด มีความยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาว 0.2 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกติดกันเป็นหลอด มีความยาว 2.5 มิลลิเมตร
    – ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ
    – กลีบดอกเป็นรูปขอบขนานขนาดเล็ก มีความยาว 0.5 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกเป็นสีเหลืองสด และมีกลิ่นหอม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นจำนวนมาก
    – ก้านชูอับเรณู มีความยาว 3.5-5.5 มิลลิเมตร
    – รังไข่ มีความยาว 1.5 มิลลิเมตร
    – ก้านเกสรเพศเมียมีรูปร่างเรียวยาว มีความยาวเท่ากับเกสรเพศผู้
    – ยอดเกสรมีขนาดเล็ก
    – จะให้ดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี
    – จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม
  • ลักษณะของผล [1],[2],[5],[7]
    – ออกผลเป็นฝัก
    – ฝักมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก มีความยาว 2-9 เซนติเมตร
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร
    – ฝักจะตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย
    – ผิวฝักจะมีความหนา
    – ฝักแก่จะไม่แตก
    – ฝักมีเมล็ด 15 เมล็ด
    – เรียงเป็น 2 แถว
    – เมล็ดเป็นรูปรี มีความแบนเล็กน้อย ยาว 7-8 มิลลิเมตร
    – มีรอย (pleurogram) รูปรี ยาว 6-7 มิลลิเมตร

สรรพคุณของยางกระถินเทศ

  • ช่วยแก้เยื่ออ่อนของอวัยวะภายในอักเสบ เพิ่มความชุ่มชื้น[2],[4]
  • ช่วยแก้ไอ แก้เจ็บคอ ช่วยทำให้คอชุ่ม[2],[3]
  • ช่วยบรรเทาอาการระคายคอ[1],[2]
  • ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ[2],[4]
  • ช่วยแก้ฝีหนองในปอด[2],[4]
  • ช่วยแก้บวม[5]
  • ช่วยแก้แขนขาบวมและอักเสบ[2]
  • ช่วยแก้อักเสบ ปวดข้อ แก้โรคไขข้ออักเสบ[2],[3],[4],[5]
  • ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย[1],[3]
  • ช่วยรักษาฝีหนองในร่างกาย[4]
  • ช่วยรักษาโรคปอด[4]
  • ช่วยแก้เหงือกอักเสบและมีเลือดออก[5]
  • ช่วยรักษาแผลในคอ[3]
  • ใช้ยาอายุวัฒนะ[1],[3]
  • ช่วยแก้อาการเกร็ง[5]
  • ช่วยแก้ปวดท้อง และเป็นยากระตุ้น[2]
  • ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย[2]
  • ช่วยแก้ปวดศีรษะ[2]
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดได้[2],[4]
  • ช่วยแก้แผลเรื้อรังและแก้บาดแผล[2],[4],[5]
  • ช่วยแก้ไอ[5]
  • ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน[2],[4]
  • ช่วยแก้ท้องเสีย[2],[3],[4]
  • ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร[5]
  • ช่วยแก้ระดูขาว[2],[4]
  • ช่วยสมานแผลห้ามเลือด[2],[3],[4],[5]

ประโยชน์ของกระถินเทศ

  1. ลำต้นเ จะให้ยางไม้สีเหลืองถึงสีน้ำตาลเข้ม เรียกว่า “กัมอะคาเซีย” (Gum acacia)[1],[2],[5]
    – สามารถนำมาใช้ทางด้านเภสัชกรรมเป็นสารแขวนลอย ใช้ทำกาว
    – นำมาใช้เป็นสารยึดเกาะในอุตสาหกรรมการผลิตยาเม็ด
    – สามารถใช้เป็นยาหล่อลื่นได้
    – สามารถนำมาใช้ทำขนมหวานประเภทลูกอม เบียร์ น้ำผลไม้ เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์สารให้กลิ่นได้
  2. น้ำมันจากดอก(Cassie oil)[2],[5]
    – สามารถนำมาผสมในเครื่องหอมต่าง ๆ
    – สามารถนำมาทำน้ำมันใส่ผม หรือนำมาอบผ้าเช็ดหน้าได้
    – สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวานได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณน้อย
  3. ดอก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำน้ำหอมได้[2],[4],[5]
    – นำมาสกัดเอากลิ่นหอมของดอกและกลั่นมาเป็นน้ำหอม
  4. ดอก สามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้[5]
  5. สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปได้[7]
  6. ราก สามารถนำมาใช้ตำแล้วพอกที่กีบเท้าโค กระบือ จะช่วยฆ่าหรือป้องกันพยาธิได้[2]
  7. ฝักประกอบไปด้วยของฝาด (tannin) ประมาณ 23%[2],[5]
    – สามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมแบบการใช้น้ำฝาดและทำหมึกได้
    – ใช้ผสมในน้ำต้มย้อมผ้า จะได้เป็นสีธรรมชาติมากขึ้น
  8. เปลือก สามารถนำมาใช้ฟอกหนังได้[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  1. เมื่อปี ค.ศ.1992 ที่ประเทศอียิปต์มีการทดลองใช้สารสกัดจากเมล็ด[3]
    – ผลทดลองพบว่า มีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  2. จากการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากใบและเปลือกต้น[6]
    – ทดสอบโดยเอทานอลร้อยละ 70 ต่อการต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน
    – พบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากเชื้อ
    – ความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 1.3±0.2 มคก./มล.
    – สารสกัดจากใบไม่สามารถต้านมาลาเรียได้
    – สารสกัดเปลือกต้น สามารถต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium berghei ได้ 32±5%
  3. สารละลายที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีความเข้มข้น 1 ต่อ 1,000 ส่วน
    – ทำให้สามารถแก้ฤทธิ์ของ acetylcholine และแบลเรียมคลอไรด์ที่มากระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของหนูใหญ่
    – มีฤทธิ์ยับยั้งจังหวะการบีบตัวตามปกติของกล้ามเนื้อมดลูกของหนูใหญ่ที่แยกจากตัว
  4. ในการสกัดสารด้วยแอลกอฮอล์[2],[4]
    – นำมาละลายในน้ำขนาด 20-80 มิลลิกรัมต่อกรัม
    – พบว่ามีฤทธิ์ทำให้หัวใจของกบที่แยกออกจากตัวนั้นบีบตัวลดลงเป็นจังหวะ
    – ความแรงจากการบีบตัวลดลงชั่วคราวในช่วงแรก
    – ต่อมาจะเพิ่มการบีบตัวขึ้นเป็นจังหวะ
    – ความแรงของการบีบตัวของกระต่ายเมื่อใช้สารสกัดชนิดเดียวกัน
    – พบว่าจะทำให้การบีบตัวในระยะแรกเพิ่มขึ้น
    – ต่อมาก็จะลดลงเป็นจังหวะ
    – ความแรงในการบีบตัวในขนาด 40-80 มิลลิกรัมต่อกรัม
    – จะทำให้หัวใจของสุนัขทั้งห้องบนและห้องล่างบีบตัวเพิ่มขึ้นในช่วงแรก ๆ
    – ทำให้ความดันเลือดของสุนัขที่ทำให้สลบตกลงในช่วงระยะสั้น
    – แล้วความดันเลือดก็จะสูงขึ้นเล็กน้อย
    – สารที่สกัดได้มีฤทธิ์ทำให้ปริมาตรและจังหวะในการหายใจของสุนัขเพิ่มขึ้น
  5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ[3]
    – ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
    – ลดความดันโลหิต
    – ขยายหลอดลม
    – เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
    – ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว
    – ลดการอักเสบ
    – ต้านเชื้อแบคทีเรีย
    – เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ
  6. สารสำคัญที่พบ ได้แก่[3]
    – anisaldehyde
    – benzoic aldehyde
    – chotesterol
    – cresol
    – djenkolic acid
    – eugenol
    – hydrocyanic acid
    – kaempferol
    – kaempferol-7- galloyl0glycoside
    – N-acetyl
    – sulfoxide
    – linamarin
    – palmitic acid
    – pentadecanoic acid
    – sitostrol
    – stigmasterol
    – tannin
    – triacontan-l-o
    – tyramine

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระถินเทศ Sponge Tree, Cassie Flower”. หน้า 29.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระถินเทศ”. หน้า 24-27.
3. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “กระถินเทศ”. หน้า 50.
4. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “กระถินเทศ”. หน้า 34.
5. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากสารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศ”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [05 ก.ค. 2015]. สำนักงานหอพรรณไม้
6. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กระถินเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/. [05 ก.ค. 2015].
https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://indiabiodiversity.org/
2. https://commons.wikimedia.org/