โป๊ยกั๊ก
เป็นไม้ยืนต้น ดอกเดียวสีเหลืองแต้มสีชมพูถึงสีแดง ผลมี 8 กลีบ ผลแห้งแข็งสีน้ำตาลแดง กลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน

โป๊ยกั๊ก

โป๊ยกั๊ก หรือจันทน์แปดกลีบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและเวียดนาม มันถูกจัดเป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียเขตร้อนผู้คนมักจะนำส่วนเมล็ดของผลแก่หรือผลแก่ตากแห้ง มาใช้ประโยชน์กัน ซึ่งเมล็ดนั้นมีลักษณะคล้ายกับดาว 8 แฉกและมีการใช้กันในจีนกว่า 1,300 ปีมาแล้ว ถือเป็น 1 ใน 5 ของผงเครื่องเทศสมุนไพรในการปรุงอาหารแบบจีนดั้งเดิม ในปัจจุบันจะมีการเพาะปลูกมากในประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ เวียดนาม และประเทศญี่ปุ่น[2] ชื่อสามัญ Chinese star anise[1], Star anise[2], Star aniseed[4], Badiane (ฝรั่งเศส)[4], Badian (อาหรับ), Badian khatai (อินเดีย), Bunga lawang (มาเลเซีย, อินโดนีเซีย)[3],[4], Thakolam (มาลายาลัม) ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Illicium verum Hook.f.จัดอยู่ในวงศ์ SCHISANDRACEAE ชื่ออื่นๆ โป๊ยกั๊ก,จันทร์แปดกลีบ,ดอกโป๊ยกั๊ก,โป๊ยกั๊กจีน

ลักษณะของโป๊ยกั๊ก

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดเล็ก เปลือกจะมีสีขาวเทา ลักษณะหยาบเล็กน้อยลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 18 เมตร[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก ใบเรียวยาว ส่วนโคนใบเป็นรูปโคนสอบ ปลายใบจะแคบเป็นแถบยาว ส่วนปลายสุดจะพบทั้งแบบเว้าและแบบแหลม[2]
  • ดอก เป็นทรงกลมแกมรูปถ้วย ดอกเดียวสีเหลืองบางครั้งอาจแต้มด้วยสีชมพูถึงสีแดง กลีบดอก 10 กลีบ รูปรีกว้าง ก้านดอกยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร ขอบกลีบมีขนเป็นและเป็นกระพุ้ง[2]
  • ผล เป็นกลีบปลายแหลม มองเห็นได้เป็นรูปดาว มี 5-13 พู เมล็ดรูปไข่ แต่ละพูมี 1 เมล็ด โดยส่วนใหญ่มักมี 8 กลีบ ผลดิบมีสีเขียว ถ้าผลแห้งจะมีกลีบหนาแข็ง ผิวสีน้ำตาลแดง เรียบ และ เป็นเงา มีกลิ่นหอม รสชาติเผ็ดร้อน และ หวาน

คุณค่าทางโภชนาการ

โป๊ยกั๊ก ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย

  • โปรตีน 31%,
  • คาร์โบไฮเดรต 31%,
  • เส้นใยอาหาร 38%,
  • วิตามินเอ 10.5%,
  • วิตามินซี 35%,
  • แคลเซียม 65%,
  • เหล็ก 62%,
  • ธาตุโพแทสเซียม 31%,
  • และธาตุโซเดียม 1%[3]

ประโยชน์ของโป๊ยกั๊ก

1. สามารถใช้เป็นส่วนผสมของยาหรือยาอมได้ โดยใช้น้ำมันที่ได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำมาทำ อีกทั้งยังสามารถใช้ในการแต่งกลิ่นหรือดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้อีกด้วย[1],[2]
2. สามารถใช้เป็นส่วนผสมของผงเครื่องเทศทั้งห้าที่ใช้ในการปรุงอาหารจีนแบบดั้งเดิมนั่นคือ โป๊ยกั๊ก อบเชย กานพลู ยี่หร่า พริกไทยเสฉวน [4]
3. ส่วนประกอบของธาตุเหล็กที่ช่วยในการบำรุงโลหิต และแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
4. ผลและเมล็ดแบบแห้งสามารถนำมาทำเป็นยาสมุนไพรหรือนำมาประกอบอาหารก็ได้[1],[2]
5. สามารถใช้เป็นเครื่องชูรสชูกลิ่นได้และผลยังสามารถใช้แต่งกลิ่นทำอาหารได้ทั้งคาวและหวานรวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดได้อีกด้วย[1],[2],[3]

สรรพคุณของโป๊ยกั๊ก

1. ช่วยส่งเสริมสุขภาพของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงได้[6]
2. ช่วยรักษาวัยทองในเพศชายได้[7]
3. ช่วยแก้เหน็บชาหรือตะคริวตามข้อมือข้อเท้าได้[3]
3. ช่วยระงับความเจ็บปวดได้[3]
4. ผล สามารถใช้เป็นยากระตุ้นได้[1]
5. ช่วยแก้อัณฑะบวม และโรคไส้เลื่อนได้[5]
6. ผล สามารถช่วยขับลมในลำไส้ได้ (ผล)[1]
7. ช่วยแก้อาการจุกเสียดในเด็กทารก ปวดท้อง แก้อาการท้องอืดได้[3]
8. เมล็ด สามารถช่วยแก้อาการหลอดลมอักเสบได้ (เมล็ด)[6]
9. น้ำมันหอมระเหย สามารถนำมาใช้ผสมในยาผงแก้หืดหรือเป็นยาสำหรับสัตว์ก็ได้[1]
10. มีสรรพคุณช่วยแก้หวัด ลดไข้ได้[3]
12. สามารถสกัดกรดชิคิมิก (Shikimic acid)จากเมล็ด ซึ่งสามารถนำมาสังเคราะห์ยาทามิฟลู (Tamiflu) ต่อได้
13. ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายในช่วงอากาศเย็นชื้นมีรสร้อนนิดเจือหวานเล็กน้อย ใช้สำหรับดื่มหลังอาหารในช่วงเช้าหรือเย็น วิธีการรับประทานก็ให้ใช้ผง 1 ช้อนชาชงกับน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ [3]
14. โป๊ยกั๊กเพียงแค่ 1 ช้อนชานำมาชงกับน้ำอุ่นดื่มสามารถช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ สำหรับเด็กเล็กมากให้ใช้น้ำมันมาทาบริเวณฝ่าเท้า จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ดี[3]
15. ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตรได้[6]
16. ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศได้[7]
17. ชะเอมผสมกับน้ำมันหอมระเหยประมาณ 1-4 หยดมีสรรพคุณสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้[1]
18. ผง 1 ช้อนชานำมาชงกับน้ำร้อนดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น สามารถระงับอาการปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดเอว ช่วยรักษาโรครูมาติสม์ได้ (Rheumatism)[3]
19. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้กับกล้ามเนื้อได้[3]
20. มีคุณสมบัติในการช่วยขับน้ำดี (เมล็ด)
21. มีสรรพคุณสามารถช่วยแก้ปัสสาวะขัดได้[5]
22. ผล สามารถช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อยได้ (ผล)[1]
23. ผล มีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการลมกองหยาบได้ (ผล)[1]
24. มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาอาการอักเสบเรื้อรังในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ[3]
25. ชะเอมผสมกับน้ำมันหอมระเหยใช้บรรเทาอาการไอได้[1]
26. เมล็ด มีสรรพคุณต้านเชื้อไวรัสได้หลายชนิด ทั้งไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดนก
27. ผล สามารถช่วยขับเสมหะได้(ผล)[1]
28. ผล สามารถช่วยแก้ธาตุพิการได้(ผล)[1]
29. ผล สามารถช่วยบำรุงธาตุในร่างกายได้(ผล)[1]

คำแนะนำที่ปลอดภัยต่อการรับประทาน

ให้รับประทานโป๊ยกั๊กจีนเท่านั้น ที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดีและไม่มีพิษ ส่วนโป๊ยกั๊กญี่ปุ่นเป็นพืชมีพิษหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากมีสารพิษที่ที่มีฤทธิ์ในการทำลายระบบประสาทอย่างรุนแรงและ ทำให้เกิดอาการอักเสบภายใน รวมถึงอวัยวะในระบบย่อยอาหารและท่อปัสสาวะอีกด้วย[3]

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง

1.ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โป๊ย กั๊ก“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [10 ต.ค. 2013].
2.ละผลิตภัณฑ์จากพืชในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉบับคอมพิวเตอร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sc.mahidol.ac.th. [10 ต.ค. 2013].
3.มูลนิธิสุขภาพไทย. “โป๊ยกั๊กเพิ่มพลังภูมิคุ้มกันโรค“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org. [10 ต.ค. 2013].
4.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (en).
5.หนังสือสมุนไพรเครื่องเทศและพืชปรุงแต่งกลิ่นรส. “โป๊ย กั๊ก“. (สุพจน์ คิลานเภสัช). (2543). กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาสน์.
6.THE TIMES OF INDIA. “Benefits of star anise“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: articles.timesofindia.indiatimes.com. [10 ต.ค. 2013].
7.WebMD. “STAR ANISE“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.webmd.com. [10 ต.ค. 2013].
8. https://medthai.com/