ต้นระกำป่า สมุนไพรฝักโค้งบิดช่วยแก้กระษัย

0
1362
ต้นระกำป่า
ต้นระกำป่า สมุนไพรฝักโค้งบิดช่วยแก้กระษัย ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมเย็น ผลเป็นฝักแบนคอดเป็นข้อ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม
ต้นระกำป่า
ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมเย็น ผลเป็นฝักแบนคอดเป็นข้อ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม

ต้นระกำป่า

ต้นระกำป่า เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กฝักมีลักษณะบิดหรือโค้ง เว้าตามจำนวนเมล็ด มีชื่อวิทยาศาสตร์ Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm. แก่นนำมาฝนกับเหล้าใช้รับประทานเป็นยาแก้เลือดลม แก้กระษัย จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE) ซึ่งถิ่นกำเนิดพบได้ตั้งแต่ประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ชวา และนิวกินี มักจะขึ้นตามโขดหิน หน้าผาสูงชันที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร
ชื่ออื่น ๆ มะขามแขก (จังหวัดราชบุรี), ระกำป่า (นครสวรรค์)[1]

ลักษณะของต้นระกำป่า

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้ประเภทพุ่มกึ่งไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กที่มีความสูงของต้นประมาณ 4-8 เมตร
    – แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน กิ่งมีขนประปราย
    – ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 4-8 เมตร
    – ต้นแตกกิ่งก้านแผ่กว้างออกมาจากลำต้น
    – เปลือกของต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีหนามขึ้นทั่วลำต้นและตามกิ่งก้าน ตรงบริเวณกิ่งมีขนขึ้นประปราย
    – ต้นเติบโตบริเวณตามซอกหินของผา ลำต้นจะมีลักษณะที่แคระแกร็น กิ่งและก้านจะแผ่ไปตามหน้าผาด้วยแรงลม โคนต้นและเหง้าจะใหญ่แข็งแรง ยึดเกาะซอกหินได้อย่างมั่นคง[1],[2]
  • ใบ
    – ใบของต้นระกำป่าจะออกใบในลักษณะที่เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น โดยใบจะออกเรียงสลับกัน ใบมีต่อมบุ๋มตรงกลาง ตามแกนใบและระหว่างใบประกอบย่อย
    – ใบประกอบย่อยมีประมาณ 2-4 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน ส่วนใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 5-13 คู่
    – ลักษณะของใบจะมีรูปร่างเป็นรูปขอบขนาน ไม่สมมาตรกัน ตรงปลายใบกลมและมีติ่ง ส่วนโคนใบตัดหรือเบี้ยว
    – ใบย่อยจะเป็นแผ่นใบเกลี้ยง มีเส้นใบออกจากโคนอยู่ประมาณ 3-4 เส้น จรดกันเป็นร่างแห และใบไม่มีก้านใบ[1],[2]
    – แกนกลางใบมีความยาวอยู่ที่ 4-7 เซนติเมตร มีต่อมบุ๋มตรงกลาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
    – ใบประกอบย่อยมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร ใบย่อยมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.5 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ออกดอกในลักษณะที่เป็นดอกช่อเชิงหลั่นเป็นกระจุกแน่นเป็นจำนวนมาก โดยจะออกดอกตามซอกใบบริเวณที่ปลายยอด
    – ดอกที่อยู่ด้านนอกจะยาวกว่าดอกที่อยู่ด้านในเล็กน้อย
    – ดอกมีสีเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมเย็น กลีบเลี้ยงมีความยาวอยู่ที่ 0.3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนครุยขึ้นปกคลุม กลีบดอกมีรูปร่างเป็นรูปกรวย มีความยาวอยู่ที่ 0.7 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ลักษณะดอกเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร ตรงขอบมีขนครุยขึ้นปกคลุม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาวจำนวนมาก หลอดเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ส่วนรังไข่จะไม่มีก้าน มีผิวเกลี้ยง[1],[2]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน คอดเป็นข้อต่อเรียงต่อกัน โดยฝักจะมีลักษณะรูปร่างที่บิดหรือโค้ง ซึ่งจะเว้าไปตามจำนวนเมล็ด
    – ฝักตอนอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อฝักแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม
    – ฝักมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-20 เซนติเมตร
  • เมล็ด
    – ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-13 เมล็ด
    – เมล็ด มีลักษณะรูปร่างที่แบนเกือบกลมหรือเป็นรูปไข่กลีบ เมล็ดมีขนาดความยาวอยู่ที่ประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผิวเมล็ดเป็นร่างแห[1],[2]

สรรพคุณของต้นระกำป่า

  • แก่น นำมาใช้ฝนกับเหล้า ใช้สำหรับรับประทานเป็นยาแก้เลือดลม และแก้กษัย (แก่น)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “ระกำป่า”.  หน้า 168.
2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “มะขามแขก”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [29 ต.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://apps.lucidcentral.org/