กรวย
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. จัดอยู่ในวงศ์จันทน์เทศ (MYRISTICACEAE)[1]
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ กรวย กรวยน้ำ กรวยสวน (กรุงเทพฯ), กะเพราพระ เพราพระ (ชุมพร), จุมพร้า ตุมพระ (นครศรีธรรมราช), ตุมพระ (สตูล), ยางู (สตูล), ตือระแฮ ระหัน หัน (ปัตตานี)[1]
ลักษณะของต้นกรวย
- ลักษณะของต้น[1],[2]
– เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง
– มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เมตร
– โคนต้นเป็นพอน
– มีรากค้ำยันบริเวณโคนต้น
– เรือนยอดมีความแคบยาวหรือเป็นรูปกรวยคว่ำ
– กิ่งแตกเกือบตั้งฉากกับลำต้น
– ปลายกิ่งห้อยลู่ลง
– เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ
– เป็นสีน้ำตาลหรือเทา
– เมื่อสับเปลือกจะมียางใสสีแดงไหลออกมา
– ตามเปลือกและกิ่งจะมีช่องอากาศทั่วไป
– สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง
– มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย
– ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายพันธุ์ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
– จะขึ้นตามป่าดิบชื้นริมน้ำหรือบนที่ราบตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลองตอนที่ติดต่อกับทะเล - ลักษณะของใบ[1]
– ใบเป็นใบเดี่ยว
– ออกเรียงสลับ
– ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปรี
– ปลายใบแหลม
– โคนใบมนหรือแหลม
– ขอบใบเรียบ
– ใบมีความกว้าง 4-8 เซนติเมตร และยาว 15-25 เซนติเมตร
– เส้นแขนงใบมีข้างละ 10-18 เส้น
– เป็นเส้นตรงขนานกัน
– ปลายเส้นโค้งขึ้นเลียบขอบใบ
– แผ่นใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม
– แผ่นใบด้านล่างเป็นสีนวล
– ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร - ลักษณะของดอก[1],[2]
– ดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน
– จะออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบ
– มีความยาว 10-16 เซนติเมตร
– ช่อดอกเพศผู้จะแตกแขนงแผ่กว้างกว่าช่อดอกเพศเมีย
– ดอกมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก
– ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม
– ออกชิดกันแน่นเป็นกลุ่ม ๆ
– ตามแขนงช่อดอก
– วงกลีบรวมติดกัน
– ส่วนบนแยกเป็น 2 กลีบ
– ดอกเพศผู้จะมีเกสรเพศผู้ 6-10 อัน
– ดอกเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้
– ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน - ลักษณะของผล[1],[2]
– ผลมีความกลมเป็นผลแบบมีเนื้อ
– ออกเป็นพวง
– พวงละประมาณ 2-5 ผล
– มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร
– เปลือกผลหนา
– เมื่อสุกผลจะเป็นสีส้มหรือสีแดงอมส้ม
– ก้านผลมีความยาว 0.8-1.1 เซนติเมตร
– มีเมล็ด 1 เมล็ด เป็นรูปไข่ สีน้ำตาล แข็ง และมีขนาดใหญ่
– เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงอมส้ม
– ออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
สรรพคุณของกรวย
- เปลือกต้น สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต[3]
- ชาวมาเลเซียนั้นจะใช้เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำเดือด ใช้เป็นยากลั้วปากและคอ เพื่อช่วยบำบัดอาการเจ็บคอ
ประโยชน์ของกรวย
- ผล สามารถใช้เป็นอาหารของสัตว์ป่าได้[4]
- เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือนได้[4]
- สามารถนำมาปลูกเพื่อให้ร่มเงาริมน้ำได้ เนื่องจากมีรากช่วยยึดตลิ่งได้ดี[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กรวย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [10 ส.ค. 2015].
2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กรวย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th. [10 ส.ค. 2015].
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb.”. อ้างอิงใน : หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน หน้า 139. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [10 ส.ค. 2015].
4. ไทยเกษตรศาสตร์. “กรวย (Kruai)”. อ้างอิงใน : หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [10 ส.ค. 2015].