ต้นมะกา
ต้นมะกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 5-10 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะแผ่กว้าง เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาล ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ด ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง เติบโตได้ดีในดินที่ร่วนระบายน้ำดี ชอบความชื้น ที่มีแสงแดดเต็มวัน สามารถพบเจอได้ที่ตามป่าโปร่งทุกภาคของประเทศไทย ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมะกา คือ Bridelia ovata Decne. อยู่วงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ส่าเหล้า (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), กอง (ภาคเหนือ), มัดกา (จังหวัดหนองคาย), ซำซา (จังหวัดเลย), ก้องแกบ (จังหวัดเชียงใหม่), สิวาลา (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), กองแกบ (ภาคเหนือ), มาดกา (จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดหนองคาย), มะกาต้น (จังหวัดเลย), ขี้เหล้ามาดกา (จังหวัดขอนแก่น) [1],[2]
ลักษณะต้นมะกา
- ลักษณะของต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 5-10 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะแผ่กว้าง เปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบและเป็นสีน้ำตาล ลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ด
- ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปรี ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบจะมน ขอบใบจะเรียบหรือจะเป็นคลื่น ที่ขอบใบอ่อนกับยอดอ่อนจะเป็นสีแดง ใบกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร ที่แผ่นใบด้านหลังมีลักษณะเกลี้ยงและเป็นสีเขียวเข้ม ที่ท้องใบจะมีลักษณะเป็นคราบสีขาว มีเนื้อใบที่บาง หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบก็เรียบเช่นกัน ก้านใบจะสั้น[1],[2]
- ลักษณะของดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกที่ตามซอกใบ ดอกมะกาจะเป็นดอกแบบแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกลักษณะเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ที่ปลายกลีบดอกจะแหลม ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มีเกสรสีแดง[1],[2]
- ลักษณะของผล เป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลมีลักษณะเรียบ ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีม่วงดำ เมล็ดเป็นรูปไข่และมีขนาดที่เล็ก[1],[2]
- ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง
สรรพคุณต้นมะกา
1. สามารถช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย และช่วยบำรุงน้ำเหลืองได้ (ใบ)[7]
2. สามารถช่วยแก้เหน็บชาได้ (ใบ)[7]
3. สามารถช่วยแก้ไตพิการได้ (แก่น)[1],[2]
4. สามารถช่วยระบายอุจจาระธาตุได้ (แก่น)[1],[2]
5. สามารถนำเปลือกต้นมาทานใช้เป็นยาสมานลำไส้ได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
6. ใบและทั้งห้าสามารถช่วยขับลมได้ (ใบ, ทั้งห้า)[7]
7. เมล็ดสามารถช่วยทำให้ฟันแน่นได้ (เมล็ด)[5]
8. สามารถนำใบที่ตายแล้วมานึ่งใช้มวนเป็นยาสูบกัดเสมหะ หรือเอาไปต้มใช้ดื่มเป็นยาขับเสมหะได้ (ใบ)[2],[5]
9. เป็นยาขับเสมหะ (แก่น)[1],[2]
10. ใบมะกาจะมีรสขมขื่น มีสรรพคุณที่เป็นยาถ่ายพิษไข้ และถ่ายพิษตานซางในเด็กได้ (ใบ)[1],[2]
11. แก่นสามารถช่วยฟอกโลหิตได้ (แก่น)[1],[2]
12. ใบมะกาสามารถช่วยแก้โลหิตเป็นพิษได้ (ใบ)[7]
13. เป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งห้า)[7]
14. แก่นจะมีรสชาติขม เป็นยาแก้กระษัย (แก่น)[1],[2]
15. เปลือก มีรสฝาดขม สามารถใช้เป็นยาแก้พิษกระษัย และแก้กระษัยได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
16. มีข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบเป็นยาแก้โรคกระษัย โดยนำใบมะกา แก่นขี้เหล็ก เถาคันแดง เหง้าสับปะรด รากต้นเสาให้ อย่างละเท่า ๆ กัน มาใส่ในหม้อดินต้มกับน้ำ แล้วก็ใส่เกลือทะเล 1 กำมือ นำน้ำยามาทาน (ใบ)[4]
17. สามารถใช้เป็นยาสมานแผลได้ (เปลือกต้น)[6]
18. ใบมะกาสามารถช่วยบำรุงน้ำดีได้ (ใบ)[7]
19. สามารถช่วยแก้มุตกิดของสตรี ช่วยคุมกำเนิด และช่วยขับระดูได้ (ใบ)[7]
20. นำใบมะกาสดมาปิ้งไฟ สามารถใช้เป็นยาระบายอ่อนได้ (ใบ)[1],[7] โดยนำใบมะกาแห้งมาปิ้งไฟให้พอกรอบ 2-5 กรัม มาชงกับน้ำที่เดือด แช่ไว้เป็นเวลาประมาณ 15-20 นาที เอามาดื่มก่อนนอนเป็นยาระบายได้ (ใบ)[5]
21. ใบมะกาสามารถช่วยในการย่อยอาหารได้ (ใบ)[7]
22. ใบมะกาสามารถช่วยชักลมที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ (ใบ)[1],[2]
23. ใบมะกาสามารถช่วยแก้อาการสะอึกได้ (ใบ)[7]
24. สามารถนำใบมะกามาต้มกับน้ำดื่มใช้เป็นยาถ่ายเสมหะและโลหิตได้ (ใบ)[1],[2]
25. สามารถใช้รากมะกากับใบมะกามาเป็นยาแก้ไข้ (ราก, ใบ)[5] ใบเป็นยาลดไข้ (ใบ)[7]
26. ใบมะกาสามารถช่วยบำรุงธาตุไฟได้ (ใบ)[7]
27. ใบมะกาสามารถช่วยแก้ตานขโมยได้ (ใบ)[7]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- มีฤทธิ์ที่ต้านเชื้อแบคทีเรีย และกระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบ[7]
- จากการทดลองฤทธิ์ระบายกับผู้ป่วยที่ท้องผูก โดยนำใบมะกาแห้งประมาณ 1.5-2 กรัม มาชงกับน้ำที่เดือด แช่ไว้เป็นเวลานาน 10-20 นาที นำมาดื่มก่อนนอน พบว่าได้ผลที่ดี จะมีอาการข้างเคียงก็คือ คลื่นไส้ ปวดท้อง [3]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก), งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. “มะกา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.hinsorn.ac.th/botanyhinsorn/. [13 พ.ค. 2014].
2. การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนเขาตายิ้ม อ.เมือง จ.ตราด, สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ พ.ศ. 2549. “มัดกา, มะกา”. (ชูจิตร อนันตโชค, ทรรศนีย์ พัฒนเสร, วจีรัตน์ บุญญะปฏิภาค). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: forprod.forest.go.th/forprod/chemistry/pdf/1.66.pdf. [13 พ.ค. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “มะกา (Maka)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 213.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะกา”. หน้า 66.
5. คมชัดลึกออนไลน์. “มะกา ใบขับเสมหะ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [13 พ.ค. 2014].
6. งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. เขต 29. “มะกา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ict2.warin.ac.th/botany/. [13 พ.ค. 2014].
7. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะกา”. หน้า 148. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).
อ้างอิงรูปจาก
1.https://powo.science.kew.org/
2.https://indiabiodiversity.org/observation/show/1816036