โรคระบาดในหมู ASF คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร

0
3647
โรค ASF ในหมู คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร
หมูที่ติดเชื้อ ASF สามารถทานได้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ แต่ปรุงสุกเป็นเวลา30 นาที ด้วยอุณภูมิ 60 องศาขึ้นไป
โรค ASF ในหมู คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร
หมูที่ติดเชื้อ ASF สามารถทานได้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ แต่ปรุงสุกเป็นเวลา30 นาที ด้วยอุณภูมิ 60 องศาขึ้นไป

ASF

โรค ASF (African Swine Fever) คือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Clinical Practice Guideline) เป็นโรคไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสุกรที่แพร่กระจาย ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก หากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรค ได้ยาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรค สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต และยิ่งกว่านั้นโรคนี้เป็นโรค ที่มีความความรุนแรงทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100 %

สาเหตุของโรค ASF

มักติดเชื้อ ASF​ จากการกินเศษอาหารที่มีเชื้อ​โรคเข้าไป และการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมากับคน​ สิ่งของ​ รถขนส่ง​ และสัตว์พาหะ ซึ่งสัตว์พาหะที่สามารถนำโรคได้โดยตรง​ ได้แก่​ เห็บอ่อน​ ที่พบในทวีปแอฟริกาและยุโรปเท่านั้น

อาการโรค​ ASF ในหมูเป็นอย่างไร?

หมูจะแสดงอาการหลังติดเชื้อประมาณ​ 3-4 วัน โดยหมูที่ติดเชื้อจะมีอาการอาเจียน ไข้สูง​ ถ่ายเป็นเลือด​ จุดเลือดออก​ ​และตายเกือบ​ 100% ​

โรค ASF ติดจากสัตว์สู่คนได้หรือไม่

เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)ไม่ใช่โรคที่ติดจากสัตว์สู่คน จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และในปัจจุบันยังไม่มีประวัติผู้ป่วยด้วยเชื้อโรคนี้

โรค ASF สามารถแพร่ไปในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่าทุกเพศทุกวัยได้อย่างรวดเร็วและร้ายแรงถึงชีวิต

หากกินหมูติดเชื้อ ASF จะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

เนื้อหมูที่ติดเชื้อ ASF เรายังสามารถกินได้ตามปกติ แต่ไม่ควรกินเนื้อสุกๆดิบๆ เพราะเชื้อไวรัสนี้จะตายด้วยความร้อน​ 60 องศาขึ้นไป ปรุงสุกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่ทานจะสะอาด ปลอดเชื้อ จึงควรกินอาหารที่ปรุงสุกทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยง

เชื้อ ASF อยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานแค่ไหน

  • อยู่ในมูลสุกร หรือสิ่งแวดล้อม ประมาณ 1 เดือน
  • อยู่ในซากสัตว์ หรือในดินได้ถึง 3 เดือน
  • อยู่ในเนื้อแปรรูป ได้ถึง 1 ปี
  • อยู่ในเนื้อแบบแช่แข็ง ได้ถึง 3 ปี

สามารถป้องกันฟาร์มจากโรค ASF ได้อย่างไร

1. ไม่นำทั้งสุกรติดเชื้อที่ยังมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเข้ามาในพื้นที่ปลอดโรค ASF
2. ไม่ควรนำเศษอาหารของมนุษย์ไปเลี้ยงสุกรโดดเด็ดขาด
3. เมื่อพบว่ามีสุกรเป็นโรค ASF ให้กำจัดสุกรทั้งหมดอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะติดเชื้อหรือไม่
4. ดูแลฟามร์มให้ปราศจากไวรัสและแบคทีเรีย เช่น ฆ่าเชื้อเสื้อผ้าและรองเท้าบูท หรือใช้เสื้อผ้าและรองเท้าบูทที่สำหรับใส่ในฟาร์มไว้เป็นการเฉพาะ
5. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เข้ามาในฟาร์มไม่มีการสัมผัสกับสุกรอื่นใดในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา
6. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์อย่างถูกต้องก่อนเข้ามาในบริเวณฟาร์ม
7. ตรวจสอบและทดสอบหาเชื้อ ASF ในสุกรที่ป่วยหรือตายทุกตัว รวมถึงหมูที่ถูกเชือดเพื่อการบริโภคในบ้านก็ควรถูกตรวจหาเชื้อ ASF โดยมีใบรับรองจากสัตวแพทย์
8. เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของโรค ASF ให้แจ้งสัตวแพทย์โดยทันที และนำสุกรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ
9. มีการกักโรคอย่างเข้มงวดทั้งในเขตที่ปราศจากโรค ASF และเขตติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายของเชื้อ

ปัญหาหมูติดเชื้อASF ทำให้ราคาหมูปี2565สูงขึ้นมาก แม้หมูที่ติดเชื้อยังสามารถทานได้อยู่ก็ตาม แค่ปรุงสุกภายใน30 นาที ด้วยอุณภูมิ 60 องศาขึ้นไป หรือไม่ก็หันมาเปลี่ยนเมนูอย่าง เป็ด ไก่ กุ้ง เนื้อวัว ก็ได้ เป็นเมนูที่ต้องลองที่แม่บ้านไม่ควรพลาด