รักเร่
เป็นไม้ล้มลุเนื้ออ่อน มีเหง้าและหัวใต้ดิน ดอกเป็นกระจุกมีกลายสี ผลแห้งแบน ไม่มีขน

รักเร่

รักเร่ เป็นไม้ล้มลุกพรรณพืชพื้นเมืองในอเมริกาเหนือที่มีเหง้าและหัวใต้ดิน พบได้ที่ระดับความสูงประมาณ 1,800 เมตร จัดอยู่ในตระกูลแอสเทอพรรณไม้ดอกชนิดนี้มีความสูงตั้งแต่ 70 ถึง 120 และสูงกว่า 160 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงแตกแขนงเฉพาะดอก ชื่อสามัญ คือ Dahlia ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dahlia pinnata Cav. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE มีชื่อเรียกอื่น ๆ คือ รักแรก[2]

ลักษณะต้นรักเร่

  • ต้น
    – เป็นไม้พื้นเมืองของอเมริกากลาง
    – เป็นพรรณไม้พุ่มเนื้ออ่อน
    – ลำต้นตั้งตรง
    – แตกกิ่งก้านสาขามาก
    – รากมีรูปร่างคล้ายหัวอยู่ใต้ดิน
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ต่อกิ่ง หรือใช้ราก
    – เติบโตได้ดีในที่กลางแจ้งแดดจัด แต่ต้องมีความชื้นที่พอเพียง
    – ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี และมีธาตุอาหารพืชพอควร
  • ใบ[1]
    – ใบออกตรงข้ามกัน
    – เป็นช่อในชั้นเดียวกัน
    – แกนกลางช่อมีปีก
    – ปลายใบแหลม
    – ขอบใบเป็นซี่ฟันแกมฟันเลื่อย
    – ใบย่อยเป็นสีเขียวเข้ม มีจุดแต้มเป็นสีม่วง
  • ดอก[1]
    – ออกดอกเป็นกระจุกใหญ่ตรงปลายยอด
    – ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร
    – ดอกมีหลายสี เช่น สีม่วง สีแดงเข้ม สีส้ม สีชมพู สีเหลือง เหลืองอ่อน สีขาว หรืออาจจะมีสองสีในดอกเดียวกัน
    – กลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ
    – ขอบอาจจะตรงหรือโค้ง
    – ส่วนกลีบดอกจะเป็นรูปท่อ
    – ปลายจักเป็นแฉก 5 แฉก
    – อับเรณูมีความตรง
    – โคนเรียบ
    – ปลายแหลม
    – ท่อเกสรเพศเมียเป็น 2 แฉก ยาวและตรงปลายแหลม
  • ผล[1]
    – เป็นผลแห้ง
    – เป็นรูปขอบขนาน
    – แบน
    – ไม่มีขน

สรรพคุณของรักเร่

  • รากหัว สามารถนำมาใช้กินเป็นยารักษาโรคหัวใจได้[1]
  • รากหัว สามารถนำมาใช้กินเป็นยารักษาอาการไข้ได้[1]
  • ต้น มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อน ๆ สามารถฆ่าเชื้อ Staphylococcus ได้[1]

ประโยชน์ของรักเร่

  • ในต่างประเทศนั้นจะนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้มีความสวยทั้งรูปทรงของดอกและสีสันที่สวยสะดุดตา[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “รักเร่”. หน้า 675.
2. ชนิดของไม้ตัดดอกและไม้ดอกกระถาง, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “รักเร่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th. [22 ส.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://antropocene.it/