น้ำผลไม้สดปั่น แหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น
น้ำผลไม้สด แหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น

สารจับออกซิเจน

เชื่อว่าทุกคนคงจะคุ้นเคยกับการเกิดสนิมของเหล็กและเหล็กกล้ากันเป็นอย่างดี การเกิดสนิมของเหล็กกล้า การเกิดสนิมเหล็ก (เหล็กออกไซด์) เป็นผลมาจากการเติมออกซิเจน (ออกซิเดชั่น) เป็นปฏิกิริยาเคมีระหว่างเหล็กกับออกซิเจนในอากาศ เหล็กจะไม่เกิดสนิมหากเอาเฉพาะเหล็กและออกซิเจนมาไว้ด้วยกัน การเกิดสนิมของเหล็กจำเป็นต้องมีตัวเหนี่ยวนำ และตัวเหนี่ยวนำตามธรรมชาติที่ทำให้เหล็กเป็นสนิมก็คือ ความชื้น น้ำ และอากาศ เป็นการทำงานประสานแบบร่วมด้วยช่วยกันอย่างสมบูรณ์แบบที่ทำให้ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับเหล็กและเกิดเป็นสนิมขึ้น เมื่อมีสนิมเคลือบผิวนอกของเหล็ก ปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนก็จะชะลอตัวลง เพราะว่าออกซิเจนจะแทรกตัวลงไปถึงเนื้อเหล็กที่ยังไม่เป็นสนิมได้ยากขึ้น สนิมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าออกซิเจนสัมผัสผิวเหล็กไม่ได้ ถ้าเราเอาสนิมกับตัวการเกิดสนิมคือสัญญาณที่แสดงถึงความเก่า ความแก่ หรือความชรา และความชราภาพของเหล็ก กล่าวคือ ถ้าแก่เกินวัยเมื่อเทียบกับเหล็กซึ่งอยู่ในที่แห้งก็ไม่เป็นสนิม

[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

รายการ สารจับออกซิเจน ต่างๆ

วิตามินเอและสารพวกแคโรทีน

วิตามินเอที่มีในอาหารแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ วิตามินเอชนิดน้ำมัน ( เรทินอล ) ได้จากสัตว์ โดยเฉพาะจากตับ เช่น น้ำมันตับปลา เรทินอลมักจับอยู่กับกรดไขมัน เช่น กรดพาลมิทิก อีกรูปแบบหนึ่งของวิตามินเอ คือ เบตาแคโรทีนที่ได้จากพืช เบตาแคโรทีนจะเปลี่ยนสภาพเป็นวิตามินเอภายในร่างกาย ดังนั้น ในบางครั้งจึงเรียกสารชนิดนี้ว่า สารต้นกำเนิดของวิตามินเอ เป็นที่ทราบกันว่า เบตาแคโรทีนมีความสำคัญ ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและป้องกันโรคตาบอดกลางคืน โภชนสารสำคัญชนิดนี้มักเป็นส่วนหนึ่งของระบบอาหาร ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและการแก่ก่อนวัย ในฐานะชีว สารจับออกซิเจน เบตาแคโรทีนเป็นสารจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการหลายอย่างของร่างกาย และเป็นสารป้องกันภายในที่ให้ผลดีเยี่ยมต่อการเกิดสภาพเกรียมแดด

วิตามินเอชนิดน้ำมัน แม้จะเป็นชนิดที่ใช้ในโภชนาการ แต่ก็มีคุณสมบัติสู้แคโรทีนไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายเก็บสะสมวิตามินเอชนิดน้ำมันไว้ตามเนื้อเยื่อต่างๆ หากร่างกายสะสมวิตามินเอเอาไว้มาก ๆ อาจก่อให้เกิดพิษภัยได้ เช่น ทำให้ง่วงนอน หงุดหงิด และปวดศีรษะ การให้อาหารประเภทตับเป็นส่วนประกอบแก่หญิงมีครรภ์มากๆ หรือการให้วิตามินเอชนิดน้ำมัน ต้องบอกเลยว่าข้อห้ามเด็ดขาด เพราะเคยปรากฏแล้วว่าทารกที่คลอดออกมาพิการ เนื่องจากขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์ได้รับวิตามินเอชนิดน้ำมันเกินขนาด มาตรวัดปริมาณวิตามินเอชนิดน้ำมันใช้เป็นหน่วยสากล (IU) ถ้าใช้เสริมอาหารห้ามกินเกินวันละ 7,500 หน่วยสากล โดยทั่วไปแล้วเพียง 2500 หน่วยสากลก็เพียงพอ ปริมาณนี้เป็นปริมาณที่แนะนำในยุโรป ซึ่งเท่ากับเรทินอล 800 ไมโครกรัม ส่วนทางสหรัฐฯ แนะนำให้รับได้ถึง 5,000 หน่วยสากล หรือเท่ากับเรทินอล 1,600 ไมโครกรัม

อาหารที่มีเบตาแคโรทีน ไม่ปรากฏว่าทำให้เกิดพิษเนื่องจากร่างกายจะเปลี่ยนแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอตามที่ต้องการเท่านั้น ส่วนที่เหลือก็ขับถ่ายทิ้งไป แคโรทีนเป็นสารที่ละลายได้ในน้ำและกระจายไปทั่วร่างได้อย่างรวดเร็ว ขนาดเดียวกันร่างกายก็ขับถ่ายออกได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงต้องกินอาหารที่มีสารชนิดนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะคงระดับวิตามินเอในกระแสเลือดอยู่ตลอดเวลา เบตาแคโรทีนส่วนเกินที่ร่างกายได้รับจากอาหาร ซึ่งมีทางเป็นไปได้ทางเดียวคือ ได้จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตขึ้น และเบตาแคโรทีนบริสุทธิ์จะเปลี่ยนสีเป็นไขมันในร่างกาย ทำให้ผิวหนังเป็นสีเหลืองน้ำตาล ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้เป็นที่นิยมในหมู่คนที่ต้องการมีผิวสีน้ำตาลโดยไม่ต้องออกแดด
สารจำพวกแคโรทีนอยด์เท่าที่รู้จักกันมีอยู่มากกว่า 600 ชนิด ทุกชนิดมีศักยภาพที่จะเป็นชีว สารจับออกซิเจน แต่เบตาแคโรทีนเป็นรูปแบบทางโภชนาการที่ดีที่สุดของแคโรทีนอยด์ ที่มีฤทธิ์แรงในการจับออกซิเจนและมีอยู่ในอาหาร มีรูปแบบที่สำคัญดังนี้  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

  • ไลโคปีน (มะเขือเทศ)
  • อัลฟาแคโรทีน (แครอท)
  • เบตาคลิพโทแซนทิน (ส้มต่างๆ)
  • ลิวทีนและซีแอกแซนทิน (ผักโขม หรือผักขม และบรอกโคลี)
  • แคนทาแซนทิน (มีอยู่ทั่วไปในอาหาร)

ตารางที่แสดงปริมาณวิตามินเอ ซี และอี ซึ่งมีอยู่ในอาหาร

วิตามินเอ (แคโรทีน) จากผัก (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)
หัวแครอทแก่ดิบ 8115
หัวแครอทต้ม 7560
หัวแครอทอ่อนดิบ 5330
มันเทศต้ม 3960
 ผักโขมต้มและพริกแดง  3840
 ผักโขมดิบ  3535
 ผักโขมกระป๋องอุ่น  3370
แพงพวยน้ำ, ผักแช่แข็งต้ม 2520
ถั่วงอกเขียวต้ม 2270
มันฝรั่งเผา 1840
ซุปมะเขือเทศข้น 1300
มัสตาร์ดและเครส 1280
แมงเกเทาต์กวนและทอด 725
แมงเกเทาต์ต้ม 665
มะเขือเทศดิบ 640
ต้นหอมดิบ 620
คูร์เกตสด 500
บร็อกโคลีต้ม 475
กระเจี๊ยบต้ม 465
กะหล่ำเขียวดิบ 385
ผักกาดหอมเขียว 335
กะหล่ำปมต้ม 320
พริกเขียวดิบ 265
ถั่วเมล็ดกลมสดต้ม 250
ถั่วปากอ้าต้ม 225
มะเขือเทศกระป๋อง 220
ถั่วสีเขียว (แช่แข็ง) ปรุงสุก 180
สวีทต้ม 165
ยี่หร่าสด 140
ข้าวโพดกระป๋องอุ่น 110
แตงกวาดิบ, กะหล่ำดอกต้ม, ถั่วกระป๋อง 60
กะหล่ำดอกสด, เซเลอรี 50
กะหล่ำปลีขาวดิบ, หอมใหญ่ทอด 40
หัวบีทต้ม 27
ถั่วแขกต้ม, เทอร์นิพ 20
มันฝรั่ง, เห็ด, หัวผักกาด 0

ตารางแสดงปริมาณ วิตามินเอ (แคโรทีน) ที่อยู่ในสมุนไพรและเครื่องเทศ (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)

วิตามินเอ (แคโรทีน) สมุนไพรและเครื่องเทศ (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)
ผักชีสด 4040
หริกขี้หนู, พริกชี้ฟ้า 3625
เซจตากแห้ง 3540
ใบไทม์ตากแห้ง 2280
พริกป่น 2100
โรสแมรีตากแห้ง 1880

 

ตารางแสดงปริมาณวิตามินเอ (แคโรทีน) ที่มีในผลไม้ (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)

วิตามินเอ (แคโรทีน) จากผลไม้ (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)
มะม่วงสุก 1800
มะม่วงกระป๋อง 1470
แตงแคนตาลูป  1000
มะละกอ 810
เสาวรส 750
แอปริคอทแห้ง 545
แอปริคอทดิบ 405
พลัมดิบ 295
มะละกอกระป๋อง 255
แดมซันกวน 240
แตงโม 230
มะกอกฝรั่ง 180
แอปริคอทกระป๋อง  155
ฝรั่งกระป๋อง 145
ส้มแมนดารินกระป๋อง 105
ส้มจีน 97
แบลกเคอเเรนต์กวน 78
คลีเมนไทน์, ลูกท้อกระป๋อง, ซัทสึมะ 75
แบลกเบอร์รีกวน 68
พลัมกวน 62
มะเดื่อแห้ง 59
ลูกท้อสด 58
ท้อเปลือกเรียบสด, แตงฮันนีดิว 48
กูสเบอร์รีกวน 41
กีวีสด 37
ส้มสด, โกฐน้ำเต้า 28
เชอร์รีสด 25
กล้วย 21
สาลี่สด 19
มะนาวฝรั่ง, สับปะรดสด, แอปเปิ้ล 18
องุ่น 17
เกรฟฟรุต (ส้มแก้ว), อินทผาลัมสด 15
แอปเปิลกวน 14
ลูกเกด, แตงซัลทานา 12
สับปะรดกระป๋อง 0
อะโวคาโด 11
ผลไม้รวมแห้ง 9
สตรอเบอร์รี 8
เคอร์แรนต์ 6
ราสพ์เบอร์รี, ส้มแก้วกระป๋อง, ลิ้นจี่, แตงแกลเลีย, เปลือกส้ม, สาลี่กระป๋อง 0 หรือน้อยมาก

 

ผลไม้ตระกูลแตงมีประโยชน์มาก ผลไม้เหล่านี้มีค่าวิตามินเอตั้งแต่ 0 คือ แตงแกลเลีย แตงโม 230 และสูงสุดคือแตงแคนตาลูป 1000 แอปริคอตมีวิตามินเอสูงเมื่อทำแห้ง แต่ผลไม้อื่น เช่น ลูกเกด องุ่นแห้ง มีคุณค่าต่ำลง [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

วิตามินบี

วิตามินบีประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิด มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร วิตามินกลุ่มนี้มักไม่ถือว่าเป็นสารจับออกซิเจน แต่วิตามินกลุ่มนี้เป็นวิตามินที่ยังคงพึ่งพาวิตามินที่เป็นสารจับออกซิเจนอยู่ เช่น วิตามินซี

กรดโฟลิก (วิตามินบี ซี) และ ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี2) เป็นวิตามินบีที่สำคัญในฐานะที่เป็นปัจจัยในการจับออกซิเจน วิตามินทั้งสองนี้พบได้ทั่วไปในอาหาร แต่มักเกิดภาวะการขาดกรดโฟลิกได้ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าการขาดวิตามินชนิดนี้สามารถทำให้ทารกพิการ สำหรับบทบาทของวิตามินอีร่วมกับวิตามินซีซึ่งเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อการเป็นโรคหัวใจ

ในวงการโภชนาการ มีความตื่นกลัวในเรื่องการขาดกรดโฟลิกซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สุขภาพ ดังนั้น ในแผนโภชนาการเกี่ยวกับสารจับออกซิเจนที่เหมาะสมจะต้องเพิ่มกรดโฟลิกเข้าไปด้วยอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม

การขาดวิตามินบี2 มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีปัญหาเรื่องตาและการอักเสบระบมเรื้อรัง อาการเหล่านี้มักบรรเทาได้ด้วยโภชนาการสารจับออกซิเจนชนิดหลัก ๆ

วิตามินซี

โภชนาการสารจับออกซิเจนที่สำคัญเป็นวิตามินที่สำคัญด้วย วิตามินซีมีความสามารถในการฟื้นฟูวงจรทางเคมีต่าง ๆ ในระดับเซลล์ และเป็นตัวขับเคลื่อนของระบบการจับออกซิเจนหลายระบบ ความจริงแล้ววิตามินซีไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวทำงานโดยตรง ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของกระบวนการทางเคมี วิตามินซีเป็นเพียงตัวกระตุ้นสารต่าง ๆ ที่ไม่สามารถทำงานได้นอกจากความช่วยเหลือของวิตามินซีเท่านั้น วงจรของสารจับออกซิเจนในการใช้สารอาหารที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ยูบิควิโนน (Co-Q10) เป็นตัวอย่างที่ช่วยให้คิดว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องกินในลักษณะสารอาหารเสริม เพราะว่าวิตามินซี สามารถทำให้ร่างกายสร้างยูบิควิโนนขึ้นได้ภายในเซลล์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิดที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับ โค-คิว10 อาจเกิดขึ้นเองได้ในร่างกายด้วยการอาศัยวิตามินซี

วิตามินซีเป็นวิตามินชนิดละลายน้ำ มีอยู่ทั่วไปในผลไม้และผัก สัตว์เลือดอุ่นบางประเภทสามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ขึ้นได้เองในร่างกาย แต่มนุษย์ขาดสมรรถภาพทางด้านนี้ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากอาหาร การที่สัตว์บางประเภทยังสามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้เองและยอมรับว่าวิตามินซีเป็นเพียงตัวกระตุ้นระบบการรับและให้ออกซิเจนภายในเซลล์มากกว่าเป็นตัวกระทำน่าจะเป็นความถูกต้อง การที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีขึ้นเองได้นั้น คาดว่าแต่ก่อนมนุษย์ได้รับสารอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีอยู่เป็นเวลานานนานจนกระทั่งร่างกายหรือวิธีสังเคราะห์วิตามินชนิดหมดไป

ตารางปริมาณวิตามินซีที่ได้จากผัก (มิลลิกรัมต่อ100 กรัม)

วิตามินซีจากผัก (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)
พริกหวานแดงดิบ 140
พริกหวานเขียวดิบ 120
กะหล่ำปมดิบ 90
พริกหวานแดงสุก 81
สาหร่ายเคลป์ต้ม 71
พริกหวานเขียวสุก 69
แพงพวยน้ำ 62
กะหล่ำดอกสด, กะหล่ำปมต้ม 60
กะหล่ำแดงดิบ 55
แมงเกเทาต์ปรุงสุก 54
กะหล่ําเขียวดิบ 49
บรอคโคลีสุก, มะเขือเทศเผา 44
กะหล่ำดอกดิบ 43
มัสตาร์ดและแพงพวย 40
ซอสมะเขือเทศข้น 38
กะหล่ำขาวดิบ 35
ถั่วงอกเขียวต้ม 30
ผักโขมดิบ 26
กะหล่ำดอก, ต้นหอมดิบ, ผักโขมต้ม 25
คูร์เกตสด 21
กะหล่ำดอกสุก, เสาวรส, กะหล่ำเขียวต้ม 20
กระเทียมดิบ 17
หัวพาร์สมิพ, หัวผักกาดแดง,มะเขือเทศ, มันเทศ 17
คูร์เกตทอด,มันเทศต้มทั้งเปลือก, หัวผักกาดสวิดต้ม 15
มันเทศเผาทั้งเปลือก 14
มันฝรั่งอบ, ถั่วเมล็ดกลมต้ม, มะเขือเทศกระป๋อง 12
หน่อไม้ฝรั่ง, หัวพาร์สนิพต้ม, หัวผักกาดเทอร์นิพต้ม 10
เซเลอรีต้ม 8
กระเทียมยักษ์ต้ม, ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด 7
แครอทแก่ดิบ 6
หอมใหญ่ดิบ, หัวบีทดิบและต้ม, ผักกาดหอม 5
ผักกาดหอมไอศเบิก, แครอทแก่สุก, ยี่หร่าดิบ 3
แครอทกระป๋องอุ่น ,เห็ด 1
หัวบีทดอง 0

 

ตารางปริมาณวิตามินซีที่ได้จากผลไม้ (มิลลิกรัมต่อ100 กรัม)

วิตามินซีจากผลไม้ (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)
 ฝรั่งกระป๋อง  180
 แบลคเคอเเรนต์กวน 115
 สตรอเบอรี่สด 77
 มะละกอ 60
 ผลกีวี 59
 มะนาวฝรั่ง 58
 คลีเมนไทน์, ส้ม 54
 ลิ้นจี่สด 45
 มะม่วงดิบ, ท้อเปลือกเรียบ  37
 เกรฟฟรุต (ส้มแก้ว) สด  36
 เกรฟฟรุต (ส้มแก้ว) กระป๋อง  33
 ราสพ์เบอรี่ดิบ  32
 ลูกท้อสด  31
 ลิ้นจี่กระป๋อง  28
 กูสเบอร์รี่กระป๋อง, ซัทสึมะ  27
 แตงแคนตาลูป  26
เสาวรส 23
สลัดผลไม้ทำเอง 16
ส้มแมนดารินกระป๋อง 15
แตงแกลเลีย ผลไม้รวมกระป๋อง 14
 อินทผลัมสด, กล้วย, เชอรี่, กูสเบอร์รี่กวน 12
 แอปเปิลกวน, แบลกเบอร์รีกวน, มะม่วงกระป๋อง  10
 แตงฮันนีดิว 9 9
 แตงโม 8
 อะโวคาโด, สาลี่  6
 แอปริคอทกระป๋อง, แดมซัน, ลูกท้อกระป๋อง, โกฐน้ำเต้ากวน   5
 องุ่น, สาลี่กระป๋อง, พลัม 3
แอปริคอตแห้ง, ผลไม้รวมตากแห้ง, ลูกเกด, ซัลทานา 1

 

ปัจจุบันอาหารที่ให้วิตามินซีอาจมีน้อยหรือมีวิตามินซีในปริมาณที่น้อยกว่าในสมัยก่อน ในขณะเดียวกันปริมาณที่ทางยุโรปและสหรัฐแนะนำก็น้อยมากเช่นเดียวกันคือ ให้ได้รับวันละ 60 มิลลิกรัม แต่รายการโภชนาการ สารจับออกซิเจน ส่วนมากกลับแนะนำว่าควรได้รับอย่างน้อยวันละ 200 มิลลิกรัม [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ร่างกายของเราแต่ละคนมีความไวต่อวิตามินซีไม่เท่ากัน อาการที่พบได้บ่อยคือ ทวารหนักระบมและท้องเดิน จึงต้องระมัดระวังให้มากหากจะใช้วิตามินซีเกินกว่าวันละ 1-2 กรัม นอกเหนือไปจากที่มีในอาหารที่ได้รับอยู่ตามปกติแล้ว
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการเกิดภาวะความเป็นกรดมากเกินไป แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้วิตามินซีชนิดเป็นกลาง เช่น แคลเซียมแอสคอร์เบต ซึ่งร่างกายจะขับถ่ายวิตามินซีออกได้เร็วมาก ดังนั้น หากจะใช้วิตามินซีเสริม ควรแบ่งขนาดเป็นขนาดย่อย กินสม่ำเสมอตลอดวัน แทนที่จะกินวิตามินซีขนาดสูงแทนวันละมื้อเดียว
ในปัจจุบันเชื่อว่าวิตามินซีเป็น สารจับออกซิเจน หลักที่ให้ผลดีหลายประการ เช่น เพิ่มภูมิต้านทาน บรรเทาอาการไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ลดโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจและการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันการแก่ก่อนวัย ย่นระยะเวลาการสมานแผลและการบาดเจ็บ และหยุดอาการเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับวิตามินซี นั้น เป็นสารจับออกซิเจนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในส่วนของวิตามินซีเองไม่ได้เป็นอะไรที่วิเศษอย่างที่คิด เบต้าแคโรทีนก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสารจับออกซิเจนที่มีประโยชน์มาก แต่จากการทดลองใช้สารนี้เพียงอย่างเดียว ผลปรากฏว่าสารนี้สามารถก่อปัญหามากกว่าที่จะแก้ปัญหา แม้จะเพิ่มวิตามินอีลงไปช่วยทั้งวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารจับออกซิเจนถึง 3 ชนิด ก็ยังไม่ปรากฏว่าสารทั้ง 3 เมื่อใช้ร่วมกันแล้วจะแก้ปัญหาทั้งหมดได้

โค-คิว10 (ยูบิเดคารีโนน หรือยูบิควิโนน10)

ยูบิควิโนน (Ubiquinone) หรือที่เป็นที่รู้จักกันในนาม โค-คิว10 เป็นสารควิโนน (Quinone) ชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ในทุกแห่งของร่างกาย สารนี้ไม่ได้เป็นวิตามิน แต่เป็นเอนไซม์ของร่างกายซึ่งทำหน้าที่เป็น สารจับออกซิเจน และทำลายอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสารเคมีทำลายเซลล์ จึงมีบทบาทในการป้องกันเซลล์ที่มีชีวิต ยูบิควิโนนมีความคล้ายกับวิตามินเค2 มากคือ ทั้งสองเป็นสารที่ละลายในไขมัน ถ้าใช้กิน มักใช้ในรูปสารละลายหรือในรูปผงละเอียด (วิตามินเคก็ทำหน้าที่เป็นสารจับออกซิเจนด้วย) ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานที่แสดงว่าสารนี้มีประสิทธิภาพต่อโรคเหงือกและความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษากันอยู่ โดยมีความหวังว่าสารนี้จะมีประโยชน์ เพราะเป็นสารที่ให้ความปลอดภัยสูงเมื่อรับประทาน สารนี้มีคุณสมบัติไม่ต่างไปจากโภชนาสารจับออกซิเจนชนิดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซีและไบโอฟลาโวนอยด์

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายอย่างมีโค-คิว10 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความมุ่งหมายให้เป็น สารจับออกซิเจน แต่ยังมีข้อกังขาในเรื่องของการดูดซึมสารนี้ มีการทำโค-คิว10 ปริมาณสูงถึง 100 มิลลิกรัมหรือมากกว่านั้น ในรูปเม็ดหรือแคปซูลออกจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ปริมาณการดูดซึมของเอนไซม์ชนิดนี้ต่ำมากจนไม่คุ้มที่จะซื้อ เพราะในคนเรามีสารชนิดนี้เพียงพอแล้ว และไม่ต้องการเพิ่มแต่อย่างใด

การเพิ่มขึ้นของปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด สามารถส่งผลให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายคนเรา ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปจนถึงระดับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ ดังนั้นวิตามินต่างๆจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการจับออกซิเจน

ไซยานินและโอลิโกเมอริก โพแอนโทไซยานิดิน (OPCs)

ไซยานิน (Cyanin) มีที่มาจากภาษากรีก ไคอะนอส (Kyanos) แปลว่าสีน้ำเงิน คำต่อท้ายหรืออาคม ซัยแอน (Cyan) ในชื่อสารเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าสารเหล่านี้จะมีความเกี่ยวข้องกับซัยอะไนด์เสมอไป สารจำพวกแอนโทไซอะนิน และ โพรแอนไทซัยอะนิดิน พบได้ทั่วไปในพืชและมีความเกี่ยวข้องกับไบโอฟลาโวนอยด์อย่างใกล้ชิด สารเหล่านี้ให้สีและเป็น สารจับออกซิเจน ซึ่งอาจมีความสำคัญในการคงสมดุลของการรับและให้ออกซิเจนในระดับสูง [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ซัยอะไนด์เป็นยาพิษและสารนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีและแพร่หลายมากที่สุดด้วยไฮโดรเจนซัยอะไนด์บริสุทธิ์ เป็นตัวขัดขวางการทำงานของออกซิเจนในร่างกายและปิดกั้นการทำงานของระบบเอนไซม์ตามธรรมชาติ ทำให้สารนี้มีพิษร้ายแรงมาก เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นการสูดดมหรือกินก็ทำให้ถึงแก่ความตายได้อย่างรวดเร็ว

โมเลกุลของซัยอะไนด์ ประกอบด้วยคาร์บอนจับกับไนโตรเจนและสามารถไปจับกับสารอื่น ๆ ดังปรากฏในสารอินทรีย์หลายชนิด และดังที่ปรากฏในอาหารต่าง ๆ อาหารที่มีซัยอะไนด์ ( ในรูปไกลโคไซด์ ) คือมีเปลือกเมล็ดอัลมอนด์ เป็นสารออกฤทธิ์รู้จักกันในชื่อว่า วิตามินบี17 แลทริล หรืออะมิกดาลิน ได้มีการโฆษณาให้ใช้สารนี้ในแผนการรักษาโรคมะเร็งแบบองค์รวม และเชื่อว่ามันได้ผลซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ถ้าไม่ติดที่ส่วนของซัยอะไนด์ในโมเลกุลซึ่งมีพิษถึงตายและอะมิกดาลินก็คงจะมีคุณสมบัติในการจับออกซิเจนอยู่บ้าง การใช้สารนี้ต้องใช้ในลักษณะการเสริมเข้าไปในแผนการรักษาซึ่งเรียกว่าการรักษาแบบองค์รวม ในสหราชอาณาจักรต้องใช้สารนี้ตามใบสั่งยา แต่ประเทศอื่นหรือในหลาย ๆ ประเทศสามารถซื้อหาสารนี้ได้โดยเสรี

วิตามินอี : ดี-แอลฟาโทโคเฟอรอล

วิตามินเอเป็นวิตามินชนิดละลายในไขมันที่อยู่ตามธรรมชาติในถั่วเหลือง จมูกข้าวสาลี เมล็ดพืชที่กำลังงอก ( ถั่วงอก ) ผักสีเขียวเข้ม ไข่ เมล็ดผลไม้เปลือกแข็ง และน้ำมันพืช

วิตามินตามความหมายทั่วไปมักหมายถึง แอลฟาโทโคเฟอรอล แต่ก็ยังมีโทโคเฟอรอลอย่างอื่นอีก เช่น เบตา-และแกมมา-โทโคเฟอรอล โทโคเฟอรอล ทุกรูปแบบมีฤทธิ์จับออกซิเจน และมักมีส่วนร่วมอยู่ในอาหารธรรมชาติที่มีวิตามินเอด้วย ไม่ว่ารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบ ในธรรมชาติดี-แอลฟาเป็นรูปแบบที่มีฤทธิ์แรง จากการสังเคราะห์ ดีแอล มีฤทธิ์อ่อนกว่า แต่ทางด้านชีววิทยาแล้วถือว่าเป็นสารที่มีลักษณะทางเคมีที่ใกล้เคียงกับ ดี-แอลฟา-โทโคเฟอรอล สามารถถือได้ว่าเป็น สารจับออกซิเจน ได้ทั้งนั้น และในฐานะเป็นสารป้องกันด้วย

ตารางวิตามินอีในอาหาร (มิลลิกรัมต่อ100 กรัม)

แหล่งที่พบวิตามินอี (ไมโครกรัมต่อ100 กรัม)
น้ำมันจมูกข้าวสาลี 136.65
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน 49.22
น้ำมันเมล็ดคำฝอย 40.68
เฮเซลนัท 24.98
เฮเซลนัท 24.98
เมล็ดอัลมอนด์ 23.98
จมูกข้าวสาลี 22
น้ำมันตับปลาคอด 20
น้ำมันข้าวโพด 17.24
น้ำมันถั่วเหลือง 16.29
น้ำมันถั่วลิสง 15.16
ข้าวโพดคั่ว 110.3
มาร์ซิแพนทำเอง 10.82
ครีมทาขนมปังไขมันต่ำ 8.00
บราซิลนัท 7.18
ซอสมะเขือเทศข้น 5.37
สะระแหน่สด 5.00
มันเทศต้ม 4.39
พีแคน 4.34
มันฮ่อ 3.83
อะโวคาโด 3.83
มุสลี 3.20
ขนมเค้ก 2.83
รำข้าวสาลี 2.60
แป้งเปียกทาฮินิ 2.57
เมล็ดงา 2.53
พาสตรีจากธัญพืชทั้งเปลือก 2.37
เค้กข้าวโอ๊ต 2.14
แบลกเบอร์รี 2.03
วีทพัพ 2.00
มะกอกฝรั่ง 1.99
ข้าวโอ๊ตหมด 1.50
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 1.30
ขนมปังข้าวไร้ 1.20
มะม่วง 1.05
แบลกเคอร์แรนต์ 1.00

[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

อาหารดังกล่าวมีประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยเรื่องสมดุลการรับและให้ออกซิเจน จากการวิจัยในเรื่องวิตามินอี บ่งชี้ว่าสารจำพวกโทโคไทรอีนอล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นสารขจัดอนุมูลอิสระฤทธิ์แรงสามารถพบได้ทั่วไปในอาหารที่มีวิตามินอี

เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารธรรมชาติที่มีองค์ประกอบของวิตามินอีทุกชนิดอยู่ร่วมกันเป็นอาหารที่ดีที่สุด เช่นเดียวกันกับในกรณีของเบตาแคโรทีน ขอให้พึงระลึกไว้เสมอว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ ก็ตามจะต้องได้มาจากธรรมชาติในรูปสารเข้มข้น ในกรณีของวิตามินเอคือ โทโคเฟอรอล อะซิเทตและโทโคเฟอรอล ซักซิเนต สารทั้งสองนี้เป็นสารเอสเตอร์ ( สารประกอบอินทรีย์ ) ซึ่งคงตัว และเป็นที่นิยมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

วิตามินอีเป็นวิตามินที่มักจะแนะนำให้ใช้รักษาภาวะการเป็นหมันของหญิง กามตายด้านในผู้ชาย และโรคของหลอดเลือด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถพิสูจน์ผลทางวิทยาศาสตร์ได้ มีเพียงบางคนที่รายงานว่ากินวิตามินอีแล้วได้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่าง ๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตามพอสรุปได้ว่าวิตามินอีอาจมีส่วนช่วยสำหรับผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าวิตามินอีช่วยให้มีการตั้งครรภ์หรือป้องกันการแท้งได้ แต่ฤทธิ์ในการจับออกซิเจนของวิตามินนี้จะช่วยป้องกันทารกในครรภ์จากอันตรายอันเนื่องมาจากอนุมูลอิสระได้อย่างแน่นอน

เมื่อนำวิตามินอีมาใช้เป็นยาทาภายนอกปรากฏว่าสามารถทำให้แผลเป็นหายเร็วขึ้นและทำให้สภาพของผิวหนังดูดีขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อนำมาใช้กินปรากฏว่าสามารถบรรเทาอาการของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดได้บ้าง วิตามินอีเมื่อร่วมกับ สารจับออกซิเจน ชนิดอื่นจะทำงานได้ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งซีลีเนียมและวิตามินซี และจะช่วยป้องกันไม่ให้กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในร่างกายกลายไปเป็นสารอันตรายจำพวกเปอร์ออกไซด์ ทางยุโรปแนะนำให้รับวิตามินอีวันละ 10 มิลลิกรัม หรือ 14.9 หน่วยสากล ส่วนทางสหรัฐฯ แนะนำให้ได้รับวันละ 30 มิลลิกรัม หลายคนเชื่อว่าขนาดที่ใช้เสริมอาหารที่พอเหมาะน่าจะอยู่ที่ 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน

แร่ธาตุและเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมูเทส ( เอสโอดี-SOD ) ทองแดง แมงกานีส และสังกะสี

แร่ธาตุทั้ง 3 ชนิด มีส่วนร่วมอยู่ในระบบเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมูเทส (SOD) เอนไซม์เหล่านี้ทำหน้าที่ตามชื่อคือสลายเพอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารเติมออกซิเจนที่มีพิษร้ายแรงมากและร่างกายต้องทำลายลงให้ได้เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ ร่างกายสร้างเอนไซม์สลายเพอร์ออกไซด์จากกรดอะมิโนซึ่งได้มาจากโปรตีนที่ย่อยแล้ว หากต้องการเสริมอาหาร ขอแนะนำให้เสริม แมงกานีสและสังกะสีในขนาดปานกลาง แต่เสริมทองแดงในขนาดต่ำ หากไม่ได้อยู่ในความควบคุมดูแลของผู้รู้ ควรหลีกเลี่ยงการเสริมอาหารด้วยทองแดงเพียงอย่างเดียว โดยปกติร่างกายของเราได้รับทองแดงและแร่ธาตุอื่นเพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

การเสริมแร่ธาตุที่ดีที่สุดควรใช้แร่ธาตุในรูปของกรดอะมิโน ซีเลต สารเหล่านี้มักมีจำหน่ายในรูปกลูโคเนต แอสพาร์เทต และออโรเทต ซึ่งจะปลดปล่อยแร่ธาตุออกมาอย่างช้า ๆ เป็นการหลีกเลี่ยงการมีแร่ธาตุที่เข้มข้นเกินไปในกระเพาะอาหารซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องได้ (สารประกอบอนินทรีย์ธรรมดา เช่น คลอไรด์ และฟอสเฟต ก่อให้เกิดปัญหานี้) เอสโอดี ที่มีจำหน่ายอยู่นั้นได้มาจากเยื่อของสัตว์โดยผ่านกระบวนการพิเศษในการทำให้เข้มข้น ส่วนอันดับสุดท้ายมักมีแคทาเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์จับออกซิเจนฤทธิ์แรงอีกชนิดหนึ่ง หากสังเกตภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเห็นได้ว่าความเข้มข้นแสดงเป็นหน่วย MFU (Biological Unit Activity)

นักวิทยาศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่า เอสโอดีไม่มีประสิทธิภาพเมื่อใช้วิธีกิน เนื่องจากเอสโอดีจะถูกทำลายด้วยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร แต่อนุมูลอิสระมีฤทธิ์เมื่ออยู่ในทางเดินอาหาร ดังนั้น การกินเอนไซม์ชนิดนี้จึงช่วยป้องกันพิษของอนุมูลอิสระในทางเดินอาหารได้ หากต้องการทำลายอนุมูลอิสระในกระแสเลือดหรือเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ก็ยังมีเอนไซม์ เอสโอดีชนิดฉีดจำหน่ายอยู่ในบางประเทศ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอสโอดีมีอยู่หลายขนาด ถ้าได้รับวันละไม่ถึง 10,000 หน่วย ก็น่าจะเพียงพอ

แมงกานีสในรูปกรดอะมิโนซีเลต ซึ่งให้แมงกานีส 5มิลลิกรัม น่าจะเป็นขนาดที่ดีที่สุดและแนะนำให้ได้สังกะสีมากถึงวันละ 15 มิลลิกรัม บางคนอาจใช้ถึงวันละ 100 มิลลิกรัม แต่ต้องอยู่ในความดูแลจากผู้รู้

ซีลีเนียมและกลูตาไธโอน

ซีลีเนียมเป็นแร่ธาตุที่เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อชีวิตในระบบเอนไซม์จับออกซิเจนที่เรียกว่า กลูตาไธโอนเพอร์ออกซิเดส ซึ่งมีหน้าที่ทำลายสารจำพวกเปอร์ออกไซด์ที่เป็นอันตราย จากการศึกษาพบว่าดินที่ขาดแร่ธาตุชนิดนี้สามารถบอกได้ว่า โรคมะเร็งจะเพิ่มจำนวนขึ้น พืชที่เติบโตในแหล่งที่ดินขาดธาตุซีลีเนียมไม่สามารถเป็นอาหารที่ดีให้ซีลีเนียมอย่างเพียงพอทั้งแก่สัตว์และมนุษย์ ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในแหล่งดังกล่าวจึงอาจจำเป็นต้องพึ่งการเสริมอาหารด้วยซีลีเนียม แต่ก็ต้องพึงระวังให้มากเพราะถ้าได้รับมากเกินไปกระเพาะจะเป็นพิษ การเสริมอาหารด้วยซีลีเนียมควรเป็นซีลีเนียมจากธรรมชาติ เช่น จากยีสต์ หรือในรูปแบบของซีลีโนเมไทโอนีน ควรหลีกเลี่ยงการเสริมด้วยซีลีไนต์ หรือซิลิเนต เพราะเป็นรูปแบบที่ไม่ดีของยูเรเนียมที่จะนำมาใช้เสริมอาหาร แต่ผู้ผลิตบางรายอาจนำเอาสารดังกล่าวมาเพียงผสมกับยีสต์เท่านั้น จึงต้องอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสารดังกล่าวผสมอยู่    [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ซีลีเนียมในฐานะเป็น สารจับออกซิเจน ทำงานร่วมกับวิตามินอี และกลูตาไธโอนอย่างใกล้ชิด กลูตาไธโอนเป็นสารไทรเพปไทด์ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิดคือ กลูตามีน ซีสทีน และไกลซีน จับกับซีลีเนียมในระบบเอนไซม์กลูตาไธโอนเพอร์ออกซิเดสภายในร่างกาย การเสริมอาหารด้วยไทรเพปไทด์ดังกล่าว อาจเสริมในรูปไทรเพปไทด์โดยตรง หรือเสริมในรูปที่มีส่วนประกอบทั้ง 3 ดังกล่าว เพื่อให้ร่างกายนำไปผลิตเป็นกลูต้าไธโอนเอง

ในฐานะ สารจับออกซิเจน กลูตาไธโอนมีคุณสมบัติต่อต้านโรคมะเร็ง และจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย ขณะนี้ยังไม่มีการแนะนำปริมาณการใช้อย่างเป็นทางการแต่มักแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ ควรได้รับวันละ 150-300 มิลลิกรัม น่าจะเพียงพอ

ไบโอฟลาโวนอยด์ : วิตามินพี

เมื่อปี พ.ศ. 2471 แอลเบิร์ต เซนต์-จีออร์จี ได้พบสารป้องกันและบำบัดโรคลักปิดลักเปิดจากผลไม้ตระกูลส้มซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ดร.จีออร์จีได้ประกาศว่าวิตามินซีเป็นปัจจัยจำเป็นต่อชีวิต นอกจากนี้ยังมีสารเคมีชนิดอื่นที่อยู่ในผลไม้จำพวกส้มและจากแหล่งอื่นอีกเป็นอันมากที่เป็นแหล่งวิตามินซี สารเหล่านั้นทำงานร่วมกันและเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันวิตามินดังกล่าว สารจำพวกไบโอฟลาโวนอยด์มีอยู่มากมาย ขณะนี้แยกออกมาได้แล้วถึง 4000 ชนิด

พืชผลิตสารต่าง ๆ ขึ้นด้วยกระบวนการทางเคมี เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก็ยังคงมีสารดังกล่าวต่างๆ อยู่อย่างครบถ้วน สารหลายชนิดนำไปใช้ในการสร้างสารอย่างใดอย่างหนึ่ง และสารสุดท้ายที่เกิดขึ้นในวงจรนั้นจะมีโมเลกุลที่คงตัวมากที่สุด ในกรณีของสารไบโอฟลาโวนอยด์ สารที่สร้างขึ้นมาในสารนี้อันดับท้ายสุดเป็นสารประเภทน้ำตาล ในช่วงของห่วงโซ่การผลิตจนกว่าจะถึงผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย จะมีสารอื่นซึ่งมีคุณสมบัติในการจับออกซิเจนเกิดขึ้นด้วย สารหลักที่นักวิเคราะห์พบจากพืชต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ มาเป็นสารที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายของกระบวนการห่วงโซ่ดังกล่าว เพื่อให้ได้มาซึ่งสารออกฤทธิ์ที่แยกออกมาได้เป็นสารที่มีความคงตัวสูง ซึ่งมักต้องใช้กรรมวิธีดัดแปลงในห้องปฏิบัติการ และขณะนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าสารที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการดังกล่าวมีคุณค่าอย่างสูงทางด้านโภชนาการและยา

หลังจากที่ ดร.จีออร์จี ได้กล่าวแสดงผลงานออกมาแล้ว วิตามินซีชนิดแรกที่รู้จักคือวิตามินพี แต่เนื่องจากไม่สามารถระบุได้ถึงอาการหรือภาวะการขาดสารดังกล่าว เนื่องจากวิตามินพี เป็นสารออกฤทธิ์ร่วมกับวิตามินซีเท่านั้น การใช้คำว่าวิตามินกับสารดังกล่าว จึงต้องตกไปกลายเป็นชื่อที่ซ้ำกันอย่างง่าย ๆ ว่า ไบโอฟลาโวนอยด์ แม้จะมีการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนการค้นพบแล้วก็ตาม แต่โภชนากรและแพทย์ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ยอมรับว่าไบโอฟลาโวนอยด์มีความสำคัญทางโภชนาการแต่เดิมโภชนากรมองไบโอฟลาโวนอยด์เช่นเดียวกับพวกใยอาหาร จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จึงยอมรับให้อยู่ในฐานะของสารอาหาร และมีความสำคัญต่อกระบวนการดำรงชีวิตของมนุษย์อยู่น้อยมาก
ไบโอฟลาโวนอยด์มีอยู่ทั่วไปในผลไม้และผัก แหล่งไบโอฟลาโวนอยด์ที่สำคัญนอกจากผลไม้จำพวกส้มแล้วยังมีผักสีเขียวเข้ม เช่นผักโขม บล็อกโคลี่ เป็นต้น ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีผลไม้หรือผักดังกล่าวแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจช่วยให้ร่างกายได้รับ สารจับออกซิเจน มากพอที่จะป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระได้  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ยังมีข้อขัดแย้งอยู่ในเรื่องการดูดซึมสารไบโอฟลาโวนอยด์ สารนี้ส่วนมากจะออกมากับอุจจาระ โดยอาจมีการดูดซึมบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะไม่ใช้สารนี้เพียงแต่ร่างกายต้องการสารไบโอฟลาโวนอยด์ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนที่น้อยมาก สำหรับบางสถานการณ์ซึ่งร่างกายต้องการจับออกซิเจนชนิดเจาะจง แต่การสังเกตประสิทธิผลของไบโอฟลาโวนอยด์ก็ไม่สามารถจะละเลยได้ แม้ว่าปริมาณไบโอฟลาโวนอยด์ที่ร่างกายได้รับมากถึงร้อยละ 60 ไม่มีการดูดซึมและที่เหลือก็ยังไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น กระนั้นก็ตามอาจเป็นได้ว่าลำพังการทำหน้าที่จับออกซิเจนในทางเดินอาหารก็น่าจะเป็นการเพียงพอแล้วที่จะสรุปได้ว่าการกินผลไม้และผักมาก ๆ สามารถป้องกันโรคมะเร็งในทางเดินอาหารได้

รูทิน

ไบโอฟลาโวนอยด์ที่น่าจะเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือรูทิน เพราะมีการใช้รูทิน ร่วมกับวิตามินซีในทางยามากกว่า 40 ปี แล้ว การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวปรากฏว่ามีผลทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ลดความดันโลหิตและลดคอเลสเตอรอล แหล่งรูทินตามธรรมชาติที่ดีที่สุดคือ ข้าวชนิดหนึ่งที่เรียกว่าวีท (ข้าวโพดทะเลทราย) หากใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปริมาณ 500-1500 มิลลิกรัมต่อวันก็น่าจะเพียงพอ

เฮสเพอริดิ

เป็นไบโอฟลาโวนอยด์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับรูทิน พบมากในผลไม้ จำพวกมะนาวและส้ม มีฤทธิ์จับออกซิเจนต่ำกว่ารูทินเล็กน้อย แต่ออกฤทธิ์ใกล้เคียงกันมากเมื่อใช่ร่วมกับวิตามินซี แนะนำให้ใช้เฉพาะเจาะจงสำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดเปราะและช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดเปราะและแตกง่ายจะเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณแก้ม ผู้ที่มีเส้นเลือดไม่แข็งแรงอาจเป็นเพราะออกซิเจนเป็นตัวทำให้เกิดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือดซึ่งทำให้เส้นเลือดกรอบ เปราะ (ขาดความหยุ่นตัวตามธรรมชาติ) เป็นการแข็งตัวของเส้นเลือดเทียบได้กับการเกิดสนิมของเหล็ก (การเติมออกซิเจนให้เหล็ก) อันเป็นการเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงที่สุด จะเห็นได้จากภายในร่างกายมนุษย์ การใช้เฮสเพอริดิ 600 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินซี 500 -1500 มิลลิกรัมต่อวัน    [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

เควอร์เซทิน

เป็นไบโอฟลาโวนอยด์อีกชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะทางเคมีใกล้เคียงกับรูทินมาก พบในผักตระกูลกะหล่ำ ชา และเปลือกผลแอปเปิ้ล อาหารธรรมชาติที่ดีควรให้เควอร์เซทินประมาณวันละ 50-100 มิลลิกรัม เควอร์เซทิน ช่วยป้องกันปฏิกิริยาการแพ้โดยยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีน ของร่างกาย เควอร์เซทินเป็น สารจับออกซิเจน ที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบที่ดีเยี่ยม หากขาดสารนี้ในอาหาร อาจทำให้เกิดโรคแพ้อากาศ ไข้ละอองฟาง หอบหืด เรือนกวางหรือโรคสะเก็ดเงิน และโรคผิวหนังผื่นคัน

เชื่อว่าไบโอฟลาโวนอยด์ชนิดนี้มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อไวรัส และเพื่อให้เควอร์เซทินทำงานร่วมกับวิตามินซี อาจช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดาได้ ว่ากันว่าเอนไซม์จากสับปะรดคือ โบรเมลิน ช่วยในการดูดซึมเควอร์เซทิน และจากการวิจัยยังพบต่อไปอีกว่าเควอร์เซทินมีคุณสมบัติยับยั้งการเกิดโรคเนื้องอกอีกด้วย จับออกซิเจน เควอร์เซทินเป็นไบโอฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์แรงกว่ารูทิน ดังนั้น เมื่อให้รูทินแล้วไม่เห็นผลเมื่อให้เควอร์เซทิน ทั้งนี้เนื่องจากการดูดซึมเควอร์เซทินดีกว่าและต้องการการย่อยน้อยกว่ารูทินนั่นเอง จากการทดลองกับคนไข้เส้นเลือดเปราะและความดันโลหิตสูงรายหนึ่ง โดยให้เควอร์เซทินวันละ 60 มิลลิกรัม ปรากฏว่าได้ผลดีกว่าให้รูทินวันละ 400 มิลลิกรัม

มีคำถามในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้เควอร์เซทิน แต่คำถามเหล่านั้นถือได้ว่าเป็นคำถามที่ไร้สาระเพราะตัวกรรมวิธีการวิจัยและการแปลผลการวิจัยที่ผิดไปจากผลที่เคยทำมาแต่เดิม ทำให้เกิดมีข้อสงสัยขึ้น ยิ่งความนิยมอาหารธรรมชาติมีการแพร่หลายมากขึ้น ฝ่ายสโตร์ก็จะไม่ยอมหยุดที่จะทำลายความเชื่อถือในการแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ เพราะข้อสงสัยสามารถนำไปสู่การใช้ยาราคาแพงซึ่งทำกำไรให้อย่างมหาศาลแก่ทางฝ่ายแพทย์และเภสัชกรรม

โพลีฟีนอล

หรือ โพลีเฟโนลิก ไบโอฟลาโวนอยด์ เป็นสารเคมีที่ได้จากพืช เช่น แคเทซิน แทนนิน และโพรแอนโทซัยอะนิดิน สารนี้มีอยู่มากมายหลายชนิดในพืชทุกชนิด มีคุณสมบัติในการจับออกซิเจน หลายชนิดมีฤทธิ์กัดกร่อนและทำให้ระคายเคือง จึงจำเป็นต้องเลือกชนิดของอนุพันธ์โพลีฟีนอลที่มีคุณสมบัติทางชีวให้เข้ากับร่างกายมนุษย์มาใช้    [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

สารเหล่านี้พบได้ในปริมาณสูงในเปลือกไม้บางชนิด ผลไม้บางชนิด เช่น หมาก ปุ่มใบไม้ เช่น เบญกานี ชา ซึ่งผลิตขึ้นด้วยการหมักใบชาแล้วทำให้แห้ง ไวน์แดงก็มีฟลาโวนอยด์ประเภท โพลีฟีนอลเหล่านี้เช่นกันและ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการโฆษณาคุณประโยชน์ของไวน์แดงเป็นการใหญ่ โดยอ้างว่าชาวฝรั่งเศสซึ่งกินอาหารไขมันสูง ทำให้มีโคเลสเตอรอลสูงตามไปด้วย แต่ไวน์แดงกลับช่วยป้องกันชาวฝรั่งเศสเหล่านั้นไม่ให้ได้รับผลร้ายจากอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงได้ ถ้าอย่างนั้น หากชาวอังกฤษจะดื่มน้ำชาไม่ใส่นม ชาวอังกฤษก็คงจะได้รับประโยชน์จากการดื่มของโปรดของตนเช่นกัน ถั่วเหลืองก็มี สารจับออกซิเจน ชนิดนี้อยู่ ชาวญี่ปุ่นซึ่งกินถั่วเหลืองปริมาณมากจึงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าชาวฟินแลนด์ซึ่งกินถั่วเหลืองน้อยมากนั่นเอง

เรื่องปัญหาสุขภาพที่สารจับออกซิเจนช่วยได้อันมีมากมายทำให้เกิดการวิจัยค้นหาอย่างจริงจัง เพื่อที่จะได้มาซึ่งประโยชน์เฉพาะของสารจากพืชดอกงิ้ว
แม้ว่าไบโอฟลาโวนอยด์บางอย่างเช่น รูทิน เฮสเพอริดินและเควอร์เซทิน จะมีจำหน่ายอยู่ก็ตาม แต่ที่เหลืออีกประมาณ 4000 ชนิดที่ สามารถระบุได้ จึงต้องได้รับจากผลิตภัณฑ์ผสม ผลิตภัณฑ์ผสมที่ดีที่สุดคืออาหารที่ประกอบหรือปรุงเอง นอกจากนี้อาหารธรรมชาติชนิดเข้มข้นเพิ่งมีจำหน่ายเมื่อไม่นานมานี้เอง สารเหล่านั้นมีหลายอย่าง เช่น น้ำผึ้ง นมผึ้ง และเกสรดอกไม้ มีคุณสมบัติที่สามารถจัดวางไว้ในตำแหน่ง สารจับออกซิเจน ได้ อาจเป็นเพราะมีการยกย่องผลิตภัณฑ์เหล่านี้กันอย่างเลิศเลอ ซึ่งเป็นการเสริมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดูเลิศหรูขึ้น

เกสรดอกไม้ (pollen)

เป็นแหล่งที่มีไบโอฟลาโวนอยด์และสารอาหารอื่น เช่น วิตามิน กรดอะมิโน และเอนไซม์ อย่างอุดมสมบูรณ์ แต่การเก็บเกสรดอกไม้มาทำการค้าเป็นเรื่องยาก ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพจึงต้องพึ่งพาผึ้ง ต้องดัดแปลงทางเข้าสู่รวงผึ้งเป็นพิเศษ เพื่อแย่งชิงเอาสิ่งที่ผึ้งนำติดตัวมาจากการเที่ยวหาอาหารมาเป็นของตน ผึ้งรวบรวมเกสรดอกไม้ที่มีสารไบโอฟลาโวนอยด์ต่าง ๆ กัน แล้วแต่ว่าจะมีดอกไม้ชนิดไหนอยู่ในบริเวณที่เพิ่งออกหากิน เกสรดอกไม้ทุกชนิดมีคุณสมบัติเป็นตัวจับออกซิเจนอย่างดี และด้วยเหตุว่าเกสรดอกไม้มีเอนไซม์ธรรมชาติอยู่ด้วย จึงอาจช่วยให้ไบโอฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในสภาพที่พร้อมจะมีการดูดซึม

เกสรดอกไม้หรือเกสรผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแนะนำกันอย่างแพร่หลายและกว้างขวางเพื่อเพิ่มพลัง เสริมภูมิคุ้มกัน เพิ่มพลังหนุ่ม และป้องกันโรคที่จะเกิดแก่ต่อมลูกหมาก เมื่อไม่นานมานี้เอง เกสรผึ้งจัดได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยอดนิยมในหมู่คนแก่ โดยเชื่อว่าเพื่อช่วยต่อสู้กับโรคที่เกิดจากความเสื่อมโทรมที่เป็นต้นเหตุ เช่น โรคข้ออักเสบ เป็นต้น  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

น้ำผึ้ง

ที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้มีหลายรูปแบบ น้ำผึ้งทุกชนิดมีน้ำตาลซูโครสหรือน้ำตาลทรายเป็นส่วนประกอบหลัก น้ำผึ้งบางชนิดมีเกสรดอกไม้และขี้ผึ้ง ซึ่งเป็นแหล่งอุดมด้วย สารจับออกซิเจน มีการแนะนำกันอย่างกว้างขวางให้ใช้เพื่อบำรุงสุขภาพโดยทั่วไป และก็คงได้ประโยชน์ไม่น้อยจากสารจับออกซิเจนที่มีอยู่

นมผึ้ง

เป็นอาหารที่ผึ้งงานบรรจงปรุงเป็นพิเศษสำหรับพญาผึ้ง เป็นอาหารสุขภาพที่มีข้อกังขากันอย่างมากที่สุด การวิเคราะห์สารอาหารในนมผึ้งก็ยังไม่ให้ผลกระจ่างชัดนัก เท่าที่ทราบนมผึ้งมีกรดอินทรีย์ วิตามิน กรดอะมิโนและน้ำ แต่คุณสมบัติเป็น สารจับออกซิเจน ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายจะมีมากน้อยเพียงใดและมีคุณค่าเพียงไหน ยังคงต้องรอผลการวิจัยต่อไปในอนาคต ปัจจุบันข้อสงสัยมีอยู่ว่าคงมีประโยชน์อยู่บ้าง เพราะผู้ซื้อทั่วโลกยังมีการซื้อซ้ำกันอยู่

ยาง-ชัน

ผึ้งมีผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดคือเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นยาฆ่าเชื้ออย่างแรง ผึ้งใช้ชันสำหรับป้องกันรวงผึ้งไม่ให้เกิดการติดเชื้อ การนำผลิตภัณฑ์จากผึ้งชนิดนี้มาใช้กับมนุษย์ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ซึ่งสูงกว่าที่เคยคาดคิดเป็นอันมาก แต่ปัญหาก็ยังคงมีอยู่ กล่าวคือเป็นเรื่องธรรมดาที่สารซึ่งได้จากธรรมชาติจะต้องมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันไป แม้ความเข้มข้นจะแตกต่างกันไปตามสภาวะ ประกอบกับยังมีวิธีทดสอบที่เป็นหลักเกณฑ์แน่นอน ดังนั้น ความต่างในเรื่องคุณภาพและส่วนประกอบเช่นนี้ก่อให้เกิดช่องทางแก่ผู้ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับผลิตภัณฑ์ยาธรรมชาติ ให้หยิบยกเอาชันผึ้งที่มีคุณภาพต่ำขึ้นมาเป็นข้อโจมตีและชี้ให้เห็นปัญหาซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ เช่น การเกิดผิวหนังอักเสบ พวกนั้นอาจเข้าไปสู่ผลิตภัณฑ์ชันผึ้งชนิดใดชนิดหนึ่งเข้าจนได้

ยางหรือชันผึ้งประกอบด้วยยางหรือชันจากต้นไม้ตามแหล่งหากินของผึ้งแต่ละรัง ส่วนประกอบสำคัญของชันผึ้ง คือ ไบโอฟลาโวนอยด์และสารเคมีตั้งต้นของสารไบโอฟลาโวนอยด์เหล่านั้น อาจเป็นกรด เช่น กรดเฟอรูลิก ซินนามิก เบนโซอิก และแคฟเฟอิก รวมทั้งเอสเตอร์ และแอลกอฮอล์ธรรมดาธรรมดา เช่น เอทิลหรือเบนซิน แอลกอฮอล์ [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

จากการวิจัยยางหรือชันปรากฏผลออกมาว่ามีฤทธิ์ทำลายเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อยีสต์ ซึ่งทำให้ลิ้นเป็นฝ้า เชื้อเฮลิโคแบคเทอร์โพโลรี เชื่อกันว่ามีส่วนร่วมในการทำให้เกิดแผลอักเสบในทางเดินอาหารโดยใช้รับประทาน เมื่อทำเป็นครีมก็ใช้รักษาโรคเริมและสิวได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการหอบหืดและโรคข้ออักเสบอีกด้วย หากจะกล่าวว่าธรรมชาติรักษาโรคได้อย่างครอบจักรวาล ยางหรือชันก็มีคุณสมบัติดังกล่าว ไม่มีข้อยกเว้น ลักษณะการจับออกซิเจนของยางและชันครอบคลุมกว้างขวางมาก จึงเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐ แม้ว่าสารที่เป็นส่วนประกอบแต่ละชนิดจะให้ผลไม่มากนักก็ตาม แต่เมื่อมีสารหลายชนิดอยู่รวมกัน การออกฤทธิ์จึงเป็นการเสริมซึ่งกันและกัน และควรจะได้รับการศึกษาอย่างถี่ถ้วน เพื่อนำเอาประโยชน์ดังกล่าวมาใช้แก่ทั้งคนและสัตว์

ปัญหาสำคัญของทั้งเกสรผึ้งและชันผึ้งก็คือ การปนเปื้อนสารพิษทางเกษตรและมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่เกิดแก่ผึ้งเลี้ยง ปัจจุบันอาจจะดีขึ้นเพราะมีกรรมวิธีที่ดีในการเก็บผลผลิตและการทำให้บริสุทธิ์ หากจะซื้อควรเลือกซื้อเฉพาะยี่ห้อที่มีการรับประกันคุณภาพเท่านั้น และทราบแหล่งที่เลี้ยงผึ้งด้วยก็จะยิ่งดี ผึ้งมักชอบทำชันจากยางของต้นพอพลาร์ รองลงมาคือ ยางจากต้นเฟอร์ ดังนั้น อีกวิธีหนึ่งในการดูคุณภาพของชันผึ้งก็คือดูฉลากว่าผึ้งนั้นเลี้ยงไว้ในบริเวณที่มีต้นไม้ชนิดใด

เปลือกต้นสน

ผึ้งทำชันผึ้งมาจากยางไม้นานาชนิดตามแต่จะหาได้ เปลือกไม้เป็นแหล่งที่มีโพลีเฟโนลิก ไบโอฟลาโวนอยด์อย่างอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ตามชายทะเลของประเทศฝรั่งเศสด้านมหาสมุทรแอตแลนติกคือสนไพนัส มาริทิมา อุตสาหกรรมยาศึกษาและวิจัยเปลือกสนชนิดนี้เป็นพิเศษ แล้วนำเอามาสกัด ได้เป็น สารจับออกซิเจน ฤทธิ์แรงที่ชื่อว่า พิโนเจนอล

สารที่สกัดได้จากเปลือกสน มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับชัน คือมี สารจับออกซิเจน เป็นส่วนประกอบมากมายหลายชนิด ที่เหนือกว่าก็คือกรรมวิธีในการผลิต ผู้ผลิตจดสิทธิบัตรกรรมวิธีผลิตและรับประกันความสม่ำเสมอของส่วนประกอบ คุณสมบัติต่างๆ ของสารที่สกัดจากเปลือกสนมีความคล้ายคลึงกับสารไบโอฟลาโวนอยด์ชนิดอื่น ๆ จากการวิจัยอย่างละเอียดพบว่าผลิตภัณฑ์นี้ช่วยได้ในเรื่องของหลอดเลือดช่วงล่างของร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ขา การให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้สามารถช่วยบรรเทาอาการขาเป็นตะคริว เส้นเลือดขอด ขาหัก ริดสีดวงทวารได้    [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ดูเหมือนว่าสารสกัดจากพืชที่อุดมด้วยไบโอฟลาโวนอยด์จะให้ผลคล้ายกันหากได้มีการวิจัยอย่างจริงจังดังเช่นที่ทำกับเปลือกส่วนดังกล่าว พิกโนเจนอลไม่ได้เป็นสารเคมีบริสุทธิ์หรือมีสารเคมีอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ผู้ผลิตสามารถรับประกันคุณภาพได้ด้วยกรรมวิธีการผลิต พิโนเจนอลไม่ได้บริสุทธิ์เท่ากับเควอร์เซทิน เฮสเพอริดิน หรือรูทินบริสุทธิ์ แต่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับยางหรือชันมากกว่าไบโอฟลาโวนอยด์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ

อาจจะเป็นได้ว่ามีไบโอฟลาโวนอยด์ผสมออกมาจำหน่ายอีกหลายชนิด แต่ต้องพิจารณาข้อกล่าวอ้างในเรื่องสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้ดี

สมุนไพรและโภชนสารจากพืชในฐานะสารจับออกซิเจน

รายชื่อสมุนไพรที่มีคุณสมบัติจับออกซิเจนดูจะมีมากมายไม่มีที่สิ้นสุด แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องกินสมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เป็นต้นว่า ใบแปะก๊วย โสมหรือ เอคิเนเชีย เป็น สารจับออกซิเจน เสมอไป แต่ไม่ได้หมายความว่าผลจากสมุนไพรเหล่านี้ที่มีต่อสุขภาพจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติในการจับออกซิเจนที่สมุนไพรดังกล่าวมีอยู่ ซึ่งอาจมีความสำคัญยิ่งในเรื่องประสิทธิภาพที่เจาะจงต่อสถานการณ์ สมุนไพรต่าง ๆ มีส่วนประกอบซึ่งเสริมฤทธิ์กันและกันโดยเฉพาะคุณสมบัติในการจับออกซิเจน

การรักษาด้วยสมุนไพรเป็นการรักษาในลักษณะองค์รวม ให้ผลต่อร่างกายมากกว่าการรักษาด้วยยาวิเศษโมเลกุลเดี่ยวมากมายนัก สมุนไพรส่วนใหญ่มีโพลีแซคคาไรด์ แร่ธาตุ วิตามิน ฟลาโวนอยด์ โปรตีน ไกลโคไซด์ และเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ ขณะที่สาร 1 หรือ 2 อย่างทำงานในลักษณะสารออกฤทธิ์ สารอื่นก็ทำหน้าที่ปรับให้ร่างกายอยู่ในสภาพสมดุล สมุนไพรอาจมีผิดพลาดน้อยกว่าเคมีอย่างมากมายก็ด้วยเหตุผลดังกล่าว เพราะยาเคมีไม่มีตัวปรับสมดุลอยู่เลย เป็นเพียงสารเคมีที่มีกระบวนการผลิตราคาถูกและการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทำได้ง่ายกว่าสมุนไพร

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับใช้กับออกซิเจนที่ดีและปลอดภัยที่สุดคืออาหารและสมุนไพร ต่อไปนี้คือตัวอย่างพืชบางชนิดที่มีสารกับออกซิเจนและใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ตัวอย่างพืชบางชนิดที่มีสารกับออกซิเจนและใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ฟลาโวนไกลโคไซด์ ได้จากแปะก๊วย
ไซลิมาริน ได้จากผักโขมหนาม
ไพรแอนโทไซอะนิดิน (OPCs) ได้จากเมล็ดองุ่นสกัดและเปลือกต้นสน
แคเทซิน โพลีฟีนอล ฟลาโวนอยด์ ได้จากชาเขียว
แคพไซซิน ได้จากพริก โรสแมรี่ และขิง
ไลโคปีน ได้จากมะเขือเทศ
ลิโมนีน ได้จากผลไม้จำพวกส้ม
น้ำส้มไซเดอร์ ได้จากแอปเปิ้ล
เซซามินอล ได้จากเมล็ดงา
แอลลิซิน ได้จากกระเทียม

ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนน้อยนิดเมื่อเทียบกับจำนวนสมุนไพรในโลก แต่ก็คงพอแสดงให้เห็นว่ามีแหล่ง สารจับออกซิเจน ซึ่งอาจนำมาใช้ป้องกันการเสื่อมของสุขภาพและนำมาใช้เสริมสุขภาพได้  [adinserter name=”navtra”]

ผู้คนทางตะวันออกของโลกพากันละเลยหรือหลงลืมสมุนไพรดี ๆ ซึ่งมีมากกว่าทางตะวันตก ไทยเรามียาบำรุงธาตุ ยาหอม ยาอายุวัฒนะ ยาเหล่านี้บางอย่างประกอบด้วยสมุนไพรมากมาย โดยมีเหตุผลว่าตัวยาสมุนไพรบางอย่างอาจออกฤทธิ์เสริมกัน บางอย่างอาจออกฤทธิ์ถ่วงดุลกัน สมุนไพรจึงเป็นยาที่ออกฤทธิ์อย่างนุ่มนวล

กรดแอลฟาไลโพอิ

เป็นสารโคเอนไซม์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตขึ้นภายในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในเครบส์ซัยเคิล เปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน และแอลฟาไลโพอิกเป็น สารจับออกซิเจน ที่มีฤทธิ์แรงมาก ไม่เพียงแต่จะทำลายอนุมูลอิสระด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยังชุบชีวิตสารจับออกซิเจนชนิดอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามิน เอ ซี อี และกลูตาไธโอน ทำให้สารเหล่านี้สามารถไล่จับอนุมูลอิสระต่อไปได้อีก และเนื่องจากกรดแอลฟาไลโพอิกละลายได้ทั้งในน้ำและในน้ำมัน จึงทำหน้าที่เป็นสะพานหลักสำหรับการเชื่อมในระดับเซลล์ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันเซลล์ทั้งภายในและจากภายนอกเซลล์อีกด้วย

แม้ร่างกายจะผลิตกรดแอลฟาไลโพอิกได้เองก็ตาม แต่การเสริมด้วยสารดังกล่าววันละ 100 -200 มิลลิกรัม ก็ดูว่าจะเป็นประโยชน์มาก การได้รับกรดแอลฟาไลโพอิกในปริมาณสูง เช่นวันละ 800 มิลลิกรัม จะสามารถช่วยฟื้นสภาพของเส้นประสาทของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้ และอาหารที่เป็นแหล่งของกรดแอลฟาไลโพอิก คือมันฝรั่ง แครอท เผือก และมันเทศ

แร่ธาตุทุกชนิดต่างก็มีศักยภาพในการรับหรือให้ออกซิเจนหรือประจุไฟฟ้าซึ่งเรียกกันว่า “รีดอกซ์โพเทนเซียล
( Redox Potential )” ศักยภาพนี้วัดได้ด้วยสมรรถนะในการจับออกซิเจน แร่ที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนรุนแรงที่สุดก็คือ โซเดียมและโพแทสเซียม เมื่อแร่ทั้งสองนี้สัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ จะเกิดการเผาไหม้ขึ้นทันที จะเกิดเป็นเปลวไฟขึ้นไป ดูแล้วน่าสนุกสนานตื่นเต้นมาก จึงกล่าวได้ว่าแร่ดังกล่าวเป็นสารรับประจุไฟฟ้าลบหรือเป็นสารจับออกซิเจนอย่างแรง ดังนั้นออกซิเจนจึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อร่างกาย และการได้รับสารจับออกซิเจนที่ดีที่สุดก็คือการได้รับประทานอาหารที่สมดุล ถ้าจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือคนไข้ที่กำลังพักฟื้นหลังการเจ็บป่วยก็สามารถทำได้ แต่ต้องได้อาหารจากธรรมชาติและในส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็ต้องทำให้อาหารโดยรวมมีความสมดุลด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ริตา, เกรียร์. อาหารขจัดอนุมูลอิสระ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน,2551. 176 หน้า : 1.อาหาร-แง่สุขภาพ. 2.อนุมูลอิสระ. I.วูดเวิร์ด,โรเบิร์ต, II.พิสิฐ วงศ์วัฒนะ,ผู้แปล. III.ชื่อเรื่อง. 613.2 ISBN 978-974-04-5522-6.

How Products are Made contributors (2002). “Oxygen”. How Products are Made. The Gale Group, Inc. Retrieved December 16, 2007.

Papanelopoulou, Faidra (2013). “Louis Paul Cailletet: The liquefaction of oxygen and the emergence of low-temperature research”. Notes and Records, Royal Society of London. 67 (4): 355–73. doi:10.1098/rsnr.2013.0047.Emsley 2001, p.303