การตรวจเซลล์ต่างๆในร่างกาย
การตรวจเซลล์ต่างๆในร่างกาย

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell )

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ชนิดที่เป็นเซลล์รากเหง้าหรือต้นกำเนิดของเซลล์ทุกชนิด เซลล์ชนิดนี้จะมีความพิเศษที่สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด พบได้ในร่างกายทุกช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโต เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์สามารถเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดใน ทุกอวัยวะของร่างกาย ตัวอย่างของเซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ต้นกำเนิดในหัวใจที่เจริญเติบโตกลายเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ต้นกำเนิดสมองกลายเป็นสมองชั้นนอก สมองชั้นใน เป็นต้น เซลล์ต้นกำเนิดสามารถซ่อมแซมและเสริมสร้างอวัยวะได้อย่างไม่จำกัด 

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด มี 2 ประเภท คือ

1.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแยกได้จากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) มีคุณสมบัติสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดที่มีอยู่ภายในร่างกาย ยกเว้นเซลล์จากรกของมารดาในครรภ์

2.สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถแยกได้จากสิ่งมีชีวิตที่โตเต็มวัยแล้ว ( Adult Stem Cell ) คือ เซลล์ต้นกำเนิดชนิดนี้จะสามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เฉพาะในเนื้อเยื่อ ทำหน้าที่ซ่อมแซมอวัยวะของร่างกาย

จากแนวคิดที่ว่าเซลล์ต้นกำเนิดสามารถเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นเซลล์ได้เกือบทุกชนิดภายในร่างกายและช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในอวัยวะของร่างกายได้ จึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้ในการรักษาโรค ดังนี้

อดีตได้มีการค้นหาว่าเซลล์ต้นกำเนิดของสมองนั้นอยู่ที่ส่วนใดกันแน่ ได้มีการศึกษาและทดลองจนได้ข้อสัญนิษฐานว่าเซลล์ต้นกำเนิดของสมองอยู่บริเวณรอบ ๆ โพรงสมองกับบริเวณขมับของฮิปโปแคมปัสและอยู่ที่ส่วนของเซลล์ประสาทรับกลิ่นของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 จากการศึกษาและทดลองพบว่า สมองมีแหล่งของเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถเจริญเติบโตขึ้นเป็นเซลล์สมองอยู่จริง

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ชนิดที่เป็นเซลล์รากเหง้าหรือต้นกำเนิดของเซลล์ทุกชนิด เซลล์ชนิดนี้จะมีความพิเศษที่สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่มีจุดสิ้นสุด พบได้ในร่างกายทุกช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโต

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบสมองเสื่อมพบว่าเนื้อสมองของผู้ป่วยที่มีภาวะของสมองเสื่อมจะมีการฝ่อหรือเหี่ยวลง และเนื้อสมองมีการอักเสบเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้เซลล์สมองที่สามารถใช้งานได้มีจำนวนน้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงตามจำนวนเซลล์สมองที่มี ในการรักษาเมื่อให้ยากลุ่มต้านการอักเสบ ยาต้านเอนไซม์ ยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้าและยาในกลุ่ม Cholinesterase ที่ช่วยเข้าไปเพิ่มปริมาณของสาร Acetylcholine ที่อยู่ในสมองให้มีเพิ่มขึ้น ซึ่งสาร Acetylcholine ช่วยในการหลั่งฮอร์โมนและหลั่งสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ภายในสมอง ทำให้กระบวนการซ่อมแซมเซลล์เกิดขึ้นจนเซลล์สมองมีความแข็งแรงเหมือนเดิมและยังช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์สมองให้ทำงานเพิ่มจำนวนเซลล์สมองให้มากขึ้นด้วย ตำแหน่งที่พบว่ามีการแบ่งเซลล์หลังจากที่ให้ยากกลุ่มนี้ไปแล้ว ตำแหน่งนั้น คือ ตำแหน่งของสเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือ เซลล์ต้นกำเนิดนั่นเอง เมื่อทราบถึงตำแหน่งของสเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) นักวิทยาศาสตร์ก็หวังว่าจะเอาเซลล์จากแหล่งเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์นี้มาทำการปลูกถ่ายเซลล์สมองให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับใช้สารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์กระตุ้นให้เซลล์มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันการเกิด โรคสมองเสื่อม

นอกจากการหาแหล่งของเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ในสมองแล้ว ยังมีการศึกษาเพื่อที่จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cell ) ที่สามารถเจริญเติบโตเป็นเซลล์ได้หลายชนิด ( Induced Pluripotent Stem Cell ) เช่น จากเซลล์ที่บริเวณผิวหนังหรือเซลล์จากเลือด แทนที่จะนำมาจากเอ็มบริโอหรือนำมาจากตัวอ่อนระยะแรกเริ่มที่อยู่ในครรภ์มารดาหรือพบได้ในเลือดภายในสายสะดือและจากกระดูกสันหลัง แล้วทำการชักนำให้สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือเซลล์ต้นกำเนิดนี้ ให้กลายเป็นเซลล์ที่หลั่งสารแอลฟา – ไซนิวคลีอิน ( Alpha – Synuclein ) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมอย่างโรคพาร์กินสัน เพื่อที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ศึกษาทำความรู้ความเข้าใจและกลไกในการเกิดโรคได้มากขึ้น การศึกษาทดลองก็เพื่อที่จะได้หาต้นตอและกลไกการเกิดโรคที่แท้จริงว่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติในขั้นตอนใดของเซลล์ จะได้วางแนวทางในการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดโรคอย่างได้ผล การที่ใช้เนื้อเยื่อจากส่วนอ่อนแทนเนื้อเยื่อจากตัวอ่อนในครรภ์มารดาก็เพราะว่าการใช้เนื้อเยื่อหรือเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน ในครรภ์มารดาถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดหลักศีลธรรมและจริยธรรมในยุคปัจจุบันนี้ จึงไม่สามารถนำเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Induced Pluripotent Stem Cell มาใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคได้ แต่ก็ได้มีการทดลองในตัวอ่อนของสัตว์ทดลองบางชนิด ซึ่งผลการทดลองดังกล่าวยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์กล้าออกมายืนยันว่าทำให้ผลจริง เนื่องจากยังไม่มีการทดลองในคนจริงๆ จึงได้แต่เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาและนำมาออกแบบจำลองการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการสร้างชีวิตที่ยืนยาวต่อไป 

นอกจากเซลล์ต้นกำเนิดที่ทำการสกัดมาจากผิวหนังและเลือดแล้ว ยังพบว่าในเนื้อเยื่อของฟันน้ำนมที่เกิดขึ้นของเด็กบางซี่นั้น มีองค์ประกอบของเซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่เรียกว่ามี เซนไคม์ ( Mesenchymal Stem Cell : MSCs ) คือ สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถทำหน้าที่ทดแทนเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายที่เกิดการเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ ซึ่งสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่พบจากฟันน้ำนมนี้ช่วยในการรักษาโรคที่มีความผิดปกติได้หลายชนิด เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบสมอง โรคหัวใจเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะอัมพาตที่เกิดจาการบาดเจ็บของไขสันหลัง โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดที่ค้นพบนี้เข้ามาช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมหรือตายไปในอวัยวะของร่างกาย โดยใช้วิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเข้าไปกระตุ้นการสร้างและการซ่อมแซ่มเซลล์ในบริเวณดังกล่าวเพื่อที่เซลล์จะได้กลับสู่สภาวะปกติ

การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดนั้นยังมีข้อถกเถียงระหว่างด้านศีลธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ ทำให้การวิจัยและทดลองเพื่อศึกษาการนำเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์มาใช้ยังไม่มีข้อชัดเจน แต่ทว่าการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ก็ยังเป็นความหวังของวงการแพทย์ที่จะช่วยรักษาโรคความเสื่อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เราทุกคน ช่วยยืดอายุและความแข็งแรงของร่างกาย ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะมีอายุยืนนับร้อยปี โดยไม่เจ็บป่วยจากการใช้สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดก็เป็นได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.

Becker AJ, McCulloch EA, Till JE (1963). “Cytological demonstration of the clonal nature of spleen colonies derived from transplanted mouse marrow cells”. Nature. 197 (4866): 452–54. Bibcode:1963Natur.197..452B. doi:10.1038/197452a0. PMID 13970094.

Siminovitch L, Mcculloch EA, Till JE (1963). “The distribution of colony-forming cells among spleen colonies”. Journal of Cellular and Comparative Physiology. 62 (3): 327–36. doi:10.1002/jcp.1030620313. PMID 14086156.