พยาธิตัวกลม ติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงสู่คนได้จริงหรือไม่ 
พยาธิตัวกลม สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้สุนัขหรือแมว ในมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากการได้รับไข่พยาธิเข้าทางปาก

พยาธิตัวกลม

พยาธิตัวกลม (Toxocariasis) คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้สุนัขหรือแมว ไข่พยาธิสามารถอยู่ได้เป็นเวลานานในสวนสาธารณะและสนามเด็กเล่นที่มีดิน ทราย สนามหญ้า การติดเชื้อพยาธิในมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากการได้รับไข่พยาธิเข้าทางปาก โดยสุนัขหรือแมวได้ถ่ายอุจจาระลงในดินและมนุษย์ก็ได้รับไข่พยาธิตัวกลมจากการสัมผัสดิน ทราย หรือพืชที่ปนเปื้อนนั้นเอง ส่วนใหญ่มักพบในเด็กติดเชื้อจากการเล่นในบริเวณที่อาจมีการปนเปื้อนอุจจาระของสุนัขและแมวที่มีไข่พยาธิ ลักษณะของพยาธิตัวกลมมีรูปร่างยาวกลมมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับชนิด พยาธิตัวกลมที่เพิ่งฟักออกมาจากไข่มักอาศัยอยู่ในดินหรืออุจจาระที่ติดเชื้อนั้นเอง

การวินิจฉัยและการทดสอบการติดเชื้อพยาธิตัวกลม

แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องต้นว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อพยาธิตัวกลม โดยมีขั้นตอนการตรวจอื่นๆ ในการวินิจฉัยร่วมด้วย ได้แก่

  • การตรวจร่างกายทั่วไป
  • เก็บตัวอย่างอุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วย เพื่อตรวจหาไข่หรือตัวอ่อนพยาธิตัวกลม
  • การตรวจเลือด เพื่อค้นหาการติดเชื้อในเลือด
  • การตรวจชิ้นเนื้อ
  • อัลตราซาวนด์ เพื่อค้นหาพยาธิในต่อมน้ำเหลือง
  • x-ray เพื่อดูขนาดและปริมาณพยาธิในลำไส้
  • ซีทีสแกน เพื่อดูภาพพยาธิในช่องท้องและสำไส้

สาเหตุการเกิดพยาธิตัวกลม

  • ผู้สัมผัสดินหรือสิ่งสกปรกปนเปื้อนไข่หรือตัวอ่อนพยาธิตัวกลม
  • ผู้ที่อาศัยในประเทศเขตร้อน
  • เด็กที่ชอบเล่นดิน
  • ชุมชนที่มีสุขภิบาลไม่ดี
  • สภาพชุมชนแออัด
  • มีภาวะทุพโภชนาการ
  • ชอบกินผักดิบ
  • ชอบกินเนื้อสัตว์แบบสุกๆ ดิบๆ
  • สัมผัสกับมูลสัตว์ด้วยมือเปล่า
  • ผู้ที่ชอบท่องเที่ยวตามธรรมชาติป่า เขา หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อน
  • ผู้ที่ไม่ชอบใส่รองเท้า หรือเดินเท้าเปล่า
  • ผู้ที่ใช้น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่ผ่านการกรองหรือต้มให้สุกก่อน
  • คนในประเทศที่ยังยากจนขาดสุขาภิบาลที่เหมาะสม
  • ชุมชนที่ขาดการกำจัดอุจจาระที่เหมาะสม
  • นำอุจจาระที่ปนเปื้อนไข่หรือตัวอ่อนพยาธิตัวกลมมาทำเป็นปุ๋ยสดสำหรับใช้รดพืชผลทางการเกษตร

อาการผู้ติดเชื้อพยาธิตัวกลม

  • ไอ
  • เป็นไข้
  • กระสับกระส่าย
  • นอนไม่หลับ
  •  อาเจียน
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • หายใจเสียงดัง
  • ร่างกายแคระแกร็น หรือตัวเตี้ยกว่าปกติ
  • ท้องโต หรือ ภาวะทุพโภชนาการ

ระยะชีวิตของพยาธิตัวกลม

  • ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในลำไส้ของโฮสต์
  • ตัวอ่อนจะเคลื่อนที่ผ่านร่างกาย ผ่านทางกระแสเลือดไปยังปอด
  • ตัวอ่อนจะโตเต็มที่ในปอดก่อนเข้าคอ
  • หากกลืนเข้าไป ตัวอ่อนจะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้และเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
  • พยาธิตัวกลมตัวเมียจะผลิตไข่ได้ประมาณ 200,000 ฟองต่อวัน
  • ไข่พยาธิจะออกจากร่างกายปนไปกับอุจจาระของคน

การป้องกันพยาธิตัวกลมในลำไส้

  • ควรกรองน้ำ หรือต้มน้ำก่อนดื่มทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในสถานที่ที่น้ำไม่สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินที่ปนเปื้อนอุจจาระ
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนหลังทำอาหาร หรือหยิบอาหารรับประทาน
  • เมื่อซื้ออาหาร ผัก ผลไม้ ควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง
  • กำจัดสิ่งปฎฺิกูลในที่ที่เหมาะสม
  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักดิบในช่วงหน้าฝน

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของพยาธิตัวกลม

  • การอุดตันในท่อที่เชื่อมต่อกับตับหรือตับอ่อน
  • การอุดตันในลำไส้ทำให้เกิดอาการปวดและอาเจียน
  • การทำให้เกิดการขาดสารอาหารในเด็ก และหยุดการเจริญเติบโตตัวเล็กกว่าปกติหรือแคระแกรน

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม