มะเกลือ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
1374
มะเกลือ
มะเกลือ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ แก่นมีสีดำสนิท ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง ผลแก่สีดำและแห้ง
มะเกลือ
แก่นมีสีดำสนิท ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง ผลแก่สีดำและแห้ง

มะเกลือ

มะเกลือ Ebony tree เป็นพืชที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานมักพบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง เนื่องจากสมัยก่อนชาวบ้านนิยมนำเปลือกแก่นมีสีดำสนิทจากลำต้น และผลนำมาต้มย้อมผ้า ย้อมแห เพราะผลสุกจัดเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Diospyros mollis Griff. จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ (EBENACEAE)
นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มักเกลือ (เขมร-ตราด), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), ผีเผา ผีผา (ฉาน-ภาคเหนือ), มะเกือ มะเกีย (ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้), มะเกลื้อ (ทั่วไป)

  • ลักษณะของต้น
    – มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    – เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
    – มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร
    – มีเรือนยอดเป็นพุ่ม
    – ลำต้นเปลา
    – ที่โคนต้นขึ้นเป็นพูพอน
    – ผิวเปลือกแตกเป็นรอยสะเก็ดเล็ก ๆ ตามยาว
    – สีดำ
    – เปลือกด้านในสีเหลือง
    – กระพี้มีสีขาว
    – แก่นมีสีดำสนิท
    – เนื้อละเอียดและมีความเป็นมันสวยงาม
    – กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ๆ ขึ้น
    – สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด
    – สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
    – ยกเว้นภาคใต้
    – พบได้มากในจังหวัดลพบุรี ราชบุรี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และอุดรธานี
    – นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย
  • ลักษณะของใบ
    – ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก
    – ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรี
    – โคนใบกลมหรือมน
    – ปลายใบสอบเข้าหากัน
    – ผิวใบเกลี้ยง
    – ใบกว้าง 3.5-4 เซนติเมตรและยาว 9-10 เซนติเมตร
    – ใบอ่อนมีขนปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน
  • ลักษณะของดอก
    – ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ
    – ดอกเป็นแบบแยกเพศต่างต้นกัน
    – ดอกตัวผู้จะมีขนาดเล็ก
    – สีเหลืองอ่อน
    – ในหนึ่งช่อจะมีอยู่ 3 ดอก
    – ดอกตัวเมียจะเป็นดอกเดี่ยว
    – กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 เซนติเมตร
    – โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
    – ปลายกลีบดอกจะแยกเป็น 4 กลีบ
    – เรียงเวียนซ้อนทับกัน
    – ตรงกลางดอกจะมีเกสร
  • ลักษณะของผล
    – มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร
    – ผิวเรียบเกลี้ยง
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – ผลสุกเป็นสีเหลือง
    – ผลแก่เป็นสีดำและแห้ง
    – ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่บนผล 4 กลีบ
    – ผลจะแก่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
    – ในผลมีเมล็ดแบนสีเหลืองอยู่ประมาณ 4-5 เมล็ด
    – มีขนาดกว้าง 0.5-0.7 เซนติเมตรและยาว 1-2 เซนติเมตร

สรรพคุณในด้านการแพทย์

  • สาร Diospyrol diglucoside ช่วยพยาธิสามัญทุกชนิด พยาธิเส้นด้าย (Threadworm) พยาธิตัวกลม (Roundworm) พยาธิตัวตืด (Tapeworm) พยาธิปากขอ (Hookworm) พยาธิแส้ม้า (Whipworm)
    สารชนิดนี้จะไม่ถูกดูดซึมผ่านลำไส้ เพราะเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี แต่จะถูกพยาธิกินเข้าไปแทน และทำให้พยาธิตาย แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้นิยมใช้กันแล้ว และยังมีราคาถูกหาได้ทั่วไปตามชนบท
  • ช่วยถ่ายตานซาง
  • ถ่ายกระษัย

วิธีการใช้สมุนไพรมะเกลือขับพยาธิ

– ให้เลือกใช้ผลสดที่โตเต็มที่และเขียวจัด
– ใช้จำนวนผลเท่ากับอายุแต่ไม่เกิน 20-25 ผล เช่น หากอายุ 30 ปี ก็ให้ใช้เพียง 25 ผล
– นำผลสดมาล้างให้สะอาดแล้วมาโขลกพอแหลก
– คั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับหัวกะทิสด
– นำมาดื่มขณะท้องว่างก่อนอาหารเช้าทันที
– ห้ามทิ้งไว้เพราะจะทำให้น้ำมีพิษ และฤทธิ์ในการถ่ายพยาธิลดน้อยลง
– หลังรับประทานไป 3 ชั่วโมงแล้ว หากยังไม่ถ่ายให้ใช้ยาถ่ายตาม

สรรพคุณของมะเกลือ

– ใบ ใช้แก้อาการตกเลือดภายหลังการคลอดบุตรของสตรี
– เปลือกต้น ช่วยแก้พิษ
– เปลือกต้น ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร
– เปลือกต้น ช่วยขับเสมหะ
– เปลือกต้นกับราก ช่วยแก้พิษตานซาง
– ลำต้น ช่วยแก้ตานซางขโมย
– ราก ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
– ราก ใช้แก้ลม แก้อาเจียน
– แก่น ช่วยแก้ฝีในท้อง
– ลำต้น เปลือกต้น และราก ช่วยแก้กระษัย
– ลำต้น แก่น เปลือกต้น ราก และเมล็ด ช่วยขับพยาธิ

ประโยชน์ของมะเกลือ

  • เปลือกต้น ใช้ทำเป็นยากันบูดได้
  • เปลือก สามารถนำไปปิ้งไฟให้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง นำมาผสมกับน้ำตาล แล้วนำไปหมักไว้ ก็จะได้แอลกอฮอล์ที่เรียกว่า น้ำเมา
  • ไม้ มีความละเอียดและแข็งแรงทนทาน สามารถนำมาใช้ทำเครื่องเรือนได้ดี หรือจะใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี หรือเครื่องประดับมุก
  • ผลสุก สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าหรือย้อมแห สีที่ได้จะเป็นสีดำเข้มและติดทนนาน
  • ผล สามารถนำมาใช้ทาไม้ให้มีสีดำ ในการฝังมุกโต๊ะและเก้าอี้ ช่วยทำให้มีลวดลายสวยสดงดงามมากขึ้น

ข้อควรระวังในการใช้มะเกลือขับพยาธิ

  • ผลมีสาร “ไดออสไพรรอล” (Diospyrol) เป็นสารจำพวก “แนฟทาลีน” (Naphthalene) ที่เป็นพิษต่อประสาทตา หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปจะทำให้สารดังกล่าวถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจนทำให้เกิดอาการอักเสบของเรตินาได้ โดยจะเกิดภายหลังจากการได้รับสารชนิดนี้เข้าไป 1-2 วัน จะทำให้การมองเห็นแย่ลง แม้จะใส่แว่นตาก็ไม่ดีขึ้น จนกระทั่งมองไม่เห็นเลย
  • ควรบดยาด้วยการใช้ครกหินจะดีที่สุด
  • ห้ามใช้น้ำปูนใสในการผสมยา
  • สำหรับบางคนนั้นอาจจะเกิดอาการแพ้ ทำให้เกิดอาการท้องเดินบ่อย ๆ มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก มีอาการวิงเวียนศีรษะและอาเจียน มีอาการตามัว หากรุนแรงมากอาจถึงขั้นทำให้ตาบอดได้
  • ผู้ที่รับประทานบางคนนั้นอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและท้องเสียได้ เพราะระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
  • การใช้ผิดวิธีหรือแม้แต่ใช้อย่างถูกต้องก็อาจจะเกิดอันตรายได้ เนื่องจากบางคนมีความไวและการตอบสนองต่อฤทธิ์ยา
  • ห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์หรือสตรีหลังคลอดใหม่ ๆ หรือในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ รวมไปถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่น ๆ
  • ไม่ควรรับประทานผลสุกสีดำในการถ่ายพยาธิโดยเด็ดขาด เพราะมีพิษอันตรายมาก อาจทำให้ตาบอดได้
  • การเตรียมยาแต่ละครั้งไม่ควรเตรียมไว้ในปริมาณมากเกินกว่าที่จะรับประทาน ควรเตรียมแบบสดใหม่และใช้กินทันทีเท่านั้น
  • ในปัจจุบันไม่มีการแนะนำให้ใช้ผลในการถ่ายพยาธิแล้ว เนื่องจากมีความเสี่ยง เพราะยังไม่มีการศึกษาวิจัยอย่างแน่นอนว่ามันจะแปรสภาพไปเป็นสารที่ทำให้ตาบอดได้มากน้อยเพียงใด และที่สำคัญโรคพยาธิต่าง ๆ ในปัจจุบันก็ลดน้อยลงอย่างมากหากเปรียบเทียบกับสมัยก่อน แถมกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่แนะนำให้นำมาใช้เป็นยาถ่ายอีกด้วย

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, นิตยสารหมอชาวบ้าน (นพ.ประเสริฐศักดิ์ ตู้จินดา), เว็บไซต์โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.disthai.com/