การพบแพทย์ตรงตามโรคเพื่อการประเมินผลและการติดตามผลผู้ป่วยมะเร็ง
การพบแพทย์เพื่อสู่ขั้นตอนการรักษาและประเมินอาการติดตามดูอาการ

การพบแพทย์

แพทย์ที่ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งจะประกอบไปด้วยแพทย์มากมายหลายสาขา ซึ่งจะทำงานร่วมกันในการให้การรักษาและจะมีการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อภายในทีมแพทย์อย่างเป็นระบบซึ่ง ได้แก่

  • ศัลยแพทย์สาขาต่าง ๆ ทุกสาขา ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ทุกชนิดโดยใช้วิธีการผ่าตัดเป็นหลัก และในบางกรณีอาจใช้วิธีการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน หรือยาตรงเป้าด้วย
  • แพทย์รังสีรักษา ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ทุกชนิดด้วยการใช้รังสีในการรักษาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการฉายรังสีและการใส่แร่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาก็จะมีทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ และบางคนก็ใช้วิธีการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน และยาตรงเป้าด้วย
  • อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ทำหน้าที่ให้การรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน หรือยารักษาตรงเป้าโดยจะทำการรักษาผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่เป็นหลัก ซึ่งถ้าหากขาดแพทย์มะเร็งวิทยาเด็กหรือนรีแพทย์มะเร็งวิทยา ( รักษาโรคมะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี ) แพทย์กลุ่มนี้ก็จะทำหน้าที่ให้การดูแลรักษาแทน
  • นรีแพทย์มะเร็งวิทยา ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งเฉพาะระบบนรีเวชโดยใช้วิธีผ่าตัด ให้ยาเคมียาฮอร์โมน และยารักษาตรงเป้าแต่ในบางกรณีอายุรแพทย์มะเร็งวิทยาหรือแพทย์รังสีรักษาอาจเป็นผู้ที่ให้ยาเหล่านี้แทนก็ได้ แล้วแต่ว่าแต่ละโรงพยาบาลจะมีระบบเป็นอย่างไร
  • แพทย์รังสีร่วมรักษา คือแพทย์ผู้ทำหน้าที่ให้การรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้วิธีทางรังสีร่วมรักษา
  • แพทย์มะเร็งวิทยาเด็ก ทำหน้าที่ให้การรักษาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดและยาต่างๆ

  [adinserter name=”มะเร็ง”]

แพทย์เจ้าของไข้ผู้ป่วยมะเร็ง

ในการรักษาโรคมะเร็งมักใช้ทีมแพทย์ในการให้การรักษา ( มีแพทย์จำนวนหลายคนหลายสาขา ) และเพื่อเป็นการลดโอกาสการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาผู้ป่วยซ้ำซ้อนกันที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงมีคำที่ใช้เรียกเฉพาะในระบบการทำงานของแพทย์ ได้แก่ แพทย์เจ้าของไข้ แพทย์ที่ปรึกษา และแพทย์ที่เป็นหลักในการรักษาโรคมะเร็ง

แพทย์เจ้าของไข้ผู้ป่วยมะเร็ง หมายถึง แพทย์ผู้ทำหน้าที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอย่างสม่ำเสมอตลอดไป อีกทั้งยังมีการทำงานร่วมกันกับทีมแพทย์ที่ปรึกษาคนอื่น ๆ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนรับผิดชอบในการดูแลรักษาผู้ป่วย และถึงแม้ว่าแพทย์เจ้าของไข้จะเป็นแพทย์คนแรกที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ เป็นโรคมะเร็ง แต่เมื่อมีการวินิจฉัยแล้วพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคที่แพทย์เจ้าของไข้คนแรกขาดความชำนาญในการรักษา แพทย์เจ้าของไข้คนแรกจะทำการส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการดูแลรักษาแทน ซึ่งถ้าแพทย์เจ้าของไข้ยังคงทำการนัดผู้ป่วยมาเข้ารับการตรวจดูแลรักษาอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็จะยังคงเป็นแพทย์เจ้าของไข้อยู่ ส่วนแพทย์คนอื่นๆก็จะทำหน้าที่เป็นแพทย์ที่ปรึกษาในเรื่องที่ตนมีความชำนาญ แต่ถ้าแพทย์เจ้าของไข้คนแรกไม่มีความถนัดรักษาหรือความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ก็จะทำการมอบหมายให้แพทย์ที่อยู่ในทีมที่ปรึกษาคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นแพทย์เจ้าของไข้แทน และแพทย์ที่รับมอบหมายให้เป็นคนดูแลรักษาผู้ป่วยก็จะทำหน้าที่นี้ต่อไป

แพทย์ที่ปรึกษา หมายถึง แพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการปรึกษาจากแพทย์เจ้าของไข้ สำหรับการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะทางนั้น หากแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นแพทย์ที่ปรึกษาต้องการตรวจหรือทำการรักษาเพิ่มเติมจากที่ได้รับการศึกษา จะต้องแจ้งแพทย์เจ้าของไข้ให้ได้รับทราบก่อนเสมอ หรืออาจจะส่งตัวผู้ป่วยกลับคืนไปให้แพทย์เจ้าของไข้เป็นรับหน้าที่ดำเนินการ โดยแพทย์ที่ปรึกษาก็จะยังคงมีหน้าที่นัดตรวจและดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยต่อเนื่องไปตลอดชีวิต เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตตามความรู้ทางการแพทย์เฉพาะทางสาขาของตน ตรวจโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำของโรค ให้คำแนะนำผู้ป่วยในเรื่องของการดูแลสุขภาพโดยรวมร่วมกับแพทย์เจ้าของไข้ ดูแล ป้องกัน และทำการรักษาผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาในสาขาเฉพาะทางด้านตนเอง  [adinserter name=”มะเร็ง”]

แพทย์ที่เป็นหลักในการรักษา หมายถึง แพทย์ผู้ให้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการหลัก ผู้ที่ทำหน้าที่รักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิด จะเป็นศัลยแพทย์หรือแพทย์รังสีรักษา ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของของการเกิดโรคมะเร็ง อายุและสุขภาพผู้ป่วย เช่น โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก จะใช้วิธีการรักษาหลักโดยวิธีรังสีรักษา เพราะฉะนั้น แพทย์ที่เป็นหลักในการทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยก็คือแพทย์รังสีรักษา ซึ่งจะเป็นหลักสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งชนิดนั้น ๆ ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน

ขั้นตอนการพบแพทย์ 

ขั้นตอนต่าง ๆ ในการไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง เข้ารับการรักษาและประเมินผลที่เกิดขึ้นในระยะต่างๆ ของการดูแลรักษาผู้ป่วย อาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป้าหมายในการตรวจคัดกรองมะเร็ง และความรู้สึกวิตกกังวลในอาการที่ผิดปกติ จากนั้นการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยตามขั้นตอนต่าง ๆ จะดำเนินไปจนกระทั่งถึงการติดตามโรคในระยะเวลาที่ยาวนานไปจนตลอดชีวิต

  • เริ่มต้นจากการที่ผู้ป่วยแสดงอาการที่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของโรคมะเร็ง มีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นหรืออาจเกิดความวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคมะเร็ง เนื่องจากมีญาติเป็นมะเร็งและผู้ป่วยก็มีอาการที่คล้ายคลึงกันกับญาติแต่รู้สึกสงสัยหรืออาจเข้ารับการตรวจเพราะกลัวว่าเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือรับการตรวจเพื่อการคัดกรองโรคมะเร็ง
  • แพทย์ที่ผู้ป่วยไปพบเพื่อขอรับการตรวจจะเป็นแพทย์สาขาใดก็ได้ อาจเป็นแพทย์ในคลีนิคหรือแพทย์ในโรงพยาบาลจะเป็นโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ที่อยู่ใกล้บ้าน หรือถ้าหากผู้ป่วยพอมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยอยู่พอสมควร ผู้ป่วยก็สามารถเลือกที่จะไปพบแพทย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาการของผู้ป่วยได้เลย เช่น มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังควรไปพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาท ซึ่งเป็นศัลยแพทย์หรืออายุรแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทวิทยา หากพบว่ามีเลือดออกมาจากทางช่องคลอดควรเข้าพบแพทย์สูตินรีเวช หรือหากพบว่ามีก้อนที่บริเวณคอควรไปพบแพทย์หูคอจมูก ( เป็นศัลยแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ) หรืออาจเข้าพบพบแพทย์โรคมะเร็งในสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาหรือในสาขาอายุรกรรมมะเร็งวิทยาก็ได้

[adinserter name=”มะเร็ง”]

  • พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย นอกจากอาการสำคัญ ๆ ที่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบแล้ว หากมีความกังวลสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งก็ควรที่จะแจ้งแพทย์ให้ทราบด้วย ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถตอบข้อสงสัยของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน เพราะความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นก็ถือเป็นอาการอย่างหนึ่งเช่นกัน
  • การไปคลินิก เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย หากได้แจ้งอาการให้แพทย์ได้รับทราบและแพทย์ก็จะให้การวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า อาจเป็นไปได้ว่าจะเป็นมะเร็งหรือสงสัยว่าน่าจะเป็นมะเร็ง แพทย์จะให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยให้ไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยสะดวกหรือมีสิทธิ์เข้ารับการรักษาพยาบาล เมื่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ที่ทำบัตรประจำตัวผู้ป่วยจะสอบถามอาการผู้ป่วยในเบื้องต้น และส่งตัวผู้ป่วยไปยังแผนกตรวจโรคที่เกี่ยวข้องเพื่อรับการรักษาต่อไป
  • การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งในเบื้องต้น กระบวนการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ทุกสาขาจะเป็นแบบเดียวกัน คือจะเริ่มทำการวินิจฉัยจากอาการสำคัญ ๆ ก่อน จากนั้นจึงนำอาการอื่น ๆ มาวินิจฉัยร่วมด้วย ดูประวัติทางการแพทย์อื่นๆ ของผู้ป่วย ดูผลการตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจเฉพาะที่ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจภาพเนื้อเยื่อหรืออวัยวะตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอาการสำคัญ ๆ ที่แสดงออก รวมทั้งอาการอื่นๆ ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่แพทย์ได้ตรวจพบและดุลพินิจของแพทย์
  • เมื่อผลตรวจชี้ว่าผู้ป่วยน่าจะเป็นโรคมะเร็ง แพทย์จะทำการส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์เฉพาะทาง ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดนั้นๆ เพื่อความแน่นอนในการตรวจวินิจฉัยว่าใช่โรคมะเร็งจริงหรือไม่ และเพื่อที่จะให้การรักษาต่อไป เช่นหากมีก้อนเนื้อในเต้านมเกิดขึ้น จะส่งต่อผู้ป่วยให้ศัลยแพทย์ดำเนินการรักษาต่อ หากสงสัยว่าเป็นโรคเลือด จะส่งต่อผู้ป่วยให้อายุรแพทย์เฉพาะทางระบบโลหิตวิทยา ( ระบบโรคเลือด ) ดำเนินการรักษาต่อ หากผู้ป่วยมีอาการทางลำไส้ อาจส่งต่อผู้ป่วยให้อายุรแพทย์หรือศัลยแพทย์โรคทางเดินอาหารดำเนินการรักษาต่อ หากผู้ป่วยมีอาการทางปัสสาวะ จะส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะดำเนินการรักษาต่อ
  • เมื่อผู้ป่วยมะเร็งไปพบแพทย์เฉพาะทาง แพทย์เฉพาะทางจะสอบถามอาการสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นและประวัติทางการแพทย์อื่น ๆ ของผู้ป่วยซ้ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่นอน ทบทวนผลตรวจต่าง ๆ ของผู้ป่วย เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว แพทย์เฉพาะทางจะทำการนัดผู้ป่วยมาตัดชิ้นเนื้อหรือเจาะดูดเซลล์นำไปตรวจทางพยาธิวิทยาหรือเซลล์วิทยา เพื่อความแน่นอนในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง แต่ถ้าผู้ป่วยพร้อมที่จะตัดชิ้นเนื้อได้เลย แพทย์ก็จะทำการตัดชิ้นเนื้อในวันนั้น ซึ่งอาจทำโดยแพทย์คนแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแพทย์ด้วยว่ามีความชำนาญมากน้อยแค่ไหน  [adinserter name=”มะเร็ง”]
  • พบแพทย์เฉพาะทาง โดยจะดำเนินการส่งตรวจสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยให้มากขึ้น ก่อนตัดชิ้นเนื้อหรือเจาะ ดูดเซลล์ ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือตรวจเลือดดูข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติม และจะตัดชิ้นเนื้อหรือเจาะ ดูดเซลล์ เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือตรวจเลือดดูข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความมั่นใจ และจะตัดชิ้นเนื้อหรือเจาะ ดูดเซลล์เมื่อมั่นใจในความปลอดภัยแล้ว
  • หลังจากที่ได้ทราบผลทางพยาธิวิทยาจากการตัดชิ้นเนื้อ หรือผลทางเซลล์วิทยาจากการเจาะ/ดูดเซลล์ แพทย์เฉพาะทางจะสนทนาพูดคุย ให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและครอบครัวถึงขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยในขั้นเบื้องต้น แต่ยังไม่สามารถให้การรักษาโรคมะเร็งได้ จนกว่าผู้ป่วยจะได้รับการประเมินสุขภาพและระยะของโรคมะเร็งที่เป็นเสียก่อน ซึ่งในระหว่างที่ผู้ป่วยรอผลการประเมินนี้ แพทย์จะทำการรักษาไปตามอาการสำคัญและอาการอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย เช่น ให้ยาบรรเทาปวดแก่ผู้ป่วยเมื่อมีอาการปวด หรือหากผู้ป่วยมีอาการสมองบวมแพทย์ก็จะให้ยาลดอาการสมองบวม
  • หลังจากที่ได้ทราบผลประเมินสุขภาพและยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง แพทย์จะทำการนัดผู้ป่วยและครอบครัวมาฟังการอธิบายขั้นตอนที่ใช้ในการรักษา เพื่อที่จะได้ร่วมกันศึกษาหรือสอบถามเมื่อมีข้อสงสัยเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการรักษา และผู้ป่วยกับญาติสายตรงก็อาจจำเป็นที่จะต้องเซ็นยินยอมร่วมกันในการเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะการรักษาทางด้านรังสีรักษา เนื่องจากผู้ป่วยและครอบครัวอาจไม่คุ้นเคยกับการรักษาด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยและครอบครัวจึงควรพูดคุยขอคำปรึกษาจากแพทย์รังสีรักษาโดยตรง สำหรับขั้นตอนในการรักษาโรคมะเร็ง หลังจากที่แพทย์เฉพาะทางได้ข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วยครบถ้วนแล้ว ก็จะทำการพูดคุย อธิบาย ให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำถึงวิธีรักษา ผลข้างเคียงแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษา รวมทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ในการรักษา การใช้หรือไม่ใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล ซึ่งอาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกันในการรักษา เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด รังสีร่วมรักษา ยาฮอร์โมน ยารักษาตรงเป้า หรืออายุรกรรมทั่วไป แต่ในปัจจุบันนิยมใช้วิธีรักษาหลาย ๆ วิธีรวมกันในเกือบทุกระยะของการเกิดโรค
  • การเริ่มต้นการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด หมายความว่า การผ่าตัดยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากแพทย์จะต้องทราบรายละเอียดทางพยาธิวิทยาเพิ่มเติมให้ครบถ้วนจากการตรวจก้อนเนื้อภายหลังการผ่าตัดเสียก่อน เพื่อที่จะสามารถใช้เป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีใดในการรักษาต่อไป ซึ่งอาจเป็นรังสีรักษา เคมีบำบัด หรือยาฮอร์โมน แต่ขั้นต่อไปในการรักษาหากมีการใช้ยานอกเหนือไปจากที่ได้กล่าวมาแล้วก็จะมีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาอย่างเข้มงวด เฉพาะผู้ป่วยที่แพทย์เห็นว่าหากใช้ยานั้นแล้วจะช่วยยืดชีวิตให้ผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพอย่างแท้จริง  [adinserter name=”มะเร็ง”]

หลังจากที่ได้ทราบผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาภายหลังจากการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะพูดคุยเรื่องวิธีรักษากับผู้ป่วยอีกครั้ง ซึ่งการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีรังสีรักษาจะต้องทำการส่งต่อตัวผู้ป่วยให้แพทย์รังสีทำการรักษาเสมอ แต่การรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด ศัลยแพทย์อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา หรือแพทย์รังสีรักษาอาจจะเป็นผู้ทำก็ได้แล้วแต่ว่าโรงพยาบาลแห่งนั้น ๆ จะมีระบบเป็นเช่นไร

การรักษาผู้ป่วยหลังจากที่ผ่าตัดแล้ว อาจมีการนำตัวผู้ป่วยส่งคืนแพทย์เจ้าของไข้เพื่อทำการรักษาต่อ โดยศัลยแพทย์จะให้คำแนะนำแก่แพทย์เจ้าของไข้ในเรื่องของขั้นตอนการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือแพทย์เจ้าของไข้อาจส่งตัวผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น ๆ เพื่อขอรับคำปรึกษาก็ได้ แล้วแต่ว่าโรงพยาบาลแห่งนั้น ๆ จะมีระบบเป็นอย่างไร

การศึกษาแพทย์เฉพาะทางในแต่ละสาขา ภายหลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด จะมีการนัดหมายล่วงหน้าก่อนเสมอ ส่วนจะเร็วหรือช้าเพียงใดนั้นนั่นก็แล้วแต่ว่าจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนหรือไม่ ปริมาณแพทย์มีเพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยหรือไม่ ซึ่งแพทย์เฉพาะทางก็จะทำการประเมินผู้ป่วยตามขั้นตอนต่าง ๆ แต่ละขั้นตอน เมื่อได้ข้อมูลของผู้ป่วยครบถ้วนแล้วก็จะพูดคุยกับผู้ป่วยและครอบครัวในเรื่องของการรักษา ซึ่งผู้ป่วยก็อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเลยก็ได้

หากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดหรือระยะที่แพทย์เจ้าของไข้หรือศัลยแพทย์ทำการประเมินแล้วว่าไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด แพทย์เจ้าของไข้หรือศัลยแพทย์จะส่งตัวผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งเพื่อรับคำปรึกษา โดยจะมีอยู่ 2 สาขาหลักคือ แพทย์รังสีรักษาหรืออายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ซึ่งก็จะเป็นการนัดพบผู้ป่วยเช่นกัน

การพบแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยและครอบครัว ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางตามกำหนดที่ได้นัดหมาย พร้อมด้วยเอกสารทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่ต้องนำติดตัวไป เช่น ใบส่งตัวจากแพทย์ที่ส่งผู้ป่วยมา ผลการตรวจต่าง ๆ ของผู้ป่วยโดยเฉพาะผลการตรวจทางพยาธิวิทยา ( ต้องมีใบรายงานผลเป็นทางการจากพยาธิแพทย์ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค ) ผลเอกซเรย์หรือสแกน หรือแผ่นซีดีจากการใช้วิธีทางรังสีในการตรวจโรคต่างๆ ชนิดของยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ และเอกสารสิทธิ์ในการรักษา  [adinserter name=”มะเร็ง”]

หลังจากที่แพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็งได้ทำการประเมินผู้ป่วยจากอาการสำคัญที่แสดงออก อาการต่าง ๆ ที่เกิดร่วมด้วย การตรวจร่างกาย ผลตรวจต่าง ๆ และได้ทำการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แพทย์จะทำการพูดคุยกับผู้ป่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากผู้ป่วยและครอบครัวยินยอมที่จะเข้ารับการรักษา จะมีการให้เซ็นใบยินยอมพร้อมทำการนัดหมายวันที่จะเริ่มทำการรักษา และให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจนตลอดการรักษา จากนั้นก็จะส่งตัวผู้ป่วยกลับคืนแพทย์ที่ส่งผู้ป่วยมาตรวจรักษา พร้อมนัดผู้ป่วยตรวจอย่างต่อเนื่องในระยะยาวตลอดชีวิตผู้ป่วย

การพบศัลยแพทย์

วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดเป็นวิธีที่หลัก ๆ ที่มักใช้กันในการรักษาโรคมะเร็งชนิด ยกเว้นป่วยการเป็นโรคมะเร็งระบบโลหิตวิทยา ( ซึ่งจะใช้ยาเคมีบำบัดเป็นวิธีรักษาหลัก และอาจร่วมกับรังสีรักษาหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ ) เพราะฉะนั้น ในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยจึงมักจำเป็นต้องปรึกษาศัลยแพทย์อยู่เสมอ

การพบแพทย์รังสีรักษาโรคมะเร็ง

หากเอ่ยถึงแพทย์สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา หรือ แพทย์รังสีรักษา ควรรู้เลยว่าจะเป็นแพทย์ที่มีความขาดแคลนมากสาขาหนึ่ง เนื่องจากเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งโดยเฉพาะและมีประจำอยู่แต่ในโรงพยาบาลใหญ่หรือศูนย์มะเร็ง เท่านั้น เราจึงไม่ค่อยพบแพทย์ด้านนี้ออกตรวจคนไข้นอกเหมือนแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น หรือหากมีการตรวจผู้ป่วยนอกก็จะตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งแล้วเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยท่านใดที่จะพบแพทย์ด้านนี้ต้องมีการนัดล่วงหน้า โดยมักเป็นการปรึกษาจากแพทย์เจ้าของไข้หรือแพทย์ที่เป็นหลักในการรักษา ซึ่งการรับนัดตรวจอาจเร็วหรือรอนานเป็นเดือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วยท่านอื่นที่รออยู่และลำดับในการฉายรังสีนั่นเอง

โรคมะเร็งกับการพบอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา

การรักษาด้วยเคมีบำบัดมักให้การรักษาโดยแพทย์หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น ศัลยแพทย์ นรีแพทย์มะเร็งวิทยา แพทย์รังสีรักษา หรือแพทย์อายุรกรรมทั่วไป ซึ่งแพทย์เหล่านี้จะให้ยาเคมีบำบัดตามขั้นตอนการรักษา แต่หากต้องการให้อายุรแพทย์มะเร็งวิทยาเป็นผู้ให้การรักษา จำต้องส่งต่อผู้ป่วยไปนัดพบอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา

[adinserter name=”มะเร็ง”]

การพบแพทย์รังสีร่วมรักษา

การนัดพบแพทย์รังสีร่วมรักษา จะต้องมีการนัดหมายล่วงหน้าเหมือนนายแพทย์รังสีรักษา และในวันนัดผู้ป่วยต้องพาคนในครอบครัวที่บรรลุนิติภาวะแล้วมาด้วย เพื่อร่วมพูดคุย ซักถาม ปรึกษา และเซ็นยินยอมรับการรักษา พร้อมนำเอกสารและผลการตรวจรักษาต่างๆไปด้วย เหมือนกับการพบแพทย์รังสีรักษาทุกอย่าง หลังครบการรักษา แพทย์จะส่งผู้ป่วยคืนแพทย์ที่ส่งผู้ป่วยมา แต่ยังคงนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาเป็นระยะๆ ตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับวิธีรักษาและดุลพินิจของแพทย์

การรักษาด้วยยาฮอร์โมน

การรักษาด้วยยาฮฮร์โมนส่วนใหญ่เป็นยากิน แต่ก็มีบ้างที่เป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือยาพ่นทางจมูก โดยยาฮอร์โมนนี้จะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย ผู้รับการรักษาจึงไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก สามารถกินหรือใช้ยาได้เลยเหมือนยาทั่วไป โดยมากมักเป็นยารักษาต่อเนื่องหลังผ่าตัด ซึ่งแพทย์คนเดิมที่ให้การรักษาผู้ป่วยอยู่แล้วสามารถให้ยาได้เลย

การรักษาด้วยยารักษาตรงเป้า

การรักษาด้วยยารักษาตรงเป้าเป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อย ส่วนใหญ่เป็นยากินหรือยาฉีดทางหลอดเลือดดำ แพทย์ที่ทำการรักษาโรคมะเร็งอยู่แล้วจึงสามารถให้ยาได้เลย เหมือนกับเป็นการรักษาต่อเนื่องจากการรักษาหลัก ( การผ่าตัด รังสีรักษา หรือยาเคมีบำบัด ) โดยไม่จำเป็นต้องมีการนัดหมายแพทย์คนใหม่ ทั้งนี้ยารักษาตรงเป้าเป็นยาที่มีราคาสูงมาก และเป็นตัวยาที่ใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นๆ ยังไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งให้หายได้ด้วยตัวเอง จึงเป็นสาเหตุให้ยาประเภทนี้ยังไม่รวมอยู่ในสิบการใช้ยาของรัฐบาล แต่หากมีเหตุผลที่ดีพอบางครั้งอาจมีการยกเว้น เมื่อแพทย์มีหนังสือชี้แจงถึงความจำเป็นและโอกาสในการยืดอายุผู้ป่วยได้ พร้อมกับทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การประเมินผลผู้ป่วยมะเร็งหลังครบการรักษา

การประเมินผลหลังครบการรักษา เป็นการตรวจเพื่อค้นหาก้อนเนื้อมะเร็งที่อาจยังหลงเหลืออยู่รวมทั้งตรวจการแพร่กระจายของโรค ( ตรวจซ้ำเฉพาะในโรคมะเร็งชนิดที่มีการแพร่กระจายสูงหรืออยู่ในระยะลุกลามรุนแรงโดยขึ้นอยู่กับอาการผู้ป่วยหรือดุลพินิจของแพทย์ ) โดยเมื่อทำการรักษาทุกขั้นตอนแล้ว เมื่อผู้ป่วยพักฟื้นกลับมามีสุขภาพแข็งแรงใกล้เคียงปกติแล้ว อาจนาน 2-3 เดือนหรือ 6 เดือน แพทย์เจ้าของไข้จะทำการตรวจวินิจฉัยค้นหาการหลงเหลืออยู่ของก้อนเนื้อมะเร็ง โดยใช้การตรวจภาพเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต้นกำเนิดโรคมะเร็ง ตรวจเลือดดูค่าสารมะเร็ง ( เมื่อเป็นโรคมะเร็งชนิดสร้างสารมะเร็ง ) และอาจตรวจค้นการแพร่กระจายของมะเร็งซ้ำอีกครั้ง เหมือนกับผู้ป่วยใหม่ ทั้งนี้หากการตรวจต่างๆให้ผลปกติ แพทย์เจ้าของไข้และแพทย์ที่ให้การรักษาจะนัดตรวจผู้ป่วยเป็นระยะๆตลอดชีวิต แต่ถ้าพบว่ามีโรคมะเร็งหลงเหลือหรือโรคแพร่กระจายออกไป แพทย์เจ้าของไข้หรือแพทย์ที่เป็นหลักจะเริ่มต้นประเมินระยะของโรคมะเร็งอีกครั้งเหมือนในผู้ป่วยใหม่ และอาจพูดคุย ปรึกษา กับผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยอีกครั้ง  [adinserter name=”มะเร็ง”]

การติดตามผลระยะยาวตลอดชีวิต

หากผลการตรวจผู้ป่วยออกมาไม่พบว่ามีก้อนเนื้อหลงเหลืออยู่หรือไม่มีการแพร่กระจายแล้ว แพทย์เจ้าของไข้และแพทย์ผู้ให้การรักษาทุกสาขาจะทำการตรวจผู้ป่วยเป็นระยะตลอดชีวิต ซึ่งความถี่ในการตรวจนัดอาจแตกต่างกันตามสาขาเฉพาะทางของแพทย์ ซึ่งการตรวจติดตามผลระยะยาวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นการตรวจวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากการรักษาตามสาขาเฉพาะทาง เป็นการตรวจโรคย้อนกลับดูว่าจะเป็นซ้ำหรือมีการแพร่กระจายของโรคมะเร็งหรือไม่เป็นการคัดกรองโรคมะเร็งอีกครั้ง เป็นการดูแลสุขภาพทั่วไป และเป็นการการตรวจวินิจฉัยโรคอื่นๆตามอาการของผู้ป่วย เพื่อให้สุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งกลับมาแข็งแรงดังเดิม

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง ป้องกัน และรักษาผลข้างเคียง แทรกซ้อนจากการรักษา

แพทย์จะมีการนัดตรวจวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาผลข้างเคียง แทรกซ้อนจากการรักษาด้วย โดยทั่วไปจะตรวจหลายอย่าง ได้แก่ การสอบถามอาการสำคัญและอาการต่างๆ ,การตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจเฉพาะที่,การตรวจร่างกายตามอาการผิดปกติของผู้ป่วย ,การตรวจเลือด เช่น ตรวจเลือดซีบีซี , ตรวจการทำงานของอวัยวะสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต หรือไทรอยด์ , ตรวจเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ เช่น เอกซเรย์ปอด ตลอดจนตรวจอาการอื่นๆของผู้ป่วยที่เป็นประโยชน์ เช่น การส่องกล้องตรวจ หรือ อาการผลข้างเคียงจากการทำรังสีรักษาหรือยาเคมีบำบัด เป็นต้น

สาเหตุโรคมะเร็งที่แพทย์ต้องทำการตรวจเพิ่มเติมคืออะไร

  • จะได้ให้คำแนะนำและให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นการช่วยลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อน หรือรักษาผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองเรื่องอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการให้ยาต่างๆเพิ่มเติม เช่น ในกรณีผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีบริเวณลำคอในโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ เนื่องจากต่อมไทรอยด์ ก็จะมีการให้ไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มเติม
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำกายภาพฟื้นฟู เช่น ในโรคมะเร็งเต้านม เพื่อป้องกันแขนบวม หรือโรคมะเร็งศีรษะและลำคอที่ฉายรังสีรักษาผ่านช่องปาก เพื่อป้องกันช่องปากตีบแคบ เป็นต้น
  • เป็นการตรวจวินิจฉัย รักษา และควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง ที่อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนในระยะยาว อีกทั้ง ให้ยาเพื่อป้องกัน ลดความรุนแรง หรือรักษาผลข้างเคียงแทรกซ้อนนี้
  • ให้คำปรึกษาเมื่อผู้ป่วยมีความกังวลใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงแทรกซ้อน และตรวจรักษาอื่นๆตามอาการผู้ป่วย  [adinserter name=”มะเร็ง”]

การตรวจโรคย้อนกลับเป็นซ้ำและหรือโรคแพร่กระจาย

การตรวจโรคย้อนกลับเป็นซ้ำหรือโรคแพร่กระจายจะเริ่มตรวจที่ประมาณ 2-3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี หลังตรวจประเมินผลหลังครบการรักษาแล้ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผลการตรวจประเมินผลหลังครบการรักษา ชนิดของเซลล์มะเร็ง อวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะโรคก่อนการรักษา อายุและสุขภาพผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ สำหรับการตรวจที่ใช้บ่อย คือการตรวจเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เป็นมะเร็ง ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้

  • สอบถามอาการสำคัญและอาการต่างๆของผู้ป่วยในขณะนั้น พร้อมตรวจร่างกายเฉพาะที่
  • ทำการเอกซเรย์ธรรมดา อัลตร้าซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอ็มอาร์ไอ ซึ่งมัก
  • ตรวจทุก 3-6 เดือน หรือ 1 ปี ในช่วง 1-3 ปีแรก โดยดูจากอาการผิดปกติของผู้ป่วยหรือดุลพินิจของแพทย์ แต่เมื่อเลย 3 ปีไปแล้วให้ดูที่ชนิด ระยะ อาการ อายุและสุขภาพผู้ป่วย เป็นสำคัญ
  • การตรวจภาพเอกซเรย์ปอดเพื่อดูโรคที่แพร่กระจายมายังปอด มักตรวจทุกปีหรือผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางปอดและหัวใจ
  • การตรวจเลือดดูการทำงานของตับ มักตรวจทุก 3-6เดือน หรือทุกปีเพื่อดูการแพร่
  • กระจายของโรคมายังตับและโรคของตับ หากพบว่าผิดปกติแพทย์จะตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อีกครั้ง
  • การตรวจเลือดดูค่าสารมะเร็งในโรคมะเร็งชนิดที่สร้างสารมะเร็ง มักตรวจทุก 1-3 เดือน ใน 1-4 ปี แรกหลังครบการรักษา
  • การตรวจสแกนภาพกระดูกทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ มักตรวจเมื่อผู้ป่วยปวดกระดูกเรื้อรัง หรือแพทย์สงสัยว่าโรคจะแพร่กระจายเข้ากระดูก
  • การตรวจภาพสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไอ ทำเมื่อผู้ป่วยมีอาการทาง
  • สมอง เช่น ปวดศีรษะมาก มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้หรืออาเจียน แขนขาอ่อนแรงเดินเซ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เพื่อดูการแพร่กระจายของโรคเข้าสู่สมอง

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง    [adinserter name=”มะเร็ง”]

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะเป็นการคัดกรองมะเร็งที่พบได้มาก และมีวิธีการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ไม่ยุ่งยาก อีดทั้งไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนกับผู้ป่วย ได้แก่

  • การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิง ใช้วิธีการถ่ายภาพรังสีเต้านม โดยจะทำการตรวจทุกปีหรือทุก 2-3 ปี ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งความถี่ของการตรวจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยและผลจากการตรวจครั้งแรก
  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก สำหรับผู้ป่วยที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว จะตรวจคัดกรองด้วยแปปสเมียร์ทุกปี หรือตามแพทย์แนะนำ

สำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดอื่น มักเป็นการตรวจที่ซับซ้อนมากกว่า และอาจมีผลข้างเคียงแทรกซ้อนได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีความสงสัยหรือสนใจการคัดกรองโรคมะเร็งชนิดอื่นก็สามารถปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ได้

การดูแลสุขภาพทั่วไป

ทุกครั้งที่แพทย์นัดจะมีการตรวจสุขภาพทั่วไป โดยประกอบด้วย การสอบถามอาการสำคัญ อาการต่างๆ ในขณะนั้น รวมถึงการตรวจอื่นๆร่วมด้วย เช่น การตรวจเลือดซีบีซี การตรวจโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ตรวจการทำงานของตับและไต และให้คำปรึกษาผู้ป่วยด้านสุขภาพหรือการใช้ชีวิตภายหลังครบการรักษา เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรคอื่นๆ ตามอาการของผู้ป่วยมะเร็ง

การตรวจวินิจฉัยโรคอื่นๆแพทย์จะดูตามอาการสำคัญและอาการในขณะนั้นเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจภาพเนื้อเยื่อและอวัยวะที่มีอาการด้วยการเอกซเรย์ธรรมดา อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอ็มอาร์ไอ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ หากพบว่ามีอาการโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง แพทย์จะเป็นคนให้คำอธิบาย แนะนำ ให้ยาบรรเทาอาการ และให้การรักษาโรคที่กิด หรือส่งผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคนั้น  [adinserter name=”มะเร็ง”]

การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งที่ยังหลงเหลือหลังครบการรักษา โรคย้อนกลับเป็นซ้ำและโรคแพร่กระจาย

การตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินโรคที่ยังคงเหลืออยู่หลังครบการรักษาโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ หรือโรคแพร่กระจาย เป็นการประเมินผลการรักษาโรคมะเร็งทั้งในช่วงที่รับการรักษา ช่วงหลังครบการรักษา และช่วงติดตามผลระยะยาว โดยมีขั้นตอนและวิธีการเหมือนกัน

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งหลงเหลือ โรคย้อนกลับเป็นซ้ำหรือโรคแพร่กระจาย

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งหลงเหลือ โรคย้อนกลับเป็นซ้ำ และโรคแพร่กระจาย แพทย์จะเริ่มดูจากอาการสำคัญของผู้ป่วยขนาดนั้น ตรวจสภาพร่างกายทั่วไป ตรวจเฉพาะที่ ตรวจภาพเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เป็นมะเร็งหรือมีอาการ ตรวจดูค่าสารมะเร็ง ( เมื่อเป็นเซลล์มะเร็งชนิดที่สร้างสารมะเร็ง ) รวมทั้งสอบถามอาการผิดปกติต่างๆ เพื่อนำมาวินิจฉัยสิ่งที่เกิดขึ้น

เมื่อพบว่ามีโรคมะเร็งหลงเหลือ โรคย้อนกลับเป็นซ้ำหรือโรคแพร่กระจาย

หากการตรวจพบว่ามะเร็งหลงเหลือหรือโรคย้อนกลับมาเป็นซ้ำแพทย์จะให้การตรวจวินิจฉัยอีกครั้งเหมือนในผู้ป่วยใหม่ เพื่อประเมินระยะโรคและสุขภาพผู้ป่วย แต่จะมีข้อแตกต่างคือ มีการประเมินผลข้างเคียงแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากวิธีรักษาครั้งที่ผ่านมาด้วย

การรักษาโรคมะเร็งหลงเหลือ โรคย้อนกลับเป็นซ้ำหรือโรคแพร่กระจาย

เมื่อแพทย์ได้ผลตรวจวินิจฉัยทุกอย่างครบแล้วจึงทำการประเมินวิธีการรักษา พร้อมพูดคุยให้คำแนะนำทั้ง

[adinserter name=”oralimpact”]

ผู้ป่วยและครอบครัวถึงวิธีการรักษาครั้งนี้ ส่วนวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ยังหลงเหลือภายหลังครบการรักษาแล้ว อาจเป็นวิธีเดียวหรือหลายวิธีที่นำมาใช้ร่วมกัน ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพของผู้ป่วย ระยะของโรคมะเร็งครั้งใหม่ ข้อจำกัดของแต่ละวิธี ผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากการรักษาที่ผ่านมา ดุลพินิจของแพทย์และความประสงค์ของผู้ป่วยและครอบครัว โดยทั่วไปวิธีการรักษา คือ

  • ดำเนินการผ่าตัด เมื่อยังสามารถผ่าตัดได้และไม่มีผลอันตรายร้ายแรงกับผู้ป่วย
  • ให้รังสีรักษา หากสามารถให้รังสีเพิ่มเติมได้ โดยใช้เทคนิคก้าวหน้า ( Advanced Radiotherap ) หรือใช้รังสีในตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยใช้มาก่อน
  • ให้ยาฮอร์โมนชนิดใหม่ ให้ยาเคมีบำบัดใหม่ ซึ่งมักเปลี่ยนชนิดหรือปริมาณยา
  • ให้ยารักษาตรงเป้า หากครั้งใหม่เป็นโรคชนิดตอบสนองต่อยาตรงเป้าได้ดี ซึ่งให้แล้วผู้ป่วยจะมีสุขภาพแข็งแรง และมีโอกาสยืดชีวิตผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
  • หากผู้ป่วยมีสุขภาพไม่แข็งแรงอาจให้การรักษาทางอายุรกรรมทั่วไป เพื่อประคับประคองพยุงอาการเมื่อสุขภาพผู้ป่วยไม่แข็งแรงพอสำหรับการรักษาครั้งใหม่ เช่น การให้ยาแก้ปวด เป็นต้น
  • อาจชะลอการรักษาโรคมะเร็งไปก่อนหรือยังไม่มีการรักษาโรคมะเร็งในขณะนั้น ถ้าสุขภาพของผู้ป่วยอ่อนแอไม่สามารถรับการรักษาได้ ตลอดจนการรักษาโรคมะเร็งอาจก่อผลข้างเคียงแทรกซ้อนเพิ่มจนผู้ป่วยขาดคุณภาพชีวิต และที่สำคัญญาติและผู้ป่วยมีความประสงค์ตรงกันว่าไม่รักษา โดยแพทย์จะให้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยตามที่ร้องขอ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

พวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อน เข้าใจว่า การตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2557. 240 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1647-7

พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ”. (พัชรินทร์ ไชยสุรินทร์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.tci-thaijo.org. [05 พ.ค. 2017].

WHO (October 2010). Cancer. World Health Organization. Retrieved 5 January 2011.