เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาต เป็นพืชเขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และแอฟริกาและมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปตามประเทศเขตร้อนของทวีป มักพบตามบริเวณป่าหรือที่ชื้น ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cissus quadrangularis L. จัดอยู่ในวงศ์องุ่น (VITACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ สันชะควด (กรุงเทพ), ขั่นข้อ (ราชบุรี), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะของต้นเพชรสังฆาต
- ลักษณะของต้น
– เป็นไม้เถา
– เถาอ่อนเป็นสีเขียว
– เป็นสี่เหลี่ยม
– เป็นข้อต่อกัน - ลักษณะของใบ
– ใบเป็นใบเดี่ยว รูปสามเหลี่ยม
– แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน
– ออกเรียงสลับกันตามข้อต้น
– ปลายใบมน
– โคนใบเว้า
– ขอบใบหยักมนห่าง ๆ
– ก้านยาว 2-3 เซนติเมตร - ลักษณะของดอก
– ดอกเป็นสีเขียวอ่อน
– ออกเป็นช่อ
– ออกตามข้อตรงข้ามกับใบ
– กลีบดอกมี 4 กลีบ
– โคนด้านนอกสีแดง
– โคนด้านในเขียวอ่อน
– เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง
– ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน - ลักษณะของผล
– ผลเป็นรูปทรงกลม
– ผิวเรียบเป็นมัน
– ผลอ่อนสีเขียว
– ผลสุกสีแดงออกดำ
– มีเมล็ดกลมสีน้ำตาล 1 เมล็ด
– ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร คือ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น
สรรพคุณของเพชรสังฆาต
- ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงได้
- ต้น สามารถช่วยขับน้ำเหลืองเสียได้
- เถา สามารถใช้แก้กระดูกแตก หัก ซ้นได้
- เถา สามารถช่วยขับลมในลำไส้ได้
- ใบยอดอ่อน สามารถช่วยรักษาโรคลำไส้ที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อยได้
- น้ำจากต้น สามารถใช้ปรุงเป็นยาธาตุ ช่วยให้เจริญอาหารได้
- น้ำจากต้น สามารถนำมาใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหลได้
- น้ำจากต้น สามารถนำมาใช้หยอดจมูก แก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติได้
- ใบกับราก สามารถใช้เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหักได้
- เถากับน้ำจากต้น สามารถใช้แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้
- เถากับน้ำจากต้น สามารถนำมาใช้แก้โรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้
ประโยชน์ของเพชรสังฆาต ที่โดดเด่นที่สุดก็คือ
- การใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร โดยมีงานวิจัยของ พญ. ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะ ได้ประเมินประสิทธิภาพของสมุนไพรกับผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจำนวน 121 คน เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันอย่างดาฟลอน (Daflon)
- ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของการประเมินผลของสมุนไพรเพชรสังฆาตกับยาดาฟลอนไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- ที่สำคัญยังพบว่าค่าใช้จ่ายของยาแคปซูลเพชรสังฆาตถูกกว่ายาดาฟลอนถึง 20 เท่าอีกด้วย
- ผลการวิจัยนี้จึงมีการสรุปว่าแคปซูลเพชรสังฆาตสามารถใช้ทดแทนยาดาฟลอนในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้อย่างดี
วิธีการทำยารักษาริดสีดวง
วิธีที่ 1
- ใช้เถาสด ๆ ประมาณ 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้ออาหาร
- นำมารับประทานด้วยการสอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขามเปียก หรือใบผักกาดดองแล้วกลืนลงไป ห้ามเคี้ยว
- เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีผลึก Calcium Oxalate รูปเข็มเป็นจำนวนมาก การรับประทานสด ๆ อาจทำให้ระคายต่อเยื่อบุในปากและในลำคอได้
- การรับประทานจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน อาการของโรคริดสีดวงก็จะดีขึ้น
วิธีที่ 2
- นำเถาแห้งนำมาบดเป็นผง ใส่แคปซูลเบอร์ 2 ขนาด 250 มิลลิกรัม
- รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารและช่วงก่อนนอน
- รับประทานไปสัก 1 อาทิตย์ก็จะเห็นผล
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
แหล่งอ้างอิง : ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.malawiflora.com/
2.https://www.indiamart.com/