แฟรงกูล่า สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ

0
1326
แฟรงกูล่า
แฟรงกูล่า สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เป็นไม้กลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกรูประฆังสีขาว ผลอ่อนสีแดง ผลแก่สีม่วงเข้ม เนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ
แฟรงกูล่า
เป็นไม้กลางแจ้ง ใบเดี่ยว ดอกรูประฆังสีขาว ผลอ่อนสีแดง ผลแก่สีม่วงเข้ม เนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ

แฟรงกูล่า

จัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้น ตามลำต้นไม่มีหนาม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชื่อสามัญ Alder Buckthorn, Buckthorn Bark ชื่อวิทยาศาสตร์ Frangula alnus Mill. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhamnus frangula L. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)[1]

ลักษณะของต้นแฟรงกูล่า

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทกลางแจ้ง
    – ต้นมีความสูงประมาณความสูง 3-5 เมตร
    – เป็นพรรณไม้พุ่มที่สามารถแตกกิ่งก้านสาขาออกมาได้โดยรอบของตัวต้น
    – ตามลำต้นไม่มีหนาม[1]
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ออกใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยจะออกใบเรียงสลับกันไปตามข้อของลำต้น
    – ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ แผ่นใบกว้างและแผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว[1]
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ และจะออกดอกจากเฉพาะทางด้านข้างเท่านั้น โดยในกลุ่ม ๆ หนึ่งจะมีดอกอยู่ที่ประมาณ 2-3 ดอก[1]
    – ดอกรูประฆัง ดอกมีสีเป็นสีขาว ปลายดอกเป็นรอยหยักเล็กน้อย ส่วนโคนดอกเป็นมน
    – ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวไล่จากโคนกลีบขึ้นไปยังส่วนของปลายกลีบจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และดอกมีก้านสีเขียวค่อนข้างยาว
  • ผล
    – ผล มีลักษณะของเนื้อผลที่มีความฉ่ำน้ำ
    – ผลอ่อนจะมีสีเป็นสีแดง เมื่อผลแก่แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงเข้ม
    – ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 2 เมล็ด[1]

สรรพคุณของต้นแฟรงกูล่า

1. เปลือกต้นแบบสดนำมารับประทานเพื่อขับอาเจียน (เปลือกต้นสด)[1]
2. สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ ให้นำเปลือกตากแห้งแล้วและเก็บเอาไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี นำมาใช้ทำเป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้อาการท้องผูกได้ (เปลือกต้นแห้ง)[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของต้นแฟรงกูล่า

  • มีสารสำคัญที่พบได้ ซึ่งได้แก่ gluco-flangulin (frangula-emodin-6-rhamnoside-8-gulcoside) และ frangulin (frangula-emodin-6-rhamnoside)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “แฟรงกูล่า”. หน้า 588.