อีเหนียว
อีเหนียว เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรงมีขนปกคลุมหนาแน่น พบได้ตามป่าโปร่งทั่วไป ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Desmodium gangeticum (L.) DC. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Desmodium gangeticum var. maculatum (L.) Baker, Meibomia gangetica (L.) Kuntze[4]) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2],[3],[4] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ นางเหนียว หนาดออน อีเหนียวเล็ก (ภาคกลาง), หญ้าตืดแมว (ภาคเหนือ), หนูดพระตัน หนูดพระผู้ (ภาคใต้), กระตืดแป (เลย), กระดูกอึ่ง อ้ายเหนียว (กาญจนบุรี), นอมะช่าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หงหมู่จีเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[2],[3],[4]
ลักษณะของต้นอีเหนียว
- ต้น [1],[2],[4]
– เป็นไม้พุ่ม
– ลำต้นตั้งตรง
– ต้นมีความสูง 60-150 เซนติเมตร
– กิ่งก้านอ่อน
– แตกกิ่งก้านที่ปลาย
– ลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่น
– มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
– เขตการกระจายพันธุ์อยู่ที่แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และประเทศไทย
– พบได้ตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล - ใบ[1],[2]
– ใบเป็นใบประกอบ
– ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน
– ใบเป็นรูปวงรีกว้างถึงรูปไข่
– ปลายใบมนแหลม
– โคนใบมนหรือกลมเป็นรูปหัวใจ
– ใบมีความกว้าง 3.5-7 เซนติเมตร และยาว 5-13 เซนติเมตร
– เนื้อใบบาง
– หลังใบเป็นสีเขียว
– ท้องใบเป็นสีเขียวอมเทา
– มีก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร - ดอก [1],[2],[4]
– ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ
– ช่อดอกยาว 15-30 เซนติเมตร
– ในช่อหนึ่งนั้นจะมีหลายกระจุก
– กระจุกหนึ่งมีดอก 2-6 ดอก รวมเป็นช่อแยกแขนง
– ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมขาวหรือสีชมพู
– แกนกลางมีขนรูปตะขอโค้ง
– ใบประดับร่วงได้ง่าย
– ก้านดอกย่อยยาว
– กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง
– ปลายแยกเป็นแฉก 4 แฉก
– กลีบเลี้ยงยาว 2 มิลลิเมตร
– กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่วสีขาวถึงสีชมพูอ่อน
– กลีบดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร
– มีขนปกคลุม
– ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกัน แยกเป็นสองมัด
– รังไข่มีขน
– ก้านดอกยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
– ออกดอกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม - ผล [1],[2]
– ออกผลเป็นฝักรูปแถบ
– ฝักมีลักษณะแบนโค้งงอเล็กน้อย
– แบ่งเป็นข้อ ๆ
– ฝักหนึ่งจะมี 7-9 ข้อ
– ฝักมีความกว้าง 2 มิลลิเมตร และยาว 1.2-2 เซนติเมตร
– ตามผิวมีขนรูปตะขอโค้งสั้น
– เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไต
– มีเยื่อหุ้มเมล็ด
สรรพคุณของอีเหนียว
- ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาถ่าย[1]
- ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลัง[1]
- ทั้งต้น มีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำรุงโลหิต[1]
- ทั้งต้น ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด[1]
- ทั้งต้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด[1]
- ทั้งต้น มีรสหวานชุ่มเผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้เส้นเลือดอุดตัน[2]
- ทั้งต้น ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ[2]
- ทั้งต้น สามารถเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน[2]
- ทั้งต้น สามารถใช้แก้ปลายประสาทผิวหนังอักเสบ[2]
- ทั้งต้น สามารถใช้เป็นยาห้ามเลือดได้[2]
- ราก สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดฟันได้[4]
- ราก สามารถใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบได้[1]
- ราก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย[4]
- ราก มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ แก้ตัวร้อน[1],[4]
- ใบ มีสรรพคุณเป็นยาลดนิ่วในท่อน้ำดีและไต[4]
- รากและทั้งต้น ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาขับปัสสาวะ[2],[3],[4]
- รากและทั้งต้น มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก[1],[3],[4]
- ทั้งต้นหรือใบสด สามารถนำมาใช้ตำพอกรักษาแผล[1],[2]
- ทั้งต้นหรือใบสด สามารถนำมาใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษสุนัขกัด[2],[3],[4]
ประโยชน์ของอีเหนียว
- สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพรได้
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางอาหาร ที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน[3]
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
โปรตีน | 14.4% |
แคลเซียม | 1.11% |
ฟอสฟอรัส | 0.24% |
โพแทสเซียม | 1.87% |
ADF | 41.7% |
NDF | 60.4% |
DMD | 56.3% |
ไนเตรท | 862.2 พีพีเอ็ม |
ออกซาลิกแอซิด | 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ |
แทนนิน | 0.1% |
มิโมซีน | 0.26% |
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอีเหนียว
- สารสำคัญที่พบ ได้แก่ acetophenone, harman, chrysanthemin, iridin glucoside, tryptamine, tyvamine[1] รากพบสาร alkaloids 0.05% ใน alkaloids พบสาร N-Dimethyltryptamine, Hypapphorine, Hordenine N-Methyltyramine ลำต้นและใบ พบสาร Nb-Methyltetrahydrohardon, 6-Methoxy-2-methyl-b-carbolinium ส่วนเมล็ดพบน้ำมัน น้ำตาล และ Alkaloid อีกเล็กน้อย[2]
- มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ ทำให้เป็นหมัน[1]
- เมื่อปี ค.ศ.2007 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองศึกษาผลในการลดไขมันในเลือด โดยทำการทดลองกับหนูทดลอง โดยให้สารสกัดในหนูจำนวน 100 และ 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ใช้เวลาทำการทดลองเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง P<0.05[1]
- เมื่อนำสารที่สกัดจากใบในความเข้มข้น 10% มาให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะได้ดี[2]
- จากการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ให้หนูถีบจักรทดลอง พบว่าในขนาดที่หนูทนได้คือ 1 กรัมต่อกิโลกรัม[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “อี เ ห นี ย ว” หน้า 217-218.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “อี เหนียวเล็ก”. หน้า 650.
3. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์. “อี เ ห นี ย ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th. [17 ก.ย. 2014].
4. ฐานข้อมูลชนิดพรรณพืช พื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี. “อีเหนียว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.en.mahidol.ac.th/conservation/. [17 ก.ย. 2014].