โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer)
มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร อาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะได้

มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Gastric Cancer ) มักเกิดขึ้นในเซลล์สร้างเมือกที่อยู่ในกระเพาะอาหาร จากสถิติพบว่ามะเร็งกระเพาะมักไม่แสดงอาการในระยะแรกจนกว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงจึงทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากมากและยังติด 1 ใน 10 อันดับ ของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย แต่ในผู้หญิงจะไม่ค่อยพบมากนักมะเร็งชนิดนี้พบมากในผู้ที่มีอายุประมาณ 60 ปี พบได้จากหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนี้

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

โดยทั่วไปจะตรวจพบเนื้องอกเมื่อเกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอ ( DNA ) ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตและแบ่งตัวออกไปยังอวัยวะใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนในทางเดินอาหารและโรคอ้วน ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ และอาชีพบางอย่าง

  • ชอบกินอาหารที่มีรสเค็ม
  • ชอบกินอาหารประเภทปิ่งย่างเป็นประจำ
  • ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • การติดเชื้อเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori)
  • กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบเรื้อรัง
  • มีติ่งเนื้อในกระเพาะอาหารก่อนหน้า
  • เนื้องอกในส่วนอื่น ๆ ของระบบย่อยอาหาร
  • เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง
  • สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นระยะหลายปี
  • เคยผ่าตัดกระเพาะอาหารก่อนหน้านี้
  • โรคโลหิตจาง
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาชีพคนงานในอุตสาหกรรมถ่านหินโลหะหนัก

อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารอาการของโรคนี้ไม่มีอาการที่ชี้ชัดหรืออาการเฉพาะ โดยอาการส่วนใหญ่จะคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหารทั่วไปนั่นเอง สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

  • ปวดท้อง และท้องอืด
  • รู้สึกไม่สบายท้องและอาหารไม่ย่อย
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหารและกลืนลำบาก
  • ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีภาวะดีซ่าน (ตาและผิวเหลือง)
  • มีน้ำในช่องท้องผิดปกติ
  • ร่างกายอ่อนเพลียผิดปกติ

มะเร็งกระเพาะอาหารในระยะที่มีการลุกลาม จะคลำพบก้อนเนื้อผิดปกติบริเวณลิ้นปี่ หรือบริเวณกระเพาะอาหาร

ระยะของมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารมีทั้งหมด 4 ระยะ โดยแต่ละระยะก็จะมีอาการค่อยๆ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ
ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารและลุกลามเข้าต้อมน้ำเหลือแต่ยังไม่เกิน 2 ต่อม ซึ่งยังไม่อันตรายมาก
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปยังเนื้อเยื่อคุ้มกระเพาะอาหาร และลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงมากกว่า 2ต่อมขึ้นไป
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งได้ลุกลามโดยทะลุออกไปนอกเยื่อหุ้มกระเพาะอาหารและอวัยวะข้างเคียง รวมถึงลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงเป็นจำนวนมากเช่นกัน
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไปแล้ว โดยส่วนใหญ่ก็จะเริ่มจากตับและปอดนั่นเอง

การแพร่กระจายของมะเร็ง

สามารถแพร่กระจายผ่านทางเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองและเลือด

  • เนื้อเยื่อ : มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเป็นการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้
  • ระบบน้ำเหลือง : มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านทางท่อน้ำเหลืองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • เลือด : มะเร็งแพร่กระจายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไหลผ่านหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การรักษา มะเร็งกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง

การรักษา มะเร็งกระเพาะอาหารจะใช้วิธีการผ่าตัด และประเมินระยะของโรคเพื่อพิจารณาการรักษาเพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีการรักษาด้วยรังสีรักษาและการทำเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการผ่าตัดด้วย แต่ทั้งนี้จะเลือกวิธีไหนดีนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้ป่วยเช่นกัน แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลักๆ คือ
1. การผ่าตัด โดยการส่องกล้องหากพบรอยโรคผิดปกติสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจได้ หรือพบติ่งเนื้อก็สามารถตัดออกผ่านทางการส่องกล้องได้ทันที
2. การใช้รังสีรักษาหรือการฉายแสง เพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งและหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็งกระเพาะอาหาร
3. การทำคีโม หรือเคมีบำบัด เป็นการรักษามะเร็งเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร

การป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารเบื้องต้นด้วยตนเอง

  • กินอาหารที่มีประโยชน์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ เช่น ผัก ผลไม้หลากสีและธัญพืชไม่ขัดสี
  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
  • กำหนดการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานของน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่มีความรุนแรงแบ่งได้ตามระยะของโรค การรักษาให้หายขาดจึงอาจเป็นเรื่องยากสักนิด ซึ่งพบว่ามีโอกาสในการรักษาให้หายขาดน้อยมาก โดยจะขึ้นอยู่กับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกไปหมด ร่างกายของผู้เข้ารับการรักษาพร้อมสำหรับการรักษาในครั้งต่อไปหรือไม่หากแพทย์พบว่าผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำก็ไม่สามารถทำการรักษามะเร็งกระเพาะอาหารต่อได้ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งควรเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ที่มีโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อการรักษา ออรัล อิมแพค

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์. รู้ก่อนเข้าใจการตรวจรักษามะเร็ง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557.

World Cancer Report 2014. World Health Organization. 2014. pp. Chapter 5.4. ISBN 9283204298.

Chang, A. H.; Parsonnet, J. (2010). “Role of Bacteria in Oncogenesis”. Clinical Microbiology Reviews. 23 (4): 837–857. doi:10.1128/CMR.00012-10. ISSN 0893-8512. PMC 2952975 Freely accessible. PMID 20930075.

González CA, Sala N, Rokkas T; Sala; Rokkas (2013). “Gastric cancer: epidemiologic aspects”. Helicobacter. 18 (Supplement 1): 34–38. doi:10.1111/hel.12082. PMID 24011243.