แก้มขาว
แก้มขาว มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรอินโดจีน สามารถพบเจอได้เยอะตามชายป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยังสามารถพบเจอได้ที่ตามป่าดิบเขา ป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400-1,300 เมตร แก้มดอกขาวจะชอบความชุ่มชื้น แสงแดดปานกลาง ชื่อสามัญ Butterfly Flower ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Mussaenda sanderiana Ridl. อยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่นอีก เช่น ดอกย่าป่า, พอแต (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), กำเบ้อขาว (เพชรบูรณ์), กะเบ้อขาว (เลย), ใบต่างดอก, กำเบ้อ (เพชรบูรณ์), แก้มอ้น, รางแก้ม (ลั้วะ), ผีเสื้อ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะแก้มขาว
- ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย สามารถสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร เนื้อไม้มีความเหนียว ผิวเปลือกมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเทาถึงเข้ม กิ่งก้านนั้นจะแตกแขนงเป็นพุ่มแน่นที่ช่วงปลายกิ่ง ที่ลำต้นกับกิ่งก้านจะมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงหนา[1],[2] ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง [4]
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน ใบแผ่เป็นรูปรี ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบสอบ ใบกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ที่ใบทั้งสองด้านนั้นจะมีขนละเอียด ที่หลังใบมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน แผ่นใบจะแผ่สามารถมองเห็นเส้นแขนงใบเป็นลอน หูใบได้ชัดที่ระหว่างก้านใบ[1],[2]
- ดอก จะออกเป็นช่อสั้นที่ตรงปลายกิ่ง มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ก้านของดอกสั้น กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสดถึงสีส้ม จะเชื่อมติดเป็นหลอด ที่กลีบเลี้ยงส่วนโคนนั่นจะเชื่อมติดเป็นหลอด ปลายจะแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก กลีบดอกมีลักษณะเป็นหลอดมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ที่ปากหลอดจะมีขนละเอียดยาว ปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ ดอกบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ในหลอดดอกอยู่ 5 อัน ดอกแก่จะมีใบเลี้ยงขนาดใหญ่อยู่ 1 กลีบ เป็นสีขาวนวล คล้ายกับใบเป็นรูปรี กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ที่ปลายจะแหลมคอดเรียว ส่วนที่โคนใบมนและสอบเรียว[1],[2],[3]
- ผล มีลักษณะเป็นผลสด รูปไข่ รูปรีขนาดเล็ก เป็นสีเขียว ที่ผิวของผลมีช่องอากาศ ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่นั้นเนื้อจะนุ่ม มีเมล็ดอยู่ในผลเป็นเมล็ดจำนวนมาก 1 พวงมีผลประมาณ 15-20 ผล[1],[2]
สรรพคุณแก้มขาว
1. ลำต้นใช้เข้าในยารักษาโรคริดสีดวงทวาร (ลำต้น)[3]
2. ในตำรายาพื้นบ้านล้านนานำรากมาขูดผสมรากผักคราด รากแข้งกวางดง มาตุ๋นกับไก่สามารถทานเป็นยาแก้ปวดฟันได้ (ราก)[2]
3. เถามีสรรพคุณที่เป็นยาแก้ไข้ผิดสำแดง (เถา)[1]
4. เหง้า เปลือก เนื้อไม้ จะมีสรรพคุณที่สามารถเป็นยากระจายโลหิตได้ [1]
5. เปลือก, เนื้อไม้, เหง้า สามารถใช้เป็นยาขับน้ำนิ่วในไตได้ (เปลือก, เนื้อไม้, เหง้า)[1]
6. สามารถใช้เถาเป็นยาแก้ไข้ทับระดูได้ (เถา)[1]
7. ชาวเขาเผ่าแม้วนำรากมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาระบาย และสามารถช่วยเจริญอาหารได้ (ราก)[2]
8. ชาวลั้วะนำลำต้นมาต้มกับน้ำดื่มและผสมสมุนไพรอื่นอีก 9 ชนิด สามารถใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้ (ลำต้น)[3]
ประโยชน์แก้มขาว
- นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป[4]
สั่งซื้ออาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “แก้ม ขาว”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [13 มิ.ย. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “แก้ม ขาว”. หน้า 75.
3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แก้ม ขาว”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [13 มิ.ย. 2015].
4. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “แก้ม ขาว”. หน้า 157.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.monaconatureencyclopedia.com/mussaenda-sanderiana-2/?lang=en
2.https://jardinsamoena.be/index.php/2020/02/09/ce-qui-nous-a-marque-a-singapour/