ว่านตาลเดี่ยว
กล้วยไม้ดดิน ดอกสีเหลือง ใบรูปหอกแคบ ผลแห้งเป็นรูปขอบขนาน สามารถแตกตามยาว

ว่านตาลเดี่ยว

ว่านตาลเดี่ยว เป็นพืชอายุสั้นอยู่ในตระกูลกล้วยไม้พบได้ในป่ากึ่งผลัดใบและป่าผลัดใบ ชอบแสงแดดส่องถึงและชอบความชื้นสูงเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ซึ่งหลายประเทศตั้งแต่อินโดจีน เวียดนาม ไทย ลาว และพม่า ว่านชนิดนี้มีดอกสีเหลืองสวยงามนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Spathoglottis affinis de Vriese ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ ก็คือ Spathoglottis regneri Rchb.f., Spathoglottis lobbii Rchb.f. อยู่วงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE)[1],[2],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หัวข้าวเหนียว เอื้องหัวข้าวเหนียว เหลืองพิศมร [2],[3]

ลักษณะว่านตาลเดี่ยว

  • ต้นว่าน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในหมู่เกาะแปซิฟิกบางเกาะ ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ และมีการแพร่กระจายตั้งแต่ทางตอนเหนือของอินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะแปซิฟิก ไปถึงทางตอนใต้ของจีน สำหรับประเทศไทยสามารถพบขึ้นได้ที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ทางภาคตะวันตก ที่ตามชายป่าตามลานหินที่มีน้ำซับ ทุ่งโล่งที่ชื้นแฉะ ป่าโปร่ง ต้นตาลเดี่ยวเป็นกล้วยไม้ดิน สูงประมาณ 25-50 เซนติเมตร หัวจะมีขนาดเล็ก มีลักษณะค่อนข้างแบน เป็นรูปทรงแป้นหรือกลมรี จะมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ผิวของตาลเดี่ยวจะเรียบและมีเยื่อบางใสคลุมอยู่ ตาลเดี่ยวเป็นกล้วยไม้ชนิดที่จะทิ้งใบหมด ตอนฤดูแล้งจะเหลือแต่หัว ฤดูฝนจะสร้างใบกับดอก [1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับเวียนเป็นวงรัศมี แผ่นใบจะพับย่นคล้ายกับพัดจีนตามความยาวใบ ใบเป็นรูปใบหอกแคบ ที่ปลายใบจะเรียวแหลม สามารถกว้างได้ถึง 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-50 เซนติเมตร มีใบประมาณ 2-4 ใบต่อต้น[1],[2],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามซอกใบ ในหนึ่งช่อดอกมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ก้านช่อมีความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร ก้านช่อมีลักษณะกลมผอมแต่มีความแข็งแรง จะมีใบประดับเล็กติดอยู่เป็นระยะ ๆ ดอกด้านในช่อโปร่งจะเกิดจากกลางช่อขึ้นไป ก้านดอกตาลเดี่ยวมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงกับกลีบดอกมีลักษณะเป็นสีเหลือง สีเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงรอยขีดตามยาวเป็นสีน้ำตาล กลีบปากจะเป็นสีเหลืองเข้ม โคนกลีบจะมีประสีน้ำตาลหรือสีม่วง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม[1],[2]
  • ผล เป็นผลแห้ง ผลเป็นรูปขอบขนาน สามารถแตกได้ตามยาว[1]

สรรพคุณว่านตาลเดี่ยว

  • ในตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำหัวมาตำผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาทาแก้ฝีได้ (หัว)[1]

ประโยชน์ว่านตาลเดี่ยว

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ตาลเดี่ยว”. หน้า 202.
3. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 6. “เอื้องหัวข้าวเหนียว”.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://toptropicals.com/