กรวยป่า
ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยว ดอกเป็นกระจุก มีขนสั้นนุ่ม สีขาวหรือสีเหลืองแกมเขียว เปลือกผลหนามีเนื้อ

กรวยป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Casearia grewiaefolia Vent.[2],[3] ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Casearia kerri Craib, Casearia oblonga Craib[4] ปัจจุบันได้ถูกย้ายมาอยู่ในวงศ์สนุ่น (SALICACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ตวย (เพชรบูรณ์), ตวยใหญ่ ตานเสี้ยน (พิษณุโลก), คอแลน (นครราชสีมา), ขุนเหยิง บุนเหยิง (สกลนคร), ผ่าสาม หมากผ่าสาม (นครปฐม, อุดรธานี), ก้วย ผีเสื้อหลวง สีเสื้อหลวง (ภาคเหนือ), คอแลน ผ่าสามตวย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สีเสื้อ, หมูหัน[1],[3],[4],[6]

ลักษณะของกรวยป่า

  • ลักษณะของต้น[2],[3],[4]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็กถึงกลาง
    – มีความสูงได้ 5-15 เมตร
    – รูปทรงโปร่ง
    – ออกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น
    – ลำต้นเปลาตรง มีลายสีขาวปนดำ
    – คล้ายตัวแลนหรือตะกวด
    – บางท้องที่จึงเรียกว่า “คอแลน”
    – เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีเทา สีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลเข้ม
    – มีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป
    – กิ่งอ่อนมีขนสั้น หนานุ่ม สีน้ำตาลแดง
    – มีน้ำยางสีขาวใส
    – เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว
    – ต้นที่มีอายุมาก โคนต้นจะมีพูพอน
    – เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย จนถึงหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย
    – ในประเทศไทยพบขึ้นทุกภาคของประเทศ
    – มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และป่าทุ่งทั่วไป
  • ลักษณะของใบ
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงสลับกัน
    – ใบเป็นรูปรียาว ขอบขนาน
    – ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม
    – โคนใบมนกว้าง
    – เว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ
    – ขอบใบหยักเป็นถี่ตื้น ๆ
    – แผ่นใบมีความกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาว 8-13 เซนติเมตร
    – เนื้อใบหนา
    – แผ่นใบเรียบ
    – หลังใบเรียบเกลี้ยงเป็นมันหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ
    – ท้องใบมีขนสั้นขึ้นปกคลุมทั่วไป
    – เส้นกลางใบเรียบหรือเป็นร่องทางด้านบน
    – ด้านล่างนูนเห็นได้ชัด
    – เส้นแขนงใบมีข้างละ 8-14 เส้น
    – แผ่นใบมีต่อมเป็นจุดและขีดสั้น ๆ
    – กระจัดกระจายทั่วไป
    – เมื่อส่องดูกับแสงสว่างจะโปร่งแสงก้านใบสั้น
    – ยาวได้ 0.6-1.2 เซนติเมตร
    – มีขนสั้นนุ่มหรือเกือบเกลี้ยง
    – หูใบมีขนาดเล็ก เป็นรูปสามเหลี่ยม[2],[3],[4]
  • ลักษณะของดอก[2],[3],[4]
    – ออกดอกเป็นกระจุก
    – กระจุกละ 2-8 ดอก
    – จะออกตามซอกใบที่หลุดร่วงไปแล้ว
    – ก้านดอกยาว 5-6 มิลลิเมตร
    – มีขนสั้นนุ่ม
    – ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศสีขาวหรือสีเหลืองแกมเขียว
    – ใบประดับมีจำนวนมาก
    – มีขนสั้นนุ่ม ไม่มีกลีบดอก
    – กลีบเลี้ยงดอกขนาดเล็ก มี 5 กลีบ
    – กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว
    – แต่ละกลีบจะไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขนแน่น ด้านในเกลี้ยง
    – ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 8-10 อัน
    – ก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่มเล็กน้อยหรือเกลี้ยง
    – ตรงกลางมีแกนเป็นรูปเจดีย์คว่ำ
    – เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน
    – เป็นรูปขอบขนาน
    – มีขนหนาแน่น
    – รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ เป็นรูปกลมเกลี้ยง
    – ก้านเกสรเพศเมียสั้น
    – ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ลักษณะของผล[2],[3],[4]
    – ผลเป็นผลแบบมีเนื้อ
    – เมื่อแห้งจะแตกออก
    – ผลเป็นรูปทรงกลมรีหรือรูปไข่
    – มีความกว้าง 1.5-2 เซนติเมตร และยาว 2.5-5 เซนติเมตร
    – ผิวผลทั้งมันและเรียบ
    – เปลือกผลหนา
    – เมื่อสุกแล้วจะมีสีเหลืองและจะแตกออกเป็น 3 ซีก
    – บางท้องถิ่นจึงเรียกว่า “ผ่าสาม”
  • ลักษณะของเมล็ด[2],[3],[4]
    – ผลมีเมล็ดจำนวนมาก
    – เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงสด
    – เมล็ดเป็นรูปเหลี่ยม
    – มีขนาด 1 เซนติเมตร
    – รูปร่างดูคล้ายผีเสื้อ
    – หัวท้ายมน
    – ผิวเมล็ดแข็งและเรียบเป็นมัน
    – ออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของกรวยป่า

  • ราก สามารถใช้เป็นยาบำรุงธาตุเช่นเดียวกับเปลือก[4]
  • ราก สามารถใช้เป็นยาแก้บิดมูกเลือด[4]
  • ราก สามารถใช้เป็นยาบำรุงตับ แก้ตับพิการ[1],[2],[4],[5]
  • ราก สามารถใช้เป็นยาแก้ผื่นคันเช่นเดียวกับใบ[1],[2],[4]
  • ผล สามารถใช้เป็นยาฟอกโลหิต[4]
  • ผล สามารถใช้เป็นยาแก้น้ำลายเหนียว แก้เสมหะเป็นพิษ แก้เลือดออกตามไรฟัน [4]
  • ผล สามารถใช้เป็นยาแก้บิดปวดเบ่ง แก้ลงท้อง[4]
  • เมล็ด มีรสเมาเบื่อ สามารถใช้เป็นยาแก้พยาธิผิวหนัง[4]
  • เปลือก สามารถใช้เป็นยาสมานแผล[4]
  • เปลือก สามารถใช้เป็นยาขับผายลม[4]
  • เปลือก มีรสเมาขื่น ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต เป็นยาคุมธาตุ[1],[2],[4],[5]
  • ดอกและใบ มีรสเมาเบื่อ สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้พิษหรือพิษไข้ตัวร้อน[1],[2],[4]
  • ราก ใบ และดอก สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้กาฬ พิษกาฬ พิษอักเสบจากหัวกาฬ[1],[2],[4]
  • รากและเปลือก มีรสเมาขื่น สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง[1],[2],[4],[5]
  • ใบและราก สามารถใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง[4]
  • รากและเมล็ด สามารถใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร[1],[2],[4],[5]
  • ใบและดอก สามารถใช้เป็นยาแก้พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ[5]

ประโยชน์ของกรวยป่า

  • น้ำมันจากเมล็ด สามารถใช้เป็นยาเบื่อปลาได้[4],[5]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เครื่องใช้สอย และเฟอร์นิเจอร์ได้[6]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “กรวยป่า (Kruai Pa)”. หน้า 17.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “กรวยป่า”. หน้า 55.
3. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กรวยป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [09 ก.ค. 2015].
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ผ่าสาม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [09 ก.ค. 2015].
5. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กรวยป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [09 ก.ค. 2015].
6. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กรวย ป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [09 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://efloraofindia.com/2011/02/13/casearia/