กรดไฮยาลูโรนิค ( Hyaluronic acid ) คืออะไร แนะนำให้เข้ามาอ่านบทความนี้

0
18035
Hyaluronic acid (กรดไฮยาลูโรนิค) คืออะไรเกี่ยวอะไรกับ ฟิลเลอร์
Hyaluronic acid ซึ่งเป็นสารเติมเต็มผิวที่มีความบริสุทธิ์สูง สารตัวนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบการทำงานของกรดไฮยาลูโรนิคที่พบในร่างกายมนุษย์
Hyaluronic acid (กรดไฮยาลูโรนิค) คืออะไรเกี่ยวอะไรกับ ฟิลเลอร์
Hyaluronic acid ซึ่งเป็นสารเติมเต็มผิวที่มีความบริสุทธิ์สูง สารตัวนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบการทำงานของกรดไฮยาลูโรนิคที่พบในร่างกายมนุษย์

กรดไฮยาลูโรนิค

กรดไฮยาลูโรนิค ( Hyaluronic acid ) เป็นสารเติมเต็มผิวหนัง ( Filler ) ที่มีผลชั่วคราว  เมื่อร่างกายของเราใช้งานมันไปจนหมด ก็ต้องมีการเติมเข้าไปอีก  เพื่อคงสภาพเดิมให้ได้มากที่สุด   เนื่องจากสารตัวนี้ เป็นสารที่ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมของร่างกาย  ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ร่างกายของเราจะสามารถรับและใช้งานมันได้อย่างเป็นปกติ  และสามารถทำลายให้หมดไปตามระยะเวลาที่เหมาะสม   ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกาย

กรดไฮยาลูโรนิค ( Hyaluronic acid ) เป็นโมเลกุลของน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า polysaccharide ที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น บริเวณผิวหนังและกระดูกอ่อน  สารตัวนี้สามารถรวมตัวกับน้ำและทำให้เกิดอาการบวม   แต่เมื่อมันอยู่ในสภาพปกติ  มักจะมีสภาพเป็นเจล  ซึ่งก่อให้เกิดเป็นความเรียบและยืดหยุ่น    ซึ่งเป็นสารให้ความชุ่มชื่นตามธรรมชาติเพราะมันสามารถดึงดูดน้ำในชั้นผิวหนังช่วยให้ผิวนุ่ม  ลื่นและยืดหยุ่น

5 คุณสมบัติที่สำคัญของไฮยาลูโรนิค

  1. การดูดความชื้น และไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านของร่างกาย
  2. สามารถช่วยเพิ่มปริมาตรผิว ( filler ) ได้อย่างยอดเยี่ยม
  3. สารเติมเต็มผิวที่มีความบริสุทธิ์สูง
  4. กรดไฮยาลูโรนิค สามารถใช้ทดแทนสารส่วนนี้ที่ร่างกายใช้งานไปจนเหลือน้อย โดยการฉีดกลับเข้าไปในร่างกาย ที่จะสามารถแสดงประสิทธิภาพในการทำงานได้
  5. การฟื้นฟูผิวหน้า โดยไม่ต้องพึ่งพาการผ่าตัดศัลยกรรม

อันที่จริงแล้วสาร กรดไฮยาลูโรนิคตัวนี้อยู่ในร่างกายและทำหนาที่ของตัวเองไปตามที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย  บางคนใช้งานหนักก็หมดเร็ว  บางคนใช้อย่างรู้คุณค่าก็สามารถประคับประคองมันให้สามารถอยู่ได้นาน อันที่จริงแล้ว กรดไฮยาลูโรนิค มันทำหน้าที่จัดการกับสาร Hyaluronan ซึ่งเป็นสารที่สร้างความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง  เช่น กดแก้ม กดคางแล้วเด้งกลับสู่สภาพเดิม

แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งนี้  พอกดแก้มลงไปแก้มจะบุ๋มตามนิ้วไปเลยไม่คืนสภาพเดิม  แต่การที่ผิวหนังของเรามี Hyaluronan มากเกินไป เมื่อมันถูกสะสมมากขึ้นเรื่อยๆแทนที่จะเป็นเพียงแค่องค์ประกอบในผิวหนังธรรมดาทั่วไป  มันกลับกลายเป็นเซลลูไลท์ที่ไร้ประโยชน์และเริ่มแบ่งแยกตัวเองออกจากผิวหนังชั้นกลาง   มาเป็นก้อนเซลลูไลท์ที่มีพื้นที่ส่วนตัว  ซึ่งเราจะเห็นเป็นก้อนเนื้อยานๆและนั่นคือสิ่งที่ผู้หญิงรับไม่ได้

ปกติร่างกายมนุษย์จะมี กรดไฮยาลูโรนิค ประมาณ 15 กรัม   และมันจะอยู่ที่ชั้นผิวหนัง  50% และอยู่ที่กระดูกอ่อนและส่วนอื่นๆอีก  50%   โดยปกติรูปแบบธรรมชาติของ กรดไฮยาลูโรนิค สามารถละลายน้ำ และร่างกาย สามารถผลิตมันออกมาได้ใหม่ ด้วยการทำงานของเอนไซม์ และมันจะมีอายุยืนยาวอยู่ได้ 24 วันตามสภาพร่างกายที่ปกติ  แต่มันจะหมดอายุสั้นลงด้วยภาวะของความเครียด  และความเจ็บป่วยบางประการของร่างกาย สารตัวนี้มีความทนทานต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ฉะนั้นเม็ดเลือดขาวไม่เห็นว่าสารตัวนี้เป็นสิ่งแปลกปลอม  มันจึงไม่ถูกขับออกจากร่างกาย  นอกเสียจากว่า  มันจะเสื่อมสภาพไปเอง  และถูกดูดซึมกลับเข้ามาในร่างกาย  กลายเป็นของเสียที่จะถูกขับออกไปจากร่างกายในอนาคต  ด้วยคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมในการดูดความชื้น และไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านของร่างกาย  ทำให้โมเลกุล กรดไฮยาลูโรนิค  เป็นสารที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยเพิ่มปริมาตรผิว(filler)ได้อย่างยอดเยี่ยม

ถ้าจะพูดว่า กรดไฮยาลูโรนิค เป็นสารที่เกิดจากความอัจฉริยะของมนุษย์ ก็สามารถพูดได้  เพราะการที่เราสามารถศึกษาจนเข้าใจระบบการทำงานของร่างกาย  แล้วยังเข้าใจมุมกลับของร่างกาย  ที่จะสร้างตัวอื่นสารเพื่อยับยั้ง การทำงานเหล่านี้  อันเป็นความซับซ้อนและความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์  เมื่อเรารู้ความลับตรงนี้ก็ยังเอาความรู้ที่ได้ไปพัฒนาจนสามารถ  คัดเลือกเอาสาร กรดไฮยาลูโรนิค จากแหล่งอื่น  มาพัฒนาและปรับใช้กับร่างกายคน   จนสามารถฉีดกลับเข้าไปในร่างกาย  ทดแทนสารส่วนนี้ที่ร่างกายใช้งานไปจนเหลือน้อยเกินกว่าที่จะสามารถแสดงประสิทธิภาพในการทำงานได้

ฉะนั้นการฉีด กรดไฮยาลูโรนิค ซึ่งเป็นสารเติมเต็มผิวที่มีความบริสุทธิ์สูง สารตัวนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบการทำงานของ กรดไฮยาลูโรนิค ที่พบในร่างกายมนุษย์  ซึ่งนอกจากมันจะทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื่นให้กับผิวหนังแล้ว  การนำเอาสารตัวนี้จะเข้าไปในชั้นผิวหนังจะช่วยทำลาย  Hyaluronan  ที่มากจนเกินไป  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาริ้วรอยและความหย่อนคล้อย

แหล่งที่มาของ กรดไฮยาลูโรนิค ที่ใช้เพื่อการเติมเต็มในส่วนของผิวหนัง  เป็นสารที่ได้มาจากกการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในห้องทดลอง  โดนการใช้โปรตีนที่ทำมาจากเนื้อของนกเป็นอาหาร  เพื่อให้ได้มาซึ่งสาร กรดไฮยาลูโรนิค ที่มีสภาพใกล้เคียงกับสารที่อยู่ในร่างกายมนุษย์มากที่สุด  และเมื่อได้สารเหล่านี้ออกมา  นักวิจัยก็ได้ทำการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบนิดหน่อยเพื่อให้ได้ กรดไฮยาลูโรนิค ที่มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น  ซึ่งโดยปกติการฉีดฟิลเลอร์ ตัวนี้ 1  ครั้งสามารถอยู่ในชั้นผิวหนังได้นาน  ประมาณ 6 เดือน  แต่ด้วยเทคโนโลยีในการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมี ทำให้มันสามารถอยู่ได้นานถึง 12  เดือน

ทุกวันนี้การพัฒนารูปแบบที่มีเสถียรภาพมากขึ้นของกรดไฮยาลูโรนิค ทำให้การเสริมสร้างความสวยงามสมบูรณ์แบบบนใบหน้าได้นานขึ้น  จึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตจากเดิมที่ใช้เชื้อ Avian ฉีดเข้าไปในนก และเอาส่วนที่เป็นอวัยวะเป้าหมายมาสังเคราะห์เพื่อดึงเอาสารตัวนี้ออกมา   ซึ่งมักก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย  และเสื่อมสลายได้เร็วเกินไป  ส่งผลให้เกิดความสิ้นเปลือง  จึงปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตมาใช้เชื้อ  Streptococcus หรือ Staphylococcus equine bacterium และใช้การหมักโดยวิธีธรรมชาติ  ในห้องทดลอง  และเพิ่มสาร  1,4- บิวทานอล diglycidyl ether เพื่อให้เกิดเป็น กรดไฮยาลูโรนิคที่มีความบริสุทธิ์สูงกว่า  มีความหนืดน้อยกว่า และไม่เป็นการทารุณสัตว์อีกด้วย

Hyaluronic acid จึงเป็น ฟิลเลอร์ ผิวฉีดที่มีประสิทธิภาพสูง  ใช้เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างมิติที่ดีกว่าได้บนใบหน้า  ทำให้ได้ใบหน้าที่กระชับได้รูปและเต่งตึง  มีความยืดหยุ่นที่พอเหมาะ เป็นการฟื้นฟูผิวหน้าโดยไม่ต้องพึ่งพาการผ่าตัดศัลยกรรม  ที่นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกกายแล้ว

ยังทิ้งร่องรอยการทำและผลข้างเคียงที่อาจตามมาอีกในอนาคต การฉีดกรดไฮยาลูโรนิคเข้าสู่ชั้นผิว  จึงเป็นการตรึงความชุ่มชื่นให้อยู่กับผิว  และความสมบูรณ์บนใบหน้าที่ดีที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Pacik PT (December 2009). “Botox treatment for vaginismus”. Plastic and Reconstructive Surgery. 124 (6): 455e–56e. doi:10.1097/PRS.0b013e3181bf7f11. PMID 19952618.

Fraser JR, Laurent TC, Laurent UB (1997). “Hyaluronan: its nature, distribution, functions and turnover”. J. Intern. Med. 242 (1): 27–33. doi:10.1046/j.1365-2796.1997.00170.x. PMID 9260563. vsquareclinic.com

Stern, edited by Robert (2009). Hyaluronan in cancer biology (1st ed.). San Diego, CA: Academic Press/Elsevier. ISBN 978-0-12-374178-3. 
Stern R (2004). “Hyaluronan catabolism: a new metabolic pathway”. Eur. J. Cell Biol. 83 (7): 317–25. doi:10.1078/0171-9335-00392. PMID 15503855.