ลิ้นมังกร
ไม้ฟอกอากาศเพื่อสุขภาพ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้มลาย เส้นใบกับท้องใบสีเขียวนวลหรือเขียวอ่อน เส้นโคนใบมีขน

ลิ้นมังกร

ลิ้นมังกร หรือต้นดาบพระอินทร์ เป็นพรรณไม้นิยมปลูกในห้อง ช่วยฟอกอากาศปากใบจะเปิดในตอนกลางคืนจะช่วยเพิ่มการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจนที่สูงช่วยให้นอนหลับสบาย ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลางตะวันตกรวมถึงในไทย มีรากใต้ดินแตกเป็นแขนงและใบรูปดาบยาวหนามีลายแถบเป็นเอกลักษณ์จะออกดอกปีละครั้งและดอกจะออกเป็นช่อยาวสีเขียวอมเทา มีชื่อสามัญ Dracaena trifasciata ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Sansevieria trifasciata Prain ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า หลงลี่เยียะ, เหล่งหลี่เฮียะ, หลงซื่อเยียะ, เหล่งจิเฮี้ย การปลูกเหมาะกับสภาพอากาศแบบเขตร้อนทนต่อความแห้งแล้ง ทนต่อความชื้นต่ำ และอุณหภูมิเย็นประมาณ 50 องศา พืชชนิดนี้ค่อนข้างทนทาน ปลูกง่าย และตายยาก

ลักษณะลิ้นมังกร

  • ต้น เป็นไม้กลางแจ้งยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 1-1.5 ฟุต ลำต้นตั้งตรง คองอเล็กน้อย จะมีขนสั้น ๆ ปกคลุม ขยายพันธุ์โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ดินชุ่มชื้นระบายน้ำดี อย่างเช่น ดินร่วนปนทราย ดินปนทราย[1],[2]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกันตามข้อต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ รูปมนรี ที่ปลายใบจะมน ส่วนที่โคนใบสอบแหลมเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มลาย ที่ตามเส้นใบกับท้องใบจะเป็นสีเขียวนวลหรือเขียวอ่อน เส้นโคนใบจะมีขน[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกที่ตามซอกใบกับลำต้น ดอกเรียงติดกันเป็นแถวสั้นคล้ายกับช่อดอก แต่แยกออกเป็นดอกเพศผู้กับดอกเพศเมีย ดอกจะมีขนาดเล็กเป็นสีแดงม่วงหรือสีม่วงเข้ม ดอกหนึ่งมีกลีบอยู่ 6 กลีบ กลีบดอกกลมรีและมีเนื้อหนา มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่อย่างละ 3 อัน [1],[2]
  • ผล มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว จะมีก้านสั้น ผลถูกกลีบเลี้ยงที่ขยายตัวหุ้มไว้[1]

สรรพคุณของลิ้นมังกร

1. สามารถช่วยแก้อาการท้องผูกได้ (ใบ)[2]
2. นำใบสดประมาณ 7-8 กรัม หรือใบแห้งประมาณ 10-30 กรัมมาต้ม ใช้ดื่มสามารถช่วยบำรุงปอดได้ (ใบ)[1],[2]
3. สามารถช่วยขับเสมหะได้ (ใบ)[2]
4. นำใบสดประมาณ 7-8 ใบ และผลอินทผลัม 7 ผล มาต้มกับน้ำทาน ถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ประมาณ 15 กรัม มาต้มผสมกับเนื้อหมูแล้วดื่มแต่น้ำ (ใบ)[1],[2]
5. ใบจะมีรสจืด เป็นยาสุขุม จะออกฤทธิ์กับปอด สามารถใช้เป็นยาแก้ปอดร้อน ช่วยทำให้ปอดชุ่มชื่นได้ (ใบ)[2]
6. สามารถใช้เป็นยาทาหรือพอกแก้พิษร้อนอักเสบได้ โดยนำใบมาตำหรือขยี้ (ใบ)[4]
7. สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยนำทั้งต้นรวมรากด้วย มาล้างให้สะอาด แล้วใส่ลงไปในหม้อต้มกับน้ำ 2-3 ส่วน ต้มเคี่ยวจนเหลือน้ำ 1 ส่วน ต้มให้เดือดประมาณ 20 นาที ผสมน้ำตาลกรวดเพื่อเพิ่มรสชาติด้วยก็ได้ ทานครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลาง เย็น ทานก่อนอาหารหรือทานหลังอาหารก็ได้ จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นและควบคุมได้ (ทั้งต้น)[3]
8. สามารถช่วยแก้หลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนได้ โดยการนำใบสดประมาณ 7-8 ใบ หรือนำใบแห้งประมาณ 15 กรัม มาต้มกับน้ำทาน (ใบ)[1],[2]
9. ใบจะมีรสขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ไอแห้ง ไอร้อน ไอหอบหืด ไอเป็นเลือด แก้เสียงแหบแห้ง ไม่มีเสียง โดยการนำใบสดประมาณ 7-8 กรัม หรือนำใบแห้งประมาณ 10-30 กรัม มาต้มทาน (ใบ)[1],[2]
10. นำดอกสดมาต้มน้ำทานเป็นยาแก้อักกระอักเลือด ไอเป็นเลือด หรือนำใบสด 10-15 กรัม มาต้มน้ำทาน หรือจะผสมกับสันเนื้อหมูต้มน้ำแกงทานก็ได้ (ใบ,ดอก)[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด[1]

ประโยชน์ของลิ้นมังกร

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้ขอบรั้ว ที่ตามทางเดินทั่วไป[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ลิ้น มัง กร”. หน้า 699-700.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ลิ้น มัง กร”. หน้า 498.
3. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (นายเกษตร). “ลิ้น มัง กร กับสูตรแก้ความดันโลหิต”.
4. สมุนไพรน่ารู้. “พืชถอนพิษต่าง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rajini.ac.th. [31 พ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://plants.ces.ncsu.edu/plants/dracaena-trifasciata/