แอหนัง ช่วยแก้อาการปวดท้อง

0
1306
แอหนัง ช่วยแก้อาการปวดท้อง เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ช่อดอกขนาดเล็ก ดอกย่อยเป็นรูปทรงกระบอกสีเหลืองอมเขียว ผลขนาดเล็กคล้ายกับห้าเหลี่ยม
แอหนัง
เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ช่อดอกขนาดเล็ก ดอกย่อยเป็นรูปทรงกระบอกสีเหลืองอมเขียว ผลขนาดเล็กคล้ายกับห้าเหลี่ยม

แอหนัง

ชื่อสามัญ Roman iron wood ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Crossostephium chinense (A.Gray ex L.) Makino (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Artemisia chinensis L., Chrysanthemum artemisioides (Less.) Kitam., Crossostephium artemisioides Less. ex Cham. & Schltr., Tanacetum chinense L.) อยู่วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ฝูหยงจวี๋ (จีนกลาง), เซียงจี๋ (จีนกลาง), เฮียงเก็ก (แต้จิ๋ว), เล่านั่งฮวย (จีน), เชียนเหนียนไอ๋ (จีนกลาง), ปากหลาน (จังหวัดกรุงเทพมหานคร), หล่าวเหยินฮวา (จีนกลาง), เหล่าหนั่งฮวย (แต้จิ๋ว) [1],[2],[4],[5]

ลักษณะต้นแอหนัง

  • ลักษณะของต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงเรียบและเป็นสีเขียว จะแตกกิ่งก้านเยอะ มีใบขึ้นดกหนาทึบ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง ชอบดินร่วน ที่มีความชื้น ที่มีแสงแดดปานกลาง มักขึ้นในที่แจ้ง ที่ตามหินปูน พบเจอได้ที่ตามหลุมบ่อใกล้ชายทะเล[1],[3],[4]
  • ลักษณะของใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับตามต้น จะออกเป็นกระจุกที่ตรงปลายยอด ที่ใบกับก้านใบจะมีขนสีขาวอมสีเทาขึ้น ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ใบมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนมีลักษณะเป็นรูปไข่ ใบจะแยกเป็นแฉกประมาณ 3-5 แฉก ส่วนใบที่บริเวณยอดต้นจะไม่แยกเป็นแฉก ใบกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.5 เซนติเมตร มีลักษณะอวบน้ำ มีก้านใบสั้น[1],[3],[4]
  • ลักษณะของดอก จะออกเป็นช่อที่ยอดต้น และที่ตามง่ามใบปลายกิ่ง ช่อดอกมีความยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร มีช่อดอกขนาดเล็ก ในแต่ละช่อจะมีดอกย่อย ดอกย่อยเป็นรูปทรงกระบอกสีเหลืองอมเขียว หรือทรงกลมสีเหลือง ที่โคนดอกจะมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ[1],[3]
  • ลักษณะของผล เป็นผลขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ผลเป็นรูปเหลี่ยมคล้ายกับห้าเหลี่ยม จะมีรยางค์เป็นเกล็ด มีความยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีเปลือกผลที่แข็ง ผลแห้งจะสามารถแตกได้ มีเมล็ดอยู่ผล เมล็ดเป็นรูปทรงรีผิวมัน เป็นสีน้ำตาล[1],[3],[4]

สรรพคุณต้นแอหนัง

1. สามารถนำใบสดมาตำ ใช้พอกรักษาแก้ฝีหนองภายนอก ฝีฝักบัวได้ (ใบ, ราก)[1],[3],[4],[5]
2. สามารถนำใบมาใช้แก้แผลมีดบาด แผลฟกช้ำได้ (ใบ)[4]
3. ใบกับรากสามารถช่วยแก้พิษได้ (ใบ, ราก)[1]
4. ถ้าออกหัด ให้นำใบสดมาต้ม เอาแค่น้ำมาใช้อาบชะล้างร่างกาย (ใบ)[1]
5. ใบกับเมล็ดสามารถช่วยขับพยาธิได้ (ใบ, เมล็ด)[4]
6. ใบกับรากสามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะได้ (ใบ, ราก)[1]
7. ใบและรากสามารถช่วยละลายเสมหะได้ (ใบ, ราก)[1]
8. ใบและรากสามารถช่วยแก้หลอดลมอักเสบได้ (ใบ, ราก)[1]
9. สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดลมเย็น และแก้ไข้หวัดได้ โดยการนำใบแห้งประมาณ 20 กรัม มาต้มกับน้ำ ใส่น้ำตาลลงไปนิดหน่อย แล้วนำมาใช้ทาน (ทิ้งกาก) (ใบ)[1],[2],[3],[4],[5]
10. สามารถใช้เป็นยาบำรุง ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้นได้ (ใบ, เมล็ด)[4]
11. สามารถนำใบสดมาตำใช้พอกรักษาแผลที่เน่าเปื่อยเรื้อรังได้ (ใบ)[2],[3],[4],[5]
12. ใบและรากสามารถช่วยแก้บวมได้ (ใบ, ราก)[1]
13. ใบและรากสามารถช่วยแก้อาการปวดข้อที่เกิดจากลมชื้นเข้าข้อได้ (ใบ, ราก)[1]
14. ใบสามารถช่วยขับระดูประจำเดือนของสตรีได้ (ใบ)[4]
15. สามารถนำใบมาตำแล้วเอามาใช้ทาสะดือเด็กทารก ช่วยแก้อาการปวดท้องได้ (ใบ)[4]
16. ใบและรากสามารถช่วยรักษาเต้านมอักเสบได้ (ใบ, ราก)[1]
17. สามารถนำใบมาใช้ทำเป็นยาชงดื่ม ช่วยแก้เลือดคั่งในอวัยวะได้ (ใบ)[3],[4]
18. ใบและรากสามารถช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง แก้ไอได้ (ใบ, ราก)[1]
19. ใบกับรากเป็นยาร้อนเล็กน้อยจะออกฤทธิ์กับปอด กระเพาะ สามารถใช้เป็นยาขับลม ขับลมชื้นได้ ใบกับรากนั้นจะมีรสชาติเผ็ดขม (ใบ, ราก)[1],[2],[3],[4]

ปริมาณและวิธีใช้

– ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ ครั้งละประมาณ 15-20 กรัม มาต้มกับน้ำทาน [1]
– ถ้าเป็นยาสดให้ใช้ ครั้งละประมาณ 20-35 กรัม มาต้มกับน้ำทานหรือนำมาตำแล้วคั้นเอาแค่น้ำมาดื่ม [1]
– ถ้าใช้เป็นยาภายนอกให้เอามาตำแล้วใช้พอกในบริเวณที่ต้องการจะพอก[1]

ประโยชน์ต้นแอหนัง

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นกลุ่มใหญ่ ปลูกเป็นไม้กระถาง เพราะใบกับดอกสวยงาม [2],[3],[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. คมชัดลึกออนไลน์, คอลัมน์: ไม้ดีมีประโยชน์. “แ อ ห นั ง ไม้ประดับ เป็นยา”. (นายสวีสอง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net. [26 ม.ค. 2014].
2. สมุนไพรดอทคอม. “แ อ ห นั ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [26 ม.ค. 2014].
3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “แอหนัง”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 654.
4. สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. “แอหนัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th. [26 ม.ค. 2014].
5. หนังสือสมุนไพรไทย ตอนที่ 4. “แอหนัง”. (ก่องกานดา ชยามฤต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.