ไขมันส่วนเกิน
ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็ต้องการมีรูปร่างที่สมส่วนปราศจาก ไขมันส่วนเกิน ทั้งสิ้น เพราะรูปร่างที่ดีสามารถช่วยเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้ หลายคนที่มีรูปร่างที่ดีจะมีความมั่นใจในตนเองสูงกว่าคนที่มีรูปร่างอ้วนและมีโอกาสทางด้านสังคม การงานมากขึ้นตามไปด้วย สำหรับหลายคนแล้วการมีรูปร่างที่ดีปราศจากไขมันส่วนเกินเป็นแค่ความฝันที่ยังไม่เป็นจริง เพราะเจ้าไขมันยังมีสะสมอยู่ตามส่วนต่างของร่างกายให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ที่บริเวณหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพก ซึ่งไขมันส่วนนี้เรียกว่า “ไขมันส่วนเกินเฉพาะที่” ไขมันเหล่านี้ไม่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง แต่มีปัจจัยที่ส่งเสริมให้ร่างกายสร้างขึ้นมาก นั่นคือ
[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
มีปัจจัยที่ส่งเสริมให้ร่างกายสร้างไขมันส่วนเกินมากขึ้น
1.ฮอร์โมน คนแต่ละคนจะมีปริมาณฮอร์โมนที่แตกต่างกัน ซึ่งปริมาณฮอร์โมนเหล่านี้จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นการสร้าง ไขมันส่วนเกิน สะสมเฉพาะที่
2.อายุ คนเรามีอายุมากขึ้นกระบวนการเผาพลาญพลังงานหรือเมตาบอลิซึม ( Metabolism ) ก็จะมีประสิทธิภาพที่ลดลง ทำให้มีโอกาสสะสมของไขมันส่วนเกินมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย
3.พันธุกรรม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดไขมันส่วนเกินสะสม ซึ่งสังเกตได้จากบุตรที่มีพ่อแม่รูปร่างอ้วนมีไขมันสะสมมาก ส่วนใหญ่ก็จะมีรูปร่างที่เต็มไปด้วยไขมันส่วนเกินเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะรับประทานอาหารน้อยก็ตาม
4.พฤติกรรมการกิน เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้มีการสะสมของ ไขมันส่วนเกิน เป็นอันดับที่หนึ่ง เพราะในปัจจุบันนี้มีอาหารหลายชนิดที่นิยมรับประทานกันมักประกอบไปด้วยไขมัน แป้งและน้ำตาลที่เป็นที่มาของไขมันส่วนเกินในร่างกาย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายของเรามีไขมันส่วนเกินหรือไม่ ซึ่งการตรวจดูว่าร่างกายมีไขมันส่วนเกินหรือไม่สามารถทำได้ด้วยการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งสามารถคำนวณด้วยการใช้สูตรดังนี้
ดัชนีมวลกาย ( Body Mass Index : BMI ) = น้ำหนักตัว ( กิโลกรัม ) / ( ส่วนสูง ( เมตร ) 2 )
หรือ Body weight ( kg ) / ( Hight (m)2 )
ซึ่งเมื่อคำนวณค่า BMI ออกแล้ว สามารถระบุได้ว่าร่างกายมีไขมันส่วนเกินหรือไม่ สามารถดูได้ตามตารางข้างล่าง
ค่า BMI | ภาวะน้ำหนักตัว |
น้อยกว่า 18.5 | น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ |
18.5 – 22.9 | น้ำหนักสมส่วน |
23.0 – 24.9 | น้ำหนักเกินกว่ามาตราฐาน |
25.0 – 29.9 | น้ำหนักมากกว่ามาตราฐานและเป็นโรคอ้วน |
มากกว่า 30 | เป็นโรคอ้วนที่อยู่ในภาวะที่อันตราย |
[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
ถึงแม้ว่าการคำนวณค่าดัชนีมวลกายจะไม่สามารถระบุได้ว่าน้ำหนักส่วนเกินที่เกินค่ามาตรฐานนั้นมาจากการสะสมของ ไขมันส่วนเกิน หรือเป็นปริมาณของมวลกล้ามเนื้อกันแน่ เพื่อทำการยืนยันว่าค่าดัชนีมวลกายที่เกินนั้นเป็นปริมาณของไขมันหรือปริมาณของกล้ามเนื้อ ทำได้ด้วยการตรวจวัดปริมาณไขมันโดยการแปลงค่าเพื่อหาเปอร์เซ็นต์ของปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายที่มีความเฉพาะเจาะจง โดยสามารถคำนวณจากค่า BMI ได้ดังนี้
เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย = ( 1.20 x BMI ) + ( 0.23 x อายุ ) – ( 10.8 x เพศ ) – 5.4
ซึ่งค่าของเพศหญิงจะมีค่าเท่ากับ 1 และค่าของเพศชายจะมีค่าเท่ากับ 0
นอกจากนั้นการคำนวณหาความหนาของชั้นไขมันที่มีอยู่บริเวณหน้าท้องหรือบริเวณท้องแขนสามารถทำได้ด้วยการวัดด้วยเครื่องวัดปริมาณไขมัน ซึ่งมีให้บริการอยู่ตามโรงพยาบาลหรือสถานบริการเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เช่น สถานที่ออกกำลัง สถานเสริมความงามเกี่ยวกับรูปร่าง เป็นต้น และค่าของปริมาณไขมันที่เหมาะสมที่อยู่ในร่างกายคือ ในเพศชายควรมีค่าไขมันไม่เกินร้อยละ 22 และในเพศหญิงควรมีค่าไขมันไม่เกินร้อยละ 31 ซึ่งสามารถสรุปปริมาณไขมันในร่างกายจากค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันที่ทำการวัดได้ ดังตารางข้างล่าง
ลักษณะของร่างกาย | ค่าเปอร์เซนต์ไขมันในเพศหญิง | ค่าเปอร์เซนต์ไขมันในเพศชาย |
ไขมันมีน้อยมากจนหรือขั้นที่ร่างกายขาดไขมันจนเข้าขั้นวิกฤต (Essential fat) | 10 – 13 % | 3 – 6 % |
ปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายน้อยมาก ( Athletes) | 14 – 20 % | 7 – 13 % |
ปริมาณไขมันน้อยแต่อยู่ในระดับที่ส่งผลดีต่อร่างกาย (Fitness good) | 21 – 25 % | 14 – 17 % |
ปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายอยู่ในระดับที่ปกติทั่วไป (Average (acceptable)) | 26 – 31 % | 18 – 22 % |
ปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายมากกว่าปกติส่งผลให้ร่างกายมีรูปร่างท้วม (Overweight) | 32 – 39 % | 23 – 29 % |
ปริมาณไขมันสะสมในร่างกายสูงจนร่างกายอ้วน (Obese) | 40 % หรือมากกว่า | 30 % หรือมากกว่า |
[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
เชื่อว่าทุกคนที่มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายย่อมที่จะต้องการนำไขมันส่วนนั้นออกจากร่างกาย ไม่ต้องการที่สะสมไว้เป็นเวลานาน เพราะนอกจากจะทำให้รูปร่างไม่สวยงามแล้ว ยังส่งผลให้ร่างกายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงในอนาคตได้อีกด้วย แต่จะให้ทำการออกกำลังเพื่อลดปริมาณไขมันในร่างกายออกไปทั้งหมดก็เป็นได้ยาก เนื่องจากภาระกิจในชีวิตประจำวันที่ต้องดิ้นรน เวลาที่จะพักผ่อนให้เพียงพอยังน้อยและการที่จะออกกำลังกายเพื่อนำ ไขมันส่วนเกิน เฉพาะที่ต้องเป็นการอออกกำลังแบบเฉพาะส่วนและต้องอาศัยระยะเวลาค่อนข้างนาน จนหลายคนเกิดอาการท้อก่อนที่จะนำไขมันส่วนเกินออกไปได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาวิธีการที่จะนำไขมันส่วนเกินเฉพาะส่วนออกจากร่างกายอย่างได้ผล ด้วยการดูดไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย
การดูดไขมันส่วนเกินออกจากร่างกายเป็นวิธีที่สามารถขจัด ไขมันส่วนเกิน อย่างได้ผล ซึ่งการดูดไขมันส่วนเกินนั้นมีมานานนับ 100 ปี แต่ว่าไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากวิธีและขั้นตอนในการดูดไขมันส่วนเกินในอดีตมีอัตราความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง ต่อมาได้มีการพัฒนานำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ ทำให้วิธีการและขั้นตอนในการดูดไขมันมีความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนที่น้อยลง จึงทำให้มีผู้ที่นิยมทำการดูดไขมันส่วนเกินออกจากร่างกายมากขึ้น วิธีการดูดไขมันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งการดูดด้วยเครื่องดูดไขมันและการฉีดยาเพื่อสลายไขมันส่วนเกิน ซึ่งอาจจะใช้วิธีเดียวหรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันก็ได้ และวิธีการดูดไขมันที่ได้รับความนิยมกันมาก คือ การใช้เครื่องมือในการดูดไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย การใช้เครื่องมือจะช่วยให้การดูดไขมันออกมามีความปลอดภัยสูง ทำได้ง่าย แผลที่เกิดจากการดูดไขมันเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย และที่สำคัญสามารถทำการดูไขมันส่วนเกินเฉพาะออกมาและสามารถปรับรูปร่างได้พร้อม ๆ กันด้วย ซึ่งเราได้สรุปข้อดีและข้อเสียของการใช้เครื่องดูดไขมัน ได้ตามตารางดังนี้
ชนิดของเครื่อง LAL ( Laser Assisted Liposuction) RFAL ( Radio Frequency Assisted Liposuction ) VAL ( VASER Assisted Liposuction ) PAL ( Power Assisted Liposuction )
กลไกการทำงานเพื่อให้เซลล์ไขมันเกิดการแตก แสงเลเซอร์ ( Laser ) คลื่นวิทยุ ( Radio Frequency ) คลื่นเสียงความถี่สูง ( VASER ) การสั่นหรือการหมุนของหัวดูด ( Power )
ข้อดีของเครื่อง ลักษณะและขนาดของแผลเปิดเพื่อสอดใส่สายนำแสงเลเซอร์จะมีขนาดเล็กมาก เป็นเครื่องที่เน้นด้านการกระชับผิวด้วยการปล่อยคลื่นวิทยุผ่านเข้าไปสู่บริเวณ ไขมันส่วนเกิน ที่อยู่ภายในร่างกาย คลื่นเสียงที่ทำการปล่อยเข้าไปจะไม่เข้าไปกระทบกับเส้นเลือดหรือเส้นประสาทที่อยู่ภายในร่างกาย เมื่อทำการสั่นหรือการหมุนแล้ว ปฏิกิริยาไม่มีความร้อนเกิดขึ้น ส่งผลให้เมื่อทำการดูดไขมันออกมาสามารถทำได้ง่ายขึ้นและร่างกายมีอาการช้ำน้อยลง
ข้อเสียของเครื่อง ขณะที่ทำการฉายแสงเลเซอร์จะมีความร้อนเกิดขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่อยู่อยู่รอบได้ ความร้อนที่เกิดจากคลื่นวิทยุ อาจส่งผลให้ผิวหนังเกิดการหดตัว และถ้าคลื่นมีความเข้มสูงอาจทำให้เนื้อเยื่อถูกไหม้ได้ หากแพทย์ผู้ใช้งานขาดประสบการในการใช้งานเครื่อง จะทำให้มีความร้อนเกิดขึ้นสูง ส่งผลแผลที่เกิดขึ้นหายได้ช้า หากปริมาณไขมันส่วนเกินมีมาก ต้องใช้เวลาในการดูดที่นานกว่าเครื่องชนิดอื่น
บริเวณที่เหมาะสมกับการใช้งาน ส่วนของใบหน้า เช่น ที่บริเวณใต้คางหรือบริเวณเหนียง ส่วนของใบหน้าหรือบริเวณที่อยู่ตื้นๆ ใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกาย และสามารถทำการดูดไขมันเฉพาะที่ได้ ใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่ใช้งานได้ยากกับส่วนที่ไขมันตื้น
[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
การใช้เครื่องมือในการสลายและดูดไขมันสามารถที่จะใช้เครื่องมือพร้อมกันได้มากกว่าครั้งละ 1 ชนิด เช่นการใช้เครื่อง Vaser ทำการฉายคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าสู่บริเวณที่ต้องการดูดไขมันออกไปและทำการดูดไขมันออกมาด้วยเครื่อง Power ที่สามารถทำการสั่นสลับกันทั้งแบบหน้าหลังและการหมุนเป็นวงกลม ซึ่งการใช้สองเครื่องร่วมกันในการดูดไขมันจะสามารถทำการดูดไขมันได้ดีขึ้น
การดูดไขมันไม่ใช่การลดความอ้วน เพราะว่าการดูดไขมันไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักของร่างกายได้ เพียงแต่ช่วยกระชับและปรับรูปร่างให้มีความเหมาะสมเท่านั้น ซึ่งการดูดไขมันนี้เหมาะกับ
1.สุขภาพร่างกายแข็งแรง
คนที่ต้องการทำการดูด ไขมันส่วนเกิน จะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะหรือหลังจากการดูดไขมัน
2.ร่างกายมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์
ผู้ที่ต้องการทำการดูดไขมันจะต้องมีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18-25 จึงจะสามารถทำการดูดไขมันได้ โดยที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
3.สุขภาพจิตใจเข้มแข็ง
ผู้ที่ทำการดูดไขมันต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการดูดไขมันไม่สามารถขจัดไขมันออกจากร่างกายได้ทั้งหมด หรือสามารถช่วยให้รูปร่างดีได้ตลอดกาล เพราะว่าเมื่อทำการดูดไขมันแล้ว ถ้าร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกายเข้าไป ไขมันก็สามารถที่กลับมาสะสมได้อีก
4.ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการดูดไขมันออกจากร่างกายได้ จะต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป เนื่องจากร่างกายมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
การเตรียมตัวก่อนดูดไขมันส่วนเกิน
เมื่อมีคุณสมบัติตามที่ได้กล่าวมาแล้ว คุณก็สามารถที่จะทำการดูดไขมันได้ ซึ่งก่อนที่จะทำการดูดไขมันจะต้องมีการเตรียมความพร้อมของร่างกาย ดังนี้ [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
1. ตรวจเช็คร่างกาย ก่อนที่จะทำการดูดไขมัน จะต้องทำการตรวจเช็คร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การหาความเข้มข้นของเลือด ปริมาณเกล็ดเลือด การตรวจคลื่นหัวใจ การแฝงของเชื้อที่อยู่ภายในร่างกายในกรณีที่มีพาหะของโรคบางชนิด ตรวจระบบการทำงานของตับ ไต สำหรับผู้ที่มีอายุสูงจะต้องมีการตรวจการแข็งตัวของเลือดด้วย
2. เสริมความแข็งแรงของร่างกาย ก่อนที่จะทำการดูดไขมันจะต้องทำการรับประทานอาหารเสริม ประเภทวิตามิน ธาตุเหล็ก ก่อนที่จะเข้ารับการดูดไขมันประมาณ 2-4 สัปดาห์
3. งดสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ที่ต้องการทำการดูดไขมันจะต้องหยุดสูบบุหรี่ก่อนการดูดไขมัน อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
4. ลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานจะต้องทำการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถทำการดูไขมันได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อน และสำหรับผู้ที่มีพุงขนาดใหญ่จะต้องมีการใส่ชุดรัดลำตัว ( Garment Support ) ก่อนเพื่อสร้างความเคยชินในการใส่ผ้ารัดหลังจากทำการดูดไขมัน และลดขนาดของกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลงได้อีกด้วย
ขั้นตอนการดูดไขมันส่วนเกิน
การเตรียมความพร้อมของร่างกาย สำหรับบางคนอาจจะมีมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งแพทย์ที่ทำการผ่าตัดจะเป็นผู้วินิจฉัยและชี้แจงให้กับผู้เข้ารับการดูดไขมันทราบ เมื่อเตรียมความพร้อมตามกำหนดเวลาแล้ว แพทย์จะทำการดูดไขมันตามขั้นตอนดังนี้
1.ทำความสะอาด แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญการดูดไขมันจะทำความสะอาดที่บริเวณที่จะทำการผ่าตัดและบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงด้วยการล้างด้วยสบู่ยา
2. ทำการกำหนดจุดที่จะทำการดูด ไขมันส่วนเกิน
3.ให้ยาชาหรือดมยาสลบแก่ผู้ที่เข้ารับการดูดไขมัน ซึ่งนอกจากยาชาและยาสลบแล้วในบางรายจะต้องให้ยาคลายเครียด เพื่อลดความวิตกของผู้เข้ารับการดูดไขมันด้วย
4.ทำการเปิดแผล ซึ่งแผลที่เปิดเพื่อทำการดูดไขมันจะมีขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร ไว้ประมาณ 15 นาที
5.ทำการใส่น้ำยาผ่านทางแผลที่เปิดไว้ และเริ้มขั้นตอนการใช้เครื่องมือในการสลายไขมันด้วยการตี จนไขมันมีการแตกตัว
6.ทำการดูดไขมันที่แตกตัวแล้วออกมาด้วยเครื่องดูดที่มีแรงในการดูดต่ำ ลักษณะของไขมันที่ดูดออกมาได้จะมีมีน้ำปนออกมาด้วย
7.ทำการดูดจนไขมันออกตามปริมาณที่ต้องการ
8.ทำการปิดแผลด้วยการทากาวปิดแผล และใช้ผ้าพันแผลปิดทับอีกครั้ง หลังจากที่ปิดแผลแล้วผู้ทำการดูดไขมันจะต้องใส่ชุดรัดที่บริเวณที่ทำการดูดไขมันด้วย
เมื่อทำการดูดไขมันเสร็จเรียบร้อย ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะมีอาการบวมอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากการดูดไขมัน และอาการบวมจะค่อย ๆ ลดลง และประมาณ 2 สัปดาห์ร่างกายจะเข้าสู่สภาวะปกติ และอาการที่เกิดขึ้นจะหายภายใน 6 สัปดาห์หลังจากการดูดไขมัน
[adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
หลายคนเข้าใจผิดว่าเมื่อทำการดูดไขมันจะสามารถช่วยลดน้ำหนักให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่ว่าที่จริงแล้วไขมันที่ทำการดูดออกมาเป็นไขมันที่สะสมอยู่ใต้ชั้นผิวของร่างกาย ไม่ใช่ไขมันที่สะสมอยู่ภายในร่างกายทั้งหมด ดังนั้นการดูดไขมันจะสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับผู้ที่เข้ารับการดูดไขมันมีไขมันสะสมอยู่ที่บริเวณใต้ผิวหนังมากกว่าไขมันที่สะสมอยู่ในอวัยวะของร่างกายหรือไม่ ถ้าปริมาณไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังมากกว่าการดูดไขมันจะสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง แต่ถ้าปริมาณไขมันที่สะสมอยู่ตามอวัยวะ เช่น เส้นเลือด ตับ ไต กระดูก ปอด หัวใจ มากกว่าการดูดไขมันออกมาก็ไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักตัวได้ ช่วยได้เพียงแต่กระชับรูปร่างให้ดูดีขึ้นเท่านั้น ดังนั้นก่อนที่จะทำการดูดไขมันควรปรึกษาแพทย์ถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการดูดไขมันเสียก่อน ซึ่งเมื่อดูดไขมันออกมาแล้วไขมันที่ทำการดูดออกมานั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไม่จำเป็นที่จะต้องทำไปกำจัดทิ้งเพียงอย่างเดียว ซึ่งการนำไขมันสามารถนำไปใช้ต่อได้ดังนี้
ประโยชน์จากไขมันส่วนเกิน
1.นำไปเสริมใบหน้า
ไขมันส่วนเกินที่อยู่ใต้ผิวสามารถนำไปฉีดเข้าสู่บริเวณที่ไขมันเกิดการฝ่อตัวและยุบตัวลง เพื่อช่วยให้ผิวหนังส่วนนั้นเต่งตึงส่งผลให้ใบหน้าแลดูอ่อนเยาว์มากขึ้น หรือนำไปฉีดเพื่อสร้างใบหน้าให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น เพิ่มแก้มให้อิ่ม ลดรอยบุ๋มที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
2.เสริมขนาดของเต้านม
การเสริมขนาดของเต้านมนอกจากจะใส่ถุงเต้านมเทียมแล้ว สามารถนำ ไขมันส่วนเกิน ที่มีอยู่ในร่างกายไปฉีดเพื่อเพิ่มขนาดของเต้านมให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
3.แก้ปัญหารอยแผลเป็น
การฉีดไขมันไปที่บริเวณที่มีรอยแผลเป็นบุ๋มลึกลงไป จะสามารถช่วยลดขนาดรอยของแผลเป็นให้ตื้นขึ้น ส่งผลให้รอยแผลเป็นสังเกตเห็นได้ยาก
ซึ่งการนำไขมันที่ทำการดูดออกมาจากร่างกายมาใช้ จะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในทันที แต่ไขมันจะต้องไปผ่านกรรมวิธีการเตรียมไขมันก่อนที่จะนำมาใช้ได้ เช่น การปั่น การกลั่น การกรอง การทิ้งไว้ให้แยกชั้น เพื่อให้ได้ไขมันที่มีคุณภาพสูงสามารถนำไปฉีดเข้าสู่ร่างกาย ถึงแม้ว่าไขมันที่ทำการคัดแยกออกมาแล้วจะสามารถทำการเก็บรักษาไว้ใช้ในครั้งต่อไปได้ แต่อัตราการรอดของไขมันที่นำมาใช้ก็มีน้อยมาก ดังนั้นการนำไขมันมาใช้ในการเสริมและแก้ไขปัญหามักจะใช้ในทันทีมากกว่าเก็บรักษาไว้ใช้ในอนาคต [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]
การปฏิบัติตนหลังฉีดไขมันเข้าสู่ร่างกาย
เมื่อได้ไขมันที่มีคุณภาพสามารถนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกายได้แล้ว แพทย์จะใช้เข็มฉีดยาที่มีขนาดเล็กและต่อกับเข็มที่มีลักษณะปลายทู่ ทำการฉีดสารที่มีลักษณะเป็นร่างแห ไม่ทำการฉีดเป็นก้อน ๆ เข้าสู่ร่างกาย เพราะจะทำให้ไขมันเข้าไปอยู่กันเป็นกลุ่ม และส่งผลให้ผิวหนังมีลักษณะที่ขรุขระ ซึ่งการฉีดไขมันเข้าสู่ร่างกายจะต้องระวังภาวะที่เลือดไม่แข็งตัวหรือในคนที่มีการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งก่อนที่จะทำการฉีดไขมันเข้าสู่ร่างกายจะต้องทำการแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง และหลังจากที่ทำการฉีดไขมันเข้าสู่ร่างกายแล้วจะต้องปฏิบัติตนดังนี้
1.ห้ามนวดหรือคลึงบริเวณที่ทำการฉีดไขมันเข้าไป
2.งดสูบบุหรี่หรืออยู่ในที่มีควันบุหรี่
3.งดทานยาที่มี่สรรพคุณในการลดน้ำหนัก
4.งดออกกำลังกายหลังจากฉีดไขมันเข้าสู่ร่างกายอย่างน้อย 2 สัปดาห์
การฉีดไขมันเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นการเสริมขนาดของอวัยวะ การลดรอยแผลเป็นหรือเพื่อจุดประสงค์อื่น ก็เป็นการรักษาเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากเมื่อไขมันเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงในทันที เซลล์ไขมันส่วนดังกล่าวจะตายและเกิดการสลายตัวในเวลาต่อมา ทำให้ไขมันมีโอกาสที่จะยุบตัวลงได้ ซึ่งอัตรารอดของมันจะมีเพียงร้อยละ 20-60 เท่านั้น นั่นหมายความว่าเมื่อฉีดไขมันเข้าไป 100 กรัม ไขมันจะเหลือเพียง 20- 60 กรัมเท่านั้น ซึ่งการที่ไขมันจะคงอยู่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
1.ขนาดที่ทำการฉีด ถ้าขนาดของไขมันที่ฉีดเข้าไปมีขนาดที่ใหญ่โอกาสที่เลือดจะเข้าไปหล่อเลี่ยงไขมันที่ส่วนกลางของไขมันจะเป็นไปได้ยาก ทำให้ไขมันมีโอกาสที่จะตายมากกว่าการฉีดไขมันที่มีขนาดเล็ก
2.การสูบบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเซลล์เกิดการหดตัว ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงไขมันที่ทำการฉีดเข้าไปได้ จึงทำให้เซลล์ไขมันเกิดการสลายตัวมากขึ้น
3.ลักษณะการฉีดไขมัน การฉีดไขมันที่มีลักษณะเป็นร่างแหที่โปร่งไม่แน่นมากจะทำให้ไขมันมีโอกาสที่จะรอดมากกว่าการฉีดไขมันเป็นกลุ่มก้อน
สำหรับการฉีดไขมันเข้าสู่ร่างกายแล้ว บางครั้งผิวหนังบริเวณดังกล่าวอาจจะมีลักษณะไม่เรียบเนียนหรือมีลักษณะเป็นคลื่นขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อเกิดลักษณะดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เทคนิค Microfat ที่ทำให้ไขมันมีโมเลกุลที่เล็กลงแล้วจึงทำการฉีดไขมันเข้าไปเพื่อปรับผิวให้เรียบ ซึ่งต้องทำการสังเกตว่าที่ผิวไม่เรียบเนื่องจากไขมันเป็นก้อนหรือว่ามีการเกิดก้อนเนื้อที่เรียกว่า “ซีสต์” อยู่ภายใน ถ้าไม่เรียบเนื่องจากก้อนซีสต์จะต้องทำการเจาะเอาก้อนซีสต์ดังกล่าวออกมา และเมื่อระยะเวลาผ่านไปไขมันที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการยุบตัวลงอย่างช้า ๆ ซึ่งประมาณ 1 ปีขึ้นไปลักษณะการยุบตัวจะเห็นได้ชัดเจน แต่ในบางรายการยุบตัวของไขมันอาจจะสามารถสังเกตได้ชัดก่อนระยะเวลา 1 ปี ก็สามารถทำการฉีดไขมันเพิ่มไปยังบริเวณที่เกิดการยุบตัวของไขมันได้ แต่ปริมาณที่แพทย์แนะนำให้ทำการฉีดเพิ่มจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้ที่ต้องการฉีด โดยผู้ที่มีอายุสูงสามารถฉีดได้ในปริมาณที่มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกิดขึ้นน้อยกว่านั่นเอง และไขมันที่นำมาฉีดเพื่อเสริมสร้างและแก้ไขข้อบกพร่องของร่างกายไม่สามารถที่จะใช้ไขมันที่มาจากบุคคลอื่น เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดปฏิกิริยาการต่อต้านมาก
[adinserter name=”sesame”]
ปัจจุบันนี้การดูดไขมันและการนำไขมันที่ดูดมาทำการฉีดเพื่อใช้ในการเสริมและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการและเทคนิคด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อช่วยเพิ่มการประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น สามารถทำการดูดไขมันออกมาได้อย่างเฉพาะเจาะจงและสามารถดูดได้ในปริมาณที่เหมาะสมจนสามารถสร้างรูปร่างให้ชัดเจนสมส่วนมากที่สุด และยังส่งผลให้สามารถสังเกตเห็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้อย่างชัดเจน รวมถึงการฉีดไขมันเข้าไปสู่บริเวณที่ต้องการสามารถเสริมส่วนที่ต้องการให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือทำการปกปิดส่วนที่มีข้อบกพร่องได้อย่างเรียบเนียนเป็นธรรมชาติ และสามารถความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนให้น้อยลง จึงทำให้การดูด ไขมันส่วนเกิน และการฉีดไขมันมีความปลอดภัยมมากขึ้น แต่การดูด ไขมันส่วนเกิน ออกจากร่างกายและการฉีดไขมันเข้าสู่ร่างกายไม่สามารถทำให้รูปร่างสวยงามได้ตลอดไป แต่ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องทำควบคู่กับการดูแลร่างกาย ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักและผลไม้ ดื่มน้ำสะอาด งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้รูปร่างที่สวยงามสมส่วนก็จะอยู่กับคู่กับเรือนร่างของคุณไปตลอด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
Glicenstein, J (1989). “L’affaire Dujarier” [Dujarier’s case]. Annales de Chirurgie Plastique Esthétique (in French). 34 (3): 290–2. PMID 2473691.
Sterodimas, A; Boriani, F; Magarakis, E; Nicaretta, B; Pereira, LH; Illouz, YG (March 2012). “Thirtyfour years of liposuction: past, present and future”. European review for medical and pharmacological sciences. 16 (3): 393–406. PMID 22530358.