กำลังพญาเสือโคร่ง
ไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอกหรือเป็นรูปหอก ดอกคล้ายกับหางกระรอกมีขนอยู่ที่ขอบ ผลแบนมีปีก 2 ข้าง ปีกบางและโปร่งแสง

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบได้ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,000 เมตร เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน ชื่อสามัญ คือ Birch กําลังพญาเสือโคร่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Betula alnoides Buch.-Ham. ex D.Don จัดอยู่ในวงศ์กำลังเสือโคร่ง (BETULACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่), พญาเสือโคร่ง, นางพญาเสือโคร่ง (คนเมือง), ลำแค ลำแคร่ ลำคิแย (ลั้วะ), เส่กวอเว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของต้นกำลังพญาเสือโคร่ง

  • ต้น
    – จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่
    – มีความสูงได้ถึง 20-40 เมตร
    – วัดรอบลำต้นได้ประมาณ 1-2 เมตร
    – เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเทาหรือเกือบดำ
    – เปลือกมีต่อมระบายอากาศเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาว มีความกลมหรือรีปะปนกันอยู่
    – เปลือกมีกลิ่นคล้ายกับการบูร
    – เมื่อแก่จะลอกออกเป็นชั้น ๆ คล้ายกระดาษ
    – ที่ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกจะมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่
    – ของเนื้อไม้ กระพี้ และแก่นมีสีต่างกันเพียงเล็กน้อย
    – เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลืองปนขาวหรือค่อนข้างขาว
    – เนื้ออ่อนค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนตรง มีลวดลายที่สวยงาม
    – สามารถไสกบตบแต่งได้โดยง่าย ขัดเงาได้ดี
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอกหรือเป็นรูปหอก
    – ใบ มีความกว้าง 1.5-6.5 เซนติเมตร และยาว 6.55-13.5 เซนติเมตร
    – เนื้อใบบางคล้ายกระดาษหรืออาจจะหนา
    – ด้านใต้ของใบมีตุ่ม
    – ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองถึงสามชั้น หยักแหลม
    – ขอบซี่เรียวแหลม
    – โคนใบป้านหรือเกือบเป็นเส้นตรง
    – ปลายใบเรียวแหลม
    – มีเส้นกลางใบเป็นร่องตื้น ๆ
    – ทางด้านหลังใบเส้นแขนง 7-10 คู่
    – หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือแคบ
    – ยาวประมาณ 3-8 มิลลิเมตร
    – ก้านใบเป็นร่องลึกด้านบนยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกคล้ายกับหางกระรอก
    – ออกตามง่ามใบแห่งละ 2-5 ช่อ
    – ดอกย่อยไม่มีก้าน
    – ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่แยกกัน
    – โดยช่อดอกเพศผู้ยาว 5-8 เซนติเมตร
    – มีกลีบรองดอกเป็นรูปกลมหรือรูปโล่
    – มีแกนอยู่ตรงกลาง
    – ปลายค่อนข้างแหลม
    – มีขนอยู่ที่ขอบ
    – เกสรตัวผู้มีอยู่ 4-7 ก้าน ติดอยู่ที่แกนกลาง
    – ช่อดอกเพศเมียมีความยาว 3-9 เซนติเมตร
    – กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี 3 หยัก มีความยาว 2-2.5 มิลลิเมตร
    – ด้านนอกมีขน
    – รังไข่แบน
    – กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม
    – ท่อรังไข่จะยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย มีความกว้าง 2.5-3 มิลลิเมตรและยาว 2.5-4 มิลลิเมตร
    – มีปีกบางและโปร่งแสง
    – ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
  • ผล
    – ผลแบน มีความกว้าง 2-3 มิลลิเมตร และยาว 2-14 มิลลิเมตร
    – มีปีก 2 ข้าง ปีกบางและโปร่งแสง
    – ผลแก่ร่วงง่าย
    – ออกผลในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์

สรรพคุณของกำลังพญาเสือโคร่ง

  • เปลือกต้น ช่วยบำรุงเลือด
  • เปลือกต้น สามารถใช้เป็นยาอายุวัฒนะได้
  • เปลือกต้น ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • เปลือกต้น สามารถใช้ต้มเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกายได้
  • เปลือกต้น ช่วยขับลมในลำไส้
  • เปลือกต้น ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • เปลือกต้น ช่วยชำระล้างไตให้สะอาดมากขึ้น
  • เปลือกต้น ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
  • เปลือกต้น สามารถใช้ดมแก้อาการหน้ามืดตาลายได้
  • เปลือกต้น ช่วยอาการปวดฟัน ป้องกันฟันผุ
  • เปลือกต้น ช่วยบำบัดอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของสตรีไม่สมบูรณ์ หรือมดลูกชอกช้ำหรืออักเสบอันเนื่องมาจากการถูกกระทบกระเทือน
  • เปลือกต้น สามารถใช้ทำเป็นยาดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายได้
  • ราก สามารถใช้ต้มเป็นน้ำดื่มร่วมกับรากโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้

ประโยชน์ของกำลังพญาเสือโคร่ง

  • เปลือก สามารถนำมาใช้ทำเป็นยาได้
  • เปลือก สามารถใช้ทำเป็นการบูรและใช้ทำเป็นกระดาษได้
  • เปลือก สามารถนำมาบดให้ละเอียดใช้ผสมกับแป้งทำเป็นขนมปังหรือเค้กได้ (ข้อมูลจากเกษตรอินทรีย์)
  • เนื้อไม้ สามารถนำไปใช้ทำเป็นกระดานพื้น ทำเครื่องเรือนได้
  • เนื้อไม้ สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ทำเป็นด้ามเครื่องมือได้

วิธีใช้เปลือกต้นต้มเป็นยา

  • ให้ใช้เปลือกต้นที่ถากออกจากลำต้นพอประมาณตามความต้องการ
  • นำมาใส่ในภาชนะ ต้มกับน้ำให้เดือดแล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ
  • น้ำสมุนไพรที่ได้จะเป็นสีแดง แล้วใช้รับประทานในขณะอุ่น ๆ
  • จะทำให้มีสรรพคุณทางยามากขึ้น
  • หากทำเป็นยาดองเหล้า สีที่ได้จะแดงเข้มมาก
  • ถ้าต้องการจะปรุงรสก็ให้เติมน้ำผึ้งกับโสมตังกุยตามต้องการ

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน),