ข่าต้น
ข่าต้น รากเป็นยาสมุนไพรใช้ขับลมในลำไส้ เนื้อไม้จะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ เปลือกต้นเมื่อถากออกมาจะมีกลิ่นหอมฉุน ดอกสีขาวอมสีเขียว ผลเป็นรูปกลมไข่กลับสีดำ

ข่าต้น

ข่าต้น หรือเทพทาโร เป็นต้นไม้หอมชนิดหนึ่ง ต้นมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn. อยู่วงศ์อบเชย (LAURACEAE)[1],[2] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เซียงจาง (จีนกลาง), มือแดกะมางิง (มลายู, ปัตตานี), จวงหอม (ภาคใต้), จะไคต้น (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ข่าต้น (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), กะเพาะต้น (จังหวัดสระบุรี), เทพทาโร (จังหวัดปราจีนบุรี), จะไค้ต้น (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), พลูต้น (จังหวัดสระบุรี), เทพธาโร (จังหวัดปราจีนบุรี), มือแดกะมาริง (มลายู, จังหวัดปัตตานี), หวางจาง (จีนกลาง), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ไม้จวง (ภาคใต้), จะไคหอม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), จวง (ภาคใต้) [1],[2]

ลักษณะเทพทาโร

  • ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ บางต้นอาจจะสูงถึง 25 เมตร เนื้อไม้มีลักษณะฟ่ามเบาเป็นสีน้ำตาลอ่อน จะมีกลิ่นหอมฉุน ร้อน คล้ายกับกลิ่นการบูรหรือจะคล้ายกับกลิ่นของเทพทาโร พบเจอได้ทั่วไปตามป่าเชิงเขา มีมากตามเชิงเขาสระบาปและบ้านอ่าง จังหวัดจันทบุรี และที่ตามป่าในจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระบุรี [1]
  • ใบ ใบดกหนาทึบ สามารถเป็นไม้ร่มได้[1] เป็นใบประกอบ ใบจะออกเรียงสลับ ใบกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร มีเส้นใบคล้ายกับขนนก จะเรียงเป็นคู่ ๆ ประมาณ 6-8 คู่ มีกิ่งเล็ก[2]
  • ดอก มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อคล้ายร่ม มีกลีบดอกอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปไข่ เป็นสีขาวอมสีเขียว ในดอกจะมีขนนิดหน่อย มีเกสรเพศผู้อยู่ 9 อัน[2]
  • มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ตรงขั้วเมล็ดมีสีแดง เป็นแบบลูกกลมสามเหลี่ยม[2]

ข้อควรรู้ : มีลักษณะที่ต่างกับต้นเทพทาโร ก็คือ มีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อน จะมีจำหน่ายที่ตามร้านสมุนไพรทั่วไป[1]

สรรพคุณเทพทาโร

1. สามารถใช้เป็นยาแก้ไขข้ออักเสบ ฟกช้ำ เพราะมีลมชื้นเกาะติดอยู่ด้านใน โดยนำรากมาดองกับเหล้าทาน (ราก)[2]
2. สามารถใช้เป็นยาช่วยขับโลหิตกับน้ำเหลือง (เนื้อไม้)[1]
3. ในตำรับยาแก้บิด จะนำเมล็ดประมาณ 5-8 กรัม มาต้มผสมใบยูคาลิปตัสประมาณ 6-8 กรัม ทาน (ในตำรับยานี้นั้นมีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไอ) (เมล็ด)[2]
4. สามารถนำรากมาดองกับเหล้าทานใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกายได้ (ราก)[2]
5. สามารถนำเนื้อไม้มาใช้ปรุงเป็นยารักษาอืดเฟ้อ หอมลม จุกเสียด ท้องขึ้น (เนื้อไม้)[1]
6. เนื้อไม้มีรสเผ็ด มีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงธาตุ (เนื้อไม้)[1]
7. ในตำรับยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเส้นเอ็น โกฐหัวบัว 20 กรัม ให้นำราก 20 กรัม โกฐสอ 10 กรัม เจตมูลเพลิง 15 กรัม โกฐเชียง 15 กรัม มาแช่กับเหล้าทาน (ตำรับนี้นั้นจะใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกายได้เหมือนการใช้รากเดี่ยว) (ราก)[2]
8. ใบจะมีประสิทธิภาพในการช่วยห้ามเลือด ช่วยสมานแผลสด (ใบ)[2]
9. สามารถนำเนื้อไม้มาปรุงผสมกับสะค้าน ต้นดาวเรือง ใช้ทานเป็นยารักษาฝีลมได้ (เนื้อไม้)[1]
10. สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้ปวดท้องน้อย กระเพาะลำไส้อักเสบ แก้ท้องอืด (ใบ, ผล, ราก, เปลือก)[2]
11. สามารถใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ได้ (เนื้อไม้)[1]
12. ในตำรับยาอาการไอเรื้อรัง ออกหัดตัวร้อน แก้ไข้หวัด ตัวร้อน แก้ไอ

ขนาดกับวิธีใช้

  • ใช้ตาม [2] ยาแห้งใช้ครั้งละ 10-18 กรัม มาต้มน้ำทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • พบน้ำมันระเหยอยู่ในเปลือกต้น เมล็ด ราก กิ่ง ประมาณ 2-4% และในน้ำมันระเหยพบ Cinnamic Aldehyde, Safrale 60-95%, B-pinene Phellandrene, Eugenol (น้ำมันกานพลู) [2]
  • ในใบพบน้ำมันระเหย 2.6-3.3% มีส่วนประกอบ เช่น น้ำมันไพล การบูร น้ำมันสน น้ำมันเขียว

ประโยชน์ของข่าต้น

  • สามารถใช้ทำเป็นไม้ตีพริก เพื่อทำให้พริกนั้นมีกลิ่นหอม และสามารถใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ได้[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ข่า ต้น”. หน้า 122.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ข่า ต้น”. หน้า 104-105.