ลบรอยสักด้วยเลเซอร์จะหายจริงไหม ทำแล้วจะอันตรายหรือเปล่า โพสต์นี้ต้องอ่าน

0
8945
ลบรอยสักด้วยเลเซอร์จะหายจริงไหม ทำแล้วจะอันตรายหรือเปล่า โพสนี้ต้องอ่าน
การลบรอยสักด้วยเลเซอร์ เป็นการใช้พลังงานจากเลเซอร์เข้าไปทำให้เม็ดสีใต้ผิวหนังแตกตัว กลายเป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่ร่างกายกำจัดออกไปเองได้
ลบรอยสักด้วยเลเซอร์จะหายจริงไหม ทำแล้วจะอันตรายหรือเปล่า โพสนี้ต้องอ่าน
การลบรอยสักด้วยเลเซอร์ เป็นการใช้พลังงานจากเลเซอร์เข้าไปทำให้เม็ดสีใต้ผิวหนังแตกตัว กลายเป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่ร่างกายกำจัดออกไปเองได้

ลบรอยสัก

บทความนี้ขอเอาใจหนุ่มๆ สาวๆ ที่กำลังลังเลใจว่าการ ลบรอยสัก ด้วยเลเซอร์จะช่วยให้หายจริงไหม ทำแล้วจะมีผลข้างเคียงใดๆ หรือเปล่า ตอนจะสักก็คิดว่าคิดมากแล้ว แต่พอตอนจะ ลบรอยสักออกกลับต้องคิดให้มากกว่าเก่า เพราะเราต้องคิดถึงอันตรายที่จะตามมาด้วย จึงมีวิธีลบรอยสักด้วยเลเซอร์ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม เพราะได้ผลดี และไม่มีแผลเป็นมาฝากกันค่ะ

การลบรอยสักด้วยเลเซอร์ทำอย่างไร

การ ลบรอยสัก ด้วยเลเซอร์เป็นวิธีที่เห็นผลและปลอดภัยที่สุดในการลบรอยสัก ซึ่งเป็นการใช้พลังงานจากเลเซอร์เข้าไปทำให้เม็ดสีใต้ผิวหนังแตกตัว กลายเป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่ร่างกายกำจัดออกไปเองได้

ข้อดีของการลบรอยสักด้วยเลเซอร์

1. ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
2. ไม่มีรอยแผลเป็น
3. เจ็บน้อย จะบอกว่าไม่เจ็บเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่น้อยกว่าตอนไปสักแน่นอน
4. สะดวกและรวดเร็ว

ข้อจำกัดของการลบรอยสักด้วยเลเซอร์

1.ไม่สามารถ ลบรอยสัก ได้หมดในครั้งเดียว ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดคนไข้กลับมาทำใหม่ทุก 1-2 เดือน
2.ราคาค่อนข้างสูง

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลบรอยสักด้วยเลเซอร์

1. เลเซอร์ 1 เครื่องไม่สามารถลบรอยสักได้ทุกสี หากสักหลายสีก็ต้องใช้เลเซอร์หลายเครื่อง
2. สีที่ลบง่าย คือ สีดำ สีเขียว ส่วนสีที่ลบยาก ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีส้ม และสีเนื้อหรือสีที่ออกขาว
3. ปัจจัยที่มีผลต่อการ ลบรอยสัก ได้แก่
• สีและความลึกของสีที่สัก
• ตำแหน่งของร่างกายที่สัก เช่น บริเวณใกล้ดวงตา หากใช้เลเซอร์ก็อาจมีผลกระทบต่อดวงตาได้
• การดูแลตัวเองหลังลบรอยสัก เมื่อมาทำเลเซอร์แล้ว ควรปกปิดบริเวณที่ทำเลเซอร์ไม่ให้โดนแสงแดด เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่จะตามมา เช่น รอยดำ
4. ควรเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะแพทย์จะเลือกเลเซอร์สำหรับการลบรอยสักโดยเฉพาะ ยิงแสงเลเซอร์ที่พอเหมาะตามจำนวนครั้งที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมา
5. การสักอาจทำแค่วันเดียวเสร็จ แต่การลบรอยสักอาจต้องใช้เวลาประมาณเกือบ 1 ปี เพราะหลังจากทำไปแล้ว 1 ครั้ง ต้องเว้นระยะเวลาออกไป 1 – 2 เดือน แพทย์จึงจะนัดมาทำใหม่ และต้องมาตามนัดให้ครบ เพื่อให้การ ลบรอยสัก ด้วยเลเซอร์มีประสิทธิภาพ

การดูแลตัวเองหลังใช้ลบรอยสักด้วยเลเซอร์

1. หลังจากเลเซอร์แล้ว ผิวบริเวณนั้นจะมีแผล ให้ทาครีมและห้ามโดนน้ำตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
2. แผลจะตกสะเก็ดและหลุดออกเอง ห้ามใช้มือแกะออก เพราะจะยิ่งทำให้เกิดแผล
3. หากเกิดอาการอักเสบ บวมแดง หรือเป็นแผลนูน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
4. ควรทาครีมกันแดด และหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจนกว่าจะถึงวันนัดที่จะต้องไปทำเลเซอร์อีกครั้ง

การลบรอยสักด้วยเลเซอร์ ทำให้เกิดแผลเป็นหรือไม่

ลบรอยสัก ด้วยเลเซอร์ จะต้องทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้อย่างแน่นอน ยังไงก็ต้องมีรอยแผลเป็นอยู่ดี เพราะการทำลบรอยสักด้วยเลเซอร์ มันคือการยิงลำแสง ไปทำลายเม็ดสี นั่นหมายความว่า ในกรณีที่ เลเซอร์ ที่มันร้อนจนเกินไป มันก็อาจจะมีผลกระทบต่อผิวหนังของเราอีกด้วย ดังนั้น การทำลบรอยสักด้วยเลเซอร์ที่ดี ควรใช้ความร้อนที่ไม่มากจนเกินไป และทำโดยเร็วที่สุด ถ้าเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน การทำเลเซอร์ลบรอยสัก นั้นจะไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ แต่สมัยนี้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาช่วยในส่วนนี้ เขาเรียกว่า  Pico laser หรือลองชมคลิปเพิ่มเติม ได้ เผื่อใครมองไม่เห็นภาพ จะได้เข้าใจไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ทีมงานยังขอฝากข้อคิดสะกิดใจให้หนุ่มๆ สาวๆ เพิ่มอีกนิดว่าไม่ควรไปซื้อผลิตภัณฑ์ ลบรอยสัก ในท้องตลาดมาลบรอยสักเอง เพราะบางผลิตภัณฑ์อาจไมได้มาตรฐาน ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น รอยแผลเป็น รอยนูน รอยดำ หรือทำให้สีผิวไม่เหมือนเดิมได้ง่าย ดังนั้น จึงควร ลบรอยสัก ด้วยเลเซอร์ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่าค่ะ

การดูแลหลังจากลบรอยสัก

การดูแลผิวหลังจากการลบรอยสักนั้นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากผิวหนังหลังการลบรอยสักจะมีความบอบบางและมีความรู้สึกไว ซึ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อปกป้องผิว เพื่อลดการเกิดรอยแผลเป็น และป้องกันการติดเชื้อ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศ.ดร.น.พ. สมศักดิ์ วรคามิน. ผิวสวย (BEAUTY SECRET THE UNTOLD STORY) กรุงเทพ: 2539 – 2560 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) © Copy Right 1996, 2017

Papanelopoulou, Faidra (2013). “Louis Paul Cailletet: The liquefaction of oxygen and the emergence of low-temperature research”. Notes and Records, Royal Society of London. 67 (4): 355–73. doi:10.1098/rsnr.2013.0047.Emsley 2001, p.303.