การอ่านค่าผลตรวจสุขภาพ

0
5576
วิํธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิํธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพ เป็นสิ่งที่ควรทำประจำทุกปี เพื่อรู้และหาวิธีป้องกันรักษาโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ

การตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพ เป็นสิ่งที่ควรทำประจำทุกปี เพื่อรู้และหาวิธีป้องกันรักษาโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ การทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีอ่านผลการตรวจสุขภาพ อย่างถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะมีการตรวจหลากหลายวิธี และมุ่งเน้นไปยังโรคแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ดังนี้

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

เซลล์ที่หมุนเวียนอยู่ในกระแสเลือดของร่างกาย มีด้วยกัน 3 กลุ่ม ได้แก่ เม็ดเลือดแดง ( Erythrocytes ) เม็ดเลือดขาว ( Leukocytes ) และเกล็ดเลือด ( Thrombocytes ) ซึ่งปกติเซลล์ทั้ง 3 กลุ่มจะมีสัดส่วนที่เหมาะสม ดังนั้นหากจำนวนเซลล์ที่นับได้มีมากหรือน้อย หรือมีลักษณะที่ผิดปกติออกไป จะสามารถบ่งชี้อาการของโรคต่างๆ ได้ การตรวจนับเซลล์ในเลือดจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากในทางการแพทย์ เพราะให้ ข้อมูลกว้างๆ เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยได้ ในหลายโรงพยาบาลมักจะบรรจุ การตรวจนับเม็ดเลือด เป็นส่วนหนึ่งของ การตรวจสุขภาพ ประจำปีด้วย เช่น

1. การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง Red Blood Cell ( RBC )

2. การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC )

3. การตรวจคุณสมบัติพิเศษของเลือด

การตรวจสุขภาพเพื่อหาสารมะเร็งจากเลือด

การเจาะเลือดหาโรคมะเร็ง คือ การเจาะเลือดเพื่อหาสารที่จะพบได้ในคนที่เป็นมะเร็ง ( Tumor marker ) หรือเรียกว่า การเจาะเลือดเพื่อตรวจหา ” สารบ่งชี้มะเร็ง ” ซึ่งการตรวจมะเร็งด้วยการเจาะเลือดนี้ มักทำเมื่อแพทย์สั่ง หรือผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเท่านั้น อีกทั้งควรตรวจด้วยวิธีการอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะการจะวินิจฉัยมะเร็ง จะต้องทำการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจหลายๆแบบ จะไม่มีการวินิจฉัยโรคมะเร็งด้วยการเจาะเลือดเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ การตรวจมะเร็งจากเลือด ไม่ได้เหมาะสำหรับการตรวจหามะเร็งทุกชนิด วิธีที่มักทำกัน คือ CEA, PSA, AFP และ CA-125 ซึ่งใช้ตรวจหามะเร็งได้บางชนิด ได้แก่

1. การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่

2. การตรวจมะเร็งตับ

3. การตรวจมะเร็งรังไข่

4. การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่

5. การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

6. การตรวจมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การตรวจสุขภาพเพื่อหาสารชีวเคมีในเลือด

สารชีวเคมีในเลือด สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ค่าปกติในช่วงตํ่า ( Lower Normal Levels ) และค่าปกติในช่วงสูง ( Upper Normal Levels ) โดยค่า Upper Normal Levels มีนัยสำคัญต่อการเกิดความผิดปกติของอวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บ่งชี้ภาวะเบาหวาน ความผิดปกติของไต ตับ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น ดังนั้น การนำค่าของสารชีวเคมีในเลือดระดับ Upper Normal Levels มาใช้ในการประเมินผลตรวจสุขภาพ จะแสดงให้เห็นแนวโน้มของความผิดปกติในแต่ละบุคคลได้ดี และอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการป้องกันสุขภาพก่อนเกิดความผิดปกติได้ หากสามารถควบคุมระดับสารชีวเคมีให้อยู่ในระดับ Lower Normal Levels อยู่เสมอ การตรวจสุขภาพ ด้วยสารชีวเคมีในเลือด ได้แก่

1. น้ำตาลและสารพิเศษ

2. การตรวจไขมันในเลือด

3. การตรวจการทำงานของตับ ( Liver Function Test )

4. การตรวจแร่ธาตุและสารละลายในร่างกาย ( Electrolyte )

5. การตรวจเลือดวิเคราะห์ฮอร์โมน ( Hormone Assays )

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Health Check approval misleading consumers, Canadian doctor alleges”. Global News. Corus Entertainment. Retrieved 18 November 2016.