สนหางสิงห์
เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 20 เมตร ใบเป็นใบร่วมหรือเป็นใบประกอบแบบขนนกหลายชั้น ดอกเดี่ยวรูปไข่สีน้ำตาลอ่อน ผลกลมฉ่ำน้ำ

สนหางสิงห์

ชื่อสามัญ Oriental Arborvitae, Chinese Arborvitae [1] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Platycladus orientalis (L.) Franco (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Biota orientalis (L.) Endl., Thuja orientalis L.) อยู่วงศ์ CUPRESSACEAE[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เช่อไป่เย่ (จีนกลาง), เฉ็กแปะ (จีนแต้จิ๋ว), สนเทศ (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), จันทยี (จังหวัดเชียงใหม่), ไป่จื่อเหยิน (จีนกลาง), จันทน์ยี่ (จังหวัดเชียงใหม่), เช่อป๋อ (จีนกลาง), สนแผง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร) [1],[2]

ลักษณะขอสนหางสิงห์

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้น ต้นสูงประมาณ 20 เมตร จะแตกกิ่งก้านสาขาเยอะ ที่ลำต้นกับกิ่งก้านของต้นสนหางสิงห์จะบิดเป็นเกลียว เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอมแดง เปลือกต้นจะเป็นเกล็ดสีน้ำตาลอมสีแดง ขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่ง การใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เติบโตดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอประมาณ[1],[2]
  • ใบ จะเป็นใบร่วมหรือเป็นใบประกอบแบบขนนกหลายชั้น จะเรียงกันเป็นแผง ใบย่อยจะออกเรียงสลับกัน ใบย่อยเป็นเกล็ดขนาดเล็ก เรียงติดแน่นกับกิ่ง มีลักษณะเป็นแผง เป็นสีเขียวสด[1],[2]
  • ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกจะออกที่ตามง่ามใบ ดอกเป็นรูปไข่ เป็นสีน้ำตาลอ่อน ดอกเพศเมียกับดอกเพศผู้อยู่คนละดอก แต่จะอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศเมียจะไม่มีก้าน ดอกเพศผู้จะมีก้านที่มีขนาดสั้น[1],[2]
  • ผล ผลกลมตั้งตรง ผลอ่อนจะฉ่ำน้ำ มีลักษณะเป็นสีเขียวอมน้ำเงิน จะมีผงสีขาวคลุมอยู่ ผลแก่เป็นผลแห้ง มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอมสีแดง ผลแก่จะแตกเป็นแฉก 8 แฉก มีเมล็ดอยู่ในผลประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดเป็นรูปไข่สีน้ำตาลเข้ม จะมีสัน ภาษาจีนเรียกเมล็ดสนหางสิงห์ว่า ไป่จื่อเหยิน

สรรพคุณสนหางสิงห์

1. นำใบมาบดให้เป็นผงใช้โรยใส่แผล สามารถช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)[1,[2]
2. สามารถช่วยแก้อาการข้อได้ (ใบ)[1]
3. นำใบ 120 กรัม มาต้มกับน้ำ แบ่งทานวันละ 3 ครั้ง สามารถช่วยแก้ตกเลือด สตรีตกเลือดได้ (ใบ)[1],[2]
4. สามารถช่วยขับระดูของสตรีได้ (ใบ)[1]
5. สามารถนำเปลือกต้นมาฝนเป็นใช้ยากวาดทวารเบาได้ (เปลือกต้น)[1]
6. นำใบสด 30 กรัม น้ำ 500 มิลลิลิตร มาชงให้เข้ากัน ทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-6 ครั้ง สามารถช่วยขับปัสสาวะได้ (ใบ)[1]
7. สามารถใช้ผล  เป็นยาบรรเทาอาการลำไส้ตีบได้ (ผล)[1]
8. นำใบสดประมาณ 5-10 กรัม มาต้มน้ำดื่ม สามารถช่วยแก้เด็กท้องร่วงได้ (ใบ)[1]
9. สามารถช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือดได้ (ใบ)[2]
10. สามารถใช้เป็นยาแก้บิดไม่มีตัวได้ (ใบ)[1]
11. นำใบสด 30 กรัม น้ำ 500 มิลลิลิตร มาชงให้เข้ากัน ทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-6 ครั้ง สามารถช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะได้ (ใบ)[1]
12. นำเมล็ดสนหางสิงห์ 12 กรัม, หกเหล็ง 10 กรัม, แหม่เกาติ๊ง 12 กรัม, เอี่ยงจี่ 10 กรัม, เมล็ดพุทราจีนที่คั่วแล้ว 10 กรัม มาต้มรวมกันกับน้ำ ใช้ทาน สามารถใช้แก้ประสาทอ่อน นอนไม่หลับ มีอาการตกใจง่ายได้ (เมล็ด)[2]
13. ใบสนหางสิงจะมีสรรพคุณที่เป็นยาลดความดันโลหิต โดยนำใบสด 15 กรัม มาชงกับน้ำ ใช้ดื่มแทนชา ดื่มจนความดันลดลง (ใบ)[1]
14. ใบ มีรสขมฝาด เป็นยาเย็น จะออกฤทธิ์กับหัวใจ ลำไส้ใหญ่ ตับ สามารถใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น แก้ร้อนในปอดได้ (ใบ)[2]
15. นำใบสดตำละเอียดมาผสมน้ำ แล้วคนให้เหนียวเป็นยาง ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล สามารถช่วยรักษาแผลพุพอง และแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ (บ้างก็ว่ารักษาไฟลามทุ่งได้) (ใบ)[1]
16. เปลือกต้นะมีสรรพคุณที่เป็นยาฝาดสมาน (เปลือกต้น)[1]
17. สามารถช่วยทำให้ระดูขาวแห้งได้ (เปลือกต้น)[1]
18. สามารถช่วยแก้ริดสีดวงทวารที่เลือดไหลไม่หยุดได้ นำขี้เถ้าของใบมาชงกับน้ำทาน (ใบ)[1]
19. สามารถช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือดได้ (ใบ)[2]
20. สามารถช่วยแก้บิดมูกเลือด และแก้เลือดออกในกระเพาะกับลำไส้ได้ (ใบ)[2]
21. เมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน สามารถใช้แก้อาการท้องผูก และใช้เมล็ด กับเมล็ดกัญชา อย่างละ 15 กรัม มาต้มกับน้ำทานได้ (เมล็ด)[2]
22. สามารถช่วยขับลมชื้นได้ (ใบ)[2]
23. ถ้ามีเลือดกำเดาไหล สามารถนำใบแห้งกับดอกทับทิมแห้ง มาอย่างละเท่า ๆ กันมาบดเป็นผงแล้วเป่าเข้าจมูก (ใบ)[1],[2]
24. ในตำรายาแก้หลอดลมอักเสบ แก้อาการไอ โดยนำใบมาบดเป็นผง ใช้ทำเป็นยาเม็ด เมล็ดละประมาณ 0.5 กรัม ทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ต่อกันนาน 10 วัน (ใบ)[2]
25. สามารถใช้เป็นยาแก้คางทูมได้ นำใบสดมาตำให้ละเอียด ผสมไข่ขาว แล้วนำมาพอกตรงบริเวณที่เป็น ให้เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง (ใบ)[1]
26. สามารถใช้ผลเป็นยากล่อมประสาทสำหรับผู้ที่หัวใจเต้นเร็วแล้วนอนไม่หลับได้ (ผล)[1]
27. เมล็ดจะมีรสหวานเผ็ด เป็นยาสุขุม จะออกฤทธิ์กับหัวใจ ลำไส้ใหญ่ ตับ ไต สามารถใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้หัวใจชุ่มชื่น ช่วยทำให้จิตใจสบายได้ (เมล็ด)[2]

ประโยชน์สนหางสิงห์

  • ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดที่ได้จากใบ หรือน้ำที่ต้มได้จากใบ จะมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อบิดในลำไส้ใหญ่ หรือเชื้อไทฟอยด์ เชื้อ Columbacilus, Staphelo coccus, Strepto coccus และต้านเชื้อไวรัสของไข้หวัดใหญ่ได้[2]
  • สารสกัดที่ได้จากใบกับเมล็ด จะมีฤทธิ์กล่อมประสาททำให้สัตว์ทดลองหลับสนิท หลับนานมากขึ้น[2]
  • ใบจะมีน้ำมันระเหยอยู่ประมาณ 0.6-1% (Thujone, Pinene, Caryophyllene, Thujene, Fenchone) และยังมี Flavones 1-72% (Myricetin, Hinokiflavone, Amentoflavone, Quercetrin, Aromadendrin) และมีวิตามินซี, สารแทนนิน, เรซิน [1]
  • การทดสอบความยืดอายุของหนอน Caenorhaditis elegans โดยใช้สารสกัด n-butanol จากเมล็ด จะพบว่าสามารถช่วยยืดอายุการมีชีวิตของหนอนได้ ทั้งสภาวะปกติและในสภาวะเครียด ไม่ได้ขึ้นกับความเข้มข้นของสาร และพบว่ามีฤทธิ์ที่ลดอนุมูลอิสระ ช่วยควบการเพิ่มโปรตีนที่เกี่ยวกับการทนกับความเครียดมากขึ้น และมีฤทธิ์ลดรงควัตถุที่เกิดจากความเสื่อมของไขมัน Lipofuscin ในหนอน Caenorhaditis elegans สรุปคือสารสกัด n-butanol ที่ได้จากเมล็ด จะมีฤทธิ์ช่วยยืดอายุ โดยทำลายอนุมูลอิสระ จะลดปริมาณ Lipofuscin และเพิ่มความทนต่อสภาวะเครียด เป็นผลการทดสอบที่มีประโยชน์กับการแพทย์ในการศึกษาเกี่ยวกับยาบำรุงร่างกาย[3]
  • ในใบมีสารพวก Flavonoid จะมีฤทธิ์ยับยั้งอาการไอ และสามารถเป็นยาขับเสมหะในสัตว์ทดลองของหนูได้[2]
  • พบสารใบและกิ่งพบสาร Thujone, Pinpicrin, Fenchone, Vitamin C, Tannin, Quercitrin และพบน้ำมันกับน้ำมันระเหยในเมล็ด และพบสาร Hinokiavone, Cedrol, Thujopsene, Curcumenether, Beta-thujaplicin ในน้ำมันหอมระเหย [2]

ข้อห้ามในการใช้สนหางสิงห์

  • ห้ามให้สตรีที่มีครรภ์ทาน[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ความสามารถในการยืดอายุของหนอนนีมาโทดา Caenorhaditis elegans ของสารสกัด n-butanol จากเมล็ดของสน หางสิงห์”. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [01 มิ.ย. 2014].
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “สนหางสิงห์”. หน้า 744-745.
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “สนหางสิงห์”. หน้า 524.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://trees.stanford.edu/
2.https://www.biodiversity4all.org/