ต้นข่อย
เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน มียางสีขาวข้นเหนียว ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน

ต้นข่อย

Siamese rough bush, Tooth brush tree เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 5-15 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนทั้งอินเดีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังการวมถึงประเทศไทย ซึ่งทางตำรายาสมุนไพรชนิดนี้ใช้เป็นยายุรเวทและยาแผนโบราณ เพื่อรักษาโรค เช่น บรรเทาอาการปวดฟัน ท้องเสีย และรักษามะเร็งบางชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Streblus asper Lour. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี), ส้มพอ (เลย ร้อยเอ็ด), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), สะนาย (เขมร), สมนาย

ลักษณะของต้นข่อย

  • ต้น
    – ลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างคดงอ
    – มีปุ่มปมอยู่รอบ ๆ ต้นหรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป
    – อาจจะขึ้นเป็นต้นเดียวหรือเป็นกลุ่ม
    – เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน มีความบางและขรุขระเล็กน้อย
    – มียางสีขาวข้นเหนียวซึมออกมา
    – แตกกิ่งก้านมีสาขามาก
    – แตกกิ่งต่ำเป็นพุ่มทึบ
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้รากปักชำ การใช้กิ่งปักชำหรือการเพาะเมล็ด
  • ใบ
    – ใบเดี่ยวเรียงสลับ
    – มีขนาดเล็ก
    – แผ่นใบมีสีเขียว
    – เนื้อใบค่อนข้างหนากรอบ
    – ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน
    – ใบคล้ายรูปรีแกมรูปไข่หัวกลับ
    – โคนใบสอบ
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบหยัก
    – มีความกว้าง 2-3.5 เซนติเมตรและยาว 4-7 เซนติเมตร
  • ดอก
    ออกดอกเป็นช่อ
    ดอกมีสีขาวเหลืองอ่อน
    จะออกปลายกิ่งตามซอกใบ
    ออกดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก
    ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ต่างดอกกัน
  • ผล
    – ผลสดมีรูปร่างกลม สีเขียว
    – ผลคล้ายกับรูปไข่
    – มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร
    – เมล็ดมีขนาดเท่ากับเมล็ดพริกไทย
    – มีเนื้อเยื่อหุ้ม
    – ผลแก่จะมีสีเหลืองใสและมีรสหวาน

สรรพคุณของข่อย

  • ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
  • ช่วยแก้รำมะนาดได้
  • ช่วยแก้ริดสีดวงที่จมูก
  • ช่วยแก้ไข้
  • ช่วยดับพิษภายในร่างกาย
  • ช่วยแก้อาการบิด แก้ท้องเสีย
  • ช่วยขับลมในลำไส้
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนังได้
  • ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
  • ช่วยแก้พยาธิผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะได้
  • ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหารได้
  • ช่วยขับลมในลำไส้
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดของมดลูกในระหว่างมีประจำเดือน
  • ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้

ประโยชน์ของข่อย

  • ยาง สามารถนำมาใช้กำจัดแมลงได้
  • ยาง มีน้ำย่อยที่ชื่อว่า milk (lotting enzyme) ช่วยย่อยน้ำนม
  • ไม้ สามารถนำมาใช้ทำกระดาษ ทำเป็นสมุดไทยหรือสมุดได้
  • เปลือกไม้ สามารถนำมาใช้ทำปอหรือใช้ทำเป็นกระดาษได้
  • กิ่ง สามารถนำมาใช้แปรงฟันแทนการใช้แปรงสีฟันได้ แต่ต้องนำมาทุบให้นิ่ม ๆ ก่อนนำมาใช้
  • สามารถนำมาปลูกเพื่อทำรั้วได้
  • สามารถปลูกไว้เพื่อดัดหรือปรับแต่งเป็นรูปต่าง ๆ ที่เรียกว่าไม้ดัดได้
  • คนไทยโบราณมีความเชื่อที่ว่า หากบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้ผู้อาศัยเกิดความมั่นคง มีความแข็งแกร่ง ช่วยป้องกันศัตรูจากภายนอก ทำให้แคล้วคลาดจากอันตรายที่เกิดจากผู้ที่ไม่หวังดีหรือศัตรูที่อาจมาทำอันตรายต่อสมาชิกในบ้าน
  • ใบ สามารถนำมาใช้โบกพัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไปจากบ้านได้
  • เพื่อความเป็นสิริมงคลจะนิยมปลูกในวันเสาร์และปลูกไว้ทางทิศตะวันออก
  • ต้น เป็นวัสดุที่ใช้ในการสื่อสารที่สำคัญในอดีตที่เรียกกันว่า “ส มุ ด ข่ อ ย” เนื่องจากเนื้อไม้มีความแข็งแรงคงทน

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.floraofsrilanka.com/
2.https://www.wallpaperflare.com/