โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง ( Hypertension ) คือ การที่ความดันช่วงบน มีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป การคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะต้นทาง ( Early Phase ) จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้คัดแยกผู้ป่วยรักษาตามอาการและรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที ส่วนมากจะเริ่มจากกลุ่มผู้ป่วยที่ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่มีความเสี่ยง การเป็นโรคความดันโลหิตสูง ( Risk Factor ) โดยมีเป้าหมายในการแนะแนวทางการศึกษา คือ การค้นหาและทำการคัดกรองปัจจัยเสี่ยง ( Risk Factor ) ของโรคความดันโลหิตสูง และยืนยันการเป็นโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ ( Primary Hypertension ) ได้นั่นเอง ซึ่งค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ
- ความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี ( Systolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ และความดันช่วงบนของคนคนเดียวกัน อาจมีค่าที่ต่างกันออกไป ตามท่าเคลื่อนไหวของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลังกาย
- ความดันช่วงล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี ( Diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบันได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิตปกติ และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุที่เกิดโรคความดันสูง
- พันธุกรรม โอกาสจะสูงมากขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
- โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดของไต
- โรคไตเรื้อรัง เพราะส่งผลถึงการสร้างเอนไซม์ และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตดังที่กล่าวไป
น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน เพราะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่างๆ ตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด - ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ( Sleep apnea )
- การขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนและเบาหวาน
- การรับประทานอาหารเค็มอย่างต่อเนื่อง
- การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไต
- การดื่มแอกอฮอล์ เพราะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงประมาณ 50% ของผู้ที่ติดสุราทั้งหมด
บทบาทผู้จัดการรายกรณีการค้นหาคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
1.1 สถานที่ค้นหาคัดกรองผู้ป่วย
– บุคคลที่มีอายุ 35 ขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงของวัยทำงานนั่นเอง โดยทั้งนี้อาจอาศัยอยู่ในชุมชน หรืออยู่ในสถานประกอบการอาชีพก็ได้
1.2 ความจำเป็น-ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย
ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need )
– คัดกรองเพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและการเกิด CV Risk ซึ่งสิ่งที่ต้องสอบประวัติผู้ป่วยเพื่อคัดกรอง ก็ประกอบด้วย
: ระดับความดันโลหิต
: อายุ
: มีภาวะไขมันในเลือดสูง ( Dyslipidemia ) หรือไม่
: สูบบุหรี่ ( Smoking ) หรือไม่
: อ้วนลงพุงหรือไม่
: มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติหรือไม่
: คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเสียชีวิตด้วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ( CV Disease ) ก่อนวัยอันควรหรือไม่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need )
1.ความแม่นยำของค่าตรวจวัดความดัน ( AC Curacy BP )
2.มีระดับความดันโลหิตปกติ ( <140 / 90 mmHg )
3.ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงคำนวณค่าวัดดัชนีมวลร่างกาย Body Mass Index ( BMI ) อยู่เสมอ
1.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม
1.ติดตามประเมินสุขภาพรายบุคคล 4 ด้านทุก 1 ปี/เมื่อจำเป็น 2. ติดตามประเมินความเสี่ยงและตามผลที่คาดว่าจะได้รับ – ทุก 1 ปี – ทุก 6 เดือน : หากพบว่ามีความผิดปกติของความเสี่ยง 1 อย่างขึ้นไป เช่น ตรวจพบ IFG; DTX > 126 mg % : พบค่า 3 ใน 5 อย่าง ของ อ้วนลงพุง หรือค่าน้ำตาลในเลือด BP ≥ 130 / 85 |
1.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ
1. การจัดการทรัพยากรบุคคล ( Human Resource )
– การทำการจัดการเรื่องของผู้ป่วย
: การประเมินน้ำหนัก
: การออกกำลังกาย
: การสูบบุหรี่
: การรับประทานอาหาร
– NP ประสานงานกับอสม. ( Community Health Worker)
2. ทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource )
- เครื่องวัดความดันโลหิต
- เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ( DTX ) <ควรจะจัดให้ผู้ป่วยได้มีไว้ใช้ส่วนตัว คือมีสำหรับใช้ที่บ้านด้วยนั่นเอง>
- อุปกรณ์ / Tube เจาะเลือด
- เครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
- สมุดบันทึกสุขภาพประจําตัว
- เครื่องมือสื่อสาร / ทำช่องทางการส่งต่อข้อมูล
1.5 ความแปรผัน
1. ขาดฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ไม่ได้ทำการติดต่อกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 3. ไม่ได้มีการแบ่งพื้นที่ให้ทีมสุขภาพได้ทำการคัดกรองและการรวบรวมข้อมูล 4. ผู้ป่วยไม่ได้มารับการตรวจอย่างต่อเนื่อง หรือจะมาโรงพยาบาลเมื่อมีอาการผิดปกติเท่านั้น 5. ไม่มีผู้ที่จะทำหน้าที่คอยติดตามและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง |
1.6 เป้าหมายที่ต้องการทราบผล
1. ต้องไม่พบค่า ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ ( Impaired Fasting Glucose : IFG ) ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารที่สูงกว่าปกติเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจมีความผิดปกติของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง
2. ต้องพบค่าความเสี่ยงต่างๆลดลง ( Risk Reduction )
– เช่น ค่าดัชนีมวลร่างกายหรือ BMI ลดลง เป็นต้น
3. มีการใช้ทรัพยากรต่างๆได้อย่างเหมาะสม ( Proper Resource )
4. การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ( Life Style Modification )
2.1 สถานที่ค้นหาคัดกรอง
- คลินิกผู้ป่วยนอก ( OPD )
- ปฐมภูมิ
- ทุติยภูมิ
- ตติยภูมิ
2.2 ความจำเป็น – ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาล
ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need ) – มีการระบุความเสี่ยง ( Risk Factor ) ของความดันโลหิตและการเกิดภาวะหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ ( Cardiovascular Risk -CV Risk ) ดูจากการสอบถามประวัติและพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อหาข้อสรุปว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงมากแค่ไหน – ได้รับการประเมินความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด – ดำเนินการให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการวินิจฉัยเมื่อพบโรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension-HT ) จริง ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need ) 1.ความแม่นยำของค่าตรวจวัดความดัน ( AC Curacy BP ) 2.ได้รับการประเมินพฤติกรรมด้านสุขภาพรายบุคคล ( Individual Behavioral Health ) 3.ประเมินการเกิดภาวะหัวใจและหลอดเลือด ( CV Risk ) ได้ครบถ้วน 4.ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย ( BMI ) 5.ระดับความดันโลหิตปกติ ( <140/90 mmHg ) 6.ได้รับความรู้และการทำวิธีการปรับการใช้ชีวิตประจำวันป้องกันการเกิดโรค 7. มีการทบทวน ( Review ) ในเรื่องของการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงอย่างเหมาะสม 8.ต้องได้รับการติดตามเพื่อประเมินระดับความดันโลหิต 9.ได้รับการลงข้อมูลสุขภาพในประวัติสุขภาพประจำตัว 10.ควบคุมการวัดค่าต่างๆของโรคปลอกปลายประสาทอักเสบ หรือ โรค MS ได้ 11.ได้รับการค้นหาร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( Subclinical Organ Damage หรือ TOD ) 12.ได้รับการติดตามประเมินระดับความดันโลหิต |
2.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม
– ผู้ป่วยทุกรายที่ได้มาทำการตรวจสุขภาพตามนัดทุก 3 ถึง 6 เดือน – มาตรวจรับบริการทุก 3 เดือน ( กรณีสงสัยก่อนการเป็นโรคความดันโลหิตสูง Pre-HT, โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension-HT ) ระยะเริ่มต้นหรือไม่ ) ค่าความดันโลหิตปกติระดับหนึ่งมีอาการปลอกปลายประสาทอักเสบร่วมด้วย – คอยติดตามผู้ป่วยทุกรายที่ได้มาตรวจตามนัดที่ OPD อายุรกรรม – ติดตามดูแลผู้ป่วยเพื่อดูผลการรักษา พร้อมทั้งประเมินการควบคุมอาการของโรคปลอกปลายประสาทอักเสบรวมกับโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วย ตามความเหมาะสม ( อยู่ในช่วง 2-3 เดือน ) – นัดผู้ป่วยให้มารับบริการคัดกรองตรงตามเวลานัดเสมอความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตทุก 3 เดือน ( กรณีสงสัยก่อนการเป็นโรคความดันโลหิตสูง Pre-HT ) |
2.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ
1. ทรัพยากรบุคคล ( Human Resource ) – เพื่อให้มีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง – อายุรกรรมทั่วไปประสานกับแพทย์เฉพาะทางที่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( TOD ) – ทำการประสานงานกับแพทย์เฉพาะทาง 2. ทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource ) – แฟ้มประวัติผู้ป่วย – เครื่องวัดความดันโลหิต – เครื่องเจาะ DTX- เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง – อุปกรณ์/Tube เจาะเลือด |
2.5 ค่าความแปรผันต่างๆ
1. ไม่ได้ทำการประสานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม 2. ไม่ได้ประสานกับแพทย์อายุรกรรมทั่วไปกับแพทย์เฉพาะทาง ถึงการตรวจและติดตามดูแลผู้ป่วย จึงอาจทำให้เกิดการดูแลแยกส่วน ซ้ำซ้อน ใช้ยาไม่สมเหตุผล 3. ระบบการติดตามผู้ป่วยไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาขึ้น 4. พบภาวะของโรคแทรกซ้อนอย่างรุนแรงในผู้ป่วย เช่น โรคหัวใจ ไต ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง 5. การติดตามต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยใน 6. การตรวจหาผลเลือด เพื่อหาสาเหตุและอาการต่างๆ ที่เกิดซ้ำซ้อนหรือมีระยะเวลาในการตรวจไม่เหมาะสมตามที่จำเป็น ( ใช้ระยะเวลาถี่หรือห่างเกินไป ) |
2.6 เป้าหมายที่ต้องการทราบผล
1. ต้องไม่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ( TOD ) 2. หมั่นติดตามประเมินผล 3. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต 4. เข้าใจการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 5. มีแหล่งข้อมูลถูกต้องแม่นยำ – มีการตรวจในห้องแล็บ – มีการใช้ยาในการรักษา – มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย – มีการสอบถามอาการผู้ป่วย 6. ได้รับการค้นหาร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย 7. ไม่เกิดอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน 8. ไม่เกิดความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด 9. ลดจำนวนผู้ป่วย OPD |
3.1 สถานที่ค้นหาคัดกรอง
– หอผู้ป่วยใน ( IPD ) จะพบผู้ป่วยที่อ้างอิงว่ามีโรคความดันโลหิตสูงที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น หัวใจวาย ไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง ( ทุติยภูมิ/ตติยภูมิ )
3.2 ความจำเป็น – ความต้องการจัดการดูแลรักษาพยาบาล
ความต้องการทราบข้อมูลของผู้ป่วย ( Theoretical Need ) – จัดให้มีการเข้าถึงทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย เช่น การพยาบาลหัวใจ การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะหัวใจล้มเหลว การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะเส้นเลือดในสมองแตก เป็นต้น – ทำการระบุความเสี่ยง ( Risk Factor ) ของความดันโลหิตสูงและการเกิดความเสี่ยงภาวะหัวใจและหลอดเลือด เพื่อจะได้วางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมมากขึ้น – ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการวินิจฉัยเมื่อพบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย ผลที่คาดว่าจะได้รับ ( Exist Need ) 1.ได้รับการทบทวนเพื่อให้เกิดการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงและควบคุมตามจำเป็น 2.คอยติดตามในเรื่องของการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระยะเดิมได้ ทำให้ไม่เกิดความดันโลหิตสูงที่อยู่ใน ระดับเพิ่มขึ้น ( เช่น จากระดับ 1 ไประดับ 2 เป็นต้น ) 3.มีการดูแลและประสานงานเพื่อติดตามการรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทางและพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะ 4.ทำการประสานงานกับทีมแพทย์พยาบาลเภสัชกรเพื่อให้เกิดการติดตามการใช้ยาและทบทวนประสิทธิภาพของตัวยาอยู่เสมอ 5.มีการทบทวนในเรื่องของการใช้ทรัพยากรในการรักษาตามจำเป็น และทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการประเมินผลการรักษาด้วย |
3.3 ระยะเวลาติดตามที่เหมาะสม
- ทำการประสานกับทีมพยาบาลให้ดำเนินการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุดที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลมากเกินไปอย่างสูญเปล่า
- ติดตามตรวจนัดผู้ป่วย OPD ต่อเนื่องภายในระยะเวลา 1 ถึง 3 เดือนหรือตามจำเป็น ( เพื่อควบคุมระยะของโรคความดันโลหิตสูง ควบคุมโรคเอ็มเอส ( MS ) หรือโรคปลอกปลายประสาทอักเสบ ภาวะร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย และ การตรวจพบอาการก่อนเป็นโรค )
- ทำการติดตามผู้ป่วย ด้วยการไปตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับทีมพยาบาลและทีมดูแลสุขภาพ
- จำหน่ายด้วยการทบทวนการใช้ทรัพยากร ไม่ให้เกิดความสูญเปล่า เช่นหากจำเป็นต้องวินิจฉัยเพิ่มเติมประสานช่องทางด่วนให้ผู้ป่วย ได้ตรวจโดยไม่ติดวันหยุด ใบเพิ่มเติมค่ารักษาที่ไม่จำเป็น
3.4 การใช้ทรัพยากรต่างๆ
1. การจัดการทรัพยากรบุคคล ( Human Resource )
- ประสานงานกับแพทย์เฉพาะทางและแพทย์เจ้าของไข้เพื่อทำการส่งต่อข้อมูลสุขภาพร่วมกัน จะได้ทำการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อประสานการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
- แพทย์เฉพาะทางแพทย์เจ้าของไข้
2. การจัดการทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล ( Non Human Resource )
- ยา
- เครื่องเจาะ DTX
- แฟ้มประวัติการรักษา
- เครื่องวัดความดันโลหิต
- อุปกรณ์/Tube เจาะเลือด
- เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
- การใช้วันนอน การใช้เตียงในโรงพยาบาล
3.5 ความแปรผัน
1. ไม่ได้ทำการติดตามเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลผู้ป่วยใน หรือมาตรวจที่ OPD
2. ไม่ได้ทำการประสานในเรื่องของการติดตามดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ทำให้เกิดการดูแลรักษาแบบซ้ำซ้อนและแยกส่วนกันอย่างสิ้นเชิง
3. การตรวจแล็บ การสอบถามอาการต่างๆ มีความซ้ำซ้อน และระยะเวลาในการตรวจไม่เหมาะสม ( ระยะเวลาถี่หรือห่างเกินไป )
3.6 เป้าหมาย
1.มีแหล่งข้อมูลถูกต้องแม่นยำ
- มีการตรวจในห้องแล็บ
- มีการใช้ยาในการรักษา
- มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย
- มีการสอบถามอาการผู้ป่วย
2.ลดภาวะการเป็นโรคของร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย
3.ลดจำนวนผู้ป่วย OPD
4.การติดตามต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยใน 5.เข้าใจหลักการเป็นและต้องไม่พบร่องรอยการติดเชื้อของอวัยวะที่ถูกทำลาย
6.สามารถควบคุมระดับการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้
7.ลดจำนวนผู้ป่วยใน
การจัดการให้ผู้ป่วยมีความสามารถดูแลตนเอง คัดกรองตนเองสามารถทำได้โดย
เน้นการให้ความรู้ความเข้าใจกับโรคและลักษณะผู้ป่วย และการรับรู้การเตือนของร่างกาย
ตัวอย่างแบบบันทึกการค้นหา คัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง |
1. ชื่อ………………..นามสกุล…………….อายุ……ปี 2. วัน เดือน ปี ที่คัดกรอง………คัดกรองครั้งที่……… ☐ คัดกรองด้วยตนเอง ☐ ผู้ดูแลเป็นผู้คัดกรอง 3. ประวัติทางพันธุกรรมเป็นโรคความดันโลหิตสูง ☐ มี ☐ ไม่มี 4. ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาสูบบุหรี่หรือไม่ ☐ สูบ ☐ ไม่สูบ 5. BMI = …………………. 6. ระดับความดันโลหิต………………mmHg 7. ระดับไขมันในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ☐ ปกติ ☐ สูงเกิน 220 mg/dl ☐ สูงเกิน 300 md/dl 8. ชนิดอาหารที่รับประทานในหนึ่งวัน…………………………………… 9. การใช้บุหรี่ สุรา กาแฟ คาเฟอีน ☐ ใช้ ☐ ไม่ใช้ 10. มีความเครียดในแต่ละวัน ☐ มี ☐ ไม่มี 11. มีอาการดังต่อไปนี้ หรือไม่ ☐ ปวด มึนศีรษะบ่อยๆ ☐ ตาพร่ามัว ☐ มีอาการวูบง่าย ☐ เหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ ☐ รู้สึกบวมตามร่างกาย ☐ อาการแสดงของโรคเบาหวาน |
ยาลดความดันโลหิต
ยาลดความดันที่เป็นหลักสำคัญ ( Major Class of Antihypertensive Agent ) มีอยู่ 5 กลุ่มได้แก่
1. ACE-Inhibitor
2. Angiotensin Receptor Blockers
3. Beta-Blocker
4. Calcium Antagonists
5. Thaiazide Diuretic / Loop Diuretic
แม้ว่ายาลดความดันทั้ง 5 กลุ่มนี้จะสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่การจะพิจารณาว่าผู้ป่วยควรใช้ยารักษากลุ่มใดดีจะต้องพิจารณาจากการประเมินและตัดสินใจของแพทย์เท่านั้น โดยแพทย์จะดูในเรื่องของระดับ BP และความเสี่ยงต่อการเกิด CV risk ในผู้ป่วยนั่นเอง นอกจากนี้จะต้องคอยติดตามและประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเฉพาะรายอย่างละเอียด เพื่อประเมินหาความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผล้ขางเคียงจากการใข้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ศิริอร สุนธุ, พิเชต วงรอต, สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย, การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2557. 242 หน้า, ISBN:978-616-92014-0-3.
ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.