ว่านแร้งคอดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum latifolium L. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ หว้านคอแดง หว้านแร้งคอดำ (กรุงเทพฯ), ว่านแร้งคอดำ (ภาคกลาง), ว่านคอแดง (ภาคใต้), ว้านกระทู้, ว่านพระยาแร้ง, ว่านพระยาแร้งคอดำ[1],[2] ชื่อเรียกอื่นว่า “พระยาแร้งคอดำ” หรือ “พระยาแร้งคอแดง” ถ้าเป็นว่านตัวผู้ คอใบและก้านใบจะมีสีแดงอยู่ 2 นิ้ว ถ้าดึงกาบออกจะเป็นใยบัว หัวมีลักษณะคล้ายกับหัวหอมผิวแดงและเนื้อเป็นสีขาว ใบมีความแบนและยาว แตกออกจากหัวกลายเป็นกาบ ร่องกลางใบห่อเล็กน้อยไม่มีก้าน ลักษณะเหมือนว่านรางนาก หรือว่านรางทอง แต่ใบจะมีขนาดเล็กและยาวกว่า[3]
ลักษณะของต้นว่านแร้งคอดำ
- ลักษณะของต้น[1],[2]
– เป็นพรรณไม้ล้มลุก
– มีหัวอยู่ใต้ดิน
– หัวจะกลมคล้ายกับหัวหอมใหญ่
– ผิวหัวเป็นสีแดง
– เนื้อในสีขาว
– ลำต้นที่โผล่พ้นดินขึ้นมามีลายวงเป็นวงสีน้ำตาลแก่ ตั้งแต่กาบโคนต้นจนถึงกาบคอต้น
– กาบคอต้นลายจะเป็นวงขนาดใหญ่กว่าโคนต้น เป็นสีม่วงอมแดง
– สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
– เติบโตได้ดีในดินทราย ที่สามารถระบายน้ำและเก็บความชื้นได้ดี
– ชอบแสงแดดแบบรำไร
– ขึ้นตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป - ลักษณะของใบ[1],[2]
– เป็นใบเดี่ยว
– ใบเป็นรูปขอบขนานยาวเรียว คล้ายกับใบของต้นพลับพลึงขนาดเล็ก
– ใบจะออกซ้อนกันเป็นกาบ
– เป็นใบรีรูปขอบขนาน
– ปลายใบแหลม
– โคนใบสอบเรียว
– ขอบใบเป็นคลื่นบาง ๆ
– กว้างประมาณ 7-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
– แผ่นใบบาง
– เส้นกลางใบจะเป็นร่องลึก
– แตกใบอ่อนตรงส่วนยอดของลำต้นใต้ดิน
– เมื่อดึงกาบใบออกจะมีใยคล้ายใยบัว - ลักษณะของดอก[1],[2]
– ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม
– ดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปหอก
– มีกาบหุ้มยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร
– ปลายดอกเป็นกระจุกประมาณ 10-20 ดอก อยู่บนก้านสั้น ๆ
– ก้านดอกมีลักษณะอวบหนา มีความยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร
– กลีบดอกมี 6 กลีบ มีความกว้างกว่าดอกพลับพลึง
– ก้านดอกสั้น
– ดอกเป็นสีขาวและแต้มด้วยสีแดงตรงกลางหรือทางด้านหลังของกลีบ
– มีเกสรเพศผู้ 6 อันอยู่ด้วย
– มีอับเรณูลักษณะเป็นรูปโค้ง - ลักษณะของผล[1]
– ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม
สรรพคุณว่านแร้งคอดำ
- หัว เป็นยาแก้กษัย[2]
- หัว รักษาอาการปวดหู[2]
- หัว แก้ไตพิการ[2]
- หัว เป็นยารักษาฝี[1],[2]
- หัว ใช้รักษาอาการเคล็ดขัดยอก บวม[1]
- หัว เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับอาการปวดในข้อ[1]
- หัว ใช้รักษาริดสีดวงทวาร[1],[2]
- หัว เป็นยาชักมดลูก ช่วยแก้อาการมดลูกหย่อน ปีกมดลูกอักเสบ เหมาะสำหรับสตรีที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ ๆ[1],[2]
- ใบ ใช้รักษาอาการปวดหูได้[1]
ประโยชน์ของว่านแร้งคอดำ
- ว่านชนิดนี้เชื่อกันว่าเป็นว่านที่คงกระพัน โดยจะใช้หัวพกติดตัวหรือกินหัวว่าน
- ควรใช้กระถางใบเขื่องกว่าใบธรรมดาในการปลูก และควรใช้อิฐมอญหักรองก้นกระถาง เพราะว่านชนิดนี้จะขยายพันธุ์ได้ดี
- เมื่อเอาหัวว่านลงกระถางแล้วให้ใช้ดินร่วนปนทรายกลบดินพอให้มิดหัวว่าน แล้วรดด้วยน้ำที่เสกด้วยคาถา “นะโม พุทธายะ” ทุกครั้ง
- ถ้าจะนำมาใช้ในทางคงกระพันชาตรี ก่อนจะกินหัวว่านก็ให้เสกคาถา “นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ” ตามกำลังวัน[2],[3]
สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ว่านแร้งคอดำ”. หน้า 729-730.
2. ว่านและสมุนไพรไทย, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. “ว่านแร้งคอดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/. [20 ส.ค. 2014].
3. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. “ความเชื่อเกี่ยวกับว่านแร้งคอดำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : m-culture.in.th. [20 ส.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://indiagardening.com/
2.https://commons.wikimedia.org/