สารวัดค่ามะเร็ง ( Tumor Marker )
สารวัดค่ามะเร็ง ( Tumor Marker ) คือ สารประกอบต่างๆ ที่อาจสร้างได้จากทั้งเซลล์ปกติ เซลล์อักเสบ และเซลล์โรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งเมื่อเป็นมะเร็งชนิดที่สร้างสารนี้ได้ เซลล์มะเร็งชนิดนั้นๆ จะสร้างสารนี้มากเกินปกติ แพทย์จึงใช้เป็นการตรวจเพื่อประเมินผลการรักษา ติดตามการย้อนกลับ เป็นซ้ำ และ หรือ การแพร่กระจายของโรค แต่ไม่นิยมใช้เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง เพราะให้ผลตรวจไม่แน่นอน ยกเว้นในโรคมะเร็งตับชนิดเกิดจากเซลล์ตับ ( HCC ) และโรคมะเร็งชนิดเจิร์มเซลล์ ( Germ Cell Tumor ) ที่ใช้ tumor marker ตรวจพบได้ทันที
โรคมะเร็งที่ยอมรับการตรวจค่าสารมะเร็ง เป็นการตรวจมาตรฐานสารวัดค่ามะเร็ง เพื่อติดตามผลการรักษา เช่น โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งระบบทางเดินน้ำดี โรคมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งชนิดเจิร์มเซลล์ทูเมอร์ Tumor Marker โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และ โรคมะเร็งระบบโลหิตวิทยา ส่วนในโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ มักขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
สารมะเร็ง อาจเป็นได้ทั้งสารเคมี เอนไซม์ สารที่เคยมีในขณะเป็นตัวอ่อน สารกรรมพันธุ์ หรือ ยีนส์ หรือ ฮอร์โมน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง
สารวัดค่ามะเร็ง อาจตรวจพบได้ในเลือด ปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง หรือ ของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำในช่องท้อง หรือในเนื้อเยื่อที่เกิดโรคมะเร็ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งการเกิดโรคมะเร็ง แต่โดยทั่วไปมักตรวจได้จากเลือด
การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้สัญญาณโรคมะเร็ง
สารวัดค่ามะเร็ง คือ สารสัญญาณบ่งชี้โรคมะเร็ง ด้วยตัวมันเองอาจจะเป็น
1. โปรตีน หรือ
2. สารประกอบชีวเคมี
3. เอนไซม์ใดๆที่ผลิตขึ้นมาโดยเซลล์มะเร็งเอง
โดยอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการบุกรุกทำลายของเซลล์มะเร็งโดยไม่ว่าจะเป็นสารใดก็ได้ทำให้สารวัดค่ามะเร็งหรือสารบ่งชี้มะเร็งที่ผลิตขึ้นมานั้น มีปริมาณมากขึ้นตามอัตราการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะค่อยๆเริ่มรั่วไหล ( Leak ) เข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น
ดังนั้น การตรวจเลือดวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณ Tumor Marker จึงเปรียบเสมือนการสืบสวนย้อนรอยหาเบาะแสว่าพวกมันไปแอบซ่องสุมให้แก๊งพวกมันใช้ที่พักพิงเป็นฐานปฏิบัติการ ณ อวัยวะแห่งใด
ฝ่ายสืบสวน จำเป็นต้องตั้งชื่อแก๊งบรรดามะเร็งเป็นชื่อเฉพาะ แยกแยะในแต่ละอวัยวะ เพื่อใช้สื่อความเข้าใจในระหว่างผู้ปราบปรามและผู้เสียหายต่อไป
คำศัพท์เกี่ยวกับมะเร็ง
Tumor Marker ใช้ตรวจค่า มะเร็งทุกชนิด คำว่า ” มะเร็ง ( Cancer ) ” ตรงกับคำในภาษากรีกว่า “ Karkinos ” ที่มีความหมายว่า “ ปู ” ( Carb ) กล่าวคือ ก้อนมะเร็งมันจะมีลักษณะบวมนูนและเห็นร่องรอยกระจายออกไปรอบด้านคล้ายกับ “ ขาปู ”
การแพทย์แผนปัจจุบันท่านได้ทราบนานมาแล้วว่า มะเร็ง คือ เซลล์เกิดใหม่ที่มีลักษณะกลายพันธุ์ และพ้นจากการควบคุมของร่างกาย หรือร่างกายควบคุมการเจริญเติบโตของมันไม่ได้ โดยได้บัญญัติศัพท์เรียกกันทั่วไปว่า “ เนื้องอกมะเร็ง ” ซึ่งแปลจากศัพท์แพทย์ว่า Neoplasia หรือ Neoplasm, Neo = ใหม่ Plasia, Plasm = เซลล์ หรือ เนื้อเยื่อ
แต่ส่วนที่งอกหรือเซลล์เกิดใหม่อื่นๆที่ มิใช่เซลล์มะเร็ง แต่มีชื่อคล้ายกัน ซึ่งสมควรกล่าวถึงให้ทราบความหมายและเห็นความแตกต่างของศัพท์แพทย์ที่ท่านใช้ สำหรับที่ มิใช่เซลล์มะเร็ง ดังนี้
Hyperplasia คือ เซลล์เกิดใหม่ ที่มีจำนวนเซลล์มากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้บวมขึ้น เช่น สภาวะต่อมไทรอยด์โต ( Thyroid Hyperplasia ) สภาวะต่อมลูกหมากโต ( Benign Prostate Hyperplasia, BPH )
Hypertrophy คือ เซลล์เกิดใหม่มีจำนวนเซลล์ไม่มากกว่าเดิม แต่มีขนาดรูปร่างของเซลล์ใหญ่กว่าเดิม จึงทำให้บวมโตขึ้น เช่น สภาวะหัวใจโต ( Cardiac Hypertrophy )
Metaplasia คือ เซลล์เกิดใหม่มีจำนวนและขนาดไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นเซลล์ตัวใหม่ที่งอกขึ้นมาแทนตัวเดิม เช่น เซลล์เนื้อเยื่อของผิวหนัง ( Squamous Metaplasia ) ที่ปรากฏแทนที่ผิวหนังเดิมที่ลอกทิ้งไป
Dyplasia คือ เซลล์เกิดใหม่ซึ่งผลิตขึ้นมาแทนที่เซลล์เก่า ด้วยวัยที่โตยังไม่เต็มที่เหมือนกับเซลล์เก่า เช่น เซลล์ผนังด้านในโพรงมดลูก ( Dysplasia of the Cervix Epithelium ) ซึ่งกว่าจะโตเต็มที่ก็คือ 28 วัน แล้วก็ได้เวลาหลุดออกมาเป็นประจำเดือนของสตรีในทุกๆเดือน
สารวัดค่ามะเร็งใช้แกะร่องรอยของมะเร็ง
ร่องรอยทางกายภาพของมะเร็ง อาจเห็นได้โดยง่ายหรือไม่เห็นง่ายก็ได้ กล่าวคือ
ชนิดไม่บวม เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) ไหลเวียนในหลอดน้ำเหลือง เป็นชนิดที่ไม่อาจเห็นได้โดยง่าย
ชนิดบวม เรียกว่า Tumor คือ ก้อนเนื้อที่บวมนูน ซึ่งเห็นได้โดยง่าย ทั้งนี้ Tumor อาจเกิดจากเซลล์มะเร็ง หรือมิใช่เซลล์มะเร็งก็ได้ มี 2 ชนิดคือ
Benign Tumor ก้อนเนื้อบวมนูน คล้ายมะเร็งแต่มิใช่มะเร็งหรือมักเรียกกันว่า เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น ถุงไขมัน ( Cyst ) ถุงเนื้อเยื่อที่หุ้มไขมันในเต้านม ( Fibrocystic Breast Disease ) เนื้อเยื่อที่บวมในเต้านม ( Fibroadenoma )
Malignant Tumor คือ ก้อนเนื้อบวมนูนอันเกิดจากเซลล์มะเร็ง ( Malignant มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน คือ คำว่า “ Mal ” ซึ่งแปลว่า เลว ร้าย และคำว่า “ Genus ” แปลว่า กำเนิด ) ทั้งนี้ คำว่า Malignant จึงอาจใช้แทนคำว่า มะเร็ง ได้อีกคำหนึ่ง
สรุปศัพท์แพทย์เกี่ยวกับมะเร็ง ที่มักพบเห็นบ่อย
Neoplasia หรือ Neoplasm มีความหมายในเชิงชี้เห็นว่าเป็น เนื้องอกมะเร็ง
คำที่ลงท้าย “ …oma ” เช่น Hepatoma ( มะเร็งเซลล์ตับ ) หรือคำลงท้ายด้วย “ …sarcoma ” เช่น Osteosarcoma (มะเร็งเซลล์กระดูก)
คำที่ขึ้นต้นด้วย “ Onco… ” เช่น Oncology ( วิชาว่าด้วยโรคมะเร็ง, มาจากภาษากรีก onkos = bulk, mass คือ ก้อนเนื้อ, ology = study คือการศึกษา, วิชา )
Tumor โดยธรรมดามีความหมายว่า บวมหรือนูน แม้จะเกิดจากมิใช่โรคมะเร็ง หรือเกิดจากโรคมะเร็งก็ตาม แต่โดยนัยที่นิยมกัน คำว่า Tumor เพียงตัวเดียวเดี่ยวๆ มักต้องใช้เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็งเสมอ ซึ่งถ้าหากเป็นการบวมนูนที่มิใช่เกิดจากโรคมะเร็ง ก็ต้องระบุให้ชัดเจนลงไป เช่น Benign Tumor ซึ่งแปลว่า บวมนูนปลอมหรือบวมนูนอย่างเมตตา ( Benign = เมตตา, กรุณา )
การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้สัญญาณโรคมะเร็ง
ในทางการแพทย์ท่านได้ใช้ศัพท์ว่า Tumor Maker ในการตรวจวิเคราะห์เลือด เพื่อให้ทราบถึงระดับหรือค่าของการบ่งชี้ว่า เป็นโรคมะเร็งชนิดใด
ความก้าวหน้าขอวิทยาการแพทย์ปัจจุบันนั้น อาจตรวจวิเคราะห์สารบ่งชี้ สัญญาณมะเร็งต่ออวัยวะได้หลากหลายชนิดสัญญาณ
วัตถุประสงค์ทั่วไปในการตรวจเลือดหาสัญญาณมะเร็ง
Tumor Marker ใช้เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีสุขภาพปกติด้วยการตรวจโรคตามระยะเวลา เช่น การตรวจโรคประจำปี ประจำหกเดือน หรือประจำสามเดือน ว่าจะมีสัญญาณโรคมะเร็งชนิดใดเริ่มเกิดขึ้นและแอบซ่อนอยู่บ้างหรือไม่
ใช้ติดตามผลการรักษาโรคมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง ว่าได้ผลหรือไม่เพียงใด
ใช้ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งเจาะจงบางชนิด ที่ไม่อาจตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ (ฺ Biopsy ) ได้ เช่น มะเร็งเซลล์สมอง
อาจใช้พยากรณ์ความร้ายแรงขแงโรคมะเร็งบางชนิด
วิธีตรวจหาสัญญาณมะเร็งจากการเจาะเลือดตรวจ
วิธีที่ 1 ตรวจด้วยการระบุชื่อสัญญาณมะเร็ง ( Cancer – Specific Marker ) หมายถึง การเจาะจงชื่อของ Tumor Maker ที่สัมพันธ์กับอวัยวะซึ่งสงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ตามตารางที่ 5 เช่น ระบุว่า
ต้องตรวจค่า AFP เพราะทราบจากตารางดังกล่าวว่า AFP นั้นสามารถแสดงสัญญาณมะเร็งของโรคมะเร็งตับ ได้ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์แท้จริงต้องการทราบเพียงเจาะจงอวัยวะที่ตับว่าจะมีสัญญาณมะเร็งใดๆหรือไม่ แต่การตรวจ AFP ก็พลอยทำให้ทราบสัญญาณโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นแถมมาด้วย กล่าวคือ รังไข่ (ในกรณีเป็นสตรี) หรือลูกอัณฑะ (ในกรณีเป็นบุรุษ)
วิธีที่ 2 ตรวจด้วยการระบุอวัยวะ ( Tissue -Specific Marker ) หมายถึง การตรวจด้วยเหตุมีความสงสับว่า อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในร่างกายซึ่งมีความผิดปกติว่าอาจจะเป็นมะเร็งหรือไม่ เช่น มีอาการเหมือนท้องผูกเป็นประจำทุกวัน จึงสงสัยว่า ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย จะเป็นมะเร็งหรือไม่ ในกรณีนี้ก็จำเป็นต้องระบุอวัยวะลงไปก่อนว่า “ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย”
สัญญาณมะเร็งที่อาจบ่งชี้ต่อสภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
1) CEA
2) CA 19-9
3) CA 125
สารวัดค่ามะเร็งควรพึงระมัดระวังในการใช้
การตรวจสารบ่งชี้สัญญาณโรคมะเร็ง จากการเจาะเลือดออกมาวิเคราะห์นั้น มิใช่จะเป็นข้อมูลแน่นอนที่ถูกต้อง 100% เสมอไป ท่านผู้เชียวชาญทางโลหิตวิทยาจึงให้คำแนะนำในการใช้ไว้ ดังนี้
อย่าได้ปลงใจเชื่อผลตรวจเลือด ซึ่งปรากฏสัญญาณโรคมะเร็งจากค่าตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว
หากต้องการตรวจเลือดในการหาสารวัดค่ามะเร็งสัญญาณโรคมะเร็งหลายครั้งต่อเนื่องกันเพื่อทราบการดำเนินโรค หรือเพื่อติดตามผลการรักษา ก็จะต้องใช้ห้องปฏิบัติการ ( Laboratory ) ตรวจเลือด ณ แหล่งใดแหล่งหนึงเพียงแหล่งเดียวหรือแม้แต่อุปกรณ์ หรือน้ำยาวิเคราะห์เลือดก็ควรจะต้องเป็นชนิดเดียวกันเสมอไปทุกครั้ง ต้องแน่ใจว่า มีข้อมูลตัวเลขประวัติจากการตรวจเลือดแล้วพบว่าสัญญาณมะเร็งของอวัยวะใดนั้น สูงมาก่อนการรักษาอยู่แล้ว ต้องรู้จักพิจารณาเลือกใช้สัญญาณมะเร็งหลายๆตัวที่ครอบคลุมและสัมพันธ์กับการตรวจและบ่งชี้มะเร็งของอวัยวะเจาะจงจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายให้พิจารณาเลือกใช้สัญญาณมะเร็งที่ไม่เจาะจงอวัยวะมากนักแต่มีคุณสมบัติความไว ( Sensitivity ในการบ่งชี้มะเร็ง )
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
“Correlation of serum CA125 with stage, grade and survival of patients with epithelial ovarian cancer at a single centre”. Ir Med J. 101
Prasad AR, Bernstein H (March 2013). “Epigenetic field defects in progression to cancer”. World Journal of Gastrointestinal Oncology.
Thun MJ, Hannan LM, Jemal A (September 2006). “Interpreting cancer trends”. Annals of the New York Academy of Sciences.