ฉายแสงรักษามะเร็ง มีผลข้างเคียงอย่างไร
ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษามะเร็ง

ฉายแสง หรือ ฉายรังสี คือ

ฉายแสง หรือ ฉายรังสี ( Radiotherapy ) คือ การรักษาประเภทหนึ่งของรังสีรักษา ที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น ทั้งนี้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็ง ชนิดของโรคมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วยเอง

ปี ค.ศ.1895 Wilhelm Roentgen ได้สร้างความตกตะลึงครั้งยิ่งใหญ่กับการค้นพบเกี่ยวกับฉายแสงมะเร็งผลทางชีวภาพของการฉายรังสีเอ็กซ์ การใช้รังสีเอ็กซ์เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านมในครั้งแรกพบว่ามีผลทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบและมีขนหลุดร่วงหลังจากที่มีการฉายรังสีนี้ ทำให้มีการทดลองเพื่อดูผลกระทบทางด้านชีวภาพเกิดขึ้นมา เพื่อเป็นการดูว่าการ ฉายรังสีนั้นมีผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ซึ่งการทดลองนี้ได้มีการศึกษาทั้งการฉายรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมาที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1896 ซึ่งทำให้ค้นพบธาตุโรเดียม ( Radium ) ในเวลาต่อมาอีกด้วย

การศึกษาฉายแสงมะเร็งโดยการการให้รังสีชนิด Low Liner Energy Transfer ( LET ) คือ มีการถ่ายโอนพลังงานเชิงเส้นต่ำ เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา อนุภาคเบตา โปรตอน ซึ่งนิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 กันอย่างแพร่หลาย แต่ในขณะเดียวกันการรักษาด้วยรังสีเอ็กซ์กลับทำให้เกิดการค้นพบสารก่อการกลายพันธุ์ตัวแรกคือ Muller เกิดขึ้นด้วย รังสีเอ็กซ์ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนและมีการเปลี่ยนแปลงลำดับของยีนที่อยู่ภายในเซลล์เกิดขึ้น ส่งผลให้การเรียกลำดับของยีนภายในเซลล์นั้นเปลี่ยนไปจากเดิม จากการค้นพบดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าการฉายรังสีอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งหรือการกลายพันธุ์ของเซลล์ได้ หรือการฉายแสงมะเร็งอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์ การฉายรังสีสามารถก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกับเซลล์ทุกเซลล์ที่อยู่ในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่การที่จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับปริมาณในระดับที่จะสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์

ฉายแสงมะเร็งสาเหตุที่ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์หรือไม่

การกลายพันธุ์ของเซลล์ต่างๆในร่างกายนั้น มีสาเหตุ ดังนี้

1. ขนาดและปริมาณของรังสี การฉายแสงมะเร็งที่รังสีจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ

  • ปริมาณรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีต่อหนึ่งหน่วยเวลา คือ ถ้าได้รับปริมาณรังสีต่อครั้งมากก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าการที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า
  • จำนวนครั้งที่ได้รับการฉายรังสี คือ ถ้าได้รับปริมาณรังสีต่อครั้งมากก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากกว่าการที่ได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า และถ้ามีการฉายรังสีในปริมาณที่เท่ากัน การที่ได้รับการฉายรังสีจำนวนครั้งมากกว่าจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าด้วย

2. ชนิดของเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อต่างชนิด ต่างตำแหน่งจะมีโอกาสการเกิดมะเร็งที่แตกต่างกัน ดังนั้นเซลล์แต่ละที่เมื่อมีการฉายแสงเท่ากันโอกาสที่จะเกิดมะเร็งย่อมแตกต่างกันไปด้วย

3. ปัจจัยอื่น ปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดมะเร็งจากการฉายรังสี เช่น สภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความแข็งแรงของยีนซ่อมแซม DNA อายุ เพศ ในขณะที่ได้รับการฉายรังสีว่ามีความสามารถในการป้องกันรังสีมากน้อยแค่ไหน ถ้าในขณะที่ได้รับการฉายรังสีมีสภาพภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ หรือมีอายุมากแล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งมากกว่าคนที่มีอายุน้อยและมีภูมิต้านทานแข็งแรง

ก่อนที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้น เซลล์ต้องมีการแบ่งตัวเกิดเป็นเนื้องอกซึ่งเนื้องอกที่เกิดจากการฉายรังสีจะมีลักษณะพิเศษ คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นจะแปรผันกับปริมาณของรังสีที่ได้รับและอายุของผู้ที่ได้รับรังสีด้วย

โดยจากการศึกษาจากผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาฉายแสงมะเร็งโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึด ( Ankylosing Spondylitis ) ที่ทำการรักษาด้วยการฉายรังสีบางส่วนของร่างกาย ( Partial Body Radiotherapy ) จำนวน 14.111 คน ซึ่งหลังจากที่ทำการฉายรังสีเพียงแค่ 1 ครั้งพบว่าผู้ป่วยที่ทำการฉายรังสีมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า นอกจากนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่ถูกฉายรังสีก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งถึง 1.6 เท่า ซึ่งความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวนี้จะมีค่าสูงสุดในช่วง 3-5 ปีหลังจากที่ได้รับการฉายรังสี และความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจะหมดไปเมื่อผ่านการฉายรังสีไปประมาณ 18 ปี แต่ทว่าส่วนบริเวณใกล้เคียงการฉายรังสีค่าความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งในช่วง 9 ปีแรกจะมีค่าคงที่ซึ่งมีค่าไม่สูงมากนัก แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 10 ค่าความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกลับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงมากจนถึงปีที่ 18 เลยทีเดียว

ผลข้างเคียงของการฉายรังสีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้

1. อายุผู้ป่วยกับการฉายแสงรักษามะเร็ง

อายุของผู้ที่เข้ารับการฉายรังสีมีผลต่ออัตราการเกิดโรคมะเร็ง ฉายแสงมะเร็งจากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีอายุมากเมื่อได้รับการฉายรังสีจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีจะมีโอกาสเสียชีวิตมากว่าผู้ที่อายุ 25 ปีเมื่อเข้ารับการฉายรังสีถึง 15 เท่า เป็นต้น ซึ่งการเกิดมะเร็งจากการฉายรังสีก็มีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับอัตราการเสียชีวิตเช่นเดียวกัน คือ ผู้ที่มีอายุมากเมื่อได้รับการฉายรังสีมีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งนั้นสูงกว่าคนที่มีอายุน้อยที่ได้รับการฉายรังสี เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากกว่าจะมีการสะสมของสารตกค้างหรือสารเคมีอยู่ในร่างกายมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ดังนั้นเมื่อได้รับรังสี รังสีจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีลารตกค้างที่อยู่ภายในร่างกาย ส่วนในผู้ที่มีอายุน้อยจะมีสารตกค้างหรือสารเคมีอยู่ในร่างกายน้อยกว่าจึงทำให้โอกาสที่รังสีจะทำปฏิกิริยาจนเกิดเป็นมะเร็งน้อยตามไปด้วย

2. ความเข้มของรังสีในการรักษามะเร็ง

การฉายรังสีในการรักษาจะมีปริมาณรังสีที่ต่างกัน โดยปริมาณรังสีสูงจะก่อให้เกิดมะเร็งได้น้อยกว่าการได้รับปริมาณรังสีน้อย เนื่องจากการได้รับปริมาณรังสีสูงเมื่อโดนเซลล์เป้าหมายเซลล์ดังกล่าวจะถูกทำลาย แต่การได้รับปริมาณรังสีต่ำจะไม่สามารถทำลายเซลล์เป้าหมายได้แต่จะทำให้เซลล์เป้าหมายเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็ง

ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลฉายแสงมะเร็งเกี่ยวกับมะเร็งที่เกิดจากการฉายรังสีพบว่า สตรีที่ได้รับการรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสีมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน ( Myeloid Leukemia ) หรือโรคแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ( Acute ) อื่น ๆ เพียงเล็กน้อยจากคนทั่วไป ส่วนบริเวณใกล้เคียงจะได้รับปริมาณรังสีในระดับปานกลางหรือต่ำ บริเวณนี้มีความเสี่ยงในการเกิดก้อนมะเร็ง ( Solid Tumors ) ตามอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับปากมดลูก เช่น ทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ กระดูกเชิงกราน มดลูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลำไส้ ไต เป็นต้น นอกจากจะเป็นก้อนมะเร็งเกิดขึ้นแล้วยังมีการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดพลาสมา ( Multiple Myeloma ) ที่เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของพลาสมาเซลล์ในไขกระดูก

ทฤษฏีของ Ishihara

พบว่าการฉายรังสีสามารถออกฤทธิ์ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง โดยจากการศึกษาของ Ishihara ในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของเซลล์ทั้งในแมลง พืช แบคทีเรียและเชื้อรา พบว่าการฉายรังสีให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อสันหลังกระดูกอักเสบ ( Ankylosing Spondylitis ) ด้วยการฉายรังสีเข้าสู่ร่างกายเป็นส่วน ( Partial Body X-Ray ) ไม่ได้ฉายรังสีแบบองค์รวมจำนวนทั้งหมด 10 ครั้ง พบว่าการฉายรังสี  Partial Body X-Ray 1 ครั้งจะทำให้โครโมโซมเกิดความเสียหายขึ้น และความเสียหายนี้จะเกิดการสะสมทุกครั้งที่มีการฉายรังสี ดังนั้นเมื่อมีการฉายรังสีครบ 10 ครั้งหรือได้รับปริมาณรังสีครบ 1500 cGy ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นมีทั้ง การแตกหักแบบ dicentric หรือ Acentric Fragment คือโครโมโซมไม่มีเซนโทรเมียร์จะมีจำนวนมากกว่าจำนวนเซลล์ที่เกิดความผิดปกติของโครโมโซมแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับคู่เบสใน DNA ที่เป็นเบสชนิดเดียวกัน ( Transversion ) และ ความผิดปกติของโครโมโซมแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับคู่เบสใน DNA ที่เป็นเบสต่างชนิดกัน ( Translocation ) มากถึง 4 เท่าเลยทีเดียว นั่นคือโครโมโซมจะเกิดการแตกหักมากกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของคู่เบส และอัตราการเกิดความผิดปกติของโครโมโซมจะมีค่าลดลงเมื่อผ่านการฉายรังสีไปเล้วประมาณ 4 ปี

การฉายรังสียังสามารถทำให้เกิดความเสียหายกับ DNA ได้โดยการที่รังสีทำปฏิกิริยาระหว่าง DNA กับพลังงานรังสีหรือปฏิกิริยาระหว่างรังสีกับอนุมูลอิสระ เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( Hydrogen Peroxide ) ไฮโดรเจนอะตอม (Hydrogen Atom ) ไฮโดรเจนอิเล็กตรอน ( Hydrogen Electron ) อนุมูลอิสระของไฮโดรเจน ( Hydrogen Free Radical ) ที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างรังสีกับองค์ประกอบภายในเซลล์ ที่มีผลจากการชักนำของยาวซึ่งมีมาก 10 ถึง 20 รูปแบบเท่านั้น แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงจากการฉายรังสีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง DNA ได้มากกว่า 100 รูปแบบเลยที่เดียว โดยการที่รังสีทำให้เบสของ DNA เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้เป็น Hydroxylate Purine กับ Imidazole-ring Opened Purine ที่สามารถชักนำให้ DNA เกิดเป็น Single และ Double Strand Break จึงสรุปได้ว่า การเกิดความผิดปกติของเบสใน DNA จนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์หรือความผิดปกติของโครโมโซม สามารถเกิดขึ้นได้มากถ้ามีการใช้เคมีบำบัดพร้อมกับการฉายรังสี

อย่างที่ทราบกันดีในวงการแพทย์ว่าการฉายรังสีนั้นมีผลกระทบต่อร่างกายอยู่หลายประการ แต่แพทย์ในสมัยก่อนก็ได้พยายามที่จะนำผลกระทบที่เกิดจากากรฉายรังสีมาใช้ประโยชน์ในการรักษาหรือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อที่เกิดขึ้น เช่น ในกรณีที่กระดูกสันหลังคดและโรคความผิดปกติของผิวหนังตั้งแต่ระดับ Hypertrichosis จนถึงขั้นของมะเร็งผิวหนัง และได้มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้รังสีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อที่แพทย์จะได้ใช้ประโยชน์จากการฉายรังสีหรือ Ionizing Radiation และลดความเสี่ยงในการรักษาด้วยวิธีนี้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ผลกระทบจะเกิดขึ้นให้เห็นแม้ว่าจะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม

จากการศึกษาและทดลองที่ได้ออกมาเป็นบทความทางวิชาการมากมาย ทำให้เราทราบถึง Tolerance Dose ที่เหมาะสมกับเนื้อเยื่อและโครงสร้างแต่ละชนิดที่อยู่ในร่างกาย และยังได้ศึกษาถึงการใช้ยาร่วมกับการฉายรังสีเพื่อที่จะได้รับผลที่เฉพาะกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย ส่งผลให้การรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการกินยาส่งผลดีต่อผู้ป่วย แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจาการรักษาด้วยรังสีพร้อมกับการกินยาก็ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างละเอียดยังต้องทำการศึกษากันต่อไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนี้การรักษาโรคมะเร็งอย่างได้ผลต้องทำการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดควบคู่กับการฉายรังสีเป็นทางเลือกที่ช่วยให้มีโอกาสหายมากที่สุด

กลไกการทำงานของรังสีต่อมะเร็ง

1. กฏของ Bergonie และ Tribondeau

ได้ตั้งสมมุติฐานและทำการทดลองจนพบกฏที่ว่า “ เซลล์ที่มีการแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วกว่าและเซลล์ที่มีอายุน้อยกว่าจะมีความว่องไวต่อการฉายรังสีมากกว่าเซลล์ที่มีการแบ่งตัวและมีอายุมากกว่า ” และ “ รังสีที่ฉายเข้าไปนั้นไม่ได้เข้าไปทำลายเซลล์โดยตรงแต่ว่า การฉายรังสีจะส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์หรือทำให้การสืบพันธุ์ของเซลล์ผิดปกติ คือไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้ ” นั่นคือการฉายรังสีไม่ได้เข้าไปทำลายเซลล์ที่มีอยู่แต่จะเข้าไปส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของเซลล์ทำให้เซลล์ไม่สามารถขยายพันธ์หรือเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นได้ เมื่อไม่สามารถพิ่มจำนวนขึ้นได้เมื่อเซลล์หมดอายุตายไป เซลล์ส่วนนี้ก็จะค่อย ๆ หายไป ตัวอย่างการทดลองในเชื้อแบคทีเรีย เมื่อฉายรังสีให้กับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในอาหารเพราะเลี้ยงเชื้อพบว่าการฉายรังสีนี้ไม่มีผลต่อเชื้อแบคมีเรียเลยแม้แต่น้อย แต่ทว่าพอเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต เชื้อแบคมีเรียกลับไม่สามารถแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนได้ แสดงว่าการฉายรังสีเข้าไปยับยั้งการแพร่ขยายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียในสิ่งมีชีวิตได้

2. ทฤษฏีของ Ellis

Ellis ได้เสนอทฤษฏีและการคำนวนผลกระทบที่เกิดจากการฉายรังสี โดยให้ข้อเสนอที่ว่า “ ผลกระทบของรังสีที่มีต่อโครงสร้างแบบปกติในร่างกาย จะมีผลมาจากความเสียหายของ Stroma ที่ทำหน้าที่สำคัญให้กับโครงสร้าง ” Stroma จะไม่มีลักษณะจำเพาะของอวัยวะเรียกว่า Stroma ที่อวัยวะใดก็เหมือนกันทั้งหมดทั่วร่างกาย ดังนั้นเมื่อเราทราบว่าความเสียหายของ Stroma หลังจากการฉายรังสี เราก็จะทราบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นเช่นไรในการฉายรังสีที่ทุกอวัยวะ แต่มีข้อยกเว้นที่สมองกับกระดูกเท่านั้น

ซึ่งสามารถนำมาคิดเป็นสูตรตามตัวแปรดังนี้ Total Dose กับ Fraction Size และ Overall Treatment Time

แต่ทว่าสูตรการคำนวนนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ได้มีการนำมาปรับปรุงแก้ไขสูตรเพื่อความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานสำหรับเนื้อเยื่อแต่ละชนิดต่อไป

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉายแสง

อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสำหรับแต่ะลบุคคลจะมีความแตกต่างกันไป แต่สรุปแล้วอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ตามหลายระยะเวลาที่ได้รับรังสีนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1. อาการแทรกซ้อนระยะสั้น คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทันทีหรือหลังจากได้รับการฉายรังสีเพียงไม่กี่วัน อาการแทรกซ้อนระยะสั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น อาการเวียนศีรษะ หน้ามืด อาเจียน เยื่อบุช่องปาดอัเสบ ( Severe Mucositis ) อาการแทรกซ้อนนี้สามารถรักษาให้หายได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่บางอาการก็สามารถรักษาหายทันทีแต่บางอาการก็ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษากว่าที่จะหายดี

2. อาการแทรกซ้อนระยะกลาง คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับการฉายรังสีประมาณ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาการนี้จะไม่แสดงทันทีที่ได้รับการฉายรังสีแต่จะเว้นระยะเวลาไว้สักพักหนึ่งก่อนถึงจะมีอาการแสดงออกมา เช่น อาการผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ ( Somnolence Syndrome ) ที่มักเกิดขึ้นหลังจากการฉายรังสีประมาณ 4-6 สัปดาห์ และอาการปอดบวมน้ำ ( Pulmonary Edema ) เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายได้หลังจากที่ผลกระทบจากรังสีลดลง แต่ว่าอาการดังกล่าวถ้ามีเกิดขึ้นควรต้องไปปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาเพราบางครั้งดูเหมือนว่าหายแล้วแต่อาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในภายหลังได้

3. อาการแทรกซ้อนระยะยาว คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีเป็นเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการแทรกซ้อนระยะยาวมีเกิดขึ้นได้หลายแบบด้วยกันดังนี้

3.1 มะเร็งที่เกิดจากการฉายรังสี การฉายรังสีอาจจะส่งผลกระทบให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็งได้ ตัวอย่างเช่น การฉายรังสีที่สมอง บริเวณผิวหนังหรือกะโหลกศีรษะมีโอกาสที่จะเกิดการเจริญเติบโตเป็นก้อนในสมองและมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในสมองได้เช่นกัน

3.2 อวัยวะทำงานได้ไม่เต็มที่ ผลในระยะยาวอีกอย่างหนึ่งที่พบจากการฉายรังสี คือ หลังจากที่ฉายรังสีไปแล้วตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อวัยวะที่โดนรังสีนี้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น คนที่ได้รับการฉายรังสีที่สมอง เมื่อผ่านได้ประมาณ 2 ปีจะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำและการเรียนรู้ที่น้อยลง คือมีความจำสั้นลง คิดวิเคราะห์หรือตัดสินใจช้าลง ซึ่งผลกระทบนี้ได้มีการทดลองโดย O’Malley และคณะผู้ร่วมงาน ได้ทำการเฝ้าสังเกตการเด็กหญิงที่ทำการรักษามะเร็งนิวโบลาสโตมาระดับที่ 4 ( Neuroblastoma Stage IV ) ที่ได้รับการฉายรังสีเมื่ออายุ 3 เดือน พบว่าหลังจากที่ได้รับเคมีบำบัดและการฉายรังสีที่สมองเกิดอาการแทรกซ้อนตับโตทำให้ต้องดได้รับการฉายรังสีอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและหัวใจล้มเหลวจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งได้มีการผ่าพิสูจน์ศพของเด็กหญิงพบว่าอวัยวะภายในเกิดการเสื่อมรวมถึงไตนั้นเกิดการเสื่อม ที่เป็นผลจากการฉายรังสี

อีกกรณีหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีพบว่าบริเวณผิวหนังที่โดนรังสีเมื่อผ่านไป 18 ปีมีมะเร็งผิวหนังเกิดขึ้น ซึ่งแสดงว่าการฉายรังสีสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ในระยะยาว

และในตัวอย่างผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้องนั้น พบว่าช่องท้องมีการตีบตัน Coarctation เกิดขึ้นในส่วนของหลอดเลือดแดง ( Abdominalaorta ) ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

จะเห็นว่าอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในทุกระยะเวลา มีผลกระทบที่ระดับโมเลกุลและเนื้อเยื่อแทบทั้งสิ้น แสดงว่าการฉายรังสีจะส่งผลกระทบทางชีวภาพกับสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในภายหลังอย่างแน่นอน และการรักษาด้วยรังสีและเคมีบำบัดร่วมกันนั้นย่อมเป็นการเร่งให้เกิดปฏิกิริยาในการรักษาให้เห็นผลเร็วขึ้น แต่ผลกระทบที่ได้รับก็มากขึ้นตามได้ด้วย

อาการแทรกซ้อนในระยะยาวยังสามารถแบ่งออกเป็นหลายแบบโดย สมาคมการรักษามะเร็งแห่งยุโรป ( European Organization For Research and Treatment of Cancer : EORTC ) และสถาบันมะเร็งของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งผลกระทบระยะยาวของการฉายรังสี ที่เรียกว่า “ SOMA ( Subjective Objective Management criteria with Analytic Laboratory ) การแบ่งรูปนี้จะแบ่งตามความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนของผุ้ป่วยและการรักษาในห้องทดลอง และการตรวจเอ็กซเรย์เข้ามาช่วยในการจัดแบ่งระดับความรุนแรงของผลกระทบด้วย เรียกว่า “ NCI CTC AE ( The Nation Cancer Institute Common Terminology criteria for Adverse  Events ) ” แต่การแบ่งแบบนี้ค่อนข้างที่กว้างมาก ครอบคลุมการรักษาด้วยรังสีควบคู่กับการฉายรังสี ( Combined modality ) ด้วย ไม่ได้เน้นแต่เฉพาะอาการแทรกซ้อนหรือผลกระทบจากการรักษาด้วยรังสีเพียงอย่างเดียว

ปี 2010 ได้มีการทำงานร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ที่ใช้รังสีในการรักษาทำการรวบรวมข้อมูลจากอดีตและปัจจุบันสร้างเป็นใช้รังสีให้กับแพทย์ที่ใช้รังสีรักษาโดยเครื่องมือสมัยใหม่ที่นำมาฉายรังสี ทั้งรังสีสามมิติและรังสีสามมิติชนิดแปรความเข้มข้น ชนิด The Quantitative Analysis of Normal Tissue Effect in the Clinic : QUANTEC ซึ่งจะคำนวนจากข้อมูลปริมาณรังสี ( Dose ) ขนาดของอวัยวะ ( Volume ) และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ( Outcome ) ของอวัยวะที่ต้องการทำการฉายรังสี เพื่อช่วยให้แพทย์ที่ทำการรักษามีข้อมูลมากพอที่จะใช้กำหนดและวางแผนในการรักษาด้วยรังสีที่อวัยวะต่าง ๆ จะสามารถทนต่อรังสีได้ ( Dose/Volume Constraint )

การรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีร่วมกับการใช้เคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ได้ผลมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ทว่าผลกระทบที่เกิดจากการรักษาดังกล่าวก็มีมากเช่นกัน แต่เชื่อว่าในอนาคตการรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นวิธีการรักษาที่มีผลกระทบน้อยที่สุดกับผู้ป่วยอย่างแน่นอน เพราะนักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามคิดค้นวิธีที่จะทำให้การฉายรังสีส่งผลกระทบน้อยที่สุดกับผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].