โรค ASF ในหมู คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร
หมูที่ติดเชื้อ ASF สามารถทานได้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ แต่ปรุงสุกเป็นเวลา30 นาที ด้วยอุณภูมิ 60 องศาขึ้นไป

ASF

โรค ASF (African Swine Fever) คือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Clinical Practice Guideline) เป็นโรคไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสุกรที่แพร่กระจาย ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก หากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรค ได้ยาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรค สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต และยิ่งกว่านั้นโรคนี้เป็นโรค ที่มีความความรุนแรงทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100 %

สาเหตุของโรค ASF

มักติดเชื้อ ASF​ จากการกินเศษอาหารที่มีเชื้อ​โรคเข้าไป และการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมากับคน​ สิ่งของ​ รถขนส่ง​ และสัตว์พาหะ ซึ่งสัตว์พาหะที่สามารถนำโรคได้โดยตรง​ ได้แก่​ เห็บอ่อน​ ที่พบในทวีปแอฟริกาและยุโรปเท่านั้น

อาการโรค​ ASF ในหมูเป็นอย่างไร?

หมูจะแสดงอาการหลังติดเชื้อประมาณ​ 3-4 วัน โดยหมูที่ติดเชื้อจะมีอาการอาเจียน ไข้สูง​ ถ่ายเป็นเลือด​ จุดเลือดออก​ ​และตายเกือบ​ 100% ​

โรค ASF ติดจากสัตว์สู่คนได้หรือไม่

เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)ไม่ใช่โรคที่ติดจากสัตว์สู่คน จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และในปัจจุบันยังไม่มีประวัติผู้ป่วยด้วยเชื้อโรคนี้

โรค ASF สามารถแพร่ไปในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่าทุกเพศทุกวัยได้อย่างรวดเร็วและร้ายแรงถึงชีวิต

หากกินหมูติดเชื้อ ASF จะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

เนื้อหมูที่ติดเชื้อ ASF เรายังสามารถกินได้ตามปกติ แต่ไม่ควรกินเนื้อสุกๆดิบๆ เพราะเชื้อไวรัสนี้จะตายด้วยความร้อน​ 60 องศาขึ้นไป ปรุงสุกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่ทานจะสะอาด ปลอดเชื้อ จึงควรกินอาหารที่ปรุงสุกทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยง

เชื้อ ASF อยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานแค่ไหน

  • อยู่ในมูลสุกร หรือสิ่งแวดล้อม ประมาณ 1 เดือน
  • อยู่ในซากสัตว์ หรือในดินได้ถึง 3 เดือน
  • อยู่ในเนื้อแปรรูป ได้ถึง 1 ปี
  • อยู่ในเนื้อแบบแช่แข็ง ได้ถึง 3 ปี

สามารถป้องกันฟาร์มจากโรค ASF ได้อย่างไร

1. ไม่นำทั้งสุกรติดเชื้อที่ยังมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเข้ามาในพื้นที่ปลอดโรค ASF
2. ไม่ควรนำเศษอาหารของมนุษย์ไปเลี้ยงสุกรโดดเด็ดขาด
3. เมื่อพบว่ามีสุกรเป็นโรค ASF ให้กำจัดสุกรทั้งหมดอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะติดเชื้อหรือไม่
4. ดูแลฟามร์มให้ปราศจากไวรัสและแบคทีเรีย เช่น ฆ่าเชื้อเสื้อผ้าและรองเท้าบูท หรือใช้เสื้อผ้าและรองเท้าบูทที่สำหรับใส่ในฟาร์มไว้เป็นการเฉพาะ
5. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เข้ามาในฟาร์มไม่มีการสัมผัสกับสุกรอื่นใดในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา
6. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์อย่างถูกต้องก่อนเข้ามาในบริเวณฟาร์ม
7. ตรวจสอบและทดสอบหาเชื้อ ASF ในสุกรที่ป่วยหรือตายทุกตัว รวมถึงหมูที่ถูกเชือดเพื่อการบริโภคในบ้านก็ควรถูกตรวจหาเชื้อ ASF โดยมีใบรับรองจากสัตวแพทย์
8. เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของโรค ASF ให้แจ้งสัตวแพทย์โดยทันที และนำสุกรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ
9. มีการกักโรคอย่างเข้มงวดทั้งในเขตที่ปราศจากโรค ASF และเขตติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายของเชื้อ

ปัญหาหมูติดเชื้อASF ทำให้ราคาหมูปี2565สูงขึ้นมาก แม้หมูที่ติดเชื้อยังสามารถทานได้อยู่ก็ตาม แค่ปรุงสุกภายใน30 นาที ด้วยอุณภูมิ 60 องศาขึ้นไป หรือไม่ก็หันมาเปลี่ยนเมนูอย่าง เป็ด ไก่ กุ้ง เนื้อวัว ก็ได้ เป็นเมนูที่ต้องลองที่แม่บ้านไม่ควรพลาด