ภาวะหัวใจวายเกิดจากการฉายรังสี
การฉายรังสีรักษามะเร็งส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย

การฉายรังสีรักษามะเร็งส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต

การรักษาโรคมะเร็งด้วย การฉายรังสีจะส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนเลือด ของผู้ป่วยทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดเนื่องจากรังสีสร้างผลเสียกับ parenchyma cell ที่อยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด Mucosal Epithelium, Base Cell Epidermis เป็นต้น โดยรังสีจะปล่อยสารที่มีลักษณะเหมือนกับ Histamine ออกมาทำให้ parenchyma cell เกิดอาการบาดเจ็บส่งผลให้ภายในระบบหมุนเวียนของ  เลือดเกิดภาวะอักเสบขึ้น อาการที่สามารถพบได้ เช่น การขยายตัวของหลอดเลือด ( Vascular dilatation ) และมีการเกิดอาการแทรกซ้อนที่บริเวณของหลอดเลือดฝอย หรือการเกิด interstital edema เป็นต้น

ผลกระทบมะเร็งที่เกิดขึ้นเฉพาะที่กับ ระบบไหลเวียนเลือด จะเป็นชนิดเรื้อรังมากกว่าที่จะเป็นชนิดเฉียบพลัน ซึ่งจะมีความต่างกับการบาดเจ็บของ Parenchyma cell ที่มักจะเกิดผลกระทบชนิดเฉียบพลัน เมื่อมีผลกระทบเกิดขึ้นจะส่งผลให้กระบวนการขนส่งสารอาหารจากเลือดแดงที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดงส่งไปยังเส้นเลือดฝอยที่อยู่ในเนื้อเยื่อเกิดขึ้นน้อยลงจนทำให้เส้นเลือดฝอยเกิดการฝ่อตัวลง ( Parenchymal Atrophy ) ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเส้นเลือดฝอยน้อยลง ( Telangiectasis ) ส่งผลให้เส้นเลือดมีการขยายตัวและมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดขึ้นกับเส้นเลือดทุกส่วนที่อยู่ภายในร่างกาย

ผู้ป่วยที่เคยได้รับ การฉายรังสี ที่บริเวณหัวใจสามารถพบว่ามีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น มะเร็งเต้านม Lymphoma Seminoma มะเร็งปอด ซึ่งผลกระทบชนิดฉับพลันที่พบได้แก่ Pericardditus ซึ่งอาการข้างเคียงชนิดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นจะเป็นอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แต่ว่าอาการข้างเคียงชนิดเรื้อรังที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีเป็นระยะเวลาเป็นปีหรือหลายปี คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และเราได้ทำการแบ่งระดับความรุนแรงของผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นทั้งทางคลินิกและ Subclinical ที่จะสามารถบอกถึงความรุนแรงของภาวะ radiotherapy-induced heart disease ได้ดังนี้

1. อาการทางคลินิกที่พบได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจที่มีความเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการเกิดของโรคได้ดังนี้

1.1 กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นแบบเฉพาะที่ ( Regional )

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Artery disease ( CAD )
  • โรคลิ้นหัวใจ ( Valvular disease )
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ( Myocardial infarction ( MI )

1.2 กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นกับทั้งระบบของอวัยวะ ( Global )

  • อาร์ริทเมียจากการรักษามะเร็ง ( Arrhythmia ) หรือภาวะที่หัวใจมีการเต้นที่ผิดจังหวะ
  • Autonomic Dysfranction
  • หัวใจวายจากการรักษามะเร็ง ( Congestive Heart Failure ( CHF ) คือ การที่หัวใจไม่สามารถทำการสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้หรือการทำงานของหัวใจเกิดล้มเหลวส่งผลให้เนื้อเยื่อต่างๆเกิดภาวะขาดออกซิเจน   
  • ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ Pericarditis/Pericardial Effusion

ซึ่งผู้ป่วยจะมีภาวะเสี่ยงมากถึง 1.5-3.5 เท่าก็ต่อเมื่อมีการได้รับรังสีเข้าสู่ส่วนที่เกิดอาการ ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงลักษณะของ Clinical Endpoint ดังนี้

ภาวะหัวใจวายผลกระทบจากการรักษามะเร็ง ( Congestive Heart Failure หรือ CHF )

พบว่าภาวะหัวใจวายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ทำการรักษาด้วย การฉายรังสี มีโอกาสที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่ทำการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอด์กิน ( Hodgkin lymphoma ) ที่ใช้ Subcarinal Blacking พบว่าภาวะหัวใจวายเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากกว่าการเสียชีวิตด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจเกิดภาวะขาดเลือด ซึ่งความเสี่ยงในการเสียชีวิตของผู้ป่วยจะลดลงเหลือเพียงแค่ 1.4 เท่า จากที่มีอันตราเสี่ยงมากถึง 5.4 และต่อมา Adams พร้อมกับคณะของเขายังได้ว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีแบบ Mantle Irradiation นั้นจะมีโอกาสที่จะรอดชีวิตสูงกว่าแต่จะมีความดันเลือดที่เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจบีบตัวเพื่อส่งเลือดเข้าสู่เส้นเลือด (Diastolic) จะมีความผิดปกติมากกว่าความดันเลือดขณะที่อยู่ในการพัก ( Systolic ) อีกด้วย

โรคหัวใจขาดเลือด ( Ischemic Heart Disease )
พบว่าการฉายรังสีเข้าสู่บริเวณหัวใจข้างซ้ายจะส่งผลให้มีภาวะเสี่ยงในการเกิด Cardiac Mortality มากกว่าถึง 1.5 เท่าในการฉายรังสีเข้าสู่หัวใจทางด้านซ้าย และส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.27 เลยทีเดียว

ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ( Pericardial disease )
การเกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นชนิดเรื้อรัง คือเกิดหลังจากที่ผู้ป่วยทำการรักษาด้วย การฉายรังสี ผ่านไปแล้วเป็นระยะเวลาที่นาน ซึ่งการเกิดจะไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ถ้าทำการตรวจจะพบว่ามี  Chronic Pericardial Effusion เกิดขึ้นได้ และส่วนมากอาการที่เกิดขึ้นนี้จะสามารถหายเองได้ แต่ก็มีส่วนน้อยประมาณร้อยละ 20 ที่จะสามารถกลายเป็น Constrictive Pericaditis ซึ่งเมื่อเกิดอาการนี้ขึ้นจำเป็นจะต้องทำ Pericardectomy

โรคลิ้นหัวใจ ( Valvular Disease )
พบว่าการฉายรังสีที่ Internal Mammary node ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติที่บริเวณของลิ้นหัวใจซึ่งความเสี่ยงในการเกิด Valvula Dysfunction มีมากกว่า 3.17 เท่าของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีและมีค่าสูงมากถึงร้อยละ 16-40 คนปกติ

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากการฉายรังสี
ผลกระทบใน การรักษามะเร็ง ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับ การฉายรังสี เข้าสู่บริเวณ mediastinum คือ การที่มีนำเกิดขึ้นภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ( Pericardial Effeusion ) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราว ซึ่งกาสรเกิดชนิดชั่วคราวจะเกิดขึ้นได้มากกว่าและสามารถทำการตรวจด้วยการทำเอกซเรย์หรือหารตรวจด้วยคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง ( Echocardiography ) ซึ่งผลกระทบข้างเคียงที่เกิดขึ้นชนิดชั่วคราวนี้จะสามารถหายเองได้ในระยะ 2-5 เดือนแต่ถ้าเป็นชนิดถาวรต้องทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิด Constricitive Pericarditis ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนนี้ได้ประมาณร้อยละ 6

ซึ่งความสัมพันธ์ระกว่างปริมาณรังสีกับการเกิดอาการแทรกซ้อน พบว่า ที่ปริมาณรังสีต่ำกว่า 40 Gy จะมีการเกิดอาการแทรกซ้อนที่ค่อนข้างน้อยมากและจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของปริมาณรังสี โดยเมื่อมีปริมาณรังสีที่ 50 Gy จะมีความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนร้อยละ 10 และที่ปริมาณรังสี 60 Gy ค่ความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 50 นอกจากนั้นแล้วเมื่อค่า Dose-Volume histogram ( DVH ) ควรมีค่าปริมาณรังสีที่ไม่เกิน 50 Gy ( rV50 ) ด้วย

การมีน้ำอยู่ในช่องเนื้อหุ้มหัวใจสามารถทำการตรวจพบได้เมื่อมีน้ำอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจอย่างน้อย 250 มิลลิลิตร ด้วยการเอกซเรย์ แต่ถ้าทำการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงจะสามารถตรวจพบเมื่อมีน้ำเพียงแค่ 25 มิลิลิตรเท่านั้น แสดงว่าถ้าทำการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงเราจะมีโอกาสพบโรคในระยะเริ่มต้นและสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

โรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี
ผู้ป่วยที่เคยได้รับรังสีมาก่อนที่จะทำการรักษาและในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 42 ปี พบว่าเมื่อได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่ประมาณ 30-50 Gy เข้าสู่ส่วนของ Mediastium จะนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้น แสดงว่าการาฉายรังสีที่หัวใจนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยอการดั้งกล่าวจะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับ การฉายรังสี ไปแล้วประมาณ 5 ปีขึ้นไป

ผู้ป่วยที่รักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการฉายรังสี มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคหัวใจ ซึ่งความเสี่ยงนี้เกิดขึ้นไม่ว่าจะมากหรือน้อย อาการที่เกิดขึ้นคือหลอดเลือดจะแข็งตัวและอุดตัน มีโอกาสในการเกิดโรคหัวใจสูงในเวลาต่อมา

ลักษณะทางพยาธิวิทยา

เมื่อทำการตรวจศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่มีประวัติการรักษาด้วยการฉายรังสีที่มีปริมาณรังสีสูง ๆ เข้าสู่บริเวณ Mediastium จะมีลักษณะดังนี้

1. เยื่อบุหัวใจ ( Endocardium ) และเยื่อหุ้มหัวใจ ( Pericardium ) มีความหนาขึ้นเนื่องตากการที่คอลลาเจนเข้ามาแทนที่ Adipose Tissue

2. มีการเกิด Fibrinous Exudates ที่เป็นทั้งแบบ Fibroblast และแบบ Fibrous Adhesion อีกเป็นจำนวนมาก

3. มีการเกิด Diffuse Interstitial Fibrosis ที่ส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยที่เส้นใยกล้ามเนื้อของกหัวใจจะมีการแยกออกจากกัน โดมีความหนาของคอลลาเจนเข้ามาเป็นตัวแยก

เมื่อทำการศึกษาต่อมาพบว่าผู้ป่วยจะมีการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบลงมากกว่าร้อยละ 75 หลังจากที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีไปแล้วประมาณ 4 ปี

พยาธิกำเนิดและพยาธิสรีรวิทยา

โรคเยื่อหุ้มหัวใจเกิดการอักเสบเนื่องจาก การฉายรังสี สามารถเกิดขึ้นได้เอง ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บของส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจที่เคยได้รับการฉายรังสีมาก่อนหรือไม่ ซึ่งโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 4 เดือนหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีและสามารถหายได้เองในเวลาต่อมา ถ้าไม่มีการเกิด Cardiac Insuffciency ที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บที่พบในกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดขึ้นในภายหลัง ที่จะเข้ามาทำให้โรคเยื่อหุ้มหัวใจมีอาการหนักขึ้นกว่าเดิม

การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดขึ้นหลังจากจากที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีนั้นจะเกิดขึ้นในระยะเวลาต่อมา ก็ต่อเมื่อการฉายรังสีนั้นได้ทำความเสียหายให้กับ Capillary Bed ไปแล้วนั่นเอง ส่งผลให้ความหนาแน่นของหลอดเลือดฝอยที่อยู่ในหัวใจค่อย ๆ มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ทำการฉายรังสีไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน และจะมีการลดลงอย่างรวดเร็วของ Capillary Bed จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีอาการหรือสัญญาณอื่น ๆ ตามมา และการที่กล้ามเนื้อหัวใจมี่สามารทำหน้าที่ได้ โดยที่ก่อนที่ความหนาแน่ของหลอดเลือดฝอยจะลดลงนั้นจะมีการลดลงของการะบวนการ Proliferative Response ของส่วนของ Endothelial Cell รวมถึงมีการที่เอนไซม์ Alkaline Phosphatase ของชั้น Endothelium ด้วย

ประสิทธิภาพในการทำงานและโครงสร้างของระบบเส้นเลือดฝอยจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีแล้วประมาณ 1 ปีหรือมากกว่า

กลไกทางชีววิทยาของ Radiation-Induced Cardiovascular Damage

สามารถอธิบายได้ดังนี้

1.มีการเกิดการเปลี่ยนแปลงหน้าที่แบบ Reversible ที่เกิดขึ้นภายใน Capillary Endothelial Cell

2.Lymphocyte เข้ามา Adhesion โดยมีการทำร่วมกับการเกิด Extrasvastion ของส่วนหลอดเลือด

3.เกิดกระบวนการสร้าง Thrombus ที่จะส่งผลให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กเกิดขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของส่วน capillary ลดลงแบะยังมีการสูญเสียการทำงานของเอนไซม์ Alkaline Phosphatase ด้วย

4.มีการเกิด Proliferation ที่ของ Endothelial Cells อย่างเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับความหนาแน่นของ Capillary ที่มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้เกิดสภาวะขากเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและกลายเป็นพังผืดเกิดขึ้น
ผลกระทบจากการ Fractionation ต่อโรคหัวใจที่มากจาก การฉายรังสี

โรคเยื่อหุ้มหัวใจเกิดการอักเสบจะมีความสัมพันธ์กับประมาณรังสีที่ใช้ในการฉายแต่ละครั้ง โดยที่ถ้าค่าปริมาณรังสีมีค่ามากกว่า 3 Gy จะสร้างผลกระทบให้กับตัวผู้ป่วย โดยพบว่าเมื่อผู้ป่วยมีการได้รับปริมาณรังสีโดยรวมกับเยื่อหุ้มหัวใจด้านหน้าทั้งสองข้างเท่ากันจะส่งผลให้การเกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจมีโอกาสเกิดขึ้นสูงมากกว่าการได้รับรังสีทั้งสองข้างไม่ เท่ากัน

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นต่อกันระหว่างการฉายรังสีให้กับหัวใจร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด

โรคหัวใจจาก การรักษามะเร็ง ที่เกิดจากการใช้ยา Doxorubicin มีโอกาสที่จะสามารถสร้างความเสียหายกับหัวใจได้โดยตรง โดยยา Doxorubicin จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ และยังพบด้วยว่าการให้ยาเคมีบำบัดส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากถึงครึ่งหนึ่งเลยที่เดียว และยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีร่วมกับการให้เคมีบำบัดจะมีโอการเกิดโรคได้มากกว่าผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งด้วย และปริมาณยาที่เหมาะสมในการรักษาคือ ปริมาณยาโดยรวมมีเกิน 450 mg/m2
หรือสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า การเกิด Radiationinduced Heart Disease จะมีโอกาสเพิ่มขึ้นตามปริมาณชองส่วนของหัวใจที่ได้รับรังสี ปริมาณรังสีและ Dose Per Fraction ที่มีค่ามากกว่า 2 Gy ต่อครั้ง
ผลกระทบที่เกิดจากการฉายรังสีที่บริเวณเส้นเลือดใหญ่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดใหญ่ยังไมมีข้อยืนยันที่ชัดเจนเสียทีเดียว แต่ก็มีการศึกษาและรายงานผลได้บ้าง ว่าผลกระทบทีเกิดขึ้นกับเส้นเลือดใหญ่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ มากกว่าจะเกิดขึ้นจากการได้รับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะเส้นเลือดแดงที่ส่วนคอ ( Carotid ) เส้นเลือดที่ออกจากหัวใจ ( Arota ) และเส้นเหลือที่บริเวณต้นขา ( Femora ) ที่ได้รับการฉายรังส่งผลให้มีการเกิด Spontaneous Rupture พบว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะเป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผ่าตัดร่วมด้วย

การรักษา Radiation Induced Cardivascular Disease

1. การใช้ยาที่อยู่ในกลุ่ม Angiotensin Conver Ting Enzyme Inhibitors ( ACEIs )
ประกอบด้วยยา ACEIs และ Statins ที่สามารถช่วยในการลดความดันโลหิต และยังช่วยยับยั้งการสร้าง Angiotensin II ด้วย จึงช่วยทำให้เส้นเลือดเกิดการผ่อนคลาย ยาในกลุ่มนี้สามารถช่วยป้องกันการเกิดของโรคหัวใจที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติและที่เกิดขึ้นจากการได้รับ การฉายรังสี

2. การใช้ยาในการยับยั้งกระบวนการเกิดการอักเสบและกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนการแข็งตัวของลิ่มเลือด ( Inhibition of Inflammatory and Pro-Throbotic Process )
ยาในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่ช่วยยับยั้งการเกด Vasoconstriction และยังความเป็น Antiinflammatory ที่ได้รับการทดลองถึงประสิทธิภาพของยาต้านเกร็ดเลือด Clopidogrel, Antiplatelet, Nitric Oxiderelesing Form  ( NCX 4016 ) ที่สามารถช่วยกระตุ้นให้ Endothelial ที่มีความผิดปกตินั้นกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ นอกจากนั้นแล้ว Antiplatelet กับ Clopidogrel ยังมีความสามารถในการยับบั้งการเกิด Platelet aggregation อีกด้วย

3. การใช้ยาที่อยู่ในกลุ่ม Statins
ยาที่อยู่ในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่สามารถช่วยยับยั้งการสร้าง cholesterol ในผู้ป่วยที่มีอาการโรคหัวใจที่มีได้มีสาเกตุจากการได้รับการฉายรังสี แต่ในส่วนของ Statins จะเข้าไปช่วยในการชะลอการเกิดของ Formation ในส่วนของ Atherosclerotic Plaques และยังสามารถช่วยลดหรือรักษาขนาดของ plaques ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนั้นยังช่วยลดความเสี่ยงของ plaques ที่มีความเสี่ยงจะแตกออกแล้วเกิดเป็นลิ่มเลือดที่เข้าไปอุดตันในเส้นเลือดได้ และยังสามารถช่วยลดอาการอักเสบที่มีได้ด้วย

การรักษาด้วย การฉายรังสี ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะได้ทำการรักษาผู้ป่วยจากโรคมะเร็งให้หายได้โดยที่มีการใช้ Dose Distribution ที่ดีมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดมากขึ้น และพบว่าอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับหัวใจก็มีค่าลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นความพยายามของแพทย์ผู้ทำการรักษาที่มีความพยายามที่จะฉายรังสีให้ตรงกับส่วนที่ต้องการทำลายมากที่สุด โดยที่มีการกระจายของรังสีไปยังส่วนอื่น ๆน้อยที่สุด หรือฉายให้ตรงกับเป้าหมายมากกที่สุดนั้นเอง และยังมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอีกมากมาย และยังมีการใช้ยาเคมีบำบัด การผ่าตัดเข้ามาช่วยในการรักษาเพื่อเป็นการลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการรักษาให้น้อยลง จึงสามารถช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับการรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในบริเวณที่มีความใกล้เคียงกับหัวใจ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง. เชียงใหม่: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557.

Schweizer E. Ueber spezifische Roentgenschaedigungen des Herzmuskels. Strahlentherapie. 18:812-828, 1924.

Cohn KE, Stewart JR, Fajardo LF, et al. Heart disease following radiation. J Med. 46:281-298, 1967.

Gilladoga AC, Corazon M, Tan CC, et al. Cardiotoxicity of adriamycin in children. Cancer Chemother. 6:209-215, 1975.