หิรัญญิการ์
หิรัญญิการ์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเนปาล เป็นไม้เถาเนื้อแข็งแตกเป็นพุ่มเป็นกอ ลำเถาเลื้อยยาวและจะพาดพันกับต้นไม้อื่น เป็นพรรณไม้กลางแจ้งเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิดชื่อสามัญ คือ Easter Lily Vine, Herald trumpet, Nepal Trumpet[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Beaumontia grandiflora Wall. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ เถาตุ้มยำช้าง (ภาคเหนือ) เป็นต้น[1],[2]
ชนิดหิรัญญิการ์ในประเทศไทย
มีอยู่ 3-4 ชนิด แต่ละชนิดจะแตกต่างกันตรงที่รูปร่างของกลีบดอกและใบ
- หิ รั ญ ญิ ก า ร์ ดอกใหญ่ (Beaumontia grandiflora Wall.)
- หิ รั ญ ญิ ก า ร์ ดอกเล็ก (Beaumontia murtonii Craib)
- หิ รั ญ ญิ ก า ร์ แดง
ลักษณะต้นหิรัญญิการ์
- ต้น[1],[2],[3]
– มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเนปาล
– เป็นไม้เถาเนื้อแข็งแตกเป็นพุ่มเป็นกอ
– ลำเถาเลื้อยยาวและจะพาดพันกับต้นไม้อื่น
– แตกกิ่งก้านสาขามาก
– ทั่วลำเถามีขนขึ้นเป็นสีน้ำตาลแดง
– ตามกิ่งอ่อนมียางสีขาวข้น
– สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ
– เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด
– เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
– ชอบขึ้นตามชายป่าดิบ หรือป่าเบญจพรรณใกล้ลำธาร - ใบ[1],[2],[3]
– ใบเป็นใบเดี่ยว
– ออกตรงข้ามกัน
– ใบแต่ละคู่ทำมุมฉากซึ่งกันและกัน
– ใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ
– ปลายใบมนหรือแหลม
– โคนใบมนหรือแหลม
– ขอบใบเรียบไม่มีหยัก
– ใบมีความกว้าง 1.5-2.5 นิ้ว และยาว 5-7 นิ้ว
– หลังใบเรียบเป็นมัน
– ใต้ท้องใบเห็นเส้นใบได้ชัดเจน มี 10-14 คู่
– ไม่มีขนปกคลุม
– ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร - ดอก[1],[2],[3]
– ออกดอกเป็นช่อ
– จะออกดอกที่บริเวณปลายกิ่งหรือตามง่ามใบ
– 1 ช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 5-10 ดอก
– ดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะค่อย ๆ บาน
– ในครั้งหนึ่งจะมีดอกบานแค่ 1-4 ดอก
– ดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
– ก้านช่อดอกและก้านดอกมีขนละเอียดสีน้ำตาลปนแดง
– ก้านดอกยาว 2-3.2 เซนติเมตร
– ดอกตูมเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองอมเขียว
– ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีขาว
– มีกลีบรองดอก 5 กลีบ
– กลีบแยกออกจากกัน
– แต่ละกลีบแผ่กว้างซ้อนทับกัน
– กลีบเป็นรูปขอบขนาน รูปมน รูปไข่ กว้าง 0.5-1 นิ้ว และยาว 1-1.5 นิ้ว
– ปลายแหลม ขอบเรียบ
– แผ่นกลีบมีลายเส้นร่างแหปรากฏอยู่ชัดเจน
– มีขนบาง ๆ ปกคลุมอยู่ประปรายที่ตรงกลางกลีบ
– โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย
– กลีบคอดเข้าหากันที่ฐานเป็นหลอดสั้น ๆ ยาว 4 นิ้ว
– ปลายกลีบดอกมนหยักเป็นคลื่น ๆ
– กลีบดอกเป็นสีขาวสะอาด
– มีแต้มด้วยจุดสีเขียวเรื่อ ๆ
– ที่ใจกลางกลีบดอก
– กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
– มีเกสรเพศเมียประมาณ 2 อัน
– เชื่อมติดกันอยู่กับกลีบดอก
– ก้านเกสรแต่ละอันจะแยกออกจากกันเป็นอิสระ
– อับเรณูจะค่อนข้างยาว รูปร่างคล้ายหัวลูกศร
– ตุ่มเกสรเพศเมียอยู่ภายในบริเวณของอับเรณูทั้ง 5 อัน
– รังไข่ตั้งอยู่ที่ฐานกลีบดอกซึ่งเป็นหลอดแคบ ๆ
– มีน้ำหวานขังอยู่รอบนอก
– ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้าง 12-16 เซนติเมตร
– จะออกดอกในเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน - ผล[1],[2]
– ออกผลเป็นฝัก
– ฝักมีความ 12-30 เซนติเมตร
– ผนังหนาและแข็งมาก
– ฝักเมื่อแก่แล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก
– ผลมีเมล็ดแบน ๆ สีน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก มีความยาว 1.7 เซนติเมตร
– ปลายของเมล็ดมีขนยาวอ่อนนุ่มติดอยู่เป็นกระจุก มีความยาว 3.5-5 เซนติเมตร
สรรพคุณของหิรัญญิการ์
- เมล็ด สามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงกำลังได้[1],[2]
- เมล็ด มีสารจำพวกคาร์ดีโนไลด์ สามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงหัวใจได้[1],[2]
ข้อควรระวัง
- เมล็ดหากรับประทานมาก อาจทำให้ถึงตายได้[3]
ประโยชน์ของหิรัญญิการ์
- ประเทศไทยจะนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ[2]
- สามารถนำมาปลูกเพื่อประดับเป็นซุ้มกลางแจ้งได้ดี[2]
- นิยมนำมาปลูกประดับอาคารสถานที่ สวน และสนามต่าง ๆ[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หิ รัญ ญิ การ์ (Hirun-Yika)”. หน้า 334.
2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “หิ รัญ ญิ การ์”. หน้า 826-827.
3. พรรณไม้บริเวณพระตำหนักเรือนต้น, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หิ รัญ ญิ การ์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/palace/chitralada/cld6-2.htm. [18 ก.ค. 2014].