แกแล
แกแล Cockspur thorn เป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ้มเลื้อยไม้เถาเนื้อแข็งลำต้นโค้งยาวพบขึ้นตามป่าดงดิบเขตร้อน และตามป่าที่มีแหล่งน้ำ ผลไม้สีเหลืองส้มกินได้เนื้อฉ่ำไม้เถาเนื้อแข็ง จัดอยู่วงศ์ขนุน (MORACEAE) มีถิ่นกำเนิดและพบการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ญี่ปุ่น จีน ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นได้ทั่วทุกภาค ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cudrania javanensis Trécul) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น แหร (ภาคใต้), สักขี (ภาคกลาง), หนามเข (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), ช้างงาต้อก (จังหวัดลำปาง), กะเลอะเซอะ (กะเหรี่ยง, จังหวัดกาญจนบุรี), แกก้อง (จังหวัดแพร่), แกล (ภาคใต้), เหลือง (ภาคกลาง), น้ำเคี่ยวโซ่ (ปัตตานี), เข (นครศรีธรรมราช) [1]
ลักษณะต้นแกแล
- ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก บ้างก็ว่าเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง จะมียางสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน ต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร จะมีหนามที่แข็งและแหลม มีความยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร อยู่ที่ตามต้น กิ่ง ตามง่ามใบ ต้นมีเนื้อไม้แข็ง มักจะขึ้นที่ตามป่าดิบ ป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ ในพื้นที่มีระดับต่ำถึงพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง การปักชำ เติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ มีแสงแดดจัด [1],[6]
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงเวียนสลับ ใบเป็นรูปรี ที่ปลายใบจะแหลมหรือมน ส่วนที่โคนใบจะแหลม ใบกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-11 เซนติเมตร จะมีหนามแหลมออกที่ตรงซอกใบ 1 อัน มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ที่ผิวใบด้านบนมีลักษณะเรียบเป็นสีเขียวและเป็นมัน จะมีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 6-9 เส้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.3-1-5 เซนติเมตร มีหูใบที่ร่วงง่ายและมีขนาดเล็ก[1],[2],[6]
- ดอก เป็นดอกแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกดอกเป็นช่อที่ตามซอกใบ เป็นสีขาวนวลมีขนาดเล็ก มีกลีบดอกอยู่ 4 กลีบ กลีบเป็นรูปไข่กลีบ มีใบประดับที่มีขนาดเล็กมากมีลักษณะเป็นรูปช้อนที่โคนดอก ที่ด้านนอกกลีบดอกจะมีขนสั้น มีเกสรเพศผู้อยู่ 4 ก้าน จะมีที่ขนาดเล็กมาก ๆ ช่อดอกเพศผู้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร ดอกเพศเมียออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น จะออกดอกที่ตามง่ามใบเป็นคู่หรืออยู่เดี่ยว ๆ มีกลีบดอกรวมอยู่ 4 กลีบ ที่ปลายจะแยก ส่วนที่โคนกลีบจะติดกัน ช่อดอกเพศเมียมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร รังไข่อยู่ในฐานรองดอก มีก้านเกสรเพศเมียที่เรียวยาวกว่ากลีบรวมนิดหน่อย ก้านช่อดอกยาวประมาณ 0.3-1 เซนติเมตร[1],[2],[6],[7]
- ผล เป็นผลรวม ผลกลม ผิวผลมีลักษณะขรุขระ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร จะมียางสีขาวอยู่ มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ในผล [1],[5],[6]
สรรพคุณแกแล
1. แก่นสามารถใช้แก้คุดทะราดได้ (แก่น)[3]
2. สารที่สกัดด้วยเฮกเซนกับคลอโรฟอร์มจากราก มีฤทธิ์ที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (ข้อมูลจาก: สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์)
3. แก่นสามารถช่วยแก้กาฬสิงคลีได้ (แก่น)[3],[5]
4. แก่นสามารถใช้เป็นยาสำหรับสตรีที่คลอดบุตรได้ (แก่น)[1],[6]
5. แก่นสามารถช่วยแก้อาการท้องร่วงได้ (แก่น)[2],[3]
6. แก่นสามารถช่วยกล่อมเสมหะโลหิตได้ (แก่น)[3]
7. สามารถใช้แก่นเป็นยาภายนอกเพื่อลดไข้ได้ (แก่น)[6]
8. สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้รากสาด และช่วยรักษาไข้รากสาดหลบเข้าลำไส้ได้ (แก่น)[2],[3]
9. สามารถใช้เป็นยาบำรุงโลหิตในร่างกายได้ (ต้น, แก่น)[3]
10. มีรสปร่า สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้ (แก่น)[1],[2],[3],[5]
11. แก่นสามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ (แก่น)[1],[3],[5]
12. แก่นสามารถช่วยแก้พุพองได้ (แก่น)[1],[3],[5]
13. ช่วยบำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติได้ (แก่น)[1],[2],[3],[5]
14. สามารถใช้แก่นแก้มุตกิดระดูขาวของสตรีได้ (แก่น)[5]
15. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (แก่น)[3]
16. ดอกกับแก่นสามารถช่วยขับเสมหะได้ (ดอก, แก่น)[3]
17. แก่นสามารถช่วยแก้ไข้พิษได้ (แก่น)[3]
18. ดอกเป็นยาแก้โลหิต และวาโยกำเริบได้ (ดอก)[3]
19. แก่นสามารถช่วยบำรุงธาตุในร่างกายได้ (แก่น)[3]
ประโยชน์แกแล
- สามารถนำแก่นหรือเนื้อไม้มาทำสีสำหรับย้อมผ้า ฝ้าย ผ้าไหม จีวรพระ ไหมพรมได้ ซึ่งแก่นหรือเนื้อไม้นั้นจะให้สีเหลือง [4]
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “แกแล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org. [07 ก.พ. 2014].
2. คมชัดลึกออนไลน์, คอลัมน์ ไม้ดีมีประโยชน์. “แกแล แก่นเป็นยา”. (นายสวีสอง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [07 ก.พ. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “แกแล”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 94.
4. สมุนไพรในร้านยาโบราณ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “แกแล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.msu.ac.th. [07 ก.พ. 2014].
5. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. ราชบัณฑิตยสถาน.
6. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “แกแล”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [07 ก.พ. 2014].
7. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “แกแล”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 135.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/50615476@N03/8331204309
2.https://sown.com.au/maclura-cochinchinensis-moraceae-cockspur-thorn/