การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งมีวิธีอะไรบ้าง
วิธีตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งอย่างละเอียดในผู็ป่วยโรคมะเร็ง

การตรวจหามะเร็ง

การหาตรวจมะเร็ง หมายถึง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งในทุกด้านตามวิธีการทางการแพทย์ เช่น

  • การวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ?
  • การประเมินระยะของโรคมะเร็งที่เป็นในคนไข้
  • การประเมินสุขภาพผู้ป่วย เพื่อพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม
  • การประเมินผลในช่วงก่อนการรักษาและหลังการรักษาว่าดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร
  • การติดตามชีวิตของผู้ป่วยเพื่อดูผลการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง รวมไปถึงเรื่องของการแพร่กระจาย การเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ 2 เพื่อนำมาทำบันทึกและศึกษาการคัดกรองโรคมะเร็งที่มักเกิดขึ้นบ่อยในอนาคต

  [adinserter name=”มะเร็ง”]

วิธีการตรวจหามะเร็ง

วิธีการตรวจวินิจฉัยมีวิธีการทางการแพทย์ดังต่อนี้

1. การตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายสำหรับผู้สงสัยจะเป็นมะเร็ง มี 2 ลักษณะด้วยกันคือ การตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจเฉพาะที่

1.1 การตรวจร่างกายทั่วไป

การตรวจร่างกายทั่วไปมักตรวจเบื้องต้นโดยพยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลก่อนพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ และดูสุขภาพโดยรวม ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสัญญาณชีพ (ตรวจจับชีพจร การหายใจ วัดอุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิต) การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หากเป็นผู้ป่วยที่เคยได้รับยาเคมีบำบัด ต้องนำน้ำหนักและส่วนสูงไปคำนวณปริมาณยาเคมี  บำบัดด้วยจากนั้นจึงส่งผู้ป่วยพร้อมข้อมูลไปให้แพทย์ตรวจอาการ ซึ่งแพทย์จะเริ่มตรวจอวัยวะสำคัญ อย่าง ปอด หัวใจ ช่องท้อง ผิวหนังทั่วไป และตรวจต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

1.2 การตรวจร่างกายเฉพาะที่

การตรวจร่างกายเฉพาะที่ แพทย์จะเน้นไปที่จุดที่มีอาการสำคัญ และในตำแหน่งอื่นๆ ที่ผู้ป่วยมีอาการ ประกอบกับกับการตรวจคลำต่อมน้ำเหลืองใกล้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เป็นมะเร็ง เช่น หากเป็นก้อนที่คอ ก็จะตรวจคอ ตรวจช่องปาก และต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้วย ซึ่งการตรวจเฉพาะที่มักตรวจคู่กับการตรวจร่างกายทั่วไปเสมอ

1.3 การตรวจร่างกายประเมินการแพร่กระจายของโรค

การตรวจร่างกายเพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรค แพทย์จะตรวจร่างกายในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ ที่พบบ่อยๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกล ตับ และปอด แพทย์จะตรวจคลำช่องท้องเพื่อดูขนาดของตับและก้อนเนื้อผิดปกติต่างๆ ร่วมกับการตรวจฟังการหายใจดูความผิดปกติของปอด เป็นต้น

2. การตรวจเลือด

เป็นการเจาะเลือดแล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ/แล็บ ( laboratory ) เพื่อดูค่าต่างๆ ในการวินิจฉัยโรคและดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ แต่โดยทั่วไปมักเจาะในช่วงเช้า ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการตรวจ เช่น ตรวจเลือดซีบีซี (ตรวจดูค่าเม็ดเลือด) สามารถตรวจได้ทุกเวลา เพราะไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำ การงดอาหารและน้ำในการตรวจเลือดมีตั้งแต่ 1-12 ชั่วโมง ถ้าตรวจเลือดตอนเช้า จะต้องงดอาหารตั้งแต่หลังเที่ยงคืน เพื่อให้ได้ค่าการตรวจถูกต้องแม่นยำ ซึ่งการตรวจเลือดบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือน้ำ โดยเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำที่มีขนาดใหญ่ ปริมาณเลือดจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่แพทย์ต้องการตรวจ มีตั้งแต่ใช้เป็นหยด ( CBC ) ไปจนถึงประมาณ 15-30 มิลลิลิตรหรือซีซี และทราบผลภายใน 1-24 ชั่วโมง หลังเจาะเลือดเสร็จแล้ว ผู้ป่วยสามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ ยกเว้นแพทย์หรือพยาบาลจะมีข้อแนะนำอย่างอื่น  [adinserter name=”มะเร็ง”]

2.1 การตรวจเลือดซีบีซี

การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count ( CBC ) เป็นการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบดูโรคและความแข็งแรงของการทำงานของไขกระดูกว่าเกิดความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดต่าง ๆ ในร่างกายหรือไม่ วิธีตรวจเหมือนกับการตรวจเลือดทั่วไป ก็คือการเจาะปลายนิ้ว หรือเจาะเข้าที่บริเวณหลอดเลือดดำ ใช้ปริมาณเลือดค่อนข้างน้อย เพียง 1-3 มิลลิลิตรเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องอดน้ำและอาหารก่อนการเจาะเลือด โดยเม็ดเลือดแดงที่จะใช้ในการตรวจสอบ มีดังต่อไปนี้

1. ตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีภาวะซีดจากการขาดเม็ดเลือดแดงหรือไม่

2. การตรวจนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว White Blood Cell ( WBC ) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

3. การตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด ( Platelet Count ) ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด

4. ตรวจสอบลักษณะเม็ดเลือดแดง-ขาว หากเกิดความผิดปกติ จะสามารถวินิจฉัยอาการบางโรคได้ทันที

2.2 การตรวจเลือดดูค่าน้ำตาล

ในกรณีที่ต้องมีการตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะต้องมีการงดอาหารก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 10-20 ชั่วโมง การตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลถือเป็นการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยเป็นโดยรวม

2.3 การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ ไต และต่อมไทรอยด์

เป็นการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยอย่างหนึ่ง สำหรับการตรวจเลือดดูการทำงานของตับและไตจำเป็นต้องงดอาหารและน้ำก่อนตรวจอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง ส่วนการตรวจเลือดดูการทำงานเฉพาะของต่อมไทรอยด์เพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำดื่ม  ถ้าตรวจพบว่าการทำงานของตับผิดปกติมาก ซึ่งแพทย์มักตรวจภาพตับเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อสงสัย ด้วยการสั่งให้อัลตราซาวด์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอ

2.4 การตรวจเลือดดูค่าเกลือแร่

การตรวจเลือดดูค่าเกลือแร่ จะตรวจเพื่อดูค่าสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย หากเกลือแร่เสียสมดุลจะส่งผลให้ความดันโลหิตผิดปกติ มีอาการมึนงง วิงเวียน และหมดสติ ซึ่งในการรักษาโรคมะเร็งหากพบว่าร่างกายอยู่ในภาวะเกินสมดุล ตรวจเลือดแล้วพบว่ามีค่าเกลือแร่ผิดปกติ แพทย์จะต้องหาสาเหตุและให้การรักษาจนกว่าค่าเกลือแร่จะอยู่ในระดับสมดุล จึงจะเริ่มให้การรักษาโรคมะเร็งอีกครั้ง โดยเฉพาะในการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการตรวจเลือดดูค่าสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายต้องงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง

2.5 การตรวจเลือดอื่นๆ

การตรวจเลือดอื่นๆ จะทำการตรวจเพื่อหาโรคร่วมที่มักพบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็ง และอาจส่งผลกระทบถึงการรักษาหรือผลข้างเคียงจากการรักษา โดยเฉพาะการติดเชื้อต่างๆ เช่น ตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อไวรัสเอชไอวี ( HIV ) หรือเชื้อซิฟิลิส ซึ่งแพทย์ต้องนำมาปรับใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง หรืออาจเป็นโรคติดต่อที่บุคลากรทางแพทย์และผู้ป่วยด้วยกันเอง ต้องระมัดระวังป้องกันเป็นต้น

3. การตรวจสารมะเร็ง

สารมะเร็ง หรือ ทูเมอร์มาร์กเกอร์ ( tumor marker ) เป็นสารประกอบที่อาจสร้างได้ทั้งจากเซลล์ปกติ เซลล์อักเสบ และเซลล์มะเร็งบางชนิด อีกทั้งเป็นได้ทั้งสารเคมี เอนไซม์ สารที่เคยมี เป็นตัวอ่อน ยีน หรือฮอร์โมน ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง ซึ่งหากเป็นมะเร็งชนิดที่สร้างสารนี้แล้ว จะพบว่ามีการสร้างสารนี้มากเกินปกติ แพทย์จึงสามารถนำมาใช้ประเมินผลการรักษาพร้อมทั้งใช้ตรวจการแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือการเป็นซ้ำ แต่ไม่นิยมนำสารมะเร็งมาใช้เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง เพราะอาจได้ผลการตรวจที่ไม่แน่นอน เว้นแต่ในมะเร็งตับชนิดเกิดจากเซลล์ตับ (HCC) และโรคมะเร็งชนิดเจิร์มเซลล์ ( germ cell tumor )เท่านั้น บริเวณที่ตรวจพบสารมะเร็ง สามารถพบได้ทั้งในเลือด ปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง หรือของเหลวในร่างกาย โรคมะเร็งที่ยอมรับการตรวจสารมะเร็งเป็นการตรวจมาตรฐาน เพื่อติดตามผลการรักษา ก็เช่น โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งระบบทางเดินน้ำดี โรคมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งชนิดเจิร์มเซลล์ทูเมอร์ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งรังไข่ และโรคมะเร็งระบบโลหิตวิทยา เป็นต้น  [adinserter name=”มะเร็ง”]

4. การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ ก็คือการนำน้ำปัสสาวะของผู้ป่วยไปตรวจด้วยวิธีทางการแพทย์ในห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะและไต ( การอักเสบ การเกิดนิ่ว รวมทั้งการเกิดโรคเบาหวาน ) การเก็บน้ำปัสสาวะมาตรวจ สามารถเก็บได้ทุกเวลา โดยที่ไม่จำเป็นต้องงดอาหารและน้ำมาก่อน ( แต่ต้องไม่ดื่มน้ำเพิ่ม ) ภาชนะที่มีความจุประมาณ 5 มิลลิลิตรหลังจากนั้นก็รอผลตรวจประมาณ 1-12 ชั่วโมง ( บางโรคอาจใช้เวลาถึง 24 ชั่วโมง ) ในคนปกติทั่วไปจะมีปัสสาวะปกติต้องมีสีเหลืองอ่อน ใส ไม่มีสิ่งใด ๆ เจือปนเลย

5. การตรวจอุจจาระ

การตรวจอุจจาระที่ถูกต้อง จะต้องเก็บอุจจาระในช่วงเช้า โดยต้องเก็บให้ได้ประมาณ 1-3 ในภาชนะปลอดเชื้อที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จัดเตรียมให้ แล้วนำกลับมาให้เจ้าหน้าที่ ไม่ต้องงดอาหารและน้ำดื่ม ทำตัวตามปกติ การตรวจอุจจาระสามารถตรวจหาไข่พยาธิ ตัวพยาธิ เม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดงได้ โดยจะทราบผลตรวจภายใน 1-24 ชั่วโมง

6. การตรวจย้อมเชื้อ

การตรวจย้อมเชื้อ เป็นการตรวจหาเชื้อโรคในร่างกายจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ปัสสาวะหรืออุจจาระ โดยนำสารคัดหลังที่เก็บมาไปย้อมด้วยสารเคมีบางชนิด เพื่อให้ได้ตัวเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ จากนั้นก็นำกล้องจุลทรรศน์ โดยเก็บสารคัดหลังในภาชนะที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมให้ แล้วนำมาส่งคืน จะทราบผลตรวจภายใน 1-24 ชั่วโมง

7. การตรวจเพาะเชื้อ

วิธีนี้แพทย์จะนำสารคัดหลั่ง ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำไขสันหลัง เลือด ชิ้นเนื้อ รวมทั้งเลือดที่ต้องการตรวจ มาเพาะเลี้ยงด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ โดยสามารถทราบผลการตรวจได้ตั้งแต่ 2-3 วัน จนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่ตรวจ เพื่อดูว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากเชื้อโรคอะไรกันแน่ หรือเชื้อชนิดนั้นดื้อหรือตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะชนิดใด แพทย์จะได้เลือกใช้ยาได้อย่างถูกต้อง การตรวจเพาะเชื้อบางชนิดไม่สามารถทำได้ทุกโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลหลักหรือไม่ก็ต้องส่งตรวจที่ต่างประเทศ หากเป็นแบบนี้จะทำให้ล่าช้าและมีค่าใช้จ่ายสูง

8. การตรวจเอกซเรย์

การตรวจเอกซเรย์หรือรังสีวินิจฉัย มีประโยชน์ในการตรวจดูเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ผิดปกติ เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบติดเชื้อ ตลอดจนเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่มีก้อนเนื้อหรือมีแผลซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นแผลมะเร็ง โดยแพทย์จะตัดชิ้นเนื้อ เจาะ หรือดูดเซลล์ไปตรวจทางพยาธิวิทยาหรือเซลล์วิทยา ซึ่งภาพจากการตรวจทางรังสีวินิจฉัยจะมีการบันทึกได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นฟิล์ม ซีดี หรือดีวีดี เป็นได้ทั้งภาพสีและภาพขาวดำ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและชนิดของเครื่องแต่ละโรงบาล

8.1 การตรวจเอกซเรย์ธรรมดา

การตรวจเอกซเรย์ธรรมดาเป็นการตรวจภาพอวัยวะภายในเบื้องต้น ด้วยรังสีเอกซ์ ( x-ray ) แบบ 2 มิติเพื่อวินิจฉัยโรคต่างๆ รูปที่ได้ออกมาจึงเป็นแบบภาพรวมของด้านกว้างและด้านขวาง ซึ่งแต่ละภาคจะแสดงผลเพียงด้านเดียวเช่น ด้านหน้าหรือด้านข้าง ส่วนใหญ่มักนำมาดูการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเข้าสู่อวัยวะ ใดบ้าง หรือไม่ก็นำมาตรวจดูกระดูก ซึ่งส่วนที่นิยมตรวจก็เช่น ปอด กระดูกขาหรือกระดูกสันหลัง เป็นต้นขั้นตอนในการตรวจเอกซเรย์ธรรมดาไม่มีอะไรยุ่งยาก สามารถตรวจได้เลยเพียงเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดของโรงพยาบาล ถอดเครื่องประดับต่างๆออกให้หมด เนื่องจากเสื้อผ้าหนาๆที่เราสวมไปหรือพวกเครื่องประดับโลหะ เหรียญต่างๆ จะทำให้ได้ผลภาพเอกซเรย์ออกมาผิดปกติ ส่งผลให้การวินิจฉัยผิดพลาดคิดว่าเป็นก้อนเนื้อได้ ส่วนผลจะทราบได้ในวันเดียวกัน หรือหากมีคนตรวจจำนวนมากอย่างช้าไม่น่าจะเกิน 2 วัน ขึ้นอยู่กับความเร่งด่วน  [adinserter name=”มะเร็ง”]

8.2 การตรวจอัลตราซาวด์

การตรวจอัลตราซาวด์ ( โซโนแกรม ) เป็นการตรวจเบื้องต้นที่แพทย์นิยมใช้เช่นกัน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไอมาก โดยการทำงานจะเป็นการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งคลื่นนี้เมื่อผ่านเนื้อเยื่อแต่ละชนิด จะสะท้อนกลับออกมาเป็นภาพ 2 มิติให้เห็น ส่วนใหญ่ใช้กับการตรวจความผิดปกติที่เป็นการอักเสบ เป็นน้ำ เป็นเลือด หรือเป็นก้อนเนื้อ โดยเฉพาะเมื่อสงสัยว่าจะมีการแพร่ของโรคมะเร็งเข้าสู่อวัยวะอื่น เช่น ตรวจตับเพื่อดูว่ามีโรคมะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่ตับหรือไม่ เป็นต้น อวัยวะที่นิยมตรวจด้วยอัลตราซาวด์ เช่น ต่อมไทรอยด์ ตับ ไต ช่องท้อง รังไข่ มดลูก การตรวจวัดความหนาของเยื่อบุมดลูก ( เยื่อบุโพรงมดลูก ) เต้านม ในการตรวจอัลตร้าซาวด์ ไม่ต้องกังวลใดๆเพราะไม่มีการเจาะเลือด ไม่เจ็บ ไม่มีบาดแผล ไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องใช้ยานอนหลับ หรือยาสลบ สตรีมีครรภ์ก็สามารถตรวจได้ โดยผู้ป่วยจะนอนราบบนเตียง เปิดเสื้อผ้าในบริเวณที่แพทย์ต้องการตรวจ จากนั้นแพทย์จะทาเจลใสลงไปบนผิวหนังบริเวณนั้น จะให้ความรู้สึกลื่นๆเย็นๆเพลินๆเพื่อที่จะช่วยให้หัวเครื่องถูบนผิวหนังได้อย่างราบลื่นไม่ฝืดหรือติด และคลื่นเสียงสามารถผ่านจากหัวเครื่องเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพส่วนผลการตรวจโดยทั่วไปแพทย์รังสีจะแจ้งผลคร่าวๆให้ทราบทันที

8.3 การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน ( CT scan:computerized tomography ) แคสแกน ( CAT scan:computerized axial tomography ) เป็นการตรวจที่ให้ผลดีกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา เนื่องจากให้ผลละเอียดเป็นภาพ 3 มิติ เห็นเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจนจากภาพตัดขวางของอวัยวะต่างๆ หลายสิบภาพต่ออวัยวะ การวินิจฉัยจึงแม่นยำขึ้น การตรวจแบบนี้อาจต้องมีงดอาหารและน้ำก่อนตรวจ หากมีการฉีดสารทึบรังสีเพื่อช่วยเพิ่มการเห็นภาพซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ทำการตรวจ

โดยสารทึบรังสีที่ฉีดนี้อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น เกิดผื่นคัน หรืออาจแพ้จนช็อก หมดสติ และเสียชีวิต ( แต่พบได้น้อยมาก ) ผู้ป่วยจึงต้องแจ้งประวัติการแพ้ ยา รวมไปถึงโรคประจำตัวให้กับแพทย์ทราบ นอกจากนี้สารดังกล่าวอาจมีผลต่อการทำงานของไต จึงต้องมีการตรวจการทำงานของไตก่อน สำหรับสตรีตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรแพทย์อาจให้งดเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมแม่ประมาณ 1-2 วันหลังการฉีดสารทึบรังสี ในขณะที่ตรวจหากมีอาการผิดปกติหรือต้องการติดต่อเจ้าหน้าที่ขณะตรวจก็สามารถพูดติดต่อได้ เพราะด้านในจะมีเครื่องรับเสียง และมีเจ้าหน้าที่รังสีคอยเฝ้าดูผู้ป่วยผ่านกล้องวงจรปิดตลอดเวลา หากมีสิ่งใดผิดปกติเจ้าหน้าที่สามารถช่วยได้ทันที ส่วนเวลาที่ใช้ตรวจประมาณ 20 นาที-1 ชั่วโมง แล้วแต่อวัยวะที่ใช้ตรวจ

เมื่อตรวจเสร็จ เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยนอนหรือนั่งพักจนกว่าจะผ่อนคลายจากการตรวจ เพราะการลุกขึ้นยืนหรือเดินทันทีอาจมึนงงจนหกล้มได้ สำหรับคนที่ไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำ ขอให้ทำการปัสสาวะออกมาให้เร็วที่สุดเพื่อขับสารทึบรังสีออกมา เป็นการลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่อไตได้ ส่วนผลตรวจหากเป็นการตรวจในสถานพยาบาลที่มีผู้ป่วยน้อย มักทราบผลภายใน 1-3 ชั่วโมง แต่ถ้าตรวจในโรงพยาบาลรัฐบาลอาจต้องรอฟังผล 3 ถึง 7 วัน หรือทราบผลวันที่แพทย์นัดเลยทีเดียว

8.4 การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ ( MRI : magnetic resonance imaging ) มีลักษณะการตรวจและการเตรียมตัวคล้ายกับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นอีกการตรวจที่นิยมในปัจจุบัน โดยแพทย์จะใช้ในกรณีที่การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทำไม่ได้ เช่น กระดูก กล้ามเนื้อประสาท ไขสันหลัง และสมอง เนื่องจากมีราคาแพงกว่าการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มาก ซึ่งการตรวจแบบนี้จะใช้ดูเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับคลื่นวิทยุ ที่ไม่ใช่รังสีเอกซ์ โดยจะให้ผลที่ชัดเจนมากกว่า และสามารถตรวจสอบหลอดเลือดได้ การใช้งานของเครื่องและข้อแนะนำคล้ายกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  [adinserter name=”มะเร็ง”]

8.5 การถ่ายภาพรังสีเต้านม

วิธีการถ่ายภาพรังสีของเต้านมหรือที่เราเรียกกันว่า “ แมมโมแกรม ( Mammogram ) ” ซึ่งนี่เป็นวิธีการตรวจแบบที่อาศัยรังสีเอกซ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีข้อห้ามมีข้อจำกัดมากมายและเป็นสิ่งที่มีลักษณะเดียวกันกับการเอกซเรย์แบบธรรมดาทั่วไปที่พบเจอตามโรงพยาบาล สำหรับการตรวจแบบนี้จะต้องให้ผู้ป่วยตรวจในลักษณะท่ายืนตรงจากนั้นให้นำเต้านมไปวางลงบนเครื่องทีละข้าง จากนั้นเครื่องก็จะทำการบีบส่วนของเนื้อเต้านม การทำเช่นนี้ก็เพื่อที่จะทำการตรวจโรคที่เกี่ยวกับเต้านม ภาพที่ออกมาจะได้มีความชัดเจน สำหรับการเตรียมตัวสำหรับการไปตรวจแบบแมมโมแกรมจะต้องทำการเตรียมตัวเช่นเดียวกันกับการตรวจเอกซเรย์แบบทั่วไปแต่ที่พิเศษกว่าเล็กน้อย คือ ผู้ป่วยจะต้องไม่ทาโลชั่น ไม่ทาแป้ง ไม่ทาสิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัวมาเลย เพราะ สิ่งเหล่านั้นอาจทำให้ผลการตรวจเกิดความผิดพลาด อาจกลายเป็นว่าเครื่องแปลผลเป็นพบสิ่งเหล่านั้นเป็นก้อนเนื้อแทน

8.6 การตรวจและการรักษาทางด้านรังสีร่วมรักษา

สำหรับวิธีการรักษาแบบรังสีร่วมรักษาหรือชื่อภาษาอังกฤษ คือ INTERVENTIONAL RADIOLOGY นั้นทางการแพทย์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาสำคัญของหน่วยงานทางด้านรังสีวินิจฉัย เป็นวิธีการที่มีทั้งแบบที่เพื่อการตรวจวินิจฉัยกับแบบเพื่อการรักษาโรค และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการให้ผู้ป่วยเซ็นยินยอมที่จะเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ สำหรับการตรวจรักษาแบบนี้ ได้แก่

  • การตรวจภาพรังสีของหลอดเลือด ชื่อภาษาอังกฤษ คือ ANGIOGRAPHY VENOGRAPHY เป็นการตรวจเพื่อตรวจสอบโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดภายในร่างกาย เป็นการรักษาสำหรับบุคคลที่เกิดภาวะเลือดออกแบบรุนแรงมาก
  • การบันทึกภาพรังสีที่หลอดเลือดสามารถทำได้ด้วยการนำเอาท่อขนาดเล็กสอดเข้าไปภายในหลอดเลือดซึ่งตามปกติจะมีขนาดของท่ออยู่ที่เส้นผ่าศูนย์กกลางประมาณ 2 มิลลิเมตร เวลาสอดเข้าไปผ่านทางหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงก็ได้แล้วแต่ความเห็นควรของทางทีมแพทย์ เมื่อถึงจุดที่ต้องการก็จะทำการฉีดเข้าไปสารที่เป็นสารทึบรังสีฉีดเข้าไปภายในเส้นเลือดเพื่อที่จะให้เกิดภาพที่ชัดเจนมากขึ้นซึ่งสารที่นำมาใช้นั้นจะเป็นสารเดียวกันกับที่ใช้สำหรับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งผลข้างเคียงก็จะคล้ายๆกัน
  • ผู้ป่วยก่อนที่จะถ่ายภาพรังสีที่หลอดเลือด ต้องงดน้ำ งดอาหาร แต่สามารถที่จะจิบน้ำเบาๆ ได้ ในช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมงก่อนที่จะทำการตรวจร่างกายจริง วิธีการตรวจก็จะให้ผู้ป่วยนอนรายหงายไปกับเตียงจากนั้นจะทำการฉีดยาชาเข้าไปในจุดที่ต้องการจะสอดท่อเข้าไป เมื่อหลังจากที่ทำการตรวจเสร็จเรียบร้อยทางแพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยนอนพักอยู่ภายในห้องพักแบบชั่วคราว เพื่อที่จะสังเกตอาการ จะสังเกตประมาณ 24 ถึง 48 ชั่วโมง ส่วนผลการตรวจก็จะทราบได้ภายในระยะเวลา 3-7 วันหลังจากวันตรวจ

9. การตรวจและรักษาทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ใช้เพื่อการตรวจและเพื่อการรักษาโดยการใช้รังสีในลักษณะของยาจะมาในรูปแบบของน้ำยา ( สำหรับในยุคปัจจุบันนี้มีแร่ธาตุไอโอดีนที่ใช้เพื่อการรักษาโรคสำคัญอย่างโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ จะเป็นในรูปแบบของผงแคปซูล ) และในการใช้รังสีสำหรับภายในร่างกายจะเป็นการกิน การฉีด การใส่ลงไปตามโพรง อาทิเช่น โพรงเยื่อหุ้มปอด, โพรงเยื่อในช่องท้อง

9.1 การตรวจสแกนกระดูก

ในการตรวจเพื่อการสแกนกระดูกนั้นสามารถที่จะทำการตรวจได้เลยทันทีโดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีการงดอาหารหรืองดน้ำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรังสีจะเริ่มต้นด้วยการฉีดน้ำยาและส่วนของแร่รังสีเข้าไปโดยฉีดผ่านทางเส้นลอดเลือดดำที่อยู่ที่แขน หลังจากนั้นก็ให้ผู้ป่วยรอเป็นระยะเวลาประมาณ 30 นาที-2 ชั่วโมงเพื่อที่แร่รังสีที่ฉีดเข้าไปจะได้แพร่กระจายไปทั่วกระดูกทุกส่วน น้ำแร่รังสีที่ทำการฉีดเข้าไปนั้นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะได้ นั่นจึงทำให้ทางทีมแพทย์จึงแจ้งกับทางผู้ป่วยให้ดื่มในปริมาณที่มาก ๆ เข้าไว้ในระหว่างที่กำลังรอตรวจ การตรวจสแกนกระดูกนี้จะใช้เวลาโดยรวมอยู่ที่ 30 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง โรงพยาบาลมักจะให้ผู้ป่วยรับผลการตรวจได้ในทันทีแต่หากเป็นกรณีที่เป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนผู้ตรวจค่อนข้างมากอาจจะทราบผลภายในระเวลา 1 ถึง 3 วัน    [adinserter name=”มะเร็ง”]

9.2 การตรวจแสกนแบบทั้งตัวในกรณีของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สำหรับวิธีนี้จะเป็นการตรวจในภายหลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดไทรอยด์เรียบร้อยแล้วเพื่อเป็นการช่วยในเรื่องของการวินิจฉัยต่อมไทรอยด์ในส่วนที่เหลือหลังจากเข้ารับการผ่าตัดและในส่วนของเนื้อเยื่อที่อาจมีเชื้อโรคบางโรคแพร่กระจายอยู่ และเพื่อเป็นการติดตามโรคหลังจากเข้ารับการรักษาว่ายังคงมีส่วนของเนื้อต่อมไทรอยด์หลงเหลืออยู่หรือไม่ สำหรับวิธีการตรวจนั้นก็จะมีลักษณะแบบเดียวกันกับการสแกนกระดูก แต่สิ่งที่มีความแตกต่างนั่นคือ ส่วนของน้ำยาแร่รังสีที่ใช้เพราอาจจะเป็นได้ทั้งน้ำยาแร่รังสีไอโอดีนหรืออาจะเป็นแร่รังสีรูปแบบอื่นก็ได้ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทางแพทย์ผู้ให้การรักษาในรายนั้น ๆ

9.3 การตรวจแบบเพ็ตสแกน

การตรวจรูปแบบนี้เป็นการตรวจภาพของชิ้นก้อนเนื้อหรือภาพของอวัยวะทั้งตัวนั่นก็เพื่อเป็นการตรวจวินิจฉัยกรณีการ กลับมาเป็นซ้ำอีกรอบหรือการแพร่กระจายของโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง การตรวจด้วยวิธีนี้เพียงวิธีเดียวไม่นิยมสำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยลงไปเลยว่าผู้ป่วยนั้นป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ เพราะ ผลที่แสดงอาจยังไม่สามารถชีชัดได้อย่างแน่นอนจำเป็นจะต้องมีการตรวจชิ้นเนื้อควบคู่ไปด้วยจะดีกว่า

9.4 การตรวจการบีบตัวของหัวใจทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์

สำหรับการตรวจรักษาทางด้านของเวชศาสตร์นิวเคลียร์นั้นเป็นวิธีที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นการให้ผู้ป่วยทานแร่รังสีไอโอดีนเข้าไป ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป้นที่จะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยการให้งดรับประทานอาหารทุกประเภท งาการทานยาที่มีส่วนผสมของเหลือแร่ไอโอดีน ในช่วงของก่อนการเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องทานเฉพาะอาหารที่เป็นรสจืดเท่านั้น ( ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนการเข้ารับการรักษา ) เนื่องจาก อาหารรสชาติจัดอาจมีส่วนผสมของเกลือไอโอดีนสูง หากทานอาหารรสชาติอื่นอาจส่งผลกระทบต่อการจับแร่รังสีไอโอดีนที่เซลล์มะเร็ง กลายเป็นว่าประสิทธิภาพในการรักษาลดต่ำลงอย่างมากแทน ขั้นตอนของการรักษาผู้ป่วยนั้นทางแพทย์จะให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องพักแบบแยกห้องกับผู้อื่นนั่นก็เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากตัวรังสีที่สามารถจะกระจายไปสู่ผู้อื่นได้ จะให้ผู้ป่วยทำการนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 วันจนถึง 7 วันหรือจนกว่าจะการตรวจวัดผลรังสีที่อยู่ภายในตัว ของผู้ป่วยจะมีปริมาณที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยสำหรับบุคคลอื่นแล้วเท่านั้น ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ เข้าไว้เพื่อจะช่วยในเรื่องของการขับรังสีไอโอดันให้ออกไปจากร่างกายได้เร็วมากขึ้น และไม่กลั้นปัสสาวะ

9.5 การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

สำหรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นมักจะเรียกชื่อย่อแบบสั้น ๆว่า “ ECG ” หรือ “ EKG ” การตรวจแบบนี้เป็นการตรวจภาพของลักษณะการทำงานในส่วนของหัวใจด้วยการเลือกใช้คลื่นเสียง เป็นการตรวจเฉพาะที่ส่วนของห้องตรวจผู้ป่วยขั้นตอนของการตรวจผู้ป่วยจำเป็นต้องทำการถอดเสื้อออกก่อนจากนั้นก็นอนราบหงายบนเตียง แพทย์ผู้ทำการรักษาจะวางมือของตนเองลงไปทาบบนหน้าอกของผู้ป่วยจากนั้นก็จะทำการทางเจลลงไปบนผิว การทำเช่นนี้ก็เพื่อที่จะเพิ่มเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งผ่านคลื่นให้มีมากขึ้นให้เป็นไปแบบเดียวกันกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั่วไปนั่นเอง    [adinserter name=”มะเร็ง”]

ขั้นตอนการตรวจบันทึกภาพหัวใจโดยการใช้คลื่นความความถี่ขั้นสูงนั้นก็เป็นเสมือนกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั่วไป เป็นวิธีการท่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บ ไม่ต้องมีการฉีดยา ยังคงหายใจได้ตามปกติดังเดิม สำหรับระยะเวลาในการตรวจนั้นจะใช้เวลาโดยประมาณอยู่ที่ 1 ชั่วโมง สามารถที่จะทราบผลได้ภายใน 3 วัน

10. การตรวจทางด้านพยาธิวิทยา

เป็นการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคด้วยการตัดส่วนของชื้นเนื้อออกมาจากก้อนเนื้อโดยในการนำชิ้นส่วนออกมานั้นจำเป็นจะต้องฝานออกมาให้บางที่สุดเท่าที่จำได้ นำมาย้อมสารเคมีนั่นก็เพื่อเป็นการระบุว่าเนื้อเยื่อชิ้นส่วนที่ตัดออกมานั้นเป็นชิ้นส่วนที่เป็นไปปกติหรือไม่ ทั้งนี้ในการแปลผลการตรวจจะต้องทำการผ่านกล้องจุลทรรศน์โดยทางทีมพยาธิแพทย์เป็นผู้แปลผลเท่านั้น เมื่อตรวจเรียบร้อยแล้วผู้ป่วยสามารถที่จะเดินทางกลับได้ในทันที สำหรับกรณีพิเศษที่จำเป็นจะต้องทำการเตรียมตัวล่วงหน้านั้น คือ อาจมีการให้งดน้ำงดอาหารก่อนผ่าตัด หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จอาจต้องให้นอนพักอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 1-3 วันเพื่อที่จะคอยเฝ้าดูอาการต่างๆ

11. การส่องกล้องตรวจอวัยวะภายใน

เป็นการการตรวจอวัยวะโดยใช้ลักษณะการสอดกล้องที่มีขนาดเล็ก สามารถจะโค้ง งอ กล้องที่ใช้แต่ละประเภทนั้นจะมีขนาดของความยาวที่แตกต่างกันไป แตกต่างตามตำแหน่งของงอวัยวะที่มีความประสงค์จะตรวจ โดยสอดเข้าไปในท่อหรือในช่องหรือในโพรงของอวัยวะที่ต้องการทำการตรวจ การส่องกล้องสามารถที่จะตรวจได้ทั้ง

1. การตรวจความผิดปกติในส่วนของเนื้อเยื่อหรือในส่วนของอวัยวะโดยตรงซึ่งวิธีนี้จะเป็นการตรวจได้โดยตรงด้วยตาของทางแพทย์ผู้ดูแล

2. การตรวจด้วยการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจทางด้านพยาธิวิทยา

3. การตรวจด้วยการเก็บเซลล์ไปทำการตรวจทางด้านเซลล์วิทยา

4. การตรวจด้วยการเก็บสารคัดหลั่งเพื่อนำไปตรวจเชื้อและทำการเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ

5. การตรวจด้วยการเก็บรักษาบางสิ่งด้วยบางวิธีการเพื่อที่พร้อมกับการนำไปตรวจ อาทิเช่น การตัดติ่งเนื้อเมือก  การจี้ส่วนที่เป็นแผลเลือดออก ( แบบนี้เพื่อที่จะเป็นการช่วยหลุดเลือดโดยอาศัยแสงเลเซอร์ ) เป็นต้น

ส่วนอวัยวะที่สามารถทำการส่องกล้องได้นั้นมีมากมายหลายส่วน อาทิเช่น

  • โพรงจมูก ลำคอ ( แบบนี้จะเป็นการสอดกล้องผ่านเข้าไปทางจมูก )
  • กล่องเสียง ( แบบนี้จะเป็นการสอดกล้องผ่านเข้าไปทางจมูกหรือทางปากก็ได้ )
  • ท่อลม ปอด ( แบบนี้จะเป็นการสอดกล้องผ่านเข้าไปทางจมูก )
  • ช่องอก ( แบบนี้จะเป็นการสอดเข้าไประกว่างช่องว่างของปอดทั้งสองข้าง )
  • กระเพาะอาหาร ( แบบนี้จะเป็นการสอดกล้องผ่านเข้าไปทางจปาก )
  • ลำไส้ทุกประเภท ( แบบนี้จะเป็นการสอดกล้องผ่านเข้าไปทางทวารหนัก )
  • กระเพาะปัสสาวะ ( แบบนี้จะเป็นการสอดกล้องผ่านเข้าไปทางท่อปัสสาวะ )
  • ระบบทางเดินน้ำดีที่อยู่ภายในตับหรือภายนอกตับ ( แบบนี้จะเป็นการสอดกล้องผ่านเข้าไปทางปาก )
  • ช่องท้อง ( แบบนี้จะเป็นการสอดกล้องผ่านเข้าไปทางหน้าท้อง )  [adinserter name=”มะเร็ง”]

หรับการเตรียมตัวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการงดอาหารงดน้ำ การที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่แพทย์ในส่วนของการตรวจรวมถึงช่วยป้องกันการสำลักอาหารยามเมื่อมีการใช้ยานอนหลับ นอกจากนี้ตัวยาอาจจำเป็นต้องงดทาน ไปเลยก็มี อาทิเช่น ยาต้านการแข็งตัว เป็นต้น ส่วนของการงดทานอาหารนั้นมักจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ต้องการตรวจ เวลาเข้าไปตรวจในเครื่องนั้นห้ามสวมใส่เครื่องประดับ ห้ามใส่นาฬิกา

การตรวจทางผู้ป่วยนั้นจำเป็นจะต้องแจ้งทางแพทย์หรือทางพยาบาลทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของโรคประจำตัวของตนเอง ต้องแจ้งอย่างละเอียดของการใช้ยาหรืออาหาร สมุนไพรที่ทานอยู่ในปัจจุบันให้ละเอียด เนื่องจาก บางสิ่งหากทางแพทย์พบว่าเป็นสิ่งต้องห้ามอาจจะสั่งให้งดทานสิ่งเหล่านั้นเสียก่อนชั่วคราวเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง เมื่อทำการตรวจด้วยกล้องเรียบร้อยแล้วทางแพทย์จะแจ้งกับทางผู้ป่วยให้ทำการนอนพักเป็นระยะเวลาประมาณ 1 จนถึง 2 ชั่วโมง(ระยะเวลานั้นจะขึ้นอยู่กับตัวยาที่ใช้และวิธีที่ใช้ตรวจด้วย) หรือจนกว่าทางผู้ป่วยนั้นจะเริ่มรู้สึกเป็นปกติหรือตื่นขึ้นมา ( ในกรณีที่ได้รับยานอนหลับเข้าไป )

การรักษาด้วยวิธีการส่องกล้องนั้นเรื่องของอาการข้างเคียง ได้แก่

  1. อาจเกิดอาการเลือดออกหรือมีเลือดขังในบริเวณของที่ทำการตัดชิ้นเนื้อออกมา

2. อาจพบว่าน้ำลายของผู้ป่วยหรือส่วนของเสมหะนั้นมีเลือดปนออกมา ( แบบนี้จะเป็นกรณีของการตรวจหูหรือตรวจคอหรือตรวจหลอดลมรวมถึงส่วนของปอดด้วยเช่นกัน )

3. อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ( แบบนี้จะเป็นกรณีของหลอดอาหารหรือส่วนของกระเพาะอาหาร )

12. การตรวจไขกระดูก

เป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในโพรงกระดูกไม่ใช่เนื้อเยื่อของกระดูก ส่วนของเนื้อเยื่อนี้จะคอยทำหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวรวมถึงเกล็ดเลือด ในการตรวจส่วนของไขกระดูกนั้นจะตรวจก็ต่อเมื่อเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นที่บริเวณของไขกระดูกจนนำมาสู่การตจรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคต่อไป อาทิเช่น โรคซีด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวรวมถึงโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ ที่ลุกลามกระจายเข้าไปยังไขกระดูก

การตรวจส่วนนี้ทางแพทย์ พยาบาลจะทำการซักประวัติ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการแพ้ยา เรื่องของอาหาร ยาที่รับประทานเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นยาประเภทที่ส่งผลทำให้เลือดออกง่ายแบบนี้ทางแพทย์อาจถึงขั้นสั่งให้หยุดทานยาประเภทนี้ในทันทีเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3-10 วัน การตรวจไขกระดูกมักจะตรวจในลักษณะของผู้ป่วนอกเป็นหลัก มักจะใช้เวลาในขั้นตอนทั้งหมดประมาณ 30 นาที-1 ชั่วโมง ( ในบางรายอาจจะยาวนานมากกว่านี้ ) การตรวจนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องงดอาหาร งดน้ำ เมื่อตรวจเสร็จแล้วทางแพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยนอนพักดูอาการสักระยะหนึ่งเพื่อเป็นการสังเกตอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น มีไข้ แผลมีการติดเชื้อ แผลเกิดการบวมแดง เป็นต้น และจะต้องไม่ให้แผลนั้นโดนน้ำเป็นระยะเวลา 1-3 วัน หากเมื่อใดที่พบว่าแผลเกิดความผิดปกติก็ควรที่จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยไวที่สุด

13. การตรวจน้ำไขสันหลัง

เป็นการการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับสมองและไขสันหลัง ว่ามีการอักเสบ ติดเชื้อ หรือมีเชื้อมะเร็งแพร่กระจายอยู่บ้างหรือไม่ ในกรณีที่พบเชื้อมะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่น้ำไขสันหลังแล้ว ก็จะต้องทำการรักษาโดยการให้ยาทางไขน้ำสันหลังเพื่อไปสู้กับเชื้อมะเร็งโดยตรง ทำการโดยเจาะเข้าไปในโพรงน้ำไขสันหลังโดยวิธีการเจาะเข้าเนื้อเยื่อบริเวณข้อกระดูกสันหลังช่วงเอว มีชื่อเรียกแบบง่าย ๆ ว่า “ เจาะหลัง ” ( lumbar puncture ) ก่อนการเจาะหลังทุกครั้ง แพทย์จะต้องทำการซักประวัติผู้ป่วยในส่วนของโรคที่เป็นและยาที่ทานอยู่ในปัจจุบัน หากทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ต้องหยุดยาก่อนเป็นเวลา 3-10 วัน ก่อนตรวจ เพื่อไม่ให้มีเลือดออกในปริมาณมาก  [adinserter name=”มะเร็ง”]

วิธีเจาะคือให้ผู้ป่วยนอนตะแคง เจ้าหน้าที่จะมาตรวจดูบริเวณที่จะเจาะและทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้น ๆ หลังจากนั้นแพทย์จะลงมือฉีดยาชาให้ แล้วใช้เข็มที่มีขนาดเล็กและยาวเป็นพิเศษ เจาะผ่านข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวไปที่โพรงน้ำและดูดเอาน้ำไขสันหลังออกมาตามปริมาณที่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ก่อนจะส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เมื่อได้น้ำจากไขสันหลังแล้ว แพทย์ก็จะดึงเข็มออกและกดที่แผลไว้ประมาณ 1-3 นาที หรือจนกว่าน้ำไขสันหลังและเลือดจะหยุดไหล โดยทั่วไปสามารถทราบผลได้ใน 1-15 วัน

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการตรวจน้ำไขสันหลัง เป็นเพียงการเจาะเข้าไปในโพรงน้ำ ในส่วนนี้จะไม่มีไขสันหลัง และไม่มีกระดูกใด ๆ ทั้งสิ้นจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแค่ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง เจ้าหน้าที่จะมาตรวจดูบริเวณที่จะเจาะและทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้น ๆ หลังจากนั้นแพทย์จะลงมือฉีดยาชาให้ แล้วใช้เข็มที่มีขนาดเล็กและยาวเป็นพิเศษ เจาะผ่านข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวไปที่โพรงน้ำและดูดเอาน้ำไขสันหลังออกมาตามปริมาณที่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ก่อนจะส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ ( หากมีการรักษาโรคอยู่ แพทย์อาจจะฉีดยารักษาโรคให้ด้วย ) เมื่อได้น้ำจากไขสันหลังแล้ว แพทย์ก็จะดึงแขนออกและกดที่แผลไว้ประมาณ 1-3 นาที หรือจนกว่าน้ำไขสันหลังและเลือดจะหยุดไหล เมื่อผู้ป่วยนอนพักและรู้สึกตัวเป็นปกติ ไม่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ก็กลับบ้านได้ทันที ระหว่างนี้ก็ให้ดูแลแผลให้สะอาดและแห้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอก เมื่อได้น้ำจากไขสันหลังของผู้ป่วยแล้ว แพทย์ก็จะส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจดูเซลล์และสารต่าง ๆ สำหรับประกอบการวินิจฉัยว่าโรคที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากโรคทางสมองหรือการติดเชื้อมะเร็ง โดยทั่วไปสามารถทราบผลได้ใน 1-15 วัน ซึ่งอาจพบผลข้างเคียงแทรกซ้อน คือการเจ็บบริเวณที่มีการเจาะ สิ่งแรกที่กลับมาถึงบ้านและควรทำ คือการพักผ่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง งดออกกำลังกายและออกแรงทุกชนิด

14. การตรวจภายในการตรวจแปปสเมียร์และการขูดมดลูก

การตรวจภายในแบบแปบสเมียร์ และการขูดดมดลูก เป็นการตรวจอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ เช่นการอักเสบ หรือการติดเชื้อมะเร็ง โดยวิธีการตรวจภายในแบบแปบสเมียร์ มีดังต่อไปนี้

  • ให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียง จัดขาทั้งสองข้างของผู้ป่วยให้ขึ้นบนขาหยั่งเพื่อให้แพทย์ตรวจสอบอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจน
  • แพทย์จะทำการตรวจสอบเบื้องต้น ด้วยการคลำอวัยวะเพศภายใน ได้แก่ ช่องคลอด ปากมดลูก และรังไข่
  • หลังจากนั้น แพทย์จะสอดเครื่องมือชนิดหนึ่งผ่านปากช่องคลอด ( เครื่องมือจะมีขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยให้แพทย์เลือกใช้ ) เพื่อเก็บสารคัดหลั่งจากช่องคลอด และปากมดลูก รวมถึงการเก็บเซลล์จากปากมดลูก เพื่อนำไปตรวจหาความผิดปกติ รวมถึงวินิจฉัยว่าใช่เซลล์มะเร็งหรือไม่
  • ในกรณีที่มีการตรวจภายในแล้วพบก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูกหรือช่องคลอด แพทย์ก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ชัดเจนยิ่งขึ้น  [adinserter name=”oralimpact”]

หากผลตรวจภายในแบบแปบสเมียร์แสดงผลว่าผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็ง แพทย์ก็จะนัดผู้ป่วยทำการส่องกล้องบริเวณปากมดลูกผ่านทางช่องคลอดต่อไป แต่ถ้าหากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกหรือเยื่อบุมดลูก ( ที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง ) แพทย์จะทำการสอดเครื่องมือขนาดเล็กชนิดหนึ่งเข้าไปในโพรงมดลูก และขูดเอาเยื่อบุมดลูกไปตรวจหาความผิดปกติต่อไป ทราบผลภายในระยะเวลา 3-15 วัน ขึ้นอยู่กับวิธีการตรวจ และปัญหาที่พบในแต่ละบุคคล

15. การตรวจทางทวารหนัก

เป็นการตรวจดูรูทวารหนักและผิวหนังภายนอกเพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ มักนิยมตรวจในเพศชาย วิธีการตรวจทางทวารหนัก คือการใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนักเพื่อคลำหาก้อนเนื้อ ( ส่วนมากจะเจอในทวารหนัก และในต่อมลูกหมาก ) วิธีนี้เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติของต่อมลูกหมากที่สามารถทำได้ง่ายและได้ผลดี เมื่อตรวจเสร็จแพทย์ก็จะแจ้งผลให้ทราบในทันที ถ้าหากพบก้อนเนื้อ หรือพบความผิดปกติขึ้น แพทย์ก็จะต้องทำการตรวจให้ละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม เช่น การส่องกล้องทวารหนัก

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2557. 240 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1647-7

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.

Cancer risk. British Journal of Cancer. 2010.

Joris, Isabelle (August 12, 2004). Cells, Tissues, and Disease : Principles of General Pathology: Principles of General Pathology. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-974892-1. Retrieved September 11, 2013.