ต้นมะคังแดง
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดงเข้ม และขนนุ่ม ดอกเป็นช่อสั้น ดอกย่อยสีเขียวอ่อน ผลกลมสีเขียวผิวเรียบ

ต้นมะคังแดง

ต้นมะคังแดง ขึ้นตามพื้นที่ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และตามป่าเบญจพรรณ[1],[2],[3] เป็นไม้ยืนต้นกึ่งไม้พุ่มลำต้นมีหนามแหลมเปลือกไม้มีสีน้ำตาลแดง พืชสมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เข็ม Rubiaceae และสมุนไพรชนิดนี้ใช้รากนำมาต้มเป็นกษาโรคหัด สามารถพบได้แถบอินเดีย อินโดจีน พม่า และในยารัไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioecrescis erythroclada (Kurz) Tirveng. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gardenia erythroclada Kurz ชื่ออื่น ๆ มะคังป่า (ในภาคเหนือ), ตุมกาแดง (ในภาคกลาง), มุยแดง ลุมปุกแดง ลุมพุกแดง (จังหวัดนครราชสีมา), มะคัง (จังหวัดเชียงใหม่), จงก่าขาว จิ้งก่าขาว ชันยอด (จังหวัดราชบุรี), จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (จังหวัดกาญจนบุรี), โรคแดง เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของต้นมะคังแดง

  • ต้น
    – เป็นไม้ประเภทไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก
    – ลำต้นมีความของสูงอยู่ที่ประมาณ 6-12 เมตร
    – เปลือกลำต้นและกิ่งก้าน เป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม และมีขนนุ่มคล้ายกับกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมอยู่ทั่ว
    – ตามบริเวณโคนต้น ลำต้น และกิ่งจะมีหนามขนาดใหญ่ขึ้นอยู่โดยรอบลำต้น พุ่งตรงออกมาเป็นระยะ ๆ และตามกิ่งก้านอ่อนจะมีสีเป็นสีน้ำตาลอมแดง
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบในรูปแบบที่เรียงตรงข้ามกัน
    – ใบขึ้นดกหนาทึบ และใบสามารถหลุดร่วงได้ง่าย
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปรีกว้าง รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ ตรงปลายใบและโคนใบ ส่วนขอบใบเรียบ บริเวณหลังใบด้านบนมีผิวเรียบ ส่วนท้องใบด้านล่างจะมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ หรือใบอาจจะมีขนทั้งสองด้าน
    – ก้านใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม และใบมีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม[1],[2]
    – ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยช่อจะมีขนาดเล็ก และดอกจะออกตามบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
    – ดอกย่อยมีสีเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมีทั้งสิ้น 5 กลีบ โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน
    – ลักษณะรูปร่างของกลีบดอกจะเป็นรูปกลม ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นติดกันกับกลีบดอกวางอยู่ระหว่างกลีบดอก[1]
    – ออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม[1],[3]
  • ผล
    – ผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีสีเขียว ผิวผลเรียบ
    – ผลมีสันนูนขึ้นอยู่ประมาณ 5-6 สัน ตรงปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่
    – ติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงช่วงเดือนกรกฎาคม(ช่วงเดียวกันกับช่วงที่ต้นออกดอก)[1],[3]

สรรพคุณของต้นมะคังแดง

1. เปลือกต้นนำมาใช้เข้ายากับต้นมุ่ยขาว นำมาทำเป็นยาลูกกลอน ไว้ใช้สำหรับแก้อาการปวดเส้นเอ็น แก้โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และแก้โรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)[2]
2. เปลือกต้นนำมาตำใช้สำหรับพอกแผลสดเพื่อใช้ห้ามเลือดจากบาดแผลได้ (เปลือกต้น)[1],[2]
3. เนื้อไม้นำมาผสมกับหัวยาข้าวเย็น จากนั้นนำมาต้มกับน้ำไว้ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้กษัยไตพิการได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
4. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาที่มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการปวดท้องได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
5. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำไว้ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการเลือดลมเดินไม่สะดวก และแก้พิษโลหิตหรือพิษน้ำเหลืองได้ (เนื้อไม้)[1],[2]
6. แก่นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย (แก่น)[2]
7. แก่นนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้อาการมีรอบเดือนของสตรีได้ (แก่น)[2]
8. แก่นนำมาใช้ผสมกับต้นมุ่ยขาว มุ่ยแดง ต้นหนามแท่ง ต้นเล็บแมว และต้นเงี่ยงปลาดุก มาทำเป็นยาสำหรับการรักษามะเร็ง และโรคกระเพาะอาหาร (แก่น)[2]
9. รากนำมาใช้ทำเป็นยาถ่ายได้ (ราก)[2]
10. มีสรรพคุณในการนำมาใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[2]

ประโยชน์ของต้นมะคังแดง

  • เนื้อไม้ นำมาใช้ทำหน้าไม้ใช้สำหรับล่าสัตว์ได้ และยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรได้อีกด้วย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “มะ คัง แดง (Ma Khang Daeng)”.  หน้า 217.
2. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “มะ คัง แดง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [04 พ.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “มะ คัง แดง”.  อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.  [04 พ.ย. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.earth.com/
2.https://khmer-medicinalplants.blogspot.com/