เลเซอร์ หลุมสิว
เลเซอร์ ( Laser ) คือ กระบวนการรักษาผิวหนังอย่างหนึ่งที่ช่วยปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น โดยยิงแสงเลเซอร์ไปตรงบริเวณที่เกิดความผิดปกติ และลอกชั้นผิวหนังออกทีละชั้น ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการกรอผิว หรือการยิงทำลายด้วยแสงเลเซอร์
หลายคนคงสงสัยว่าหลุมสิวหายได้ไหม ในปัจจุบันมีสาๆที่สนใจใช้เลเซอร์ในการรักษาหลุมสิว กันมากขึ้น เพราะเห็นผลได้ไวและชัดเจนมากกว่าวิธีอื่นๆ แต่ก็มีสาว ๆ อีกหลายๆ คนที่คงยังมีคำถามในใจว่า จะเจ็บมากไหม จะใช้ยาชาหรือเปล่า หรือว่าหน้าเราจะคล้ำง่ายขึ้นไหม อย่างไร โพสนี้มีคำตอบมาให้แล้วค่ะ
หลุมสิวเกิดจากอะไร
1. เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป จนทำให้เกิดเป็นเม็ด ตุ่ม หรือผื่นบริเวณไรผม หน้าผาก จมูกและแก้ม
2. การล้างหน้าที่ไม่สะอาดอย่างเพียงพอ
3. การสัมผัสผิวหน้าบริเวณที่เป็นสิวบ่อย ๆ เช่น ลูบ แกะ บีบ เพราะรู้สึกกังวลใจ ก็ทำให้เกิด หลุมสิว ได้
เมื่อเกิดหลุมสิวแล้วจะเป็นอย่างไร
1. เกิดรอยจุด รอยแผลเป็นบนใบหน้า
2. เซลล์ผิวหนังหายไป มองเห็นใบหน้าเป็นหลุมเป็นบ่อชัดเจน ไม่เรียบเนียน
3. ทำให้แต่งหน้าลำบาก
4. หากเป็นแล้วควรรีบรักษา มิฉะนั้น จากสิวธรรมดา ก็จะหลายเป็นสิวอักเสบ ทำให้หลุมสิวลึกและรักษายาก
ข้อดีของการใช้เลเซอร์รักษาหลุมสิว
รักษารอยสิว หลุมสิว การ เลเซอร์ หลุมสิว คือ การส่งพลังงานเข้าไปกระตุ้นคอลลาเจนใต้ผิวให้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอมากขึ้น ซึ่งมีข้อดี ดังนี้
1. รอยด่างดำยุบลง
2. ผิวพรรณเรียบเนียน กระจ่างใสอย่างเป็นธรรมชาติ
3. แต่งหน้าง่ายขึ้น
ข้อเสียของการเลเซอร์หลุมสิว
1. ผิวไวต่อแดด และบางรายอาจรู้สึกว่าผิวแพ้ง่ายกว่าเดิม จึงควรดูแลผิวหน้าให้มากขึ้น อาทิ การทาครีมกันแดดเป็นประจำ
2. ราคาสูง
3. หลังจากหยุดทำ เลเซอร์ไปแล้ว มีโอกาสที่ใบหน้าจะกลับมาคล้ำได้ดังเดิม
เลเซอร์หลุมสิวมีกี่แบบ
แบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
1. Ablative laser : เลเซอร์ชนิดมีแผล
การรักษาด้วยเลเซอร์แบบนี้มักจะมีสะเก็ดบนใบหน้าประมาณ 1 อาทิตย์ หลังจากนั้น ผิวจะค่อยๆฟื้นตัวและกลับสู่สภาวะปกติ แต่วิธีนี้ต้องมีการดูแลตนเองหลังเลเซอร์ค่อนข้างมาก และมีโอกาสเกิดรอยดำและเป็นกระมากขึ้นด้วย
2. Nonablative laser : เลเซอร์ชนิดไม่มีแผล
การเลเซอร์ หลุมสิว แบบนี้จะสามารถไปทำงาน หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
3. Fractional laser :การเลเซอร์แบบนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างผิวใหม่เพื่อเติมเต็มสภาพผิวได้ดี แต่ผิวหน้าจะต้องใช้เวลาในการพักฟื้น 1 – 2 เดือน
เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปเลเซอร์หลุมสิว
1. ควรเลือกแพทย์หรือคลินิกเสริมความงามเฉพาะทาง
2. ควรหาข้อมูลการทำ เลเซอร์ และผลกระทบจากการทำไว้ให้พร้อม
3. ควรเตรียมข้อมูลตัวเอง อาทิ การทานยา – แพ้ยา การทานฮอร์โมน ประวัติการผ่าตัด หรือศัลยกรรมใบหน้าให้หมอทราบด้วย
4. ไม่ควรทายา หรือกรดผลไม้ต่าง ๆ ก่อนไปรักษา
5. ควรหยุดทายาละลายหัวสิวก่อนทำเลเซอร์
6. หยุดสูบบุหรี่
7.เลี่ยงการออกแดด หรือเจอแสงแดดแรง ๆ
วิธีดูแลตัวเองหลังทำเลเซอร์หลุมสิว
1. ควรล้างแผลและใส่ยาตามเวลาที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด
2. ควรระวังไม่ให้แผลสัมผัสกับสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น แอลกอฮอล์ โฟมล้างหน้าหรือโทนเนอร์
3. ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางจนกว่าผิวหน้าจะฟื้นตัวเข้าสู่สภาวะปกติ
4. ควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดและความร้อน แม้จะทาครีมกันแดดเป็นประจำก็ควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดเป็นเวลานานๆ
5. ควรบำรุงเซลล์ผิวใหม่ให้ชุ่มชื้น ส่วนผู้ที่ใช้ยาทารักษาสิวอุดตันหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดไกลโคลิค ต้องหยุดใช้แล้วจึงกลับมาใช้ได้อีกครั้งหลังผ่านไป 6 สัปดาห์หรือตามแพทย์สั่ง
6. ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดดหรือค่าเอสพีเอฟ ( Sun Protection Factor, SPF ) 30 ขึ้นไป เพื่อปกป้องผิวที่บางลงหลังทำเลเซอร์
เลเซอร์หลุมสิวที่ไหนดี 2019
การทำ เลเซอร์ หลุมสิว นั้นสามารถรักษาได้ทั้งที่โรงพยาบาลรัฐ และคลินิกเอกชน ส่วนค่ารักษาก็แตกต่างกันไปตามจำนวนคอร์สและชนิดของเลเซอร์ ผู้จะทำการรักษาอย่าลืมพิจารณาตรงจุดนี้ เพื่อให้เรามีผิวสวย หน้าใส ได้ในราคาที่สบายกระเป๋าด้วยล่ะค่ะ จริง ๆ ถ้า อยากจะรู้ว่า ทำเลเซอร์หลุมสิวที่ไหนดีที่สุดลองหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์
เลเซอร์หลุมสิวหาย 100% ไหม
อันนี้ก็พูดกันตามตรงเลยนะ ไม่อยากจะโกหกอะไร การที่เราไปเลเซอร์หลุมสิว ไม่สามารถทำให้หลุมสิวตื้นขึ้นเต็ม 100 % แต่ก็ช่วยได้เยอะเลย แต่อย่างต่ำๆก็ 20 % ได้
หวังว่าบทความเกี่ยวกับเรื่อง รักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆที่กำลังที่จะตัดสินใจทำทุกคนนะจ้า หากมีอะไรผิดพลาด ขออภัย ด้วยน้า
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ศ.ดร.น.พ. สมศักดิ์ วรคามิน. ผิวสวย (BEAUTY SECRET THE UNTOLD STORY) กรุงเทพ: 2539 – 2560 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) © Copy Right 1996, 2017.
ริตา, เกรียร์. อาหารขจัดอนุมูลอิสระ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน,2551. 176 หน้า : 1.อาหาร-แง่สุขภาพ. 2.อนุมูลอิสระ. I.วูดเวิร์ด,โรเบิร์ต, II.พิสิฐ วงศ์วัฒนะ,ผู้แปล. III.ชื่อเรื่อง. 613.2 ISBN 978-974-04-5522-6.