ท้องผูก
ท้องผูก ( Constipation ) เป็น อาการทางเดินอาหารที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากการถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่าสามครั้งต่อสัปดาห์ ส่งผลให้อุจจาระการขับถ่ายอุจจาระแข็งและแห้งเป็นผลจากลำไส้ใหญ่ดูดซับน้ำมากเกินไป โดยปกติเมื่ออาหารเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ใหญ่จะมีการดูดซับน้ำในขณะที่ของเสียกำลังถูกกล้ามเนื้อลำไส้บีบรัดและดันอุจจาระไปทางทวารหนัก แต่การที่ลำไส้ไม่สามารถขับของเสียออกได้ตามปกติจึงทำให้เกิดการจับตัวของอุจจาระในลำไส้มีลักษณะแข็งเป็นก้อนเล็กๆ ขับถ่ายออกได้ยากจนทำให้เกิดอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ คนท้องท้องผูก เด็กท้องผูก
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการท้องผูก
- กินอาหารที่มีกากใยไม่เพียงพอ
- ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
- การใช้ยาระบายมากเกินไป
- ลำไส้แปรปรวน
- ดื่มนมมากเกินไป
- ชอบกลั้นอุจจาระ
- ความเครียดสะสม
- ลำไส้แปรปรวน
- ใช้ยาระบายบ่อยเกินไป
อาการท้องผูก
- ปวดท้อง ท้องอืดรุนแรง
- การขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ต่อสัปดาห์
- อุจจาระเป็นก้อนแข็งและเล็ก
- อุจจาระมีเลือดปน
- ต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ
- รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
- เบ่งอุจจาระไม่ออก
- รู้สึกอึดอัดท้อง
การวินิจฉัยอาการท้องผูก
แพทย์จะทำการทดสอบโดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของอาการท้องผูก
- ซักประวัติทางการแพทย์ อธิบายเกี่ยวกับอาการท้องผูก ระยะเวลาที่เป็น อาหารที่รับประเข้าไป
- การตรวจร่างกาย เช่น การตรวจทางทวารหนักแบบดิจิทัล ซึ่งแพทย์จะใส่นิ้วเข้าไปในไส้ตรงเพื่อประเมินกล้ามเนื้อที่ปิดทวารหนักเป็นต้น
- เอกซเรย์ (X-Ray) ในช่องท้อง
ใครมีความเสี่ยงต่อการท้องผูก
- ผู้ที่กินอาหารที่มีกากใยน้อย ไม่ชอบกินผัก
- ดื่มน้ำน้อย
- ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ผู้ป่วยนอนติดเตียง
- ผู้ที่มีความเครียด
ภาวะแทรกซ้อนของท้องผูก
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องผูกเรื้อรังรวมถึง
- มีเลือดออกทางทวารหนัก
- เป็นริดสีดวงทวาร
- เป็นฝีบริเวณทวาร
- แผลปริที่ผิวหนังขอบทวารหนัก
- ลำไส้ใหญ่โผล่ออกมาทางทวารหนัก
- การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการแบ่ง
- ลำไส้โป่งพอง หรือแตกทะลุได้
- มะเร็งลำไส้
- เนื้องอก
- ลำไส้ตีบตัน
วิธีแก้ท้องผูกง่าย ๆ
ต่อไปนี้สามารถช่วยคุณหลีกเลี่ยงการพัฒนาอาการท้องผูกเรื้อรัง
- การปรับเปลี่ยนอาหารที่มีไฟเบอร์สูงประมาณ 20 – 35 กรัมต่อวัน เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืชและข้าวกล้อง
- ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน
- ควรกินอาหารแปรรูปให้น้อยลง ผลิตภัณฑ์จากนม และเนื้อสัตว์
- พยายามออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน หรือวันละ 30 นาที
- พยายามหากิจกรรมเพื่อลดความเครียด
- พยายามขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน
- จำกัดปริมาณการดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
- อาหารแก้ท้องผูกเรื้อรังควรกินอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เพราะโปรไบโอติกมีประโยชน์ต่อลำไส้มากกว่าการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยระบบย่อยอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โปรไบโอติกช่วยให้ร่างกายของคุณฟื้นตัวหลังจากออกกำลังกาย และลดความเครียดของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
- ใช้ยาระบายแก้ท้องผูกตามที่แพทย์สั่งเพื่อความปลอดภัย
แม้อาการท้องผูกจะพบได้ในคนทุกวัยโดยเฉพาะเกิดอาการท้องผูกในผู้สูงอายุ คนท้องท้องผูก เด็กท้องผูก หากอาการท้องผูกรุนแรงเรื้อรังอาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นได้แก่ ริดสีดวงทวาร มะเร็งลำไส้ หากคุณมีอาการท้องผูกเรื้อรังควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม