Urine BTA,มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ,มะเร็ง,สารวัดค่ามะเร็ง
การตรวจค่ามะเร็งกะเพาะปัสสาวะโดยใช้ปัสสาวะในการตรวจหาสารแปลกปลอมและสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

Bladder Tumor Antigen ( Urine BTA )

Bladder Tumor Antigen ( Urine BTA ) เป็นสารที่ใช้ในการวัดค่ามะเร็งเพื่อตรวจหาสัญญาณมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และใช้ติดตามผลการรักษา โดยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะ และยังสามารถแพร่กระจ่ายไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกายได้ 

  [adinserter name=”แบนเนอร์ checkup”]

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ Urine BTA

Urine BTA เป็นสารวัดค่ามะเร็งกระเพาะอาหารที่จะใช้ในการตรวจน้ำปัสสาวะ เพื่อหาสารแปลกปลอมและสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สำหรับการตรวจปัสสาวะ จะใช้ปัสสาวะที่ได้จากการขับถ่ายใหม่ๆ โดยจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ได้แต่จะต้องไม่เกินเที่ยงวันของวันนั้น เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความแม่นยำมากที่สุด

วัตถุประสงค์ที่ตรวจ Bladder Urine BTA

ตรวจคัดกรองเพื่อดูว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือไม่เพื่อจะได้ทำการตรวจรักษาต่อไป
ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา โดยจะใช้ประเมินว่าการรักษาที่ใช้อยู่ได้ผลหรือเกิดความล้มเหลว ซึ่งการตรวจเพื่อติดตามผลการรักษานี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจการใช้กล้องส่องทะลุผ่านช่องทางปัสสาวะ เป็นต้น

เพราะอะไรจึงตรวจหามะเร็งกระเพาะปัสสาวะด้วย  Urine BTA

เพราะว่าโดยปกติหากเป็นมะเร็งดังกล่าว ผนังด้านในของกระเพาะปัสสาวะจะมีโปรตีนชนิดพิเศษที่เรียกว่า NMP 22 อยู่ จากนั้นเมื่อสิ้นอายุขัย โปรตีนชนิดนี้จะหลุดและปนไปกับน้ำปัสสาวะ เมื่อนำน้ำปัสสาวะมาตรวจจึงสามารถวิเคราะห์หาค่า Urine BTA ได้นั่นเอง

[adinserter name=”oralimpact”]

ค่าปกติของ Urine BTA และ NMP 22

สำหรับค่าปกติของ Urine BTA และ NMP 22 จะมีค่าปกติเท่ากับ

Urine BTA :  < 14  units/mL
Urine NMP 22 :  < 10  units/mL

และนอกจากค่าดังกล่าวแล้ว ก็สามารถยึดตามค่าที่ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจเลือดได้อีกด้วย

ค่าความผิดปกติของ Urine BTA 

ค่าความผิดปกติของ Urine BTA ให้ยึดตามผลการตรวจดังนี้

หากค่าไปในทางน้อย ให้ถือว่าปกติ
หากค่าไปในทางมาก ให้ถือว่าเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.