โรคตาบอดสี
โรคตาบอดสี ( Color Blindness ) คือ โรคที่เกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่างไม่ได้มักพบในเพศชายมากกว่าถึง 8% และพบในเพศหญิง 0.4% ของประชากรทั้งหมด การที่พบโรคนี้ในผู้ชายมากทั้งนี้ เพราะความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม X ลักษณะการมองเห็นในคนตาบอดสีนั้นจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง ( Rod Cell ) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว โดยใช้สำหรับการมองเห็นในเวลากลางคืน แต่สีที่มองเห็นจะเป็นสีในโทนดำ ขาว และเทาเท่านั้น ซึ่งสีที่คนมักเป็นตาบอดสี คือ สีเขียว เหลือง ส้มและสีแดง ส่วนภาวะตาบอดสีทุกสี ( Achromatopsia ) จะพบได้น้อยมาก อาจก่อส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ในบางอาชีพที่ต้องอาศัยการแยกและจดจำสีในการทำงาน เช่น พนักงานโรงงาน พนักงานขับรถ นักบิน ตำรวจจราจรเป็นต้น
อาการของตาบอดสี
- แยกสีแดง และสีเขียวค่อนข้างลำบาก
- สามารถมองเห็นสีได้หลากหลายสี แต่บางสีอาจมองเห็นต่างไปจากคนอื่น
- จดจำและแยกสีต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน
- สับสนในการบอกสีที่เห็นได้
- มองเห็นเฉพาะบางโทนสีเท่านั้น
- บางรายสามารถมองเห็นได้เฉพาะสีดำ ขาว และเทาเท่านั้น
- กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง มักเกิดจากการถูกทำลายของจอประสาทตาเส้นประสาทตาหรือส่วนรับรู้ในสมองจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การอักเสบ ภาวะขาดเลือด เนื้องอก การเสื่อมลงของจอประสาทตา ผลข้างเคียงจากยา หรือสารเคมี
สาเหตุของโรคตาบอดสี
ความผิดปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีความผิดปกติของดวงตามาตั้งแต่กำเนิด ( Congenital Color Vision Defects )
ภาวะตาบอดสีแต่กำเนิด แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ
ภาวะตาบอดสีกลุ่มที่เห็นสีเดียว ( Monochromatism )
เป็นผู้ที่มีแต่เซลล์รูปแท่ง ไม่มีเซลล์รูปกรวยเลย หรือบางรายมีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินชนิดเดียว กลุ่มนี้จะเห็นเพียงภาพขาวดำ สายตามักมัวมากจนมองไม่เห็นสี ตาสู้แสงไม่ได้ ลูกตากลิ้งกลอกไปมาตลอดเวลา ( Nystagmus ) ผู้ป่วยกลุ่มนี้แพทย์ให้การรักษาโดยมุ่งที่การช่วยเหลือให้มองเห็นดีขึ้น การเห็นสีเป็นไปไม่ได้ แพทย์จึงมักไม่คำนึงถึงเรื่องการเห็นสีเลย
ภาวะตาบอดสีกลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด ( Dichromatism )
เมื่อขาดเซลล์รูปกรวยสีแดง เรียกว่า ตาบอดสีแดง ( Protanopia ) เมื่อขาดเซลล์รูปกรวยสีเขียว เรียกว่า ตาบอดสีเขียว ( Deuterano pia ) และเมื่อขาดเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน เรียกว่า ตาบอดสีน้ำเงิน (Tritanopia) ซึ่งตาบอดสีน้ำเงินนี้พบได้น้อยมากๆ
ภาวะตาบอดสีกลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวยทั้ง 3 ชนิด ( Trichromatism )
แต่มีอย่างใดอย่างหนึ่งพร่อง / น้อยกว่าปกติ ( Anomalous trichromatism ) ซึ่งเป็นกลุ่มตาบอดสีที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ เมื่อมีเซลล์รูปกรวยสีแดงน้อยกว่าปกติ เรียกว่า พร่องสีแดง ( Protanomalous ) เมื่อมีเซลล์รูปกรวยสีเขียวน้อยกว่าปกติ เรียกว่า พร่องสีเขียว ( Deuteranomalous ) และพร่องสีน้ำเงินเมื่อมีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินน้อยกว่าปกติ ( Trianomalous ) ทั้งนี้ตาบอดสีแต่กำเนิดส่วนใหญ่จะพบพร่องสีแดง และพร่องสีเขียว ส่วนพร่องสีน้ำเงินพบน้อยมาก ๆ
2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ( Acquired Color Vision Defects )
มักพบกลุ่มแรก คือกลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดบ่อยกว่ากลุ่มที่เป็นภายหลังเป็นภาวะที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเป็นลักษณะด้อยซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม X ที่เรียกว่า X – link recessive สาเหตุที่ทำให้เกิด เช่น
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ได้ตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น
- ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด
- การได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นระยะเวลานาน
- โรคเกี่ยวกับด้านดวงตาหรือการบาดเจ็บบริเวณจอตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา
โรคตาบอดสี ( Color Blindness ) คือ โรคที่เกิดปัญหาในการแยกแยะสีของวัตถุบางอย่างไม่ได้
การทดสอบตาบอดสี
ทดสอบตาบอดสีประกอบด้วยชุดแผ่นจุดประสีแต่ละชุดจะแสดงเป็นตัวเลข เพื่อทดสอบการมองเห็นสีที่ใช้กับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ผลประเมินแบบทดสอบตาบอดสีของการมองเห็นสี
- ตาปกติ และตาบอดสี จะอ่านได้หมายเลขเดียวกันคือ 12
2. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 29 ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 70
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้
3. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 3 ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 5
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้
4. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 74 ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 21
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
5. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 45 ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านได้
6. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 7 ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
7. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 73 ตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
8. ตาปกติจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้ ตาบอดสีแดง-เขียวจะอ่านได้หมายเลข 45
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถอ่านเป็นตัวเลขได้
9. ตาปกติจะอ่านได้หมายเลข 42
10. ตาปกติจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ถ้ามีอาการตาบอดสีแดง-เขียว จะสามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้
10. ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีส้มจาก X ไป X ได้
แต่ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง
11. ตาปกติจะสามารถลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีส้ม จาก X ไป X ได้
ถ้ามีอาการตาบอดสีแดง-เขียวจะลากเส้นตามสีม่วง ต่อกับสีฟ้า-เขียว จาก X ไป X ได้
ถ้ามีอาการตาบอดสีจะไม่สามารถลากเส้นจาก X ไป X ได้ หรือลากได้ก็คนละเส้นทาง
เซลล์รับแสงคืออะไร
เซลล์รับแสงที่อยู่ในจอตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เซลล์รูปแท่ง ( rod cell ) ประกอบด้วยสารที่ดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ โดยเซลล์รูปแท่งจะมีสารสีม่วง ซึ่งมีความไวต่อแสงมากกว่าเซลล์รูปกรวยจะทำงานได้อย่างดีแม้แสงน้อยในช่วงกลางคืนสามารถมองเห็นเป็นสีขาวดำ
2. เซลล์รูปกรวย ( cone cell ) เป็นหนึ่งในตัวรับแสงในเรตินาของดวงตาที่รับผิดชอบการมองเห็นในเวลากลางวันและการมองเห็นสีประกอบด้วยเซลล์ที่กระจุกตัวอยู่หนาแน่นในรอยบุ๋มจอตาสร้างพื้นที่การมองเห็นที่ใหญ่ที่สุด เซลล์รูปกรวย 3 ชนิด มีการรับสีแตกต่างกัน คือ ชนิดที่หนึ่งมีความไวสูงสุดต่อการรับแสงสีน้ำเงินจะไวเฉพาะแสงที่มีความเข็มสูง ชนิดที่สองมีความไวสูงสุดต่อแสงสีเขียว และชนิดที่สามมีความไวสูงสุดต่อแสงสีแดง
ตาบอดสีรักษาให้หายได้หรือไม่
ทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีการรักษาตาบอดสีให้หายได้ แต่มีวิธีในการแก้ไขเบื้องต้น โดยให้คนตาบอดสีใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตาที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อช่วยในการมองเห็นของคนตาบอดสีให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
การป้องกันตาบอดสี
การป้องกันโรคตาบอดสียังไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างถาวร แต่สามารถลดโอกาสการเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ยังเด็ก
- การตรวจคัดกรองตาบอดสีและทดสอบสายตาในเด็กอายุประมาณ 3-5 ขวบ
- หากครอบครัวมีประวัติเป็นตาบอดสี ควรมีการตรวจเช็คสายตาอย่างสม่ำเสมอ
- สังเกตความผิดปกติของสายตาตนเอง
หากพบความผิดปกติในการมองเห็นสีที่ผิดแปลกไปจากเดิม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและรักษาอย่างถูกวิธี
การแก้ปัญหาตาบอดสี
สิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาตาบอดสีได้คือ แว่นสายตาสำหรับตาบอดสี คนที่มีตาบอดสีแดง-เขียวอาจสามารถใช้แว่นพิเศษ (หรือคอนแท็คเลนส์) เพื่อช่วยให้ได้รับรู้สีได้ถูกต้องยิ่งขึ้นภายใต้สภาวะแสงต่างๆ โดยแว่นตานี้ทำงานโดยกรองความยาวคลื่นแสงเพื่อให้สามารถแยกแยะสีแดงและเขียวได้ มันไม่สามารถทำให้คนเปลี่ยนไปมองเห็นสีปกติได้ แต่อาจช่วยให้มองเห็นสีบางสีได้สดใสขึ้น แต่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนที่มีตาบอดสีแดง-เขียวได้ หรือปรึกษาจักษุแพทย์ให้ช่วยตรวจสอบว่าสามารถใช้แว่นชนิดนี้ได้หรือไม่
หากคุณมีอาการตาบอดสีควรได้รับการทดสอบที่สามารถบอกได้ว่าการมองเห็นสีของคุณมีมากน้อยเพียงใด
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ตาบอดสี (ออนไลน์).สืบค้นจาก :http://www.perfecthealthcare.co.th [30 เมษายน 2562].
ตาบอดสี (ออนไลน์).สืบค้นจาก :http:www.pobpad.com [30 เมษายน 2562].
ตาบอดสี (ออนไลน์).สืบค้นจาก :http://haamor.com/th [7 พฤษภาคม 2562].