หญ้าลูกข้าว
ต้นหญ้าลูกข้าว สามารถพบขึ้นได้ในพื้นที่เปิดโล่ง ตามพื้นที่มีน้ำขัง และพื้นที่ชื้นแฉะ[1] ชื่อวิทยาศาสตร์ Spermacoce ocymoides Burm.f. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Borreria laevicaulis (Miq.) Ridl.
จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]
ลักษณะต้นหญ้าลูกข้าว
- ต้น
– เป็นไม้ประเภทล้มลุก
– ต้นมีความสูงประมาณ 15-40 เซนติเมตร
– ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง - ใบ
– ใบ เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ
– ใบ เป็นรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก
– แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ส่วนเส้นใบมีสีเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล มีขนขึ้นอยู่เล็กน้อยเป็นประปรายทั้งสองด้าน และมีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ[1]
– ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร - ดอก
– ดอก ออกเป็นช่อ โดยจะออกดอกที่บริเวณตามซอกใบ โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคม[1]
– ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก เรียงตัวอัดแน่นกันเป็นช่อรูปครึ่งทรงกลม
– ดอกย่อยมีใบรองรับอยู่ 2 ใบ ดอกย่อยมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีสีเป็นสีขาว โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ - ผล
– ผลเป็นผลสดมีขนาดเล็ก ลักษณะรูปร่างของผลเป็นรูปทรงกลม และผลจะแตกตามขวาง[1]
สรรพคุณต้นหญ้าลูกข้าว
ตำรับยาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้น ในปริมาณประมาณ 2 กิโลกรัม มาผสมกับต้นผักเป็ดแดงทั้งต้นเป็นปริมาณ 2 กิโลกรัม, ต้นแก่นสลัดไดปริมาณ 0.5 กิโลกรัม, มะกรูดจำนวน 30 ผล, มะนาวจำนวน 30 ผล, และเกลือในปริมาณพอประมาณ จากนั้นนำวัตถุทั้งหมดดังที่กล่าวมาดองกับน้ำซาวข้าว ใช้สำหรับดื่มเป็นยาแก้โรคผอมแห้ง (ทั้งต้น)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หญ้าลูกข้าว”. หน้า 51.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Spermacoce_ocymoides
2.https://karakodan.blogspot.com/2014/11/spermacoce-ocymoides.html