พยาธิ
เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ คอยแย่งอาหาร หรือดูดเลือด และมักจะ ทำให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสัตว์ตามอวัยวะต่างๆ

เชื้อพยาธิ

เชื้อพยาธิ ( Parasite ) คือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ คอยแย่งอาหาร หรือดูดเลือด และมักจะ ทำให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสัตว์ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่มันอาศัยอยู่ พยาธิมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกัน นอกจากนี้เราสามารถพบระยะต่าง ๆ ของพยาธิปะปนอยู่ในธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมัน เช่น ในดิน พื้นหญ้า ในน้ำ ในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พืชผักต่าง ๆ น้ำดื่ม และในแมลงพาหนะนำโรคหลายชนิด[/vc_column_text]

พยาธิสามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

พยาธิสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้หลายทางที่สำคัญคือ

  • ทางปาก เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า พยาธิตัวตืดชนิดต่าง ๆ พยาธิใบไม้ตับ และพยาธิใบไม้ลำไส้บางชนิด พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ปอด และพยาธิหอยโขง
  • ทางผิวหนัง เช่น พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย ทางสายรกในครรภ์ เช่น พยาธิตัวจี๊ด

พยาธิที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

1. Toxoplasma gondii ( T. gondii )

เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อปรสิต พบในสัตว์ เช่น นก หนู แกะ และมนุษย์ เกิดจากกินอาหารปนเปื้อนอุจจาระแมว การกินเนื้อไม่สุกหรือเนื้อดิบ ดื่มน้ำหรือของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อ กินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโดยตรงหรือที่ติดมากับเครื่องครัวต่างๆ ไม่ล้างมือหลังสัมผัสเนื้อที่ปนเปื้อน กินผักผลไม้ที่เปื้อนดินหรือน้ำที่ปนเปื้อน อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ จากการศึกษาผู้ป่วยรายหนึ่งไม่ได้เลี้ยงแมว และไม่มีประวัติครอบครัวของมะเร็งใดๆ ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการกินอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด มีงานวิจัยพบว่าพยาธิ T. Gondii สามารถกำจัดได้ด้วยสารสกัดจากใบพลู ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 2 ได้ลองใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรต่าง ๆ คาดว่ามีใบพลูสกัดอยู่ด้วย ปรากฏว่าค่า PSA ลดลงเหลือเพียง 0.06 ng/ml ( จากเดิมมีค่าสูงเกือบ 20 ng/ml )

2. Trichomonas vaginalis ( T. vaginalis ) หรือ พยาธิในช่องคลอด

เป็นภาวะติดเชื้อปรสิตจากทางเพศสัมพันธ์ ขนาดเล็กยาวประมาณ 7 – 32 ไมโครเมตร และกว้างประมาณ 5 – 12 ไมโครเมตร อาศัยอยู่ในช่องคลอดและท่อปัสสาวะของผู้หญิง ส่วนในผู้ชายพบในต่อมลูกหมาก ในท่อเก็บอสุจิและท่อปัสสาวะ จากการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากรายหนึ่ง ซึ่งมีประวัติครอบครัวของโรคมะเร็ง (มารดาเป็นมะเร็งปอด และยายเป็นมะเร็งลำไส้) คาดว่าสาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อ ร่วมกับพันธุกรรม ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1 รายนี้รักษาด้วยสารสกัดสมุนไพรกำจัดพยาธิ อาหารเสริม โปรไบโอติก และรวมทั้งเคมีบำบัดและการผ่าตัด

3. Echinococcus granulosus ( E. granulosus )

เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อปรสิตที่เกิดจากพยาธิตัวตืด อาศัยในลำไส้ของหมู ตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนคล้ายริบบิ้น มีสีขาว ยาว 2 ถึง 3 เมตรหรือมากกว่า พยาธิดำเนินชีวิตครบวงจรในคนซึ่งเป็นโฮสต์จำเพาะ ( definitive host ) และหมูเป็นโฮสต์ตัวกลาง ( intermediate host ) มนุษย์ติดพยาธิชนิดนี้โดยการกินหมูที่ปรุงไม่สุกที่มีซีสต์และซีสต์เจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้เล็ก จากการศึกษาผู้เข้าร่วมการวิจัยรายหนึ่ง ( ยังไม่ป่วย แต่มีค่า PSA สูงประมาณ 16 – 19 ng/mi ) ที่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและกำจัดพยาธิได้สำเร็จ คาดว่าเชื้อนี้มาจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อน ซึ่งขณะกำลังอยู่ในระหว่างการแก้ไขปรับพฤติกรรมเพื่อลดค่า PSA เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ยีนที่ใช้ค้นหาการแทรกซ้อนฝังตัวของเชื้อโรคในจีโนม

p53 ( TP53 ) หรือ tumor protein 53 คือ ยีนซึ่งทำหน้าที่ซ่อมแซม DNA ที่ผิดปกติ ในกรณีที่ซ่อมแซมไม่ได้ ยีนนี้จะกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติทิ้งด้วยการทำให้เซลล์นั้นตาย ( Apoptosis ) เพื่อไม่ให้เซลล์ที่ผิดปกติมีการแบ่งตัวอีก ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ p53 ( TP53 ) ยังทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อต่างๆที่จะทำลายเซลล์ จนยีนเกิดการกลายพันธุ์ และทำให้ดีเอ็นเอ และ/หรือ อาร์เอ็นเอ หรือ จีโนมของเชื้อแทรกซ้อนฝังตัวเข้ามาในยีนนี้ ( และบนจีโนมของ มนุษย์ ) เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการกลายพันธุ์โซมาติก การกลายพันธุ์โซมาติกของยีนนี้พบได้ มากกว่า 50% ในมะเร็งเกือบทุกชนิด เราจึงสามารถใช้ยีนนี้ค้นหาการแทรกซ้อนฝังตัวของเชื้อโรคในจีโนม เพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ

ตัวอย่างการถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

จากการถอดรหัสยีน p53 (TP53) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก 2 ราย และ ยังไม่ป่วยแต่มีค่า PSA สูง 1 ราย เราได้พบพยาธิ Toxoplasma gondii (T. gondii) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะ 2 (ขณะนั้นผู้ป่วยมีอายุ 64 ปี มารับบริการตรวจกับเราเมื่อเดือนกันยายน 2560 ขณะรอทำการรักษาด้วยเคมีบำบัด), พบพยาธิ Trichomonas vaginalis (T. vaginalis) ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1 (มารับบริการตรวจกับเราเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2561 ขณะอายุ 49 ปี), ส่วนในผู้ที่ยังไม่ป่วยแต่มีค่า PSA สูงขึ้นเรื่อยๆแม้ปรับอาหารและวิธีการใช้ชีวิตอย่างเข้มงวดค่า PSA ก็ยังไม่ลดลง (มารับบริการตรวจกับเราเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2562 ขณะอายุ 60 ปี) เราพบพยาธิ Echinococcus granulosus (E. granulosus)
ดีเอ็นเอของพยาธิทั้ง 3 สายพันธุ์แทรกซ้อนฝังตัวอยู่ในจีโนม(ดีเอ็นเอ)ของผู้รับบริการทั้ง 3 ท่าน ดังแสดงในรูปที่ 1, 2, และ 3 ดังนี้

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก
Figure 1A-1C. การถอดรหัสยีน p53 (TP53) ในเซลล์มะเร็งหรือเซลล์แปลกปลอมที่อยู่ใน พลาสม่าได้พบดีเอ็นเอของพยาธิ Toxoplasma gondii VEG, chromosome chrX, complete genome แทรกซ้อนในเนื้อยีนส่วนที่ 7 (กราฟ 1A ส่วนที่อยู่ในกรอบ) ส่วนรหัสดีเอ็นเอของพยาธิจากฐานข้อมูล GenBank ได้แสดงไว้ในรูป 1B ในที่นี้ ได้ใช้ดีเอ็นเอจากเม็ดเลือดขาวถอดรหัสยีน p53 (TP53) บนบริเวณเนื้อยีนส่วนที่ 7 เปรียบเทียบ (control) เพื่อแสดงให้เห็นดีเอ็นเอปกติที่ยังไม่กลายพันธุ์ (กราฟ 1C)

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก
Figure 2A-2C. การถอดรหัสยีน p53 (TP53) ในเซลล์มะเร็งหรือเซลล์แปลกปลอมที่อยู่ใน พลาสม่าได้พบดีเอ็นเอของพยาธิ Trichomonas vaginalis G3 hypothetical protein (TVAG_248350) partial mRNA แทรกซ้อนในเนื้อยีนส่วนที่ 8 (กราฟ 2A ส่วนที่อยู่ในกรอบ) ส่วนรหัสดีเอ็นเอของพยาธิจากฐานข้อมูล GenBank ได้แสดงไว้ในรูป 2B ในที่นี้ ได้ใช้ดีเอ็นเอจากเม็ดเลือดขาวถอดรหัสยีน p53 (TP53) บนบริเวณเนื้อยีนส่วนที่ 8 เปรียบเทียบ (control) เพื่อแสดงให้เห็นดีเอ็นเอปกติที่ยังไม่กลายพันธุ์ (กราฟ 2C)

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

ถอดรหัสยีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก

Figure 3A-3C. การถอดรหัสยีน p53 (TP53) ในเซลล์มะเร็งหรือเซลล์แปลกปลอมที่อยู่ใน พลาสม่าได้พบดีเอ็นเอของพยาธิ Echinococcus granulosus UDP-GlcNAc:betaGal beta-1,3-N-acetylglucosaminyltransferase (EGR_11071), partial mRNA แทรกซ้อนในเนื้อยีนส่วนที่ 5 (กราฟ 3A ส่วนที่อยู่ในกรอบ) ส่วนรหัสดีเอ็นเอของพยาธิจากฐานข้อมูล GenBank ได้แสดงไว้ในรูป 3B ในที่นี้ ได้ใช้ดีเอ็นเอจากเม็ดเลือดขาวถอดรหัสยีน p53 (TP53) บนบริเวณเนื้อยีนส่วนที่ 5 เปรียบเทียบ (control) เพื่อแสดงให้เห็นดีเอ็นเอปกติที่ยังไม่กลายพันธุ์ (กราฟ 3C)

ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ได้มีงานวิจัยรายงานเชื้อต่างๆได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ และ รา ที่เป็นซิกเนเจอร์ของมะเร็งต่อมลูกหมาก ในบทความนี้ได้ระบุว่าพยาธิ T. gondii, T. vaginalis และ E. Granulosus เป็นซิกเนเจอร์ของมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

1. Sagarika Banerjee, James C Alwine, Zhi Wei, Tian Tian, Natalie Shih, Colin Sperling, Thomas Guzzo, Michael D Feldman, Erle S Robertson, Microbiome signatures in prostate cancer, Carcinogenesis, Volume 40, Issue 6, June 2019, Pages 749–764, https://doi.org/10.1093/carcin/bgz008

[/vc_column][/vc_row]