อาหารสำหรับผู้ป่วยเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต

0
12141
อาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์และอัมพาต
โรคอัมพฤกษ์และอัมพาต เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาหลอดเลือดแดงตีบ จะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
อาหารสำหรับผู้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์และอัมพาต
โรคอัมพฤกษ์และอัมพาต เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาหลอดเลือดแดงตีบ จะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

อัมพฤกษ์ อัมพาต

อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาหลอดเลือดแดงตีบ หรือ สโตรก ( Stroke ) ซึ่งอาการหลักๆ ของโรคก็คือจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนตายทั้งเป็น โดยโรค อัมพฤกษ์ อัมพาตนี้ก็เป็นโรคที่ชาวต่างประเทศกลัวกันมากทีเดียว

โรคร้ายที่มักจะมากับสโตรก

สโตรก เกิดจากการที่ผนังของหลอดเลือดแดงเกิดการอุดตันจากเลือดที่แข็งตัวผิดปกติ จึงทำให้ออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอและยังทำให้หัวใจขาดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่หัวใจวายได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบอีกว่า เมื่อหลอดเลือดเกิดการอักเสบ ก็จะมีไขมันไปสะสมอยู่ภายใต้ผนังหลอดเลือดมากขึ้น เป็นผลให้หลอดเลือดอ่อนแอลง และอาจเกิดการฝังตัวของพลัคและลิ่มเลือด จนทำให้เกิดความเสี่ยงได้สูงขึ้นเช่นกัน

โดยภาวะสโตรกนี้ จะส่งผลอย่างไรบ้างก็ขึ้นอยู่กับว่าได้เกิดกับหลอดเลือดส่วนไหน ซึ่งหากเกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันจนเกิดอาการหัวใจวาย ( Heart Attack ) ได้ และหากเกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ก็จะส่งผลให้เซลล์สมองตาย เนื่องจากขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองนั่นเอง และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด อัมพฤกษ์ อัมพาต ในที่สุด
นอกจากนี้ในกรณีที่เส้นเลือดที่อุดตันเกิดการรั่วหรือแตก หรือที่เรียกว่าเลือดออกในสมอง ( Hemorrhagic Stroke ) ก็จะทำให้เป็นอัมพาตอย่างเฉียบพลันได้อีกด้วย ซึ่งในผู้ป่วยบางคนอาจเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โดยอาการที่มักจะแสดงออกมาอย่างเฉียบพลันเมื่อเลือดออกในสมอง คือ อาการแขนขาอ่อนแรงและเป็นลมหมดสตินั่นเอง
สัญญาณเตือนของโรค ที่ควรไปพบแพทย์ทันที

เนื่องจากโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต มักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแบบไม่ทันตั้งตัว ดังนั้นเมื่อมีอาการผิดปกติจึงควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจและรักษาก่อนอาการจะรุนแรงและเป็นอันตรายนั่นเอง

  • โรค อัมพาต ครึ่งซีก มีอาการชาอย่างเฉียบพลันและอ่อนแรงบริเวณแขน ขาและใบหน้า โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดเฉพาะซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
  • อาการเริ่มต้นของโรคอัมพฤกษ์ โรค อัมพาต

จะ เริ่มพูดไม่ชัด และอาจมีความสับสนพร้อมกับเข้าใจอะไรได้ยาก

  • อัมพฤกษ์ อัมพาต มีผลต่อดวงตา มีอาการตาฟาง ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้างก็ได้
  • มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมักจะปวดขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ทรงตัวลำบาก และอาจมีอาการวิงเวียนร่วมด้วย โดยในบางคนก็อาจจะล้มลงไปเฉยๆ ในขณะกำลังเดินหรือยืนอยู่

มินิสโตรก สัญญาณที่ต้องเฝ้าระวัง

มินิสโตรก คือ โรคสโตรกอีกชนิดหนึ่ง โดยมีศัพท์ทางการแพทย์ว่า Transient Ischemic Attack ( TIA ) ซึ่งโรคนี้จะมีอาการที่แตกต่างจากสโตรกตรงที่จะขาดเลือดเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น และจะหายเป็นปกติไปเองโดยไม่ต้องทำการรักษา นอกนั้นอาการจะเหมือนกับโรคสโตรกทุกอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่อาการของมินิสโตรกจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นอยู่ประมาณ 10 นาที ถึง 1 ชั่วโมง และจะหายเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง โดยโรคนี้จะไม่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อเซลล์สมองอย่างใด แต่ทั้งนี้อาการมินิสโตรกก็เป็นดั่งสัญญาณเตือนที่จะนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะนั่นหมายความว่าคุณกำลังมีโอกาสที่จะเป็นสโตรกอย่างแท้จริงและมีความเสี่ยงต่อการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต สูงมากอีกด้วย

โรค อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาหลอดเลือดแดงตีบ หรือ สโตรก ( Stroke ) ซึ่งอาการหลักๆ ของโรคก็คือจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนตายทั้งเป็น

ปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงสโตรก

สำหรับปัจจัยที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงสโตรก ได้แก่ 

  • อายุ โดยจะพบได้มากในคนที่มีอายุมาก โดยเฉพาะวัย 50 ปีขึ้นไป และจะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามช่วงอายุอีกด้วย
  • เพศ ซึ่งพบว่าผู้ชายมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้มากกว่าผู้หญิง โดยอาจเป็นเพราะผู้ชายมักจะมีความดันโลหิตที่สูงกว่าและไม่ค่อยใส่ใจดูแลสุขภาพมากนักนั่นเอง
  • เชื้อชาติ โดยโรคสโตรกจะพบได้มากที่สุดในชาวแอฟริกันและละตินอเมริกัน
  • หัวใจเต้นผิดปกติ เพราะจะก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่ายขึ้น จึงเพิ่มความเสี่ยงสโตรกมากขึ้น
  • กรรมพันธุ์ โดยพบว่าในคนที่พ่อแม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือสโตรกมาก่อน จะมีความเสี่ยงเป็นสโตรกได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า
  • ความดันโลหิตสูง ซึ่งพบว่าหากความดันสูงมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากเท่านั้น โดยผู้ที่มีระดับความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะมีความเสี่ยงสูงถึง 7 เท่า

คำแนะนำในการป้องกันโรคสโตรก

การป้องกันโรคสโตรกสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีคำแนะนำดังนี้

1. เลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะบุหรี่มีสารนิโคตินรวมถึงสารพิษอื่นๆ ที่จะทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ และส่งผลให้ลิ่มเลือดแข็งตัวง่ายขึ้นอีกด้วย

2. ทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการลดความดัน โดยเฉพาะอาหารแดช อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง พร้อมกับลดปริมาณโซเดียมให้ต่ำลง

3. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และระวังอย่าให้อ้วนลงพุง เพราะพบว่าผู้ที่อ้วนลงพุงจะมีโอกาสเสี่ยงสโตรกสูงมาก ถึงแม้ว่าจะมีน้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอลและความดันเป็นปกติก็ตาม

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน โดยออกให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที ส่วนในคนที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย ก็ควรทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ เช่น เดินขึ้นลงบันไดในที่ทำงานแทนการใช้ลิฟท์ เป็นต้น

5. ควบคุมไขมันในเลือด เพราะเมื่อมีไขมันในเลือดสูง ก็จะทำให้ความเสี่ยงสโตรกสูงขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีระดับของเอชดีแอลต่ำ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก

6. ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ คือจะต้องไม่สูงเกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท โดยอาจใช้วิธีการปรับพฤติกรรมการกินอาหารควบคู่ไปกับการใช้ยาร่วมด้วย

7. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยหากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติได้ ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงสโตรกและโรคสมองเสื่อมได้มากเท่านั้น

8. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ซึ่งก็เป็นอันตรายมากทีเดียว โดยทางสมาคมสโตรกแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกเตือนว่า ผู้ชายห้ามดื่มแอลกอฮอล์เกินวันละ 2 ดริ๊งค์ และผู้หญิงห้ามดื่มเกินวันละ 1 ดริ๊งค์

อาหารสําหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์และอัมพาต

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว การเลือกทานอาหารก็จะช่วยป้องกัน อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้เหมือนกัน โดยอาหารที่จะช่วยต้านอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ดี มีดังนี้

  • ปลาทะเล เพราะอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ ควบคุมการเต้นของหัวใจและลดการแข็งตัวของเกล็ดเลือดได้เป็นอย่างดี เพียงแค่กินปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดียังลดความเสี่ยงต่อการเกิด อัมพฤกษ อัมพาต อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ชายที่กินปลาเดือนละ 90 กรัมต่อเนื่องเป็นเวลา 12 ปี สามารถลดความเสี่ยงโรคสโตรกได้สูงมาก และผู้หญิงที่กินปลาทะเลสัปดาห์ละครั้งก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ดีเช่นกัน
  • กินวิตามินรวมวันละ 1 เม็ด เพื่อเสริมวิตามินให้เพียงพอสำหรับร่างกายนอกเหนือจากการกินอาหาร
  • กินอาหารที่มีกรดโฟลิกหรือกรดโฟลิกเสริม เพราะจะช่วยในการลดระดับฮอร์โมนซิสเตอีนในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งก็จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดสโตรกได้ โดยอาหารที่มีโฟเลตสูงได้แก่ สตรอว์เบอร์รี่ ถั่วแดง ส้ม บร็อคโคลี เป็นต้น
  • เสริมด้วยวิตามินซี เพราะวิตามินซีจะช่วยในการสร้างเสริมผนังหลอดเลือดแดงให้มีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถลดความดันโลหิต พร้อมป้องกันเกล็ดเลือดจับตัวกันได้ดีอีกด้วย  โดยพบว่าผู้ที่มีวิตามินซีในเลือดสูงมากๆ จะสามารถลดการเกิดสโตรกได้มากถึง 29-50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งการเพิ่มวิตามินซีให้กับร่างกาย สามารถทำได้ด้วยการ ทานผักผลไม้ให้ได้วันละ 9 ส่วน โดยเฉพาะส้ม สับปะรด มะละกอ กีวี่ เป็นต้น 
  • โปแตสเซียม เพราะโปแตสเซียมจะช่วยควบคุมระดับความดันให้เป็นปกติและยังดีต่อสุขภาพหัวใจอีกด้วย โดยอาหารที่พบโปแตสเซียมสูง ได้แก่ พรุน นม กล้วย โยเกิร์ต มะเขือเทศและน้ำลูกพรุน เป็นต้น แต่ทั้งนี้กรณีที่กินในรูปของเกลือ ไม่แนะนำให้ใช้เกลือโปแตสเซียมแทนเกลือแกง เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับโปแตสเซียมในปริมาณที่มากเกินไปจนส่งผลอันตรายต่อการเต้นของหัวใจได้นั่นเอง
  • อาหารที่มีใยอาหารชนิดละลายน้ำ โดยจะช่วยในการลดระดับของคอเลสเตอรอลและลดความเสี่ยงหลอดเลือดตีบได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็จะพบได้มากในถั่วเหลืองและข้าวโอ๊ตนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมายอีกด้วย
  • แคลเซียม โดยแคลเซียมจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสโตรกโดยตรง และให้ผลลัพธ์ที่ดีมากในผู้หญิง ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมสูงและเหมาะกับการทานเพื่อป้องกันสโตรกและ อัมพฤกษ์ อัมพาต ที่สุด ก็คือ ผักใบเขียว งา ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย เป็นต้น

เมนูอาหารสําหรับผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต ป้องกันสโตรก

อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น อาหารว่าง
มูสลี

นมถั่วเหลือง

กล้วย

ข้าวซ้อมมือ

ซุปไก่ตุ๋นใส่แครอต

มันฝรั่งและมะเขือเทศ

ผัดบรอกโคลีกุ้งสด

ฟรุตสลอว์

น้ำส้มคั้น

 ข้าวซ้อมมือ

ลาบเต้าหู้

ต้มยำทะเล

ผัดผักโขมและเห็ดเข็มทอง

โยเกิร์ตพร่องมันเนย

ผลไม้สด

[banner slot1=”oral_6″ slot2=”oral_6″ slot3=”oral_6″ slot4=”oral_6″

สูตรฟรุตสลอว์ (สำหรับ 4 ที่เสิร์ฟ)

ส่วนผสม

  • สับปะรดหั่นชิ้นเล็กๆ 1 ถ้วยตวง
  • กะหล่ำปลีหั่นฝอย 2 ถ้วยตวง
  • พริกหวานสีเขียวสับเป็นชิ้นเล็กๆ ¼ ถ้วยตวง
  • แอปเปิ้ลหั่นชิ้นขนาดประมาณข้อนิ้ว 2/3 ถ้วยตวง
  • แครอตหั่นฝอย ½ ถ้วยตวง
  • น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
  • ขิงสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. นำน้ำสับปะรดมาแยกออกไว้ต่างหากประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ

2. นำสับปะรด แอปเปิ้ล แครอต กะหล่ำปลีและพริกหวาน มาเทใส่รวมในจานสลัดแล้วตั้งพักไว้

3. นำน้ำสับปะรดที่เหลือมาผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ที่เหลืออยู่ ลงในขวด แล้วเขย่าให้เข้ากัน จากนั้นราดลงบนสลัดแล้วคนให้เข้ากันเบาๆ

4. คลุมด้วยพลาสติกใสสำหรับถนอมอาหาร นำไปแช่ในตู้เย็นสักพัก จากนั้นก็ทานได้เลย

อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต ให้ทานอาหารประเภทเดียวกันกับอาหารสำหรับป้องกัน แต่ให้เน้นเป็นอาหารอ่อนๆ ที่เคี้ยวง่ายแทน หรือในคนที่ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้เลย ก็ให้นำอาหารบดหรือปั่นให้ผู้ป่วยทานแทน และสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้อาหารทางสาย แพทย์ก็จะจัดอาหารโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยให้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Gueyffier F, Boissel JP, Boutitie F, Pocock S, Coope J, Cutler J, Ekbom T, Fagard R, Friedman L, Kerlikowske K, Perry M, Prineas R, Schron E (1997). “Effect of antihypertensive treatment in patients having already suffered from stroke. Gathering the evidence. The INDANA (INdividual Data ANalysis of Antihypertensive intervention trials) Project Collaborators”. Stroke. 28 (12): 2557–62.

Psaty BM, Lumley T, Furberg CD, Schellenbaum G, Pahor M, Alderman MH, Weiss NS (2003). “Health outcomes associated with various antihypertensive therapies used as first-line agents: a network meta-analysis”. JAMA. 289 (19): 2534–44. 

“Cholesterol, diastolic blood pressure, and stroke: 13,000 strokes in 450,000 people in 45 prospective cohorts. Prospective studies collaboration”. Lancet. 346 (8991–8992): 1647–53. 1995.