กระแตไต่หิน สรรพคุณของเหง้าช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

0
1319
กระแตไต่หิน สรรพคุณของเหง้าช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต เป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น เกาะตามก้อนหิน หรือกิ่งไม้ มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมและมีขนสีน้ำตาล
กระแตไต่หิน
เป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น เกาะตามก้อนหิน หรือกิ่งไม้ มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมและมีขนสีน้ำตาล

กระแตไต่หิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Drynaria bonii Christ. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Drynaria meeboldii Rosenst. จัดอยู่ในวงศ์ POLYPODIACEAE[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ คือ กระจ้อน, กระแตไต่ไม้, กระแตพุ่มไม้, กระปรอกเล็ก, ฮอกกาบลม[2]

ลักษณะของกระแตไต่หิน

  • ลักษณะของต้น[1],[2]
    – เป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น
    – จะเลื้อยเกาะแน่นตามก้อนหิน หรือกิ่งไม้
    – เหง้ามีลักษณะที่แบน มีความกว้าง 2-5 เซนติเมตร และหนา 5 มิลลิเมตร
    – มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมและมีขนสีน้ำตาลอยู่หนาแน่น
    – เขตการกระจายพันธุ์อยู่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลียเขตร้อน และพอลินีเซีย
    – ในประเทศไทยนั้นสามารถพบขึ้นได้ทุกภาค
    – มักขึ้นบนหินหรือคาคบในป่าดิบแล้งและในป่าเบญจพรรณ
    – จะขึ้นที่ความสูงระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1],[2]
    ใบมี 2 ชนิด และมีรูปร่างที่ต่างกัน
    1. ใบไม่สร้างสปอร์ (nest-leaves)
    – มีจำนวนมาก
    – ออกเรียงสลับซ้อนกันปิดเหง้าไว้เกือบมิด
    – เป็นรูปวงรีหรือรูปไข่
    – ปลายใบมนหรือแหลม
    – โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ
    – ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย
    – ใบมีความกว้าง 4.5-7 เซนติเมตร และยาว 5-10 เซนติเมตร
    – เส้นกลางใบและเส้นใบเห็นได้ชัดเจน
    – ใบอ่อนเป็นสีเขียว
    – ใบแก่เป็นสีน้ำตาล
    2. ใบที่สร้างสปอร์ หรือใบแท้ (foliage-leaves)
    – เป็นใบเดี่ยว
    – ใบชี้ขึ้นข้างบนและอยู่สูงกว่าใบประกบต้น
    – ใบด้านล่างส่วนที่ต่อกับก้านใบจะแผ่ออกเป็นปีก
    – ขอบใบจะเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบเป็นแฉก
    – แฉกเรียงกันแบบขนนก
    – ปลายพูแหลม
    – ขอบพูหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย
    – ใบจะมีความกว้าง 20-40 เซนติเมตร และยาวความ 30-50 เซนติเมตร
    – แต่ละแฉกเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก
    – มีความกว้างได้ถึง 3.5 เซนติเมตร และยาว 10-22 เซนติเมตร
  • ลักษณะของดอก[1],[2]
    – กลุ่มสปอร์จะอยู่ในอับสปอร์
    – มีรูปร่างที่ค่อนข้างกลม
    – เรียงกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบอยู่ระหว่างเส้นใบทางด้านหลังใบ
    – แอนนูลัส ประกอบไปด้วยเซลล์เพียงแถวเดียว
    – เรียงตัวในแนวตั้ง
    – ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

สรรพคุณของกระแตไต่หิน

  • ขนจากเหง้า สามารถนำมาบดให้ละเอียด และใช้สูบแก้หืดได้[1]
  • เหง้า สามารถนำมาใช้ผสมกับหัวยาข้าวเย็น และต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืดได้[1]
  • เหง้า สามารถนำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษามะเร็งในปอด ปอดพิการได้[1]
  • ราก สามารถนำมาใช้ฝนกับน้ำมะนาวกินและทาแก้เนื้อตายจากพิษงูเขียวหางไหม้ได้
  • ต้น ถูกจัดว่าเป็นตัวยาที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง ที่นำมาใช้สำหรับบำบัดอาการป่วยเนื่องจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาด
  • เมื่อนำไปผสมกับ Dipsacus และอื่น ๆ จะช่วยบำบัดอาการป่วยได้
  • สามารถนำมาใช้สำหรับบำบัดอาการปวดเข่าและปวดหลัง แก้ปวดฟัน และเลือดออกตามไรฟันได้
  • เหง้า มีรสขม ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  • เหง้า ช่วยขยายหลอดเลือด แก้อาการมืดเท้าเย็น
  • เหง้า ลดอาการเจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีกขาด
  • เหง้า แก้ไขข้ออักเสบ ปวดข้อ ปวดหลัง และกระดูกแตก

ประโยชน์ของกระแตไต่หิน

  • สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปได้[2],[3]
  • สามารถนำมาปลูกเป็นเฟิร์นประดับตามโขดหินหรือต้นไม้ในสวนได้[2],[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “กระ แต ไต่ หิน”. หน้า 96.
2. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระแตไต่ไม้ (Drynaria bonii)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [05 ก.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://alchetron.com/Drynaria
2.http://phytoimages.siu.edu/