Home สมุนไพร ต้นเทียนดำ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ

ต้นเทียนดำ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ

0
ต้นเทียนดำ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
ต้นเทียนดำ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ขอบใบหยักลึก ดอกเล็กสีขาวหรือสีฟ้าอ่อนอมม่วง ผลแก่คล้ายกับผลฝิ่น เมล็ดสีดำผิวหยาบไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย
ต้นเทียนดำ
เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ขอบใบหยักลึก ดอกเล็กสีฟ้าอ่อนอมม่วง ผลแก่คล้ายกับผลฝิ่น เมล็ดสีดำผิวหยาบไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย

เทียนดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Nigella sativa L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Nigella cretica Mill.) จัดอยู่ในวงศ์พวงแก้วกุดั่น (RANUNCULACEAE) ชื่อสามัญ Nigella, Black cumin, Black caraway, Fennel flower, Nutmeg flower, Love in the mist, Roman coriander, Wild onion seed ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เทียนดำหลวง (จีนกลาง) เฮยจ๋งเฉ่า

ลักษณะของเทียนดำ

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ลำต้นกลมและตั้งตรง มีความสูงของต้นโดยประมาณ 30-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านบริเวณกลางลำต้น ต้นมีขนสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุม
  • ใบ ใบประกอบแบบขนนก ขอบใบหยักลึก ใบบนใหญ่กว่าใบล่าง มีก้านใบสั้น ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปสามแฉก ลักษณะเป็นเส้น ปลายแหลม มีขนขึ้นปกคลุมช่วงล่าง ใบย่อยกว้างโดยประมาณ 2-3 เซนติเมตรและยาวโดยประมาณ 4-5 เซนติเมตร
  • ดอก ดอกเดี่ยว ออกดอกบริเวณปลายยอดหรือตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนาดใหญ่กว่าและยาวกว่ากลีบดอกมาก ดอกอาจมีสีขาวหรือสีฟ้าอ่อนอมม่วง กลีบดอกมีหลายกลีบ ขนาดเล็ก มีสีเหลืองอมเขียว ที่ปลายกลีบมีเส้นคาดมีสีม่วง ดอกมีเกสรเพศผู้มีสีเหลืองจำนวนมาก ยาวโดยประมาณ 8-12 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงยาวโดยประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
  • ผล ผลแก่จะแตกออก มีลักษณะคล้ายกับผลฝิ่น มีความยาวโดยประมาณ 8-15 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมถึงห้าเหลี่ยม มีขนาดกว้างโดยประมาณ 1.4-1.8 มิลลิเมตรและยาวโดยประมาณ 2.5-3.0 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีดำสนิทผิวหยาบหรือขรุขระ ไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย ส่วนเนื้อในเมล็ดเป็นสีขาว เมล็ดค่อนข้างแข็ง หากใช้มือถูที่เมล็ดหรือนำไปบดจะได้กลิ่นหอมฉุน มีรสชาติขม เผ็ด ร้อน คล้ายกับเครื่องเทศ

สรรพคุณของเทียนดำ

1. เมล็ดมีสรรพคุณบำรุงโลหิต (เมล็ด)
2. ช่วยในเรื่องระบบการหมุนเวียนของเลือด ด้วยการผสมกับน้ำผึ้งรับประทานได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ (เมล็ด)
3. การแพทย์สมัยก่อนนั้นจะใช้เมล็ดเป็นส่วนประกอบในการบำบัดรักษาโรคทุกชนิด (เมล็ด)
4. ในแถบประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์ใช้เมล็ดเป็นยาแก้อาการซูบผอม (เมล็ด)
5. ดร.อิบรอฮีม อับดุลฟัตตาฮ์ระบุว่า หากต้องการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ให้นำเมล็ดมาบดให้ละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ, กระเทียม 3 กลีบ, น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำสะอาดอุ่นๆครึ่งแก้ว โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาบดรวมกันแล้วใช้รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (เมล็ด)
6. ดร.อะฮ์หมัด อัลกอฎีระบุว่า เขาได้ใช้เมล็ดผสมกับน้ำผึ้งรับมาเป็นยาบำบัดรักษาโรคเอดส์อย่างได้ผล (เมล็ด)
7. ช่วยรักษาโรคไขมันในเลือดหรือคอเลสเตอรอล ให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 1 แก้วเล็ก, กระเทียม 3 กลีบ และผักชนิดใดก็ได้ 1 กำมือ นำมาบดรวมกันใช้รับประทานเช้าและเย็น (เมล็ด)
8. หากความดันโลหิตสูงให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ และกระเทียม 3 กลีบ นำมาผสมกันใช้รับประทานทุกวัน (เมล็ด)
9. ใช้รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เมล็ดนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ, ทับทิมบดเป็นน้ำ 1 แก้ว, รากกะหล่ำปลีบดเป็นน้ำ 1 แก้ว และผักแว่นบดเป็นน้ำ 1/2 แก้ว แล้วนำมาผสมกับนมเปรี้ยวใช้รับประทาน (เมล็ด)
10. เมล็ดและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือด (เมล็ด, ทั้งต้น)
11. ช่วยรักษาโรคปวดศีรษะ ด้วยการใช้เมล็ดบดละเอียดและกานพลูบดละเอียดอย่างละเท่ากัน แล้วนำมาผสมกับนมเปรี้ยวใช้รับประทานเมื่อมีอาการปวดศีรษะ ซึ่งสามารถใช้แทนยาพาราเซตามอลได้ หรือจะใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็ได้ (เมล็ด)
12. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับนมสดและน้ำผึ้ง 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนเข้านอน (เมล็ด)
13. หากเป็นโรคมะเร็งให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, กระเทียม 3 กลีบ, น้ำแคร์รอต 1 แก้วเล็ก และน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะนำมาผสมกัน ใช้รับประทานวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 3 เดือน (เมล็ด)
14. ช่วยทำให้สติปัญญาดีและมีความจำที่ดีขึ้น ด้วยการใช้น้ำมันเทียนดำ 7 หยด น้ำผึ้ง และใบสะระแหน่ 1 กำมือ นำมาผสมกับน้ำอุ่นรับประทานร่วมกับชา กาแฟ หรือนมสด จะช่วยเพิ่มความจำ ทำให้สมองโล่งขึ้น (เมล็ด)
15. รากช่วยรักษามะเร็งคุด มะเร็งเพลิง (ราก)
16. ใช้เมล็ดบด 1-2 ช้อนชานำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ เช้าและเย็น
17. ช่วยแก้โรคลม (เมล็ด)
18. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้เมล็ดนำมาบดผสมกับน้ำอุ่น ใช้อมกลั้วในปากแล้วบ้วนทิ้งในขณะที่มีอาการปวดฟัน (เมล็ด)
19. ช่วยรักษาโรคหอบหืด โดยใช้น้ำมันนำมาสูดดมพร้อมกับทาบริเวณหน้าอกก่อนนอนทุกวัน (เมล็ด)
20. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับตา ด้วยการใช้น้ำมันนำมาหยดที่ตาทั้ง 2 ข้างก่อนเข้านอน พร้อมกับใช้น้ำมันผสมกับน้ำแคร์รอทนำมาดื่มจนกว่าจะหาย (เมล็ด)
21. เมล็ดช่วยในการย่อยอาหาร (เมล็ด)
22. ช่วยแก้อาเจียน (เมล็ด)
23. เมล็ดมีรสเผ็ดร้อน ขม ชุ่ม เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับ ม้าม และธาตุ ใช้เป็นยาขับลมและความชื้นในกระเพาะและในลำไส้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (เมล็ด)และทั้งต้นก็เป็นยาขับลมเช่นกัน (ทั้งต้น)
24. เมล็ดมีรสเผ็ดขม ช่วยขับเสมหะให้ลงสู่ทวาร (เมล็ด)
25. ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้เมล็ดบดผสมกับน้ำอุ่น นำมากลั้วในปากแล้วบ้วนทิ้งในขณะอักเสบ (เมล็ด)
26. ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด, ทั้งต้น) ส่วนใบและต้นมีรสเฝื่อน เป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (ใบและต้น)
27. ช่วยรักษาโรคลำไส้ แก้อาการปวดท้องจุกเสียด ให้ใช้เทียนดำ, เครื่องเทศ, สะระแหน่ และน้ำผึ้งอย่างละเท่ากัน นำมาผสมใช้รับประทาน และให้ใช้น้ำมันนำมาทาบริเวณท้อง ไม่กี่นาทีก็จะเห็นผลและอาการปวดก็จะหายไป (เมล็ด)
28. ใบและต้นช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ใบ, ต้น)
29. ช่วยขับพยาธิ (เมล็ด)
30. ใช้แก้ภาวะท้องมาน ด้วยการใช้ยาทาแก้ปวดเทียนดำและน้ำส้มสายชู นำมาผสมรวมกันใช้ทาบริเวณท้อง พร้อมกับรับประทาน 1 ช้อนโต๊ะที่ผสมกับน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ โดยให้รับประทานทุกวันทั้งเช้าเย็น ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ (เมล็ด)
31. ใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโต โดยใช้น้ำมันนำมาทาบริเวณกระเพาะปัสสาวะและลูกอัณฑะ พร้อมทั้งบดเมล็ด ผสมกับน้ำผึ้งรับประทานทุกวันก่อนเข้านอน (เมล็ด)
32. ช่วยสลายเม็ดนิ่ว ด้วยการใช้เทียนดำ 1 แก้วเล็ก, กระเทียม 3 กลีบ และน้ำผึ้ง 1 แก้วเล็กนำมารวมกัน ใช้รับประทานทุกวัน หลังจากนั้นให้ดื่มน้ำมะนาวตาม จะช่วยล้างไตให้สะอาดได้ด้วย (เมล็ด)
33. ใช้แก้นิ่วในถุงน้ำดี ด้วยการใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 1 แก้ว และผักเบี้ยบดละเอียด 1/4 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมรวมกัน ใช้รับประทานเช้าเย็นทุกวัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น (เมล็ด)
34. หากเป็นหมัน ให้ใช้เมล็ดเทียนดำบด, หัวไชเท้า และนมสดอย่างละเท่ากัน นำมาบดรวมกันแล้วรับประทานเช้า, เย็น ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ (เมล็ด)
35. หากเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, กระเทียม 3 กลีบ และไข่ไก่ 7 ฟองนำมาผสมรวมกัน นำไปทอดหรือใช้รับประทานสด ๆ วันเว้นวัน ติดต่อกัน 1 เดือน (เมล็ด)
36. เมล็ดช่วยแก้ตับโต ตับอักเสบ (เมล็ด)[1] หากตับอักเสบไวรัสบี ให้ใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะและวุ้นของว่านหางจระเข้ 1 อัน นำมาผสมกับน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ ใช้รับประทานทุกวัน ติดต่อกันประมาณ 2 เดือน (เมล็ด)
37. ช่วยรักษาโรคอะมีบา ด้วยการใช้เทียนดำ 1 ช้อนโต๊ะ, กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำมะเขือเทศใส่เกลือเล็กน้อย 1 แก้ว นำมาผสมรวมกัน ใช้รับประทานทุกวันติดต่อกัน 2 สัปดาห์ (เมล็ด)
38. ช่วยรักษาโรคไตอักเสบหรือไตเสื่อม ด้วยการใช้ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ ใช้รับประทานเป็นยาทุกวัน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ แล้วจะหายอักเสบ (เมล็ด)
39. รากช่วยรักษาดีพิการ (ราก)
40. รักษาโรคม้าม ด้วยการใช้ยาทาแก้ปวดเทียนดำและน้ำมันมะกอก นำมาผสมรวมกันใช้ทาบริเวณใต้ซี่โครงด้านซ้าย พร้อมกับใช้เทียนดำและน้ำผึ้งมารับประทานด้วย โดยให้รับประทานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ อาการของม้ามจะดีขึ้นและความกระปรี้กระเปร่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิม (เมล็ด)
41. ช่วยแก้โรคดีซ่าน (เมล็ด)
42. เมล็ดนอกจากจะเป็นยาขับประจำเดือนแล้ว ยังช่วยบีบมดลูกอีกด้วย (เมล็ด) ส่วนใบและต้นก็มีสรรพคุณบีบมดลูกเช่นกัน (ใบ, ต้น)
43. ใบและต้นมีรสเฝื่อน เป็นยาแก้หนองใน (ใบและต้น)
44. ช่วยในการคลอดบุตรของสตรี ด้วยการใช้เทียนดำ น้ำผึ้ง และดอกบาบูนิญผสมกัน ทำให้คลอดบุตรง่ายขึ้น (เมล็ด)
45. ช่วยขับประจำเดือนของสตรี (เมล็ด, ทั้งต้น)[1],[3],[6] ใบ ต้น และเปลือกมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือนเช่นกัน (ใบ, ต้น, เปลือกต้น)[6],[7] ส่วนรากและเปลือกรากช่วยทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ (ราก, เปลือกราก)
46. ใช้รักษาโรคกลาก ด้วยการใช้เมล็ดบด นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากวันละ 3 ครั้งจนกว่าจะหายขาด (เมล็ด)
47. ช่วยรักษาพิษปรอท (เมล็ด)
48. เมล็ดใช้รักษาโรคเรื้อน (เมล็ด)[6] ช่วยรักษาบาดแผลและขี้เรื้อน ด้วยการใช้เมล็ดบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำกระเทียม 1 ช้อนชา และน้ำส้มสายชู 1 แก้วเล็ก นำมาผสมกันใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
49. เมล็ดใช้รักษาโรคเรื้อน (เมล็ด) ช่วยรักษาบาดแผลและขี้เรื้อน ด้วยการใช้เมล็ดบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำกระเทียม 1 ช้อนชา และน้ำส้มสายชู 1 แก้วเล็ก นำมาผสมกันใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
50. ในตำราอายุรเวทของอินเดียใช้เมล็ดเป็นยาระงับเชื้อโรค (เมล็ด)
51. ช่วยแก้เหน็บชา โดยใช้เมล็ดบดละเอียด ผสมกับน้ำส้มคั้น 1 แก้ว ใช้ดื่มทุกวัน ติดต่อกัน 10 วัน (เมล็ด)
52. หากเป็นหูด ไฝ หรือกระ ให้ใช้เมล็ดบดละเอียดผสมกับน้ำส้มสายชูทำเป็นยาทา ใช้ทาบริเวณที่เป็นทั้งเช้าและเย็นติดต่อกัน 1 สัปดาห์ หรือจะใช้ 1 ช้อนโต๊ะ นำมาบดรวมกับผักกาดหอม 1 กำมือ ใช้ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหายขาด (เมล็ด)
53. ใช้รักษาโรครูมาติสซั่ม (Rheumatism) หรือโรคปวดตามข้อ ด้วยการใช้น้ำมันมาทาบริเวณที่มีอาการปวด พร้อมทั้งนำเมล็ดมาบดให้ละเอียดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งตามต้องการ ใช้รับประทานก่อนเข้านอน (เมล็ด)
54. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดตามร่างกาย (ทั้งต้น)
55. ช่วยแก้อาการปวดอักเสบ (เมล็ด)
56. ในตำรับยารักษาอาการทางระบบทางเดินอาหาร ก็พบว่าปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” (ประกอบไปด้วยเทียนดำ เทียนขาว เทียนแดง เทียนเยาวพาณี และเทียนสัตตบุษย์ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ) โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และยังปรากฏอยู่ในตำรับ “ยาธาตุประสะกานพลู” (ประกอบไปด้วยเทียนดำและเทียนขาว ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ) โดยเป็นตำรับยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อเนื่องจากอาหารไม่ย่อยหรือเนื่องจากธาตุไม่ปกติ
57. ช่วยขับน้ำนมของสตรี (เมล็ด,ทั้งต้น)
58. มีปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือตำรับยาแก้ลม ได้แก่ ตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และในตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” ซึ่งมีส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย คลื่นเหียนอาเจียน และแก้ลมจุกแน่นในท้อง
59. อยู่ในตำรับยา “พิกัดเทียน” ที่ประกอบไปด้วยตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งห้า” (เทียนดำ เทียนขาว เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน), ตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งเจ็ด” (เพิ่มเทียนเยาวพาณีและเทียนสัตตบุษย์) และในตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งเก้า” (เพิ่มเทียนตากบและเทียนเกล็ดหอย) โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณโดยรวมคือ บำรุงโลหิต แก้อาเจียน ช่วยขับลม และใช้ในตำรับยาหอมต่าง ๆ
60. ใช้รักษาโรคผมร่วง ด้วยการใช้เมล็ด 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำหัวหอม 1 แก้วเล็ก, น้ำมันมะกอก 1 แก้วเล็ก และน้ำส้มสายชู 1 ช้อนชา นำมาผสมรวมกันแล้วใช้ชโลมให้ทั่วศีรษะในตอนเช้าทิ้งไว้ แล้วตอนเย็นค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่น (เมล็ด)
61. นอกจากนี้ยังมีการใช้เมล็ดในตำรับยา “พิกัดตรีรัตตะกุลา” (ตรีสัตกุลา) ซึ่งเป็นตำรับยาที่จำกัดตัวยา 3 อย่าง ประกอบไปด้วย เทียนดำ ผลผักชีลา และเหง้าขิงสด (อย่างละเท่ากัน) โดยเป็นตำรับยาที่บำรุงธาตุไฟ แก้อาการธาตุ 10 ประการ และช่วยขับลมในลำไส้
62. ในตำรับ “ยาประสะไพล” โดยมีส่วนประกอบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยเป็นตำรับยาที่ใช้กับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติหรือมาน้อยกว่าปกติ

วิธีใช้สมุนไพรเทียนดำ

1. ให้ใช้เมล็ด 1-2 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำสะอาดดื่ม เช้าและเย็น
2. หากเป็นยาผงให้ใช้ในขนาด 2-6 กรัม ถ้าเป็นในรูปของเมล็ดให้ใช้ในขนาด 0.6-1.2 กรัมหรือโดยประมาณ 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำสะอาดเป็นชาร้อนดื่ม
3. เมล็ดให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดรับประทานหรือเข้ากับตำรายาอื่น ๆ รับประทาน ส่วนต้นแห้งสามารถใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยาได้ตามที่ต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. น้ำมันจากเมล็ดเทียนในขนาด 4-32 ไมโครลิตร/กก. หรือสาร Thymoquinone ในขนาด 0.2-1.6 มก./กก. มีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจและลดความดันโลหิต สารสกัดไดคลอโรมีเทนเมื่อให้หนูทดลองที่เป็นความดันกินต่อวันในขนาด 0.6 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 15 วัน แล้ววัดค่าความดันโลหิตเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Nifedipine พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถลดความดันได้ 22% ในขณะที่ยามาตรฐาน Nifedipine ลดความดันได้ 18% อีกทั้งยังทำให้การขับปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น และยังช่วยเพิ่มการขับโซเดียมคลอไรด์ โพแทสเซียมอิออน และยูเรียทางปัสสาวะ สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเมล็ด สามารถยับยั้ง Fibrinolytic activity ได้ ทำให้ระยะเวลาที่เลือดไหลลดลงในกระต่ายทดลอง
2. ในเมล็ด พบสาร Damascenine และพบน้ำมันระเหยยาก (Fixed oil) เช่น Linoleic acid, Oleic acid, Palmitic acid ประมาณ 30% และพบน้ำมันระเหยง่าย (Volatile oil) ประมาณ 0.5-1.5% ซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นอนุพันธ์ของควิโนน คือ Thymoquinone โดยคิดเป็น 54% นอกจากนี้ยังพบ 4-terpineol, carvone, carvacrol, dithymoquinone, thymohydroquinone, thymol, trans-anethole, limonene, p-cymene และพบสารอัลคาลอยด์ Nigellon, Nigellimine, Nigellicine, Kaempferol, Quercetin และสารซาโปนิน (Saponin) เช่น alpha-hederin และยังพบโปรตีน ไขมัน เป็นต้น
3. ปี ค.ศ.1988 ที่ประเทศเม็กซิโก ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากเมล็ดในหนูทดลองนาน 3 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำในเลือดของหนูทดลองได้
4. เมื่อนำสารที่สกัดได้จากเมล็ดสดด้วยแอลกอฮอล์ในปริมาณ 2.1 กรัมต่อ 1 กิโลกรัม มาทดลองกับสุนัข พบว่า สุนัขมีความดันโลหิตที่ลดลง และเมื่อนำมาทดลองกับกระต่ายก็พบว่ามีฤทธิ์ไปกระตุ้นลำไส้ของกระต่ายให้บีบตัวมากขึ้น
5. ส่วนตำราสมุนไพรลดไขมันในเลือดของเภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ ได้ระบุว่าสารสำคัญที่พบ ได้แก่ amyrin, ascorbic acid, carvone, cholesterol, damascininem eycloartenol, damascenime, hederagenia, melanthin, nigllidine, sitosterol, sitgmastesol, telfairie acid, thymol, trytophan, valine และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อยีสต์ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือดสูง ลดความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือด ขยายหลอดลม ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำนม และช่วยห้ามเลือด
6. สาร 2-(2-methoxypropyl)-5-methyl-1,4-benzenediol, thymol, carvacrol ที่แยกได้จากสารสกัดเมทานอลของเมล็ด และอนุพันธ์อะเซททิเลตของสารทั้งสาม (acetylated derivatives) แสดงฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย arachidonic acid ซึ่งฤทธิ์ในการยับยั้งนั้นมีมากกว่ายามาตรฐาน aspirin ถึง 30 เท่า
7. น้ำมันจากเมล็ดขนาด 4-32 ไมโครลิตรต่อกิโลกรัม มีฤทธิ์เพิ่มแรงดันภายในหลอดลม สาร Nigellone ช่วยป้องกันภาวะหลอดลมตีบในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารฮิสตามีน และช่วยลดการหดเกร็งของหลอดลม
8. ผลของน้ำมันต่อน้ำหนักตัวของหนูที่เป็นเบาหวาน มีผลการทดลองที่ระบุว่า เมื่อให้น้ำมันในขนาด 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว โดยต่อท่อเข้าทางกระเพาะอาหารของหนูแรท พบว่าหนูกลุ่มที่ให้น้ำมัน 10 มลก./กก.น้ำหนักตัว และหนูในกลุ่มควบคุม มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และเมื่อทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทที่ถูกชักนำให้เกิดเบาหวานก็พบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับน้ำมันมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าหนูเบาหวานที่ไม่ได้รับ
9. สาร Dithymoquinone และสาร Thymoquinone มีฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งลำไส้ในหลอดทดลอง ส่วนสารซาโปนิน alpha-hederin สามารถช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอกในหนูได้ประมาณ 60-70% และสารสกัดเอทิลอะซิเตตสามารถยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูได้
10. ในด้านการออกฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชัน พบว่าสาร Thymoquinone มีฤทธิ์ในการยับยั้งปฏิกิริยา lipid peroxidation สาร trans-anethole, carvacrol, 4-terpineol ออกฤทธิ์ดีในการจับ superoxide anion
11. สาร Thymoquinone สามารถช่วยป้องกันตับจากสารพิษคาร์บอนเตตระคลอไรด์ได้ และยังช่วยยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ช่วยป้องกันไตจากภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) โดยการจับกับ superoxide และยับยั้งการเกิด lipid peroxidation
12. เมื่อทำการทดลองให้สารสกัดน้ำของเมล็ดกับหนูทางปาก หลังจากนั้น 30 นาที ฉีด serotonin creatinine sulfate ในขนาด 60 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม เข้าทางช่องท้องของหนูทดลอง แล้วสังเกตอาการทุกครึ่งชั่วโมงเป็นเวลา 6 ชั่วโมง และวัดผลของอาการท้องเสีย (ใช้ค่า Purging index (PI) ในการวัด) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมล็ด มีค่า PI เป็น 0 ที่ทุกชั่วโมงของการสังเกตผล ยกเว้นภายหลังการทดสอบชั่วโมงที่ 3 และ 4 และเมื่อนำสารสกัดน้ำของเมล็ดที่ความเข้มข้น 4.56 มก./มล. ไปทดสอบกับเนื้อเยื่อของลำไส้ที่ตัดแยกออกมาจากตัว ก็พบว่าสามารถช่วยยับยั้งการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ที่เกิดจากสาร acetylcholin และ serotonin ได้ ซึ่งจากการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดน้ำเมล็ด มีผลต้านฤทธิ์ serotonin จึงอาจเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทำเป็นยารักษาอาการท้องเสียหรือยาต้านอาเจียนได้
13. สารสกัดจากเมล็ดด้วยน้ำมีฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยยาพาราเซตามอลในหนูขาวทดลอง เมื่อให้ในขนาด 150 มก./กก. ทุกวันเป็นระยะเวลา 7 วัน โดยตรวจพบว่าค่า SGOT, SGPT และ ALP ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะมีค่าสูงเมื่อตับมีการอักเสบก็พบว่ามีค่าลดลง และปริมาณของบิลลิรูบิน (Bilirubin) ก็ลดลงด้วย
14. ในเด็กที่ติดเชื้อพยาธิ เมื่อทดลองให้สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด โดยให้รับประทานในขนาด 40 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสามารถช่วยลดจำนวนไข่ของพยาธิในอุจจาระได้ และยังมีการทดลองให้น้ำมันจากเมล็ดกับหนูทดลองที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ Schistosoma mansoni เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ก็พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยลดจำนวนของพยาธิที่ตับได้ และยังช่วยลดจำนวนของไข่พยาธิในลำไส้และตับได้อีกด้วย
15. น้ำมันจากเมล็ด สามารถช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เมื่อทำการทดสอบโดยให้หนูขาวปกติกิน พบว่าจะทำให้เพิ่มปริมาณการหลั่งของสารเยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร Glutathione และลดการหลั่งของฮิสตามีน (Histamine) ของเยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร และจากการทดลองในสัตว์ทดลองที่ได้รับน้ำมันจากเมล็ดก่อนที่จะถูกชักนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล ก็พบว่าสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากเอทานอลได้ 53.56% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับน้ำมันจากเมล็ด
16. สารสกัดน้ำจากเมล็ด สามารถช่วยลดอาการปวดในหนูทดลองที่ทำการทดสอบด้วยวิธี Hot plate ได้ แต่จะไม่มีฤทธิ์ในการลดไข้
17. น้ำมันระเหยจากเมล็ดพบว่ามีฤทธิ์สามารถต่อต้านและยับยั้งเชื้อโรคได้หลายชนิด
18. น้ำมันจากเมล็ด และสาร Thymoquinone สามารถช่วยยับยั้งการหลั่งของสารที่ทำให้เกิดการอักเสบได้หลายชนิด เช่น cyclooxygenase, thromboxane B2, leucotrein B4, lipoxygenase เป็นต้น ส่วนสาร Nigellone สามารถช่วยยับยั้งการปลดปล่อยฮิสตามีน จากช่องท้องหนู
19. เมื่อให้น้ำมันจากเมล็ดเทียน ด้วยการฉีดเข้าไปทางช่องท้องของหนูขาว พบว่าสามารถช่วยยับยั้งเชื้อเฮอร์ปีส์ที่ตับและม้ามได้ในวันที่ 3 ของการติดเชื้อ และในวันที่ 10 ก็ไม่พบเชื้อ และยังสามารถเพิ่มระดับของ interferon gamma, เพิ่มจำนวน CD4 helper T cell และลดจำนวน macrophage ได้อีกด้วย
20. สารสกัดไดเททิลอีเทอร์จากเมล็ดสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococcus aureus, เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ Pseudomonas aeruginosa, เชื้อ Escherichia coli และเชื้อยีสต์ Candida albican นอกจากนี้สารสกัดด้วยน้ำจากเมล็ดสามารถช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้อีกหลายชนิด
21. สาร Thymoquinone สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสที่ผิวหนังได้
22. น้ำมันจากเมล็ด และสาร Thymoquinone สามารถช่วยยับยั้งการหลั่งของสารที่ทำให้เกิดการอักเสบได้หลายชนิด เช่น cyclooxygenase, thromboxane B2, leucotrein B4, lipoxygenase เป็นต้น ส่วนสาร Nigellone สามารถช่วยยับยั้งการปลดปล่อยฮิสตามีน จากช่องท้องหนู
23. ปริมาณน้ำมันระเหยยากที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 2.06 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมเมื่อฉีดเข้าช่องท้อง และมีค่าเท่ากับ 28.8 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมเมื่อให้ทางปาก
24. สารสกัดน้ำจากเมล็ด สามารถช่วยลดอาการปวดในหนูทดลองที่ทำการทดสอบด้วยวิธี Hot plate ได้ แต่จะไม่มีฤทธิ์ในการลดไข้
25. จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าสาร Thymoquinone และสาร Thymohydroquinone ที่ฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลอง พบว่าในขนาดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 10 มิลลิลิตร และ 25 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตามลำดับ
26. น้ำมันจากเมล็ด ให้หนูทดลองกินในขนาด 1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ไม่พบว่าเป็นพิษ แต่พบว่าทำให้น้ำหนักตัวของหนูลดลง แต่ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับเอนไซม์ในตับและเนื้อเยื่อตับ ตับอ่อน ไต หัวใจ ส่วนค่าของระดับคอเลสเตอรอล ระดับกลูโคส ไตรกลีเซอไรด์ จำนวนเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดลดลง
27. สารสกัดจากเมล็ด 50% ด้วยเอทานอล เมื่อฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร มีขนาดสูงสุดที่หนูทดลองทนได้มีค่าเท่ากับ 250 มก./กก. ส่วนสารสกัดจากเมล็ด 70% ด้วยเอทานอล เมื่อทำการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าในขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 0.561 ก./กก. และสารสกัดจากเมล็ด 95% ด้วยเอทานอล ไม่พบว่ามีพิษเมื่อผสมลงในอาหารของหนูขาว 0.5% และจากการทดลองให้กระต่ายกินเมล็ดในขนาด 2-8 ก./กก. ก็ไม่พบว่าเป็นพิษ

ประโยชน์ของเทียนดำ

1. ในทางการค้าจะใช้เมล็ดมาทำเป็นน้ำมัน ยาสมุนไพร เครื่องเทศ สบู่ แชมพู
2. มีประวัติการใช้เมล็ดตั้งแต่สมัยโรมัน และยังปรากฏอยู่ในตำรับยาอายุรเวทของอินเดีย โดยนำมาใช้ทำเป็นยาและนำมาใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร ส่วนชาวมุสลิมจะนิยมใช้น้ำมันจากเมล็ดทั้งในพิธีกรรมทางศาสนา ใช้เป็นยา ทำอาหาร โดยนิยมใช้ผสมในขนมปังและน้ำผึ้ง น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารได้
3. ช่วยทำให้ใบหน้าเต่งตึงและสวยงามขึ้น โดยใช้เมล็ดบดละเอียดผสมกับน้ำมันมะกอก ใช้ทาบริเวณใบหน้าตามต้องการ และควรระวังอย่าให้ถูกแดดทุกวัน
4. เมล็ดมีกลิ่นหอม ฉุน เผ็ด ร้อน คล้ายกับเครื่องเทศ ซึ่งบางครั้งมีการนำมาใช้แทนพริกไทย โดยใช้โปรยเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ทำให้รู้สึกร้อนที่เพดานปาก และในแถบตะวันออกกลาง จะใช้เมล็ดผสมกับเมล็ดงา ให้กลิ่นเฉพาะตัว จึงใช้ปรุงกลิ่นและรสของขนมปังและขนมเค้ก รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากมีรสชาติขม ส่วนทางยุโรปจะใช้ผสมกับพริกไทยหรือใช้แทนพริกไทยดำ ส่วนในประเทศเอธิโอเปีย จะใช้ผสมลงในซอสพริก และในแถบอาหรับนำมาบดผสมกับน้ำผึ้ง ใช้ผสมทำลูกกวาด
5. หากเป็นสิว ให้ใช้เมล็ดบดละเอียด, น้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะ และข้าวสาลีบดละเอียด นำมาผสมกันใช้ทาให้ทั่วใบหน้าก่อนเข้านอน แล้วล้างออกด้วยสบู่และน้ำอุ่นในตอนเช้า โดยให้ทำติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์

ข้อควรระวังในการใช้

การรับประทานเมล็ดนั้นมีความปลอดภัย ในรายงานจากหลาย ๆ ฉบับ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “เทียนดํา”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 270.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “เทียนดำ Black Cumin”. หน้า 214.
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เทียนดํา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [23 มี.ค. 2014].
4. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [23 มี.ค. 2014].
5. หนังสือความมหัศจรรย์ของสมุนไพรตามแนวทางของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม. (แปลและเรียบเรียงโดย อาจารย์ มุสตอฟา มานะ).
6. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “เทียนดำ สมุนไพรในพิกัดเทียน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [23 มี.ค. 2014].
7. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “เทียนดำ”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 110.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.healthline.com/
2.https://jaclynmccabe.com/
3.https://www.seeds-gallery.eu/