ต้นกระดาด
ชื่อสามัญของต้นกระดาด คือ Giant alocasia, Ape, Elephant ear, Giant taro, Pai, Ear elephant ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของต้นกระดาด คือ Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don[1] อยู่วงศ์บอน (ARACEAE)[1],[3],[4] ต้นกระดาด มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มันโทป้าด (เงี้ยว, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), คือ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เอาะลาย (จังหวัดยะลา), บึมบื้อ (จังหวัดเชียงใหม่), กระดาดดำ (จังหวัดกาญจนบุรี), กลาดีบูเก๊าะ (มลายู,จังหวัดยะลา), เผือกกะลา (เงี้ยว, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), โทป๊ะ (กะเหรี่ยง, จังหวัดแม่ฮ่องสอน), โหรา (จังหวัดสงขลา), บอนกาวี (จังหวัดยะลา), กระดาดแดง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร) [1] (มีข้อมูลอื่นระบุไว้ว่ามีชื่อ บอนเขียว, กระดาดเขียว, กระดาดขาว [3],[4])
ลักษณะกระดาด
- ต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุก จะมีเหง้าทอดอยู่ที่ตามพื้นดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ลำต้นจะสั้น สามารถสูงได้ถึงประมาณ 1-2 เมตร เป็นสีม่วงปนสีน้ำตาล มีหัวอยู่ที่ใต้ดิน ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อและไหล การเพาะเมล็ด มักจะขึ้นที่มีอากาศชื้น และมีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหัวใจ ที่ปลายใบจะเป็นติ่งแหลม ส่วนที่โคนใบจะเว้าลึก ที่ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นแบบห่าง ใบกว้างประมาณ 25-60 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-90 เซนติเมตร ที่หลังใบจะเรียบเป็นสีเขียวและเป็นมันลื่น ที่ท้องใบจะเรียบ จะมีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 5-7 เส้น มีก้านใบขนาดใหญ่สีม่วงปนสีน้ำตาล มีความยาวประมาณ 1.2-1.5 เมตร[1],[2]
- ดอก ออกเป็นช่อ ช่อเป็นแท่งยาวที่ปลายช่อจะแหลม ออกดอกที่บริเวณกลางต้น ยาวประมาณ 11-23 เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 25-50 เซนติเมตร ดอกมีกาบสีเหลืองอมสีเขียวหุ้ม ที่โคนของกาบจะโอบรอบโคนช่อ ช่อดอกประกอบด้วยดอกเพศเมียอยู่ที่ตรงโคนช่อ ดอกเพศผู้ที่ตรงส่วนด้านบน ดอกเพศผู้ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศเมียยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เป็นดอกแยกเพศแบบอยู่ช่อเดียวกัน จะมีดอกเพศผู้เยอะกว่าดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้กับดอกเพศเมียคอดมีความยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ที่ปลายจะไม่มีดอก มีความยาวประมาณ 6.7-13 เซนติเมตร ที่ปลายจะมน ดอกเพศเมียมีรังไข่อยู่ 1 ช่อง จะมีออวุลอยู่ประมาณ 3-5 เม็ด ที่ยอดเกสรเพศเมียเป็นรูปหกเหลี่ยมตัด กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้มีขนาดที่สั้นกว่าดอกเพศเมียและกว้างกว่าดอกเพศเมีย ที่ด้านข้าค่อนข้างแบน[1],[2]
- ผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร เนื้อด้านในผลมีผิวสัมผัสนุ่มและเป็นสีแดง มีเมล็ดแข็งอยู่ในผล 1 เมล็ด เมล็ดมีรูปทรงกลมเป็นสีดำ[1],[2],[4]
พิษของต้นกระดาด
- มีสารจำพวกเรซินกับ Protoanemonine ที่เป็นพิษ และมีแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) เยอะ ที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังบวมแดง[2]
สรรพคุณต้นกระดาด
1. ใบมีรสเย็น สามารถช่วยแก้อาการอักเสบที่ข้อทำให้บวมแดงได้ (ใบ)[1]
2. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)[2]
3. สามารถนำไหลมาทานเป็นยาขับพยาธิได้ (ไหล)[2]
4. สามารถนำรากกับเหง้ามาใช้เป็นยาถ่ายชนิดอุจจาระเป็นพรรดึกได้ (รากหรือเหง้า)[2]
5. น้ำที่ได้จากก้านใบจะมีรสเย็น สามารถทานแก้อาการไอได้ (น้ำจากก้านใบ)[1]
6. สามารถนำรากมาใช้ทาแก้พิษของแมงป่องได้ (ราก)[1]
7. หัวจะมีรสเมาเย็น สามารถเอาหัวมาโขลกใช้พอกรักษาแผลหนองได้ (หัว)[1]
8. รากกับเหง้าจะมีรสเย็นจืด สามารถนำมาต้มทานเป็นยาขับปัสสาวะได้ (รากหรือเหง้า)[1],[2],[4]
9. ยาที่ต้มจากใบสามารถทานแก้อาการท้องผูกชนิดพรรดึกได้ (ใบ)[2]
10. สามารถใช้ต้น ราก และเหง้าเป็นยาระบายแบบอ่อน ๆ ได้ ด้วยการนำต้น ราก และเหง้ามาต้มทานเป็นยา (ราก, ต้น)[1],[2],[4]
ประโยชน์ต้นกระดาด
1. สามารถทานเหง้าที่ต้มสุกแล้วได้[2]
2. เหง้าสามารถนำมาใส่ในแกงได้[2]
3. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง ช่วยดูดซับความชื้นได้ดี และยังเป็นพืชที่ทำให้เกิดแหล่งน้ำ อย่างเช่น น้ำตก [2],[3]
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. “กระ ดาด เขียว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th. [28 ม.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “กระ ดาด (Kra Dad)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 23.
3. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “กระดาด”. (ไพร มัทธวรัตน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th. [28 ม.ค. 2014].
4. หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. “ก ร ะ ด า ด”.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.floraofbangladesh.com/