การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ เป็นการป้องและรักษาผู้ป่วยให้พ้นโรคที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางหัวใจในขั้นต้น

การตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ

การตรวจเลือดเพื่อหาว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ จะมีการตรวจพื้นฐานร่างกายทั่วไปก่อนว่ามีน้ำหนัก ส่วนสูง อัตราการเต้นของหัวใจ อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ หัวใจมีเสียงดังผิดปกติหรือไม่ หากการตรวจเบื้องต้นพบอาการผิดปกติของหัวใจ จะทำการตรวจต่อไปด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ จะทำการตรวจต่อไปด้วยการเอ็ฏซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นหลอดเลือดแดงใหญ่ที่อยู่กะจายเต็มปอด หากพบอาการหัวใจล้มเหลวจะพบเงาอยู่ใจที่เอ็กเรย์พบ ณ จุดนี้ และสุดท้ายการตรวจเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจ หาระดับสารต่างๆของหัวใจ จะช่วยวิเคราะห์แยกแยะโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

มาทำความรู้จักกับหัวใจให้มากขึ้น ถือ ได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุดชนิดหนึ่งของร่างกาย เพราะหากหัวใจเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว ก็อาจจะสร้างความอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยเช่นกัน โดยเฉพาะ ” โรคหัวใจวาย ” หรือ ” โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ” ( AMI ) ที่เป็นโรคที่มีความรุนแรงของโรคสูงมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาไปอย่างมาก จึงสามารถที่จะตรวจวินิจฉัยได้ว่า ใครบ้างที่มีความ เสี่ยงในการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมคอยป้องกัน และรักษาผู้ป่วยให้พ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางหัวใจได้นั่นเอง

ปกติแล้วโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน มักจะไม่มีสัญญาณเตือนใดๆมาก่อน แพทย์อาจจะใช้วิธีการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น อย่างเช่น การตรวจสุขภาพร่ากาย การสอบถามประวัติตัวคนป่วยเองหรือคนใกล้ชิดในครอบครัว การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย เป็นต้น แต่ผลการตรวจค้นคว้าวิจัยล่าสุด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในทางการแพทย์ปัจจุบัน ว่าสามารถตรวจสอบหาความผิดปกติในกรณีเกิดสภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้จากการตรวจเลือด โดยจะตรวจผ่านค่าเอนไซม์ที่สำคัญทางเลือด 6 ชนิด ดังต่อไปนี้

การตรวจสภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดผ่านค่าเอนไซม์ทางเลือด

1. Creatine Kinase-MB เรียกย่อๆว่า CK-MB

คือ เอนไซด์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้เพื่อประเมินภาวะหัวใจวาย สามารถตรวจพบได้ในเลือด ใช้สำหรับวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังใช้ ในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหรือภาวะอื่นๆที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติได้อีกด้วยมีผลการวิจัยจาก คุณหมอ ดร.ชาน ( Dr. W. K. Chan ) ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจระดับนานาชาติ และคณะ แห่งแผนกโรคหัวใจที่โรงพยาบาล United Christian Hospitalณ เกาะฮ่องกง ได้สรุปไว้ว่า เอนไซม์ที่แสดงผลของ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน ( AMI )ในปัจจุบันนี้มีจำนวนการตรวจเลือดที่อาจเชื่อถือได้ 3 ชนิด ก็เพียงพอที่จะสรุปได้แล้ว คือ CK-MB mass , Myoglobin และ Troponin I แต่จำเป็นต้องให้แต่ละตัวยืนยันแสดงผลซึ่งกันและกัน รวมทั้งจำเป็นต้องตรวจเลือด ตามช่วงระยะเวลาที่สัมพันธ์กันด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ผลเลือดแต่ละตัวแสดงปฏิกิริยาความไว ให้เห็นและเป็นไปทางเดียวกัน ให้ผลตรวจออกมาตรงที่สุด

ลักษณะการเกิดสัญญาณของโรค AMI ดังนี้

ชนิดการตรวจเลือดเพื่อยืนยันโรค AMI ณ เวลา นับตั้งแต่เริ่มการเจ็บหน้าอก
ชั่วโมงที่
4-8 8-24 24-72
1 Myoglobin 92.30%
ความไว
2 CK-MB mass 96.20% >92 %
ความไว
3 Troponin I >92 % > 93 %
ความไว

การตรวจวัดค่า CK-MB แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ CK-MB activity และ CK-MB mass สำหรับในปัจจุบันการตรวจแบบ CK-MB mass จะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากสามารถตรวจวัดได้ แม้มีระดับของค่าที่วัดได้ต่ำมากๆ และมีผลเกี่ยวกับ กล้ามเนื้อหัวใจ มากกว่ากล้ามเนื้ออื่นๆในร่างกาย หากค่า CK-MB ที่วัดได้ในตัวผู้ป่วยยิ่งสูงมากเท่าไหร่ ก็ย่อมจะส่งให้มีความเสี่ยงในการเป็นสภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้มากเท่านั้น

การตรวจวัดค่าของ CK-MB mass

การตรวจวัดค่าของ CK-MB mass หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ CK-MB mass ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ CK-MB mass ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป CK-MB mass = 0.6 – 5.0 ng/mL

 

กรณีค่า CK-MB mass มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

ตรวจวัด CK-MB mass ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน

หากค่า CK-MB mass ที่ตรวจวัดได้มีระดับที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน คือ น้อยกว่า 0.6 ng/mL

แสดงว่า สุขภาพของหัวใจแข็งแรงปกติ ยังไม่เกิดการบาดเจ็บ ที่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดสภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดตรวจวัด CK-MB mass ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน

หากค่าของ CK-MB mass ที่ตรวจวัดได้มีระดับที่สูงกว่าค่ามาตรฐาน คือ มากกว่า 0.6 ng/mL แสดงว่า สุขภาพของหัวใจเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้น

แม้อาจจะยังไม่เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรืออาการใดๆของโรค แต่ก็ถือว่ากำลังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันได้เช่นกัน การตรวจพบค่าผิดปกติในทางมาก ถือเป็นสัญญาณโรคหัวใจ ที่จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์โรคหัวใจโดยทันที

2. Myoglobin

Myoglobin คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ในการเก็บออกซิเจน ภายในแต่ละเซลล์ของกล้ามเนื้อทุกแห่งรวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ เปรียบได้เสมือนเป็น “ คลังสำรองออกซิเจน ” ของกล้ามเนื้อ ซึ่งปกติแล้วเซลล์กล้ามเนื้อต่างๆจะได้รับออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงอยู่แล้ว แต่หากมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย ที่กล้ามเนื้อต้องออกแรงโดยใช้ออกซิเจนมากกว่าปกติ จะทำให้ Myoglobin จ่ายออกซิเจนที่เก็บสำรองไว้ออกมาใช้

โดยตัว Myoglobin เองก็อาจจะหลุดลอยเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้พบค่า Myoglobin ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นหากเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันขึ้นในร่างกาย จะส่งผลให้หลอดเลือดแดงไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้เหมือนปกติ ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ได้รับก็น้อยตามไปด้วย กรณีที่เกิดขึ้นนี้ทำให้สาร Myoglobin ต้องทำการจ่ายออกซิเจนสำรองไปให้หัวใจ และอาจมีการหลุดลอยเข้าไปสู่กระแสเลือด โดยอาจใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาทีนับแต่เวลาเกิดเหตุ ซึ่งปกติแล้วไตจะขับ Myoglobin ทิ้งเป็นของเสียออกทางปัสสาวะ จึงทำให้ระยะแรกอาจไม่พบค่าในเลือดที่สูงผิดปกติมากนัก

การตรวจวัดค่าของ Myoglobin

หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ Myoglobin ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ Myoglobin ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป Myoglobin < 90 mcg/L

 

กรณีค่า Myoglobin มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน จะมีอยู่กรณีเดียวคือ ค่าที่ตรวจได้ สูงกว่าระดับปกติ หรือมีค่ามากว่า 90 Mcg/L ซึ่งสรุปในเบื้องต้นได้ว่า มีภาวะความผิดปกติเกิดขึ้นที่หัวใจ โดยหัวใจอาจจะมีปริมาณของออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ จากอาการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ส่งไป ทำให้ต้องมีการใช้ออกซิเจนสำรองจาก Myoglobin โดยในระหว่างที่ Myoglobin มีการนำออกซิเจนสำรองส่งไปให้หัวใจ ก็อาจจะมีออกซิเจนบางส่วนที่สามารถหลุดเข้าไปในกระแสเลือดได้ ทำให้ค่าที่ตรวจพบได้สูงเกินกว่าปกตินั่นเอง ผู้ป่วยที่มีอาการลักษณะนี้ จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีผลการค้นคว้าวิจัย ทำให้อาจยืนยันได้ว่า ภายหลังเกิดเหตุกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดผ่านไปแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง จะปรากฏมี Myoglobin ที่สะสมในเลือดสูงกว่าค่าปกติมากขึ้นอย่างชัดเจน

3. Homocysteine

Homocysteine คือ เป็น กรดอะมิโน ตัวหนึ่ง ที่ร่างกายใช้สร้างกรดอะมิโนชนิดอื่นได้อีกสองชนิดคือ สร้างเป็นเมไทโอนิน ( Methionine ) ซึ่งต้องมีกรดโฟลิก และ วิตามินบี 12 เป็นตัวช่วย หรือสร้างเป็น ซีสเตอีน ( Cysteine ) ซึ่งต้องมี วิตามินบี 6 เป็นตัวช่วย ดังนั้นจะเห็นว่าการมีวิตามินบี 6 บี 12 และกรดโฟลิก จะช่วยทำให้การเผาผลาญ Homocysteine ในร่างกายเป็นปกติ และไม่เกิดภาวะมีโฮโมซีสเตอีนเหลือคั่งค้าง
ดังนั้นหากร่างกาย ขาดวิตามินบี 6 บี 12 และกรดโฟลิก จะทำให้ Homocysteine จะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนตัวอื่น ทำให้มีสาร Homocysteine ค้างปริมาณมากในเลือด ส่งผลให้ไปทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการกระตุ้นการอุดตันของลิ่มเลือดตามมา และเกิดภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลันได้ในที่สุด

การตรวจวัดค่าของ Homocysteine
หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ Homocysteine ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ Homocysteine ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป Homocysteine < 15 mcg/L

กรณีค่า Homocysteine มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน จะมีอยู่กรณีเดียวคือ ค่าที่ตรวจได้ สูงกว่าระดับปกติ หรือมีค่ามากว่า 15 mcg/L สามารถสรุปได้คือ ผู้ที่มีระดับ Homocysteine ในร่างกายสูง จะมีความเสี่ยงในการทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงตามไปด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วจะดีที่สุด

4.CRP ( C-reactive protein ) หรือ hs-CRP

CRP – ( C-reactive protein ) หรือ hs-CRP คือ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจากตับ สารชนิดนี้จะถูกสร้างขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกายได้เกิดการอักเสบขึ้น โดยสามารถตรวจพบได้ในเลือด ซึ่ง CRP นี้ เป็นสารที่มีความอ่อนไหวต่อปฏิกิริยาการอักเสบได้รวดเร็วว่องไวยิ่งกว่าการตรวจด้วยวิธีการหาค่า อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ที่เรียกว่า การตรวจค่า ESR แต่ค่า CRP ที่ได้มาไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดการอักเสบขึ้นที่อวัยวะใด ผลตรวจ CRP มักเรียกว่าค่า lab crp

เมื่อร่างกายเกิดภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน จะส่งผลให้หลอดเลือดแดงอุดตันหรือมีการตีบแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง อาการต่างๆเหล่านี้ จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่กล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้ร่างกายจะมีการสร้าง CRP มากขึ้น ดังนั้น หากตรวจแล้วพบว่ามีค่าของ CRP สูงเกินมาตรฐานให้สันนิฐานไว้ก่อนว่า อาจมีความเสี่ยงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันขึ้นในร่างกายได้

นับตั้งแต่วินาทีแรก ที่หลอดเลือดหัวใจเริ่มตีบตัน ไม่สามารส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ปกติ ทำให้เกิดการอักเสบที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ขึ้น สาร CRP จะถูกสร้างขึ้นมาทันที เนื่องจากมีความไวต่อการอักเสบมาก และแม้ว่าปริมาณของ CRP ในเลือดจะน้อยในช่วงแรกๆ แต่ก็สามารถนำเลือดออกมาวิเคราะห์จนตรวจพบได้

ข้อแนะนำในการตรวจค่า CRP

1. ผู้ที่จะทำการตรวจหาค่า CRP ในเลือดควรเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ ไม่มีอาการของโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบของร่างกาย อย่างเช่น มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดโรคเกาต์ มีอาการฟกช้ำดำเขียว ตามร่างกาย เนื่องจากผู้ที่มีอาการเหล่านี้ มันมีค่าของ CRP สูงอยู่แล้ว จึงทำให้แยกออกได้ยากว่ามีภาวะทางโรคหัวใจหรือไม่ 

2. หากตั้งใจจะตรวจสุขภาพของหัวใจ ก็ควรจะได้ตรวจเลือดหาค่า ทั้ง CRP และ ค่า Lipid Profile ทุกตัวไปด้วยเลย โดยค่าที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ ค่าความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้ทราบรายละเอียดต่างๆของสุขภาพหัวใจตนเองอย่างชัดเจน

3. ผู้ที่เคยมีสภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดมาก่อนจนต้องได้รับการรักษา เช่น การใช้บอลลูนขยายภายในหลอดเลือดหัวใจ และใสหลอดโลหะที่เรียกว่า สเต็นท์ ( Stent ) ให้เข้าไปคาอยู่ในหลอดเลือดหัวใจตรงที่เคยตีบ ให้เลือดสามารถไหลได้ตามปกติ ควรจะได้รับการตรวจ CRP เป็นระยะ เนื่องจากอาจกลับมาเป็นอาการเดิมได้ เมื่อมีไขมันไปอุดตันภายในหลอดเลือดที่ทำบอลลูนไว้

การตรวจวัดค่าของ C-reactive protein ( CRP ) หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ C-reactive protein ( CRP ) ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ C-reactive protein ( CRP ) ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป CRP < 1.0 mg/mL
ค่าที่อยู่ในความเสี่ยง CRP 1.0 – 3.0 mg/mL
ค่าที่มีความเสี่ยงสูง CRP > 3.0 mg/mL

กรณีค่า CRP มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

ตรวจวัด CRP ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน

ในกรณีที่ตรวจวัดค่า CRP ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด ยิ่งมีค่าน้อยกว่า 1 mg/mL มากเท่าใด ก็จะหมายถึงว่า ร่างกายไม่มีการอักเสบใดๆของอวัยวะภายในร่างกายขึ้นเลย รวมถึงหัวใจด้วย

ตรวจวัด CRP ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน

ในกรณีที่ตรวจวัดค่า CRP ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน อาจแสดงผลได้ว่า

  • อาจเกิดอาการอักเสบจากความบกพร่องของร่างกายเอง โดยไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อใดๆ เช่น โรคข้ออักเสบ เป็นต้น
  • อาจเกิดสภาวะเนื้อเยื่อของอวัยวะใดขาดเลือดก็ได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือด ปอดขาดเลือด เป็นต้น
  • อาจเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น โรควัณโรค โรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นต้น 

5. Troponin

โทรโปนิน ( Troponin ) คือ โปรตีนพิเศษชนิดหนึ่ง เป็นชั้นบางๆ อยู่ระหว่างแผ่นใยกล้ามเนื้อ โดยมีบทบาทในการรับประจุแคลเซียมเพื่อการยืด – หดตัวของกล้ามเนื้อ ปกติแล้ว สาร Troponin จะอยู่แต่ในระหว่างชั้นแผ่นใยกล้าม จะไม่มีการหลุดลอดเข้าไปสู่กระแสเลือด แต่เมื่อไรก็ตามที่เกิดภาวะ ต้องมีการออกแรงของกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ ออกแรงนานกว่าปกติ หรือ กล้ามเนื้อต่างๆได้รับออกซิเจนในระดับต่ำมากกว่าปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ทำให้เกิดการบาดเจ็บและอักเสบขึ้นที่กล้ามเนื้อนั้นๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ สาร Troponin หลุดลอดออกจากกล้ามเนื้อเข้าสู่กระแสเลือดได้ จนทำให้สามารถตรวจพบได้ในเลือด ซึ่งค่าที่ได้ก็จะถูกนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป

ประเภทของ Troponin
เราสามารถแบ่งประเภทของ Troponin ได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 ประเภทคือ

1.Troponin C หรือ TnC คือ Troponin ของกล้ามเนื้อโครงร่างทั่วไปของร่างกายที่พร้อมจะจับกับประจุแคลเซียมได้ 4 ตัว

2.Troponin I และ Troponin T หรือ TnI และ TnT คือ Troponin ของกล้ามเนื้อหัวใจ ที่อาจจับกับประจุแคลเซียมได้เพียง 3 ตัว

  • Troponin I : ทำหน้าที่ ยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  • Troponin T: ทำหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง Troponin ทั้งหมดกับ Tropomyosin
    TnI และ TnT จึงถือว่าเป็น “ Cardiac Troponin ” ( โทรโปรนินหัวใจ ) Cardiac Troponin เป็นตัวบ่งชี้ภาวะที่เกี่ยวกับโรคหัวใจ สามารถให้ผลที่แม่นยำ น่าเชื่อถือ และแน่นอนมากยิ่งกว่าผลการตรวจเลือดตัวอื่นๆ แต่ค่าของ Cardiac Troponin ที่ตรวจได้อาจไม่ใช่ผลจากการมีภาวะของ กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือด เพียงอย่างเดียว แต่ค่าที่ตรวจพบได้ อาจมาจากสาเหตุอื่นๆที่กระทบต่อหัวใจ เช่น

1. สาเหตุจากสภาวะผิดปกติหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจ ( Cardiac Causes ) เช่น

  • มีสภาวะโปรตีนพอกกล้ามเนื้อหัวใจ ( Cardiac Amayloidosis )
  • เกิดบาดแผลขึ้นบริเวณหัวใจ จากอุบัติเหตุต่างๆ ( Cardiac Contusion ) เช่น ตกจากที่สูง อุบัติเหตุจากรถยนต์ เป็นต้น
  • สภาวะบาดแผลภายหลังการผ่าตัดหัวใจ ( Cardiac Surgery )
  • เกิดสภาวะหัวใจวาย ( Heart Failure ) แต่ไม่ถึงขนาดกับเสียชีวิต จะมีลักษณะคือ หัวใจอ่อนแรง ไม่สามารถปั๊มเลือดได้เหมือนปกติ เช่น อาจเกิดลิ้นหัวใจรั่ว
  • สภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจ โต ( Hypertrophic Cardiomyopathy )
  • การทำบอลลูนและใส่หลอดห่วงโลหะที่หลอดเลือดหัวใจ ( Percutaneous Coronary Intervention ) เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ปกติ

2. สาเหตุจากสภาวะหรือโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวกับหัวใจ ( No Cardiac Causes ) แต่มีผลกระทบต่อหัวใจ เช่น

  • อาการป่วยร้ายแรงจากสภาวะพิษ เพราะเหตุจากการติดเชื้อ ( Sepsis )
  • การใช้วิธีเคมีบำบัดรักษาในขนาดสูง เช่น รักษาโรคมะเร็ง ( High – Dose )
  • สภาวะไตวาย ( Renal Failure )
  • สภาวะเกิดจากการได้รับพิษ จากการต่อยของแมลงป่อง ( Scorpion Venom )
  • สภาวะโรคลมปัจจุบัน หรือสมองมีปัญหาจากหลอดเลือด ( Stroke )
  • การออกกำลังกายที่เกิดกำลังผิดปกติ ( Very Heavy Exercise ) เช่น วิ่งมาราธอน

ในกรณีที่หัวใจเกิดความผิดปกติ จนทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการบาดเจ็บ จะส่งผลทำให้ ค่า Cardiac Troponin เริ่มปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ 3 ชั่วโมงแรก หลังจากที่มีอาการหัวใจทำงานผิดปกติ และจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ในอัตราสูงสุด นับตั้งแต่ชั่วโมงที่ 8 ไปจนถึงชั่วโมงที่ 72 ทั้งนี้ Cardiac Troponin แต่ละตัวอาจปรากฏค่าในเลือดด้วยช่วงเวลาที่ยาวนานยิ่งกว่า เช่น cTnI อาจนานถึง 7 – 10 วัน และ cTnT อาจนานถึง 10 – 14 วัน
หากในการตรวจเลือดพบค่าของ Cardiac Troponin ได้ผลสูงเช่นเดียวกับการตรวจหาค่า CK-MB mass ที่เกินค่ามาตรฐานทั่งคู่ ก็จะยิ่งทำให้มั่นใจได้เลยว่าเกิดภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI) กับร่างกายแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน

การตรวจวัดค่าของ Troponin

หมายถึง เป็นค่าที่ใช้วัดระดับ Troponin ซึ่งในการตรวจสอบจะมีค่าปกติของ Troponin ดังนี้

ค่าปกติทั่วไป Cardiac Troponin T cTnT ≤ 0.2 ng/mL
ค่าปกติทั่วไป Cardiac Troponin I cTnI ≤ 0.03 ng/mL

กรณีค่า Troponin มีค่าผิดปกติไปจากมาตรฐาน

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีดังนี้

ตรวจวัด Troponin ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน

ในกรณีที่ตรวจวัดค่า Troponin ได้น้อยกว่าค่ามาตรฐาน ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด ยิ่งมีค่าน้อยเท่าใดก็จะหมายถึงว่า กล้ามเนื้อหัวใจไม่ถูกกระทบกระทั้งเลย เป็นค่าที่ดีที่ควรมี 

ตรวจวัด Troponin ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน

ในกรณีที่ตรวจวัดค่า Troponin ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน อาจแสดงผลได้ว่า

  • อาจเกิดสภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • อาจเกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหัวใจ

6. CK-MB mass

CK-MB mass คือ เป็นค่าในการตรวจเลือดที่ค้นพบล่าสุด โดยอาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Creatine Kinase-MB หรือ CK-MB นั่นเอง

การตรวจทั้ง 6 วิธีที่ได้กล่าวไปทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นความโชคดีของมนุษย์เรา ที่วงการแพทย์สามารถหาวิธีในการตรวจวินิจฉัยสภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้สำเร็จ เนื่องจากโรคนี้มีความอันตรายของโรคที่สูงมาก และมักไม่มีอาการเตือนใดๆก่อนทั้งสิ้น หากเกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายใดแล้ว ถ้าไม่สามารถนำผู้ป่วยส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา ก็อาจจะเกิดความสูญเสียได้เลยทีเดียว ดังนั้นหากคิดว่าตนเอง อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเป็นสภาวะโรค กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดแล้วละก็ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายตนเองก่อนจะดีที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4

“Venipuncture – the extraction of blood using a needle and syringe”. Retrieved June 21, 2012.

MacLennan CA, van Oosterhout JJ, White SA, Drayson MT, Zijlstra EE, Molyneux ME (July 2007). “Finger-prick blood samples can be used interchangeably with venous samples for CD4 cell counting indicating their potential for use in CD4 rapid tests”. AIDS (London, England). 21 (12): 1643–5. PMC 2408852 Freely

Aaron SD, Vandemheen KL, Naftel SA, Lewis MJ, Rodger MA (2003). “Topical tetracaine prior to arterial puncture: a randomized, placebo-controlled clinical trial”. Respir Med. 97 (11): 1195–1199.